สารข้อใดที่ใช้ในระบบตู้เย็น

                  โดยสารทำความเย็นในอนาคต จะมุ่งไปสู่การใช้สารทำความเย็นธรรมชาติ เช่น CO2 / HC / NH3 / น้ำ / อากาศ ซึ่งเป็นสารที่พบเจออยู่ในสภาพแวดล้อม มีค่า ODP = 0 และมีค่า GWP ต่ำ โดยในประเทศทางยุโรปหลายๆประเทศ ได้มีการห้ามใช้สาร CFC และ HCFC เป็นสารทำความเย็นในการติดตั้งกับระบบใหม่ อย่างไรก็ตาม พบว่าสารทำความเย็นเหล่านี้ถูกใช้ในการติดตั้งระบบเก่าส่วนใหญ่ที่มีอยู่แล้ว

ถ้าจะพูดถึงระบบทำความเย็น หรือระบบปรับอากาศที่ใกล้ตัวเรามากที่สุด เครื่องทำความเย็นที่เราคงจะหนีไม่พ้นก็คือ เครื่องปรับอากาศตามบ้านเรือน หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า “แอร์” มาจากภาษาอังกฤษที่เรียกกันเต็ม ๆ ว่า Air Conditioner (แอร์คอนดิชั่นเนอร์) และอีกชิ้นหนึ่งที่ทุกบ้านเรือนจะขาดไม่ได้ คือ ตู้เย็น (Refrigerator)

ทั้งสองอย่างที่กล่าวมาด้านบนนี้ นับว่าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าหลัก ที่หลายๆ คนจะขาดไม่ได้ในโลกปัจจุบัน ทำให้เรามีความสะดวก สบาย มากขึ้น

วันนี้เราลองมารู้จักชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ภายในอุปกรณ์เครื่องทำความเย็น และปรับอากาศโดยทั่ว ๆ ไป กันก่อนครับ

วงจรการทำความเย็นแบบอัดไอ

อุปกรณ์ต่างๆ และหน้าที่เบื้องต้นในวงจรการทำความเย็นแบบอัดไอ

1. คอมเพรสเซอร์ (Compressor)

คอมเพรสเซอร์ มีหน้าที่ ดูด-อัด สารทำความเย็นในสถานะก๊าซ ทำให้ความดันของน้ำยาสูงขึ้น และเมื่อความดันน้ำยาสูงขึ้น ก็จะทำให้จุดเดือดของสารทำความเย็นสูงขึ้นตาม

2. คอนเดนเซอร์ (Condenser) หรือ คอยล์ร้อน

คอนเดนเซอร์ มีหน้าที่ควบแน่นสารทำความเย็น คือ เปลี่ยนสารทำความเย็นจากสถานะก๊าซ ให้กลายเป็นของเหลว โดยการแลกเปลี่ยนความร้อนกับอากาศที่ผ่านแผงคอนเดนเซอร์ ในเงื่อนไขที่ว่าอุณหภูมิของอากาศที่มาแลกเปลี่ยนจะต้องต่ำกว่าจุดเดือดของสารทำความเย็น

3. อุปกรณ์ลดความดัน (Expansion Device)

อุปกรณ์ลดความดัน ที่นิยมใช้ในเครื่องปรับอากาศ หรือตู้เย็น จะเรียกว่า แคปทิ้ว (Capillary Tube) มีลักษณะเป็นท่อทองแดงขนาดเล็กๆ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง และความยาวแตกต่างต่างกันตามขนาดของเครื่องทำความเย็น หรือถ้าเป็นแอร์แบบอินเวอร์เตอร์ (Inverter) จะมีการใช้วาล์วแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Expansion Valve) ที่มีความแม่นยำในการควบคุมปริมาณการฉีดสารทำความเย็นมากขึ้น
หน้าที่ของอุปกรณ์ลดความดัน คือ การลดความดันของสารทำความเย็น และเมื่อลดความดันของสารทำความเย็นลงแล้ว จุดเดือดของสารทำความเย็นก็จะลดลงเช่นกัน ทำให้สารทำความเย็นสามารถเดือด และแลกเปลี่ยนความร้อนกับอากาศที่ผ่านแผงคอยล์เย็นได้ ในเงื่อนไขที่ว่าอุณหภูมิของอากาศที่มาแลกเปลี่ยนจะต้องสูงกว่าจุดเดือดของสารทำความเย็น

4. อีวาเปอเรเตอร์ (Evaporator) หรือ คอยล์เย็น

อีวาเปอเรเตอร์ มีหน้าที่ระเหยสารทำความเย็น หรือทำให้สารทำความเย็นเดือดเป็นก๊าซ ในระหว่างที่สารทำความเย็นเดือดเป็นก๊าซนั้น จะมีการดึงพลังงาน หรือความร้อนจากอากาศที่ผ่านเข้าคอยล์เย็นมาใช้ในกระบวนการ ทำให้อากาศที่ผ่านเข้ามาหลังแลกเปลี่ยนความร้อนกันแล้วมีอุณหภูมิลดลง และในส่วนของสารทำความเย็นก็จะมีอุณหภูมิสูงขึ้น

5. อุปกรณ์อื่น ๆ

5.1 มอเตอร์พัดลม (Fan Motor) และใบพัด (Fan Blade)

มอเตอร์พัดลมและใบพัด ทำหน้าที่นำพาอากาศรอบข้าง เข้ามาแลกเปลี่ยนพลังงาน หรือความร้อนกับสารทำความเย็นที่คอยล์ร้อน และคอยล์เย็น

5.2 สารทำความเย็น หรือน้ำยา (Refrigerant)

สารทำความเย็น หรือน้ำยาแอร์ ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนความร้อน โดยใช้การเปลี่ยนสถานะของสารทำความเย็น ซึ่งการเปลี่ยนสถานะของสารทำความเย็นนี้จะเป็นกระบวนการหลักของการสร้างความเย็นให้กับระบบ

สารทำความเย็น ( Refirgerants ) หรือที่ช่างแอร์เรียกสั้นๆว่าน้ำยาแอร์ ในเชิ่งวิศวกรรม หมายถึง สารที่ทำให้เกิดความเย็นโดยการดูดความร้อนเมื่อขยายตัวหรือเปลี่ยนสภาพจากของเหลวเป็นไอ สารนี้ในสภาพเป็นไอ ถ้าได้ระบายความร้อนออก จะคืนสภาพเป็นของเหลวอีกครั้ง

เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ

คุณสมบัติของสารทำความเย็น

น้ำยาทำความเย็นเป็นของเหลวที่มีคุณสมบัติในการทำความเย็นโดยการดูดความร้อนจากวัตถุหรือสิ่งของที่ต้องการทำให้เย็นน้ำยาทำความเย็นที่ดี ต้องมีคุณสมบัติทาง ฟิสิกส์ ทางเคมี ที่มีความปลอดภัยในการใช้

  • ความปลอดภัย เป็นสิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึง สารทำความเย็นบางชนิดมีคุณสมบัติในการทำความเย็นดี แต่มีขีดจำกัดในการใช้งาน สารทำความเย็นที่ดีต้องไม่มีปฏิกิริยาทางเคมี ไม่ไวไฟ หรือ ระเบิดง่าย และไม่เป็นพิษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำมันหล่อลื่น คอมเพรสเซอร์ หรือชิ้นส่วนต่างๆภายในระบบ
  • ความเป็นพิษของสารทำความเย็น อาจกล่าวได้ว่าไม่มีแก๊สใด ๆ ที่ปลอดภัยแก่มนุษย์เท่ากับอากาศ ความเป็นพิษของสารทำความเย็นจะขึ้นอยู่กับปริมาณและระยะเวลาของสารทำความเย็นที่ผสมกับอากาศ
  • การไวไฟและระเบิดของสารทำความเย็น สารทำความเย็นที่มีสารประกอบของ ไฮโดรคาร์บอน จะไวไฟและระเบิดได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นการใช้สารประเภทนี้ จึงต้องมีผู้ชำนาญคอยควบคุมตลอดเวลา
  • การประหยัดและคุณสมบัติอื่นๆ ของสารทำความเย็น สารทำความเย็นจะต้องมีการดูดรับปริมาณความร้อนได้ดีและต้องการกำลังในการอัดตัวของคอมเพรสเซอร์น้อยที่สุด ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพของระบบสูงขึ้น

สารทำความเย็นเป็นตัวกลางในการทำความเย็น ขณะที่สารทำความเย็นในระบบในอีวาพอเรเตอร์ ( Evaporator ) เดือดเปลี่ยนสถานะเป็นไอที่อุณหภูมิและความดันต่ำจะต้องการความร้อนแฝง ดูดรับปริมาณความร้อนจากอากาศภายในห้องโดยรอบอีวาพอเรเตอร์ ปริมาณความร้อนจำนวนนี้จะถูกระบายออกทิ้งภายนอกห้องที่คอนเดนเซอร์ ( Condenser ) เพื่อให้สารทำความเย็นกลั่นตัวเป็นของเหลวอีกครั้งหนึ่ง

วงจรของสารทำความเย็นในระบบทำความเย็น

สารทำความเย็นเป็นตัวกลางในการทำความเย็น ขณะที่สารทำความเย็นในระบบในอีวาพอเรเตอร์ ( Evaporator ) เดือดเปลี่ยนสถานะเป็นไอที่อุณหภูมิและความดันต่ำจะต้องการความร้อนแฝง ดูดรับปริมาณความร้อนจากอากาศภายในห้องโดยรอบอีวาพอเรเตอร์ ปริมาณความร้อนจำนวนนี้จะถูกระบายออกทิ้งภายนอกห้องที่คอนเดนเซอร์ ( Condenser ) เพื่อให้สารทำความเย็นกลั่นตัวเป็นของเหลวอีกครั้งหนึ่ง

ประเภทของสารทําความเย็น (Refrigerants)

สารทำความเย็นแบ่งออกเป็นกลุ่มตามองค์ประกอบทางเคมี ซึ่งในปัจจุบันค้นพบว่าสารประกอบทางเคมีบางชนิดในสารทำความเย็นอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้สารทำความเย็นบางชนิดถูกแทนที่ด้วยสารทำความเย็นทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยประเภทของสารทำความเย็น มีดังนี้

1. CFC = คลอโรฟลูออโรคาร์บอน

คลอโรฟลูออโรคาร์บอนเป็นสารทำความเย็นที่มีคลอรีน ซึ่งถูกห้ามตั้งแต่ต้นปี 90 เนื่องจากผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเชิงลบ ตัวอย่างของ CFC ได้แก่ R11, R12 และ R115

2. HCFC = ไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน

HCFCs ไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน ได้ถูกระบุอย่างเป็นทางการว่าเป็นสารทดแทน CFC ชั่วคราว (จนถึงปี 2030) โดย HCFCs มีคลอรีนน้อยกว่า CFCs แต่ก็ยังเป็นสารที่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ ซึ่งปัจจุบันบางประเทศ เริ่มมีการสั่งห้ามใช้สารกลุ่ม HCFC แล้ว ตัวอย่างของไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน เช่นR22, R123 และ R124

3. HFC = ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน

ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอนเป็นสารทำความเย็นที่ไม่มีคลอรีนและไม่เป็นอันตรายต่อชั้นโอโซน (ODP = 0) เนื่องจากปัจจุบันมีความกังวลต่อผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนมากขึ้น สารทำความเย็น HFC จึงถูกพัฒนาขึ้นมาแทนสารทำความเย็นแบบดั้งเดิม ซึ่งในปัจจุบันสารทำความเย็น HFC เป็นสารทำความเย็นที่อยู่ใช้งานอย่างแพร่หลายมากที่สุด เช่น R32 R125 R134a R404A A407C R410A R507A R508B ตัวอย่างการใช้งานสารทำความเย็น เช่น

  • R404A ส่วนใหญ่ใช้กับงานตู้เย็นและตู้แช่แข็ง ซึ่งเป็นน้ำยาที่ได้รับบการพัฒนาเป็นทางเลือกแทน R502
  • R134a เป็นสาร HFC ที่นำมาใช้ในระบบทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก เพราะแทบไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ที่ออกแบบมาสำหรับ R22 อย่างไรก็ตาม มันมีประสิทธิภาพที่จำกัดมาก เนื่องจากประสิทธิซึ่งต่ำกว่าที่ได้รับจาก R22 ประมาณ 40% ดังนั้นผู้ผลิตจึงต้องเพิ่มขนาดเครื่องทำความเย็นเพื่อให้ได้ความจุที่เท่ากัน ซึ่ง R134a จึงถูกใช้ในระบบเครื่องทำความเย็นขนาดใหญ่เป็นหลัก (มากกว่า 250 KW)
  • R407C เหมือนกับ R134a ซึ่งมีลักษณะคล้ายกันทางอุณหพลศาสตร์กับ R22 โดย R407C มีความลื่นไหลสูงทำให้ไม่นิยมใช้งานได้ในเครื่องทำความเย็นในครัวเรือนขนาดเล็ก สารทำความเย็นนี้จึงใช้เฉพาะในระบบความจุปานกลาง (50-250 KW) ซึ่งมักจะให้บริการโดยบุคลากรที่มีทักษะ
  • R410A มีคุณสมบัติทางอุณหพลศาสตร์ที่น่าสนใจมาก ประหยัดพลังงานได้สูงกว่า R22 ไม่ลื่นไหล และด้วยเหตุนี้จึงไม่มีปัญหากับส่วนผสมที่เหลือหลังจากการสูญเสียประจุและเติมใหม่ อย่างไรก็ตาม มีแรงดันใช้งานเกือบสองเท่าของ R22 ดังนั้นจึงต้องมีการออกแบบใหม่ทั้งระบบด้วยคอมเพรสเซอร์ขนาดใหญ่ วาล์วขยายตัว ฯลฯ
  • R507A ประสบความสำเร็จในการใช้งานในระบบทำความเย็นเชิงอุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์

4. FC = ฟลูออโรคาร์บอน

ฟลูออโรคาร์บอน ไม่มีคลอรีนและไม่เป็นอันตรายต่อชั้นโอโซน เช่น R218 R403 R408

5. HC = ไฮโดรคาร์บอน

ไฮโดรคาร์บอน เป็นสารทำความเย็นที่ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและเป็นสารทำความเย็นที่ไม่เป็นอันตรายต่อชั้นโอโซน (ODP = 0) และแทบไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรง (GWP<5) แต่ติดไฟได้สูง การใช้ HCs เป็นสารทำความเย็นจำกัดเฉพาะในยุโรป เนื่องจากบางประเทศได้สั่งห้ามการใช้ก๊าซไวไฟในที่สาธารณะ

6. NH3 = แอมโมเนีย

แอมโมเนีย R717 เป็นสารทำความเย็นทางเลือกที่น่าสนใจ มีการใช้ในระบบทำความเย็นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2383 และในระบบอัดไอตั้งแต่ปี พ.ศ. 2403 ในแง่ของคุณสมบัติของสารทำความเย็นควรได้รับการพิจารณาว่าเป็นสารทำความเย็นชั้นสูง ซึ่งค่า ODP และ GWP ของมันคือ 0 อย่างไรก็ตาม แอมโมเนียเป้นสารทำความเย็นที่มีกลิ่น ทำให้กลิ่นสามารถตรวจพบการรั่วไหลได้ง่าย แอมโมเนียเป็นอันตรายอย่างยิ่งแม้ในระดับความเข้มข้นต่ำ เนื่องจากกลิ่นมักทำให้เกิดความตื่นตระหนก นี่คือเหตุผลหลักที่ทำให้แอมโมเนียจึงถูกถอนออกจากการใช้งานสำหรับคนไม่มีทักษะและเก็บไว้สำหรับการใช้งานในภาคอุตสาหกรรมเท่านั้น

7. CO2 = คาร์บอนไดออกไซด์

R744 คาร์บอนไดออกไซด์ มีคุณสมบัติที่น่าสนใจหลายประการ ได้แก่ ไม่ติดไฟ ไม่ก่อให้เกิดการทำลายโอโซน ดัชนีความเป็นพิษต่ำมาก (ความปลอดภัย A1) มีปริมาณมาก และต้นทุนต่ำ อย่างไรก็ตาม ยังมีประสิทธิภาพต่ำและมีแรงดันใช้งานสูง (สูงกว่า R134a ประมาณ 10 เท่า) ด้วยเหตุผลสองประการหลัง จำเป็นต้องมีความพยายามในการปรับปรุงวงจรการทำความเย็นและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง โดย CO2 ถูกใช้ในเครื่องปรับอากาศในอุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น

สามารถเปลี่ยนสารทำความเย็นในระบบทำความเย็น ได้หรือไม่ ?

สารทำความเย็นในปัจจุบันมีออกมามากมาย ซึ่งสารแต่ละตัวจะมีจุดเดือดที่ต่างกัน จะส่งผลให้ความดันในระบบทำความเย็นของแต่ละสารทำความเย็นต่างกัน การเปลี่ยนสารทำความเย็นจากชนิดหนึ่งไปเป็นอีกชนิดหนึ่งจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง

เพราะต้องดูปัจจัยหลายๆอย่าง ในระบบความคุมของเครื่องทำความเย็นจะถูกออบแบบมาเพื่อสารทำความเย็นนั้นๆ และใน Compressor แต่ละรุ่น ก็จะออกแบบมาสำหรับสารทำความเย็นเฉพาะตัว

ถ้ามีการเปลี่ยนสารทำความเย็น อาจสงผลให้ การทำความเย็นมีประสิทธิภาพที่แย่ลง และอาจส่งผลให้อายุการใช้งานของอุปกรณ์เครื่องทำความเย็นมีอายุสั้นลง

สรุป การเลือกใช้สารทำความเย็น ควรเลือกอย่างไร ?

การเลือกใช้สารทำความเย็นควรคำนึงถึงการใช้งานของเครื่องทำความเย็นเป็นหลัก เพราะสารทำความเย็นแต่ละชนิดมีคุณสมบัติและราคาที่ต่างกัน จึ่งต้องพิจารณาจากการใช้งานเป็นหลักเพื่อที่จะตอบสนองต่อประสิทธิภาพของเครื่องทำความเย็น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง