ข้อใดต่อไปนี้คือขั้นตอนสุดท้ายในการสร้างภาพเคลื่อนไหวหรือมูฟวี่จาก flash


โปรแกรม Flash ประกอบไปด้วยหน้าต่างทำงาน (Panel) ที่มีเครื่องมือสำหรับปรับแต่งชิ้นงานช่วยสร้างชิ้นงานให้ได้ตามต้องการ เนื่องจาก Flash จะมีหลายหน้าต่างมาก ในที่นี้จะขอแนะนำเฉพาะหน้าต่างที่จำเป็นและสิ่งที่น่าสนใจ ดังรูป


Menu Bar คือ เมนูที่ใช้แสดงชุดคำสั่งทั้งหมดโปรแกรม Flash โดยคลิกเลือกเมนูคำสั่ง จะปรากฏคำสั่งย่อยให้เลือกตามต้องการ

ประกอบไปด้วยเลเยอร์และเฟรม (ช่องเล็กๆ เรียงกัน) ที่จะช่วยในการกับชิ้นงานส่วนต่างๆ ให้แยกกันได้อย่างอิสระ การแสดงภาพเคลื่อนไหวจะแสดงทีละเฟรมตรงตำแหน่งที่หัวอ่าน (Play Head) วิ่งไปถึง นอกจากนี้ยังมีส่วนของปุ่มแสดงเฟรมย้อนหลังที่เรียกว่า Onion Skin อยู่ที่ด้านล่าง ของ Timeline

Layer            เลเยอร์เปรียบเสมือนแผ่นใสที่สามารถวาดภาพ หรือวางอ็อบเจ็กต์ลงไป เพื่อสร้างภาพเคลื่อนไหวต่างๆ ซึ่งเลเยอร์แต่ละแผ่นจะแยกเป็นอิสระต่อกัน สามารถเปลี่ยนตำแหน่งการซ้อนทับกันของแต่ละเลเยอร์ได้ โดยจะมีผลให้ภาพที่อยู่ในเลเยอร์บน Stage เปลี่ยนตำแหน่งการซ้อนทับกันด้วย
Timeline      เป็นส่วนที่ใช้สำหรับกำหนดการเคลื่อนไหวของภาพวาดต่างๆ โดยภายใน Timeline ยังประกอบไปด้วยตารางเล็ก ๆ และมีแถบบอกจำนวนเฟรม (Frame) ด้านบน รวมทั้งมีเส้นสีแดงที่เรียกว่า “Playhead” ที่ใช้สำหรับบอกตำแหน่งว่าขณะนี้กำลังทำงานอยู่ ณ ที่ใด

เมื่อสร้างเสร็จแล้ว หรือเมื่อต้องการทดสอบผลงานและภาพเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น จะทำการคลิกปุ่มบนหน้าต่าง Controller นี้ จะแสดงผลเหมือนกับการกด <Alt+Enter> ที่แป้นคีย์บอร์ด

ตารางแสดงรายละเอียดของ Controller Toolbar

ไอคอน

ชื่อเรียก

การใช้งาน

Stop

ให้หยุดการแสดงมูฟวี่

Go To first frame

ให้ย้อนกลับไปเฟรมแรก เพื่อเริ่มต้นการแสดงมูฟวี่ใหม่

Step Back one frame

ให้ย้อนกลับไปเฟรมก่อนหน้าทีละขั้นตอน

Play

ให้เริ่มต้นแสดงมูฟวี่

Step Forward one frame

ให้เดินหน้าไปเฟรมต่อไปทีละขั้นตอน

Go to Last frame

ให้ไปยังเฟรมสุดท้ายของมูฟวี่


เมื่อสร้างชิ้นงานขึ้นมาแล้วทำการแปลงเป็นซิมโบล หรือการนำภาพจากข้างนอกโปรแกรมเข้า
มาใน Flash ภาพเหล่านั้นจะบรรจุอยู่ในหน้าต่างไลบรารีนี้ และสามารถเรียกหน้าต่างอย่างรวดเร็วด้วยคีย์ลัด <Ctrl+L>



Toolbox คือ กล่องที่ใช่สำหรับบรรจุเครื่องมือวาดภาพต่างๆ เช่น เครื่องมือสร้างรูปสี่เหลี่ยม เครื่องมือสร้างข้อความ เป็นต้น ซึ่งภายใน Toolbox จะถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มคือ Tool , View , Colors และ Option
ตารางแสดงไอคอนของเครื่องมือใน Toolbox

ไอคอน

ชื่อเรียน

หน้าที่ของปุ่มเครื่องมือ

Arrow Tool

ใช่สำหรับเลือกอ็อบเจ็กต์ (Object) โดยการคลิก หรือคลิกแล้วลากให้เป็นบริเวณสี่เหลี่ยมรอบอ็อบเจ็กต์ที่ต้องการเลือก

Subselection Tool

ใช้สำหรับเลือกจัดการกับอ็อบเจ็กต์เฉพาะบางส่วน

Free Transform

ใช้สำหรับปรับแต่งรูปทรงของอ็อบเจ็กต์ในแบบต่างๆ อย่างอิสระ

Gradient Transform

ปรับแนวสีเกรเดียนท์

3D Rotation tool

 การปรับแต่งรูปทรงอ็อบเจ็กต์แบบ 3 มิติ

Lasso Tool

ใช้สำหรับเลือกอ็อบเจ็กต์ โดยการวาดเส้นแบบอิสระรอบอ็อบเจ็กต์

Pen

วาดรูปทรง เส้นตรง เส้นโค้ง

Add Anchor Point

เพิ่มจุดแองเคอร์

Delete Anchor Point

ลบจุดแองเคอร์

Convert Anchor Point

ปรับจุดแองเคอร์

Line Tool

ใช้สำหรับวาดเส้นตรง

Rectangle Tool

ใช้สำหรับวาดรูปสี่เหลี่ยม

Oval Tool

ใช้สำหรับวาดวงกลม หรือวงรี

Rectangle Primitive

วาดสี่เหลี่ยมที่ปรับแต่งมุมได้ภายหลัง

Oval Primitive

วาดวงกลมหรือวงรีที่ปรับแต่งรูปแบบได้ภายหลัง

PolyStar

วาดรูปหลายเหลี่ยมและรูปดาว

Text

ใช้สำหรับสร้างตัวอักษร หรือข้อความ

Brush Tool

ใช้สำหรับระบายสีคล้ายพู่กัน หรือแปลงทาสี

Pencil Tool

ใช้สำหรับวาดลายเส้นแบบอิสระ

Ink Bottle Tool

ใช้สำหรับเปลี่ยนสีเส้นขอบ

Eyedropper Tool

ใช้สำหรับคัดลอกลักษณะของเส้น หรือสีพื้นภายในของส่วนที่ถูกคลิกเพื่อนำไปใส่ให้เส้น หรือรูปทรงอื่น

Paint Bucket Tool

สำหรับเติมสีพื้นภายในของอ็อบเจ็กต์

Eraser Tool

ใช้สำหรับลบเส้น หรือสีพื้นภายใน

Hand Tool

สำหรับเคลื่อนย้ายจอภาพของ Stage ไปยังตำแหน่งต่างๆ

Zoom Tool

ใช้สำหรับย่อ หรือขยาย Stage

Stroke Color

ใช้สำหรับเลือกสีเส้นขอบของอ็อบเจ็กต์

Fill Color

ใช้สำหรับเลือกสีพื้นภายในของอ็อบเจ็กต์

Default Color

ใช้สำหรับเลือกสีพื้นผิว และสีเส้นเป็นสีมาตรฐานคือ สีขาว- ดำ

No Color

คลิกเลือกเมื่อไม่ต้องการกำหนดสีให้กับเส้น หรือสีพื้นอ็อบเจ็กต์

Swap Colors Tool

ใช้สลับสีระหว่างสีพื้นที่ กับสีเส้นขอบ กำหนดสีที่เลือกไว้ก่อนหน้าของอ็อบเจ็กต์

การซ่อนเครื่องมือ และการแสดงชุดเครื่องมือ (Toolbox)  
โดยปกติชุดเครื่องมือ Toolbox จะปรากฏอยู่ที่­ด้านซ้ายมือสุดของจอภาพ แต่ผู้ใช้สามารถกำหนดให้ซ่อนหรือแสดงชุดเครื่องมือ Toolbox ได้ตามต้องการ ดังนี้

  • การซ่อนชุดเครื่องมือ คลิกเลือกเมนู Window > Tools เพื่อทำให้เครื่องหมาย ü หน้าตัวเลือก Tools หายไปเพื่อซ่อนชุดเครื่องมือ
  • การแสดงชุดเครื่องมือ คลิกเลือกเมนู Window > Tools ซ้ำอีกครั้งเพื่อทำให้ปรากฏเครื่องหมาย ü หน้าตัวเลือก Tools

หน้าต่างที่บรรจุชุดคำสั่งที่จะจัดการกับการแสดงของรูปภาพ หรือภาพเคลื่อนไหวที่จะเกิดขึ้น  กับเรื่องราวทั้งหมดหรือบางส่วน นอกจากนี้หน้าต่าง Actions ยังสามารถตรวจสอบการทำงานของโค้ดต่างๆ ในไฟล์งานได้


ใช้สำหรับปรับแต่งสีสัน ­และปรับเปลี่ยนเครื่องมือวาดรูปต่างๆ หรือตรวจสอบคุณสมบัติของรูปภาพจะสะดวกมากหากเปิดหน้าต่าง Properties ขึ้นมาด้วยคีย์ลัด<Ctrl+F3>

Stage เป็นพื้นที่สำหรับใช้ในการทำงาน หรือจัดวางอ็อบเจ็กต์ต่างๆ ที่ต้องการให้ปรากฏในไฟล์เอกสาร โดยรูปวาดที่สร้างจากชุดเครื่องมือหลักหรือสิ่งต่างๆ ที่วางบน Stage จะเรียกว่า อ็อบเจ็กต์ ซึ่งผู้ใช้สามารถเปลี่ยนสีพื้นหลัง ขนาด หน่วยไม้บรรทัด หรืออื่นๆ ได้ตามต้องการ โดยคลิกเลือกเมนู Modify > Document จะปรากฏจอภาพ

รายละเอียดบนจอภาพ Document Properties ประกอบด้วย

Dimension กำหนดขนาดความกว้าง และความสูงของ Stage ปกติโปรแกรมจะ
กำหนดค่าเริ่มต้องขนาด Stage เท่ากับ  550 x 400 Pixel สามารถกำหนด
ขนาดของ Stage ได้เล็กที่สุด 1x1 Pixel และ ใหญ่ที่สุด 2880 x 2880 Pixel
Match กำหนดขนาดของ Stage ตามตัวเลือก ดังนี้
* ปุ่ม Printer  ขนาดของ Stage เท่ากับขนาดกระดาษปกติที่เครื่องพิมพ์สามารถพิมพ์ได้
* ปุ่ม Contents ขนาดของ Stage เท่ากับรายละเอียดที่แสดงในไฟล์เอกสาร
* ปุ่ม Default ขนาดของ Stage เท่ากับค่าเริ่มต้น คือ 500 x 400 Pixel
Background Color กำหนดสีฉากหลังของ Stage
Fame Rate กำหนดจำนวนเฟรมที่ต้องการแสดงภายใน 1 วินาที
Ruler Units กำหนดหน่วยของ Ruler
ปุ่ม  Make Default เปลี่ยนค่าที่กำหนดให้เป็นค่าเริ่มต้นของโปรแกรม

การย่อ หรือขยาย ­Stage   
การเปลี่ยนมุมมองของจอภาพ Stage โดยการย่อ หรือ ขยายจอภาพ Stage เพื่อความสะดวกในการสร้างไฟล์เอกสาร Flash สามารถทำได้ ดังนี้

คลิกปุ่มเครื่องมือ Zoom   ที่อยู่ในส่วนของชุดเครื่องมือ View จากนั้นคลิกเลือกปุ่มเครื่องมือ Enlarge เพื่อขยายขนาด หรือคลิกปุ่มเครื่องมือ Reduce  เพื่อย่อขนาดจาก ชุดเครื่องมือ Options

จอภาพแสดงปุ่มเครื่องมือ Zoom ในจอภาพ View และปุ่มเครื่องมือย่อยในจอภาพ Options
คลิกเลือกเมนู View > Zoom In / Zoom Out / Magnification > เลือกขนาดจอภาพที่ต้องการแสดง

คลิกปุ่ม ที่อยู่ด้านขวามือของแถบเครื่องมือ Edit Symbol จะปรากฏจอภาพย่อยให้เลือกขนาดจอภาพที่ต้องการแสดง
จอภาพแสดงการใช้คำสั่งย่อ / ขยาย จากแถบเครื่องมือ              Edit Symbol

ในหนึ่งมูฟวี่อาจจะประกอบไปด้วยหลาย Scene ก็ได้ สามารถจัดการ Scene เหล่านั้นในหน้าต่างScene ได้


กรณีที่มูฟวี่มีหลาย Scene สามารถจัดการได้ในหน้าต่าง Scene


เมื่อเข้าสู่โปรแกรม Flash CS5 โปรแกรมจะให้เลือกสร้างไฟล์เอกสารใหม่ เมื่อสร้าง
ไฟล์เอกสาร Flash ขึ้นมาใหม่แล้ว ผู้เรียนสามารถกำหนดรูปแบบของไฟล์เอกสาร Flash ใหม่ได้ เช่น กำหนดขนาด อัตราการแสดงต่อเฟรม (Framerate) สีพื้น และคุณสมบัติอื่นๆ ได้ที่จอภาพของ Document Properties นอกจากนี้เมื่อผู้ใช้ต้องการสร้างไฟล์เอกสารใหม่โดยใช้คำสั่ง File > New.. โปรแกรมจะให้เลือกสร้างไฟล์เอกสารใหม่ โดยต้องการให้ไฟล์เอกสารใหม่ซ้อนทับกับไฟล์เอกสารเดิม หรือสร้างไฟล์เอกสารใหม่จาก Template


เมื่อผู้ใช้ต้องการสร้างไฟล์เอกสารใหม่ทำได้โดยคลิกเมนู File > New.. จะปรากฏจอภาพ New Document ให้เลือกชนิดไฟล์เอกสาร เมื่อสร้างเสร็จแล้วไฟล์เอกสารใหม่จะซ้อนทับกับไฟล์เอกสารเดิม


Template คือ แบบสำเร็จรูปที่โปรแกรมสร้างขึ้นมา เพื่อใช้เป็นต้นแบบของการสร้างไฟล์
เอกสาร Flash เพื่อให้สามารถสร้าง Movie Flash ได้อย่างรวดเร็ว และง่ายดายมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่าง การสร้างไฟล์เอกสาร Flash โดยใช้ Template

  1. เปิดโปรแกรม Flash CS5 จะปรากฏจอภาพ ให้เลือกรูปแบบของ Template ที่ต้องการ
  2. เมื่อเลือกรูปแบบของ Template ที่ต้องการแล้วจะปรากฏจอภาพ New from Template ในกรณีที่ต้องการสร้างเอกสาร Template ขึ้นมาใหม่ให้ คลิกเมนู File > New จะปรากฏจอภาพ New from Template
  3. คลิกเลือกชนิดของ Template ที่ช่องรายการ “ Category” และเลือกรายการ Template ที่ช่อง “Templates” โดยสามารถดูภาพตัวอย่างของ Template ที่เลือกได้ที่จอภาพ Preview และดูรายละเอียดของ Template ได้ใน Description
  4. คลิกปุ่ม OK เพื่อสร้างไฟล์เอกสารใหม่ตามรูปของ Template ที่เลือก

นอกจากนี้เมื่อผู้ใช้สร้างมูฟวี่แล้วต้องการบันทึกเก็บไว้เป็น Template ของตนเอง เพื่อนำไปใช้งานต่อไป สามารถทำได้โดยเลือกเมนู File > Save AS Template
ตัวอย่าง การบันทึกไฟล์มูฟวี่เก็บไว้เป็น Template

  1. สร้างมูฟวี่
  2. คลิกเลือกเมนู File > Save As Template
  3. กำหนดชื่อ Template ที่ช่อง “Name” กำหนดประเภท Category และกำหนดรายละเอียดที่ช่อง “Description” ตามต้องการ
  4. คลิกปุ่ม Save โปรแกรมจะสร้างและเก็บ movie ดังกล่าวไว้ใน Library “Template” ของ Flash CS5ให้โดยอัตโนมัติ
  5. ผู้เรียนสามารถดูไฟล์ Template ที่สร้างเก็บไว้ได้โดยคลิกเลือกเมนู File > New From Template


การเข้าสู่โปรแกรม Flash CS5 โปรแกรมจะให้สร้างไฟล์เอกสาร Flash ขึ้นมาใหม่โดยกำหนดชื่อไฟล์ว่า Untitled-1 และเมื่อผู้ใช้ต้องการสร้างไฟล์เอกสารใหม่ โดยคลิกเลือกคำสั่ง File > New โปรแกรมจะกำหนดชื่อไฟล์ว่า Untitled – 2 โดยเรียงตัวเลขตามลำดับการสร้างไฟล์เอกสารใหม่ทุกครั้ง ชื่อไฟล์เอกสารนี้จะเปลี่ยนไปตามที่ผู้ใช้กำหนดเมื่อมีการบันทึกไฟล์ โดยเลือกคำสั่งดังนี้

  • คำสั่ง File > Save                       สำหรับการบันทึกไฟล์ครั้งแรก หรือบันทึกเพื่อปรับปรุงไฟล์ที่ได้แก้ไข
  • คำสั่ง File > Save As                สำหรับการบันทึกไฟล์เอกสารในชื่อใหม่ หรือบันทึกไฟล์เอกสารในรูปแบบของ Flash MX เวอร์ชันเก่า

เมื่อเลือกคำสั่งใดคำสั่งหนึ่งจะปรากฏจอภาพ Save หรือ Save As ซึ่งทั้งสองจอภาพมีลักษณะคล้ายดังรูป

เลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการเก็บบันทึกไฟล์ กำหนดชื่อไฟล์ในช่อง “File Name” และเลือกเวอร์ชันไฟล์เอกสาร Flash ที่ต้องการบันทึกที่ช่อง Save as type โดยปกติโปรแกรมจะบันทึกในไฟล์ในรูปแบบ flash CS5 Document (*.Fla) แต่ผู้เรียนสามารถเลือกบันทึกไฟล์เอกสาร flash หรือ flash MX Document (Flash MX เวอร์ชันเก่า) ได้อีกด้วยจากนั้นคลิกปุ่ม Save เพื่อบันทึกไฟล์เอกสาร


รูปแบบของไฟล์เอกสาร Flash แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ

    • Flash Movie (*.fla) เป็นการบันทึกข้อมูลในเอกสารเพื่อเก็บไว้ในรูปแบบไฟล์ธรรมดาของโปรแกรม Flash ซึ่งผู้ใช้สามารถเปิดไฟล์เพื่อแก้ไข เพิ่มเติม หรือทดสอบการแสดงได้ตามต้องการไฟล์ลักษณะนี้จะมีขนาดใหญ่ และไม่สามารถนำไปแสดงได้จริง เป็นเหมือนไฟล์ต้นฉบับ
    • Flash Player หรือ Shockwave Flash (*.swf) เป็นการบันทึกไฟล์เพื่อนำไปใช้งานจริงบน Web Browser ซึ่งไฟล์จะมีขนาดเล็ก แต่ผู้ใช้จะไม่สามารถแก้ไขไฟล์ในลักษณะนี้ได้


การสร้างชิ้นงานเป็นพื้นที่สำคัญสำหรับการสร้างภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหว (Animation)  การสร้างเว็บไซต์ รวมถึงการประยุกต์ใช้งานอย่างอื่นด้วย เพราะเครื่องมือต่างๆ ของโปรแกรม Flash มีประสิทธิภาพไม่น้อยไปกว่าเครื่องมือตกแต่งที่รู้จักกันดี เช่น Photoshop, Illustrator และยังมีรูปแบบเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใครให้ติดตามดูได้จากข้อถัดไป
หลังจากสร้างชิ้นงานแล้วเราจะทำการเปลี่ยนให้เป็นซิมโบลซึ่งจะจำเป็นสำหรับการสร้างภาพเคลื่อนไหวและสามารถใช้ลูกเล่น
ของเครื่องมือใน Flash ได้อย่างเต็มที่ต่อไปได้อย่างสะดวกขึ้น มาดูกันว่าเครื่องมือสำหรับการสร้างงานด้วย Flash มีอะไรกันบ้าง ดังนี้
รูปแบบการวาด
การวดภาพกราฟิกใน Flash แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบดังนี้

วาดแบบ Object Drawing
รูปทรงที่ได้จาการวาดแต่ละครั้งจะเป็นอิสระจากกัน และเมื่อมีการวางซ้อนทับกันก็ไม่มีผลทำให้ออบเจ็คอื่นหรือตัวเองเปลี่ยนแปลงรูปร่างในการวาดแบบนี้ให้คุณคลิกเลือก  Object drawing ที่ออปชั่นของเครื่องมือไว้ก่อนลงมือวาด

รูปทรงที่วาดหรือนำมาวางซ้อนกัน จะเป็นอิสระจากกัน

วาดแบบ Merge Drawing
รูปทรงนี้ได้จากการวาดจะมีผลต่อรูปทรงอื่น โดยเมื่อมีการวาดหรือนำไปวางซ้อนทับกันจะทำให้คุณสมบัติของพื้นภาพหรือเส้นแปรเปลี่ยนไป ในการวาดแบบนี้ให้คุณยกเลิกการเลือก  Object Drawing ที่ออปชั่นของเครื่องมือ ก่อนลงมือวาด
                การซ้อนทับของรูปทรงในแบบ Merge Drawing
ในการวาดแบบ Merge Drawing เมื่อวาดรูปทรงใดๆ ทับรูปทรงอื่นที่อยู่ด้านล่าง (หรือย้ายรูปทรงที่วาดด้วยวีนี้มาซ้อนทกัน) จะมีผลกับรูปทรงทั้งสอง โดยแยกได้เป็นกรณีต่างๆ ดังนี้


เส้นตรงเป็นพื้นฐานของรูปทรงต่างๆ การลากเส้นตรงด้วยเครื่องมือของโปรแกรม Flash จะคล้ายกับเครื่องมือในโปรแกรมตกแต่งภาพทั่วไป แต่จะมีความสามารถบางอย่างที่แตกต่างกันไป ดังตัวอย่างต่อไปนี้

  1. คลิกปุ่ม Line Tool ที่ทูลบ็อกซ์
  2. คลิกเลือกสีของเส้นจากช่อง Stroke Color
  3. คลิกเมาส์ที่จุดเริ่มต้นบนสเตจ (พื้นที่ว่าง) คลิกค้างไว้แล้วลากเมาส์กำหนดความยาวและทิศทางของเส้นตรง แล้วปล่อยเมาส์ก็จะได้เส้นตรงตามที่ต้องการ หรือจะลองลากเมาส์สร้างเส้นตรงอื่นๆ ได้อีกตามต้องการ รวมถึงการเปลี่ยนสีสันที่หลากหลายให้เกิดความคล่องตัวมากขึ้น
  4. หากต้องการวาดให้เป็นรูปต่างๆ ให้ดรากส์เมาส์ลากจนกลายเป็นรูปที่ต้องการ ซึ่ง Snap to Objects (เป็นรูปวงกลมที่ปรากฏพร้อมเส้นที่วาด) จะช่วยทำให้ขณะที่วาดอยู่นั้น มุมมองเส้นจะสามารถชนกันและกลายเป็นเส้นที่ต่อเนื่องกันโดยอัตโนมัติ

ปรับเปลี่ยนแก้ไขเส้นระดับพื้นฐาน

เส้นที่ได้สร้างขึ้นมาให้มีรูปร่างต่างๆ นั้นสามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขในภายหลังได้ ไม่ว่าจะเป็น สี ขนาด รูปร่างของเส้น ซึ่งเมื่อต้องการปรับเปลี่ยนค่าต่างๆ ให้ทำการเปิด Properties Panel ขึ้นมาเท่านั้น ก็สามารถกำหนดค่าต่างๆ ได้ตามต้องการ
  1. คลิกปุ่ม Arrow Tool   ที่ทูลบ็อกซ์ และดรากส์เมาส์คลุมเลือกออบเจ็กต์
  2. คลิกเมนู Window เลือกคำสั่ง Properties ให้ปรากฏเครื่องหมายถูก
  3. คลิกเลือกสีของเส้นจากช่อง Stroke Color
  4. คลิกเลือกความหมายของเส้นจากช่อง Thickness
  5. คลิกเลือกรูปแบบของเส้นจากช่อง Type
  6. คลิกเมาส์ที่พื้นงาน 1 ครั้ง จากนั้นเส้นที่เลือกไว้จะมีสี ความหนา และรูปแบบเปลี่ยนไปตามค่าที่กำหนด
   

ปรับเปลี่ยนแก้ไขระดับสูง
สำหรับวิธีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเส้นนั้น ยังสามารถกำหนดรูปแบบต่างๆ เพิ่มเติมขึ้นได้อีก เช่น หากเป็นเส้นประก็สามารถกำหนดว่าต้องการให้ความถี่ของระยะห่างระหว่างเส้นประแต่ละเส้นนั้น มีระยะความห่างมากน้อยเท่าไรมีความเข้มจางเท่าไร เป็นต้น ซึ่งค่าต่างๆ ที่มีให้กำหนดนั้นจะขึ้นอยู่กับรูปร่างลักษณะของเส้นแต่ละรูปแบบที่ได้เลือกไว้

  1. คลิกปุ่ม ที่ Properties Panel จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ Stoke Style ขึ้นมา
  2. กำหนดค่าระยะห่างของเส้นประจากช่อง Dot Spacing เมื่อกำหนดเรียบร้อยแล้วให้คลิกที่ปุ่ม OK
  3. จะได้รูปภาพเส้นประที่มีระยะความห่างมากขึ้นตามค่าที่กำหนดไว้   


หน้าที่การทำงานของเครื่องมือ Pen Tool คือ ใช้สำหรับวาดเส้นตรงและเส้นโค้งไปในทิศทาง
ต่างๆ เส้นที่สร้างจากเครื่องมือ Pen Tool จะมีความยืดหยุ่นต่อการทำงานมากกว่าเส้นที่สร้างจากเครื่องมือ Line Tool เนื่องจากปรากฏแฮนเดิลขึ้นมาในระหว่างทำงาน ทำให้สามารถดัดเส้นให้เป็นรูปร่างตามต้องการได้อย่างสะดวกขึ้น
นอกจากการกำหนดสีเส้นแล้ว ออบเจ๊กต์ที่สร้างจากเครื่องมือ Pen Tool ยังสามารถกำหนดใส่สีให้กับพื้นได้ ซึ่งหลังจากการวาดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

  1. คลิกปุ่ม Pen Tool ที่ทูลบ็อกซ์
  2. คลิกเลือกสีเส้นจากช่อง Stroke Color
  3. คลิกเลือกพื้นจากช่อง Fill Color
  4. คลิกเมาส์ที่พื้นที่งานจะปรากฏจุดแฮนเดิลขึ้นมา
  5. ดรากส์เมาส์ลากพร้อมทั้งดึงแฮนเดิลไปในทิศทางและตำแหน่งที่ต้องการ จากนั้นจะปรากฏเส้นขึ้นมา
  6. ให้ดรากส์เมาส์ลากจนกลายเป็นรูปที่ต้องการ เมื่อตำแหน่งเริ่มต้น จุดแฮนเดิลจะเชื่อมต่อเข้าหากันเพื่อเป็นการสิ้นสุดการสร้างออบเจ็กต์และจะปรากฏสีพื้นที่กำหนดขึ้นมาให้โดยอัตโนมัติ

ปรับเปลี่ยนแก้ไขสีพื้น

การสร้างออบเจ็กต์โดยใช้เครื่องมือ Pen Tool แตกต่างจากการสร้างโดยใช้เครื่องมือ Line Tool ก็คือ ออบเจ็กต์ที่สร้างขึ้นมานั้นสามารถกำหนดใส่สีพื้นเติมได้ตามต้องการ และสำหรับค่าอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยน สีเส้น ขนาด รวมถึงรูปร่างลักษณะของเส้นที่สร้างขึ้นจะสามารถกำหนดได้เช่นเดิม

  1. คลิกปุ่ม Arrow Tool ที่ทูลบ็อกซ์ และดรากส์เมาส์คลุมเลือกออบเจ็กต์
  2. คลิกเมนู Window > Properties ให้ปรากฏเครื่องหมายถูก
  3. คลิกเลือกพื้นจากช่อง Fill Color
  4. คลิกเมาส์ที่พื้นงาน 1 ครั้ง จากนั้นพื้นของออบกเจ็กต์ที่เลือกไว้จะมีเปลี่ยนแปลงไปตามค่าที่กำหนด


หน้าที่การทำงานของเครื่องมือ Pencil Tool คือ ใช้สำหรับวาดเส้นตรงและเส้นโค้งในรูปแบบ
อิสระ ซึ่งการสร้างออบเจ็กต์จากเครื่องมือ Pencil Tool นี้ จะสามารถกำหนดรูปแบบลักษณะของดินสอที่ใช้ในการวาด เช่น ต้องการให้ลายเส้นที่ได้เป็นเส้นตรง เส้นโค้ง หรือเส้นอิสระยังสามารถกำหนดเปลี่ยนแปลงสีเส้น สีพื้น ขนาด และรูปร่างของเส้นในภายหลังได้เช่นเดียวกันอบเจ็กต์ที่สร้างขึ้นมาจากเครื่องมืออื่นๆ

  1. คลิกปุ่ม Pencil Tool   ที่ทูลบ็อกซ์ และดรากส์เมาส์คลุมเลือกออบเจ็กต์
  2. คลิกเลือกลักษณะของดินสอที่ใช้ในการวาดที่ Options จากส่วนของ Pencil Mode
    เลือก Straighten เส้นที่ได้จะเป็นเส้นตรง
    เลือก Smooth เส้นที่ได้จะเป็นเส้นโค้ง
    เลือก Ink เส้นที่ได้จะเป็นเส้นอิสระ
  3. ดรากส์เมาส์วาดเป็นรูปต่างๆ ตามต้องการ


หน้าที่ของเครื่องมือ Oval Tool   คือ ใช้สำหรับวาดรูปวงกลม และวงรี ซึ่งหากต้องการเปลี่ยนแปลงสี เส้น สีพื้น ขนาด และรูปร่างของเส้น ในภายหลังก็สามารถทำได้เช่นเดียวกันออบเจ็กต์ที่สร้างขึ้นมาจากเครื่องมืออื่นๆ

  1. คลิกปุ่ม Rectangle Tool ที่ทูลบ็อกซ์ค้างไว้ จะปรากฏเครื่องขึ้นมา ให้เลือกมาที่ Oval Tool
  2. คลิกเลือกสีเส้นของรูปวงกลมจากช่อง Stroke Color
  3. คลิกเลือกพื้นของรูปวงกลมจากช่อง Fill Color
  4. กดปุ่ม Shift ที่คีย์บอร์ดค้างไว้ พร้อมทั้งดรากส์เมาส์ลากที่พื้นงาน จากมุมหนึ่งทแยงไปยังมุมหนึ่ง จะเกิดรูปวงกลมขึ้นมา
  5. คลิกเลือกเปลี่ยนสีพื้นของวงกลมจากช่อง Fill Color
  6. ดรากส์เมาส์ไปในทิศทางและตำแหน่งที่ต้องการ โดยไม่ต้องกดปุ่ม Shift ค้างไว้ จากนั้นจะเกิดรูปวงรีขึ้นมา

การดัดแปลงรูปทรง

เราสามารถดัดแปลงรูปวงกลมหรือวงรี ให้มีลักษณะเป็นเสี้ยวหรือเจาะเป็นรูปโดนัท โดยกำหนดค่าต่างๆ บน Property inspector ซึ่งมีส่วนประกอบดังนี้

  1. Start angle (ค่ามุมเริ่มต้น) และ End angle (มุมสุดท้าย) ใช้เพื่อนการดัดแปลงรูปทรงให้มีลักษณะเป็นเสียว ซึ่งมีทิศทางดังนี้
  2. Inner radius รัศมีของวงกลมในซึ่งจะเจาะทะลุรูปวงกลมวงนอกจนกลายเป็นรูปโดนัท โดยมีค่าเป็นเปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับรัศมีของวงกลมวงนอก
  3. Close path เลือกออปชั่นนี้เพื่อให้รูปทรงเป็นแบบปิด ซึ่งจะสามารถเติมสีพื้นได้ แต่หากยกเลิกออปชั่นนี้ก็จะได้รูปทรงแบบเปิด ซึ่งจะสามารถเติมสีพื้นได้ แต่หากยกเลิกออปชั่นนี้ก็จะได้รูปทรงแบบเปิดซึ่งมีเฉพาะเส้นเท่านั้น


หน้าที่การทำงานของเครื่องมือ Rectangle Tool  คือ  ใช้สำหรับวาดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และ
สี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่คุณสมบัติที่เพิ่มเติมสำหรับการทำงานของเครื่องมือ Rectangle Tool นี้ คือ สามารถกำหนดมุมของสี่เหลี่ยมก่อนที่จะทำการวาดได้ด้วย ซึ่งหากกำหนดค่าตัวเลขมากขึ้นเท่าไรสี่เหลี่ยมที่ได้ก็จะมีมุมที่มนมากขึ้นเท่านั้น

  1. คลิกปุ่ม Rectangle Tool ที่ทูลบ็อกซ์
  2. คลิกเลือกสีเส้นของรูปสี่เหลี่ยมจากช่อง Stroke Color
  3. คลิกเลือกสีพื้นของรูปสี่เหลี่ยมจากช่อง Fill Color
  4. คลิกลากในแนวทแยงให้ได้ขนาดและรูปทรงตามต้องการ

กำหนดความโค้งของมุมต่างๆ
ในขั้นตอนการวาด เราสามารถปรับความโค้งของแต่ละมุมได้ โดยกำหนดค่ารัศมีมีมุมโค้งบน Property inspector ซึ่งค่าบวกจะให้ผลเป็นมุมโค้งออก ส่วนค่าลบจะให้ผลเป็นมุมเว้าเข้า

ตัวอย่างผลลัพธ์จากการกำหนดค่ารัศมีมุมโค้งแบบต่างๆ

ปรับแต่งรูปทรงหลังการวาด

เฉพาะกรณีที่วาดด้วยเครื่องมือ Rectangle Primitive จะสามารถดัดแปลงรูปทรงภายหลังได้โดยใช้เครื่องมือ Selection คลิกเลือกออบเจ็ค แล้วคลิกลากปรับจุดควบคุมแต่ละมุมได้ ดังนี้

หน้าที่การทำงานของเครื่องมือ Text Tool คือ ใช้สำหรับพิมพ์ข้อความตัวอักษร ในลักษณะให้ขยายไปตามแนวระยะบรรทัดและให้ขยายไปในลักษณะเป็นพารากราฟ โดยเมื่อทำการพิมพ์ข้อความที่ต้องการเรียบร้อยแล้ว ยังสามารถกำหนดรูปแบบ ขนาด สี ตัวหนา ตัวเอียง ลักษณะการจัดวาง การจัดย่อหน้า ระยะห่างระหว่างตัวอักษร ระยะห่างระหว่างข้อความแต่ละแถว ในภายหลังได้อีกตามต้องการ

  1. คลิกปุ่ม Text Tool   ที่ทูลบ็อกซ์
  2. คลิกเลือกสีของตัวอักษรจากช่อง Fill Color
  3. คลิกเมาส์ที่พื้นงาน 1 ครั้ง จากนั้นพิมพ์ข้อความตามต้องการ จะเห็นว่ากล่องข้อความจะมีวงกลมเล็กๆ อยู่ด้านบนขวามือ พร้อมกับถูกขยายขนาดออกมาในแนวนอนตามจำนวนข้อความที่กำลังพิมพ์อยู่
  4. คลิกเลือกสีของตัวอักษรจากช่อง Fill Color
  5. ดรากส์เมาส์ลากกำหนดขนาดของพารากราฟเป็นที่รูปสี่เหลี่ยม สามารถสังเกตเห็นได้ว่า กล่องข้อความจะมีสี่เหลี่ยมเล็กๆ อยู่ด้านบนขวามือ จากนั้นให้ทำการพิมพ์ข้อความตามต้องการ แต่หากพิมพ์ข้อความจนเกินบรรทัดแล้ว ข้อความต่อไปจะถูกตัดขึ้นเป็นบรรทัดใหม่ให้โดยอัตโนมัติ

ส่วนประกอบ Properties ของเครื่องมือ Text Tool
ข้อความตัวอักษรที่ได้ทำการพิมพ์ขึ้นมา สามารถทำการแก้ไขในภายหลังให้มีความแตกต่างกันไปตามต้องการได้ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดรูปแบบ ขนาด สี ตัวหนา ตัวเอียง ลักษณะการจัดวาง การจัดย่อหน้า ระยะห่างตัวอักษร ระยะห่างระหว่างข้อความแต่ละแถว ฯลฯ สำหรับการปรับเปลี่ยนแก้ไขค่าต่างๆ นั้น ให้ทำการคลิกเมนู Window > Properties ให้ปรากฏเครื่องหมายถูก และต่อไปนี้เป็นส่วนประกอบคำสั่งๆ ที่มีอยู่ใน Properties ให้ปรากฏเครื่องหมายถูก และต่อไปนี้เป็นส่วนประกอบคำสั่งต่างๆ ที่มีอยู่ใน Properties ของเครื่องมือ Text Tool

ปรับแต่งออปชันตัวอักษร
โดยปกติแล้วข้อความที่พิมพ์จะมีคุณสมบัติตามรูปแบบเดิมที่เคยใช้ครั้งล่าสุดแต่คุณสามารถเปลี่ยนออปชั่นเหล่านี้ได้ใหม่ก่อนที่
จะพิมพ์ข้อความ หรือถ้าจะปรับแต่งข้อความที่พิมพ์ไปแล้วจะต้องเลือกข้อความที่ต้องการเสียก่อนแล้วจึงเปลี่ยนออปชั่น

ปรับแต่งออปชั่นย่อหน้า
เป็นการกำหนดลักษณะการจัดย่อหน้า เช่น การจัดชิดขวา, ชิดซ้าย, กึ่งกลาง, จัดระยะห่างระหว่างบรรทัด หรือ ตั้งย่อหน้าให้มีการเยื้อง เป็นต้น


ปรับเปลี่ยนแก้ไขตัวอักษรระดับพื้นฐาน
หลังจากที่ได้ทำความรู้จักกับส่วนประกอบหน้าที่การทำงานของปุ่มเครื่องมือต่างๆ ที่อยู่ใน Properties ของเครื่องมือ Text Tool ไปแล้ว ต่อไปนี้จะได้เรียนรู้ขั้นตอนวิธีการใช้เครื่องมือต่าง ๆ พร้อมทั้งผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้งานปุ่มคำสั่งเหล่านั้น

  1. ดรากส์เมาส์เลือกหัวข้อความที่ต้องการจะทำการปรับแก้ไข
  2. คลิกเลือกรูปแบบตัวอักษรที่ต้องการจากช่อง Font
  3. คลิกกำหนดขนาดตัวอักษรจากช่อง Font size โดยยิ่งกำหนดค่ามากขึ้นเท่าไร ตัวอักษรก็จะมีขนาดใหญ่มากขึ้นเท่านั้น
  4. คลิกเลือกสีที่ต้องการจากช่อง Text Fill Color

  5. คลิกปุ่ม Change direction เพื่อกำหนดเปลี่ยนทิศทางให้ตัวอักษรวางอยู่ในแนวนอนหรือแนวตั้ง
  6. คลิกปุ่ม Center Justify ข้อความตัวอักษรทั้งหมดจะถูกวางไว้ตรงกลางของกล่องข้อความ
  7. คลิกปุ่ม Right / Bottom Justify ข้อความตัวอักษรทั้งหมดจะถูกวางไว้ชิดด้านขวาของกล่องข้อความ
  8. คลิกปุ่ม Full Justify ข้อความตัวอักษรบรรทัดที่ยาวที่สุดจะถูกขยายขนาดออกจนกระทั่งเต็มกล่อง
  9. คลิกกำหนดระยะห่างระหว่างตัวอักษรจากช่อง Letter spacingโดยหากกำหนดตัวเลขเป็นค่าบวกระยะห่างระหว่างตัวอักษรก็จะถูกเพิ่มมากขึ้น
  10. คลิกกำหนดตำแหน่งตัวอักษรจากปุ่ม
    * Normal ตัวอักษรจะอยู่ในลักษณะปกติไม่คลิกเลือกที่ปุ่มใด
    * Toggle the Superscript ตัวอักษรที่เลือกจะถูกยกขึ้นเมื่อคลิกที่ปุ่ม
    * Toggle the Subscript ตัวอักษรจะกลายเป็นตัวห้อยเมื่อคลิกที่ปุ่ม

Font Rendering Method
การเลือกแสดงผลของ Font ต่างๆ ใน Flash นั้น เราสามารถกำหนดใช้ให้เหมาะสมกับการใช้งานแต่ละประเภทที่แตกต่างกันได้

URL Link
การพิมพ์ Text ใน flash ทุกคำนั้น มีคุณสมบัติพิเศษว่า สามารถทำ Link ได้ทันที โดยทำ ไฮไลท์บริเวณที่ต้องการทำ Link จากนั้นให้ใส่ URL ของเว็บไซต์ใดก็ได้ หรือหากเป็นเว็บไซต์ของเราเองก็สามารถใส่ชื่อไฟล์ html ได้เช่นกัน

 

ข้อใดต่อไปนี้คือขั้นตอนสุดท้ายในการสร้างภาพเคลื่อนไหวหรือมูฟวี่จาก

ขั้นตอนสุดท้ายของการสร้างงาน Animation คือการพับลิช (Publish) ชิ้นงานที่ สร้างเสร็จสมบูรณ์แล้วเป็นไฟล์มูฟวี่หรือเป็นไฟล์ในรูปแบบที่ต้องการ เพื่อนาไปเผยแพร่ต่อไป

ขั้นตอนการสร้างภาพเคลื่อนไหว มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง

ขั้นที่ 1 นำวัตถุที่ต้องการสร้างภาพเคลื่อนไหวมาวางบนเวที ซึ่งตรงกับฉากลำดับที่ 1 ของเส้นเวลา ขั้นที่ 2 ทำการเลือกฉากที่ 2 ของเส้นเวลาจากนั้นทำการกด F6 เพื่อทำการ Insert key frame จากนั้นให้ทำการขยับรูปภาพที่ต้องการให้รูปมีการเคลื่อนไหวไปเล็กน้อย ขั้นที่ 3 ทำแบบขั้นตอนที่ 2 ไปจนกระทั่งครบ 5 ฉากก็จะได้ภาพเคลื่อนไหวดังภาพ

ส่วนประกอบใดในโปรแกรม Flash เป็นที่รวบรวมคำสั่งและการตั้งค่าสำหรับการใช้งานของโปรแกรม

เมนูบาร์เป็นแถบที่รวบรวมคำสั่งในการใช้งานทั้งหมดเกี่ยวกับการสร้างชิ้นงาน และการตั้งค่าต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรม ทูลบ็อกซ์ (Toolbox)

ขั้นตอนใดนับว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการออกแบบภาพเคลื่อนไหว

๒. ขั้นตอนการทำ (Production) เป็นขั้นตอนที่ทำให้ภาพตัวละครต่างๆ มีความสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะกำหนดว่า ภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องนั้น จะสวยงามมากหรือน้อยเพียงใด ประกอบด้วย การวาดและลงสีการ์ตูนแอนิเมชัน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง