ใครเป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำระบำสุโขทัย

ระบำโบราณคดี

ระบำโบราณคดี

          ระบำโบราณคดีเกิดจากแนวคิดของนายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ซึ่งได้พบภาพเขียน ภาพปั้น และภาพจำหลักตามโบราณสถาน และโบราณวัตถุสมัยต่างๆ ทั้งที่พบในประเทศไทย และประเทศใกล้เคียง จึงได้นำมาประกอบแนวคิดประดิษฐ์สร้างเครื่องดนตรี และท่านาฏศิลปแต่ละสมัยขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ โดยขอให้นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย และศิลปินแห่งชาติ แต่งทำนองขึ้นตามแนวคิดนั้น โดยมอบให้นางลมุล ยมะคุปต์ นางเฉลย ศุขะวณิช และท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ผู้เชี่ยวชาญการสอน     นาฏศิลปไทย และศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ สร้างเป็นระบำโบราณคดี ๕ ชุด ดังนีี้

๑.ระบำทวาราวดี

๒.ระบำศรีวิชัย

๓.ระบำลพบุรี

๔.ระบำเชียงแสน

๕.ระบำสุโขทัย

ความเป็นมา

สมัยทวารวดีอยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๖      
      ระบำทวารวดีเป็นระบำชุดที่ ๑ ในระบำโบราณคดีซึ่งมีทั้งหมดด้วยกันรวม ๕ ชุด นายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ได้ริเริ่มขึ้นโดยทำการสอบสวนค้นคว้าจากหลักฐานภาพปั้นและภาพจำหลักที่ขุดค้นพบ ณ โบราณสถานสมัยทวารวดี เช่นที่ คูบัว อู่ทอง นครปฐม โคกไม้เดนและจันเสน หลังจากนั้น นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญด้านดุริยางค์ไทย กรมศิลปากร และศิลปินแห่งชาติ ได้สร้างสรรค์ทำนองเพลง และมอบหมายให้นายสนิท ดิษฐ์พันธ์ เป็นผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย



       นางลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป กรมศิลปากร และนางเฉลย ศุขะวณิช ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร และศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ประดิษฐ์ลีลาท่ารำตามทำนองเพลงที่นายมนตรี ตราโมท ได้สร้างสรรค์ขึ้น       นักปราชญ์ทางโบราณคดีได้วินิจฉัยไว้ตามหลักฐานที่พบว่าประชาชนชาวทวารวดีเป็นมอญหรือเผ่าชนที่พูดจาภาษามอญ เพราะฉะนั้น ดนตรีและลีลาท่ารำในระบำชุดนี้จึงมีสำเนียงและท่ารำเป็น แบบมอญ 

       ระบำชุดนี้ได้จัดแสดงถวายทอดพระเนตรเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๐ ในงานเปิดอาคารสร้างใหม่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ระบำนี้ประดิษฐ์ขึ้นจากการนค้นคว้าหลักฐานทางโบราณคาดีสมัยทวารวดี ท่ารำและ เครื่องแต่งกายได้แนวคิดจากภาพสลัก ภาพปั้นที่ขุดค้นพบ ณ โบราณสถานที่ตำบลคูบัว อำเภอ อู่ทอง จังหวัดนครปฐมและที่ตำบลโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์ ฯลฯ นักโบราณคดี สันนิฐานว่าชาวทวารวดีเป็นต้นเชื้อสายพวกมอญ ดังนั้นลีลาท่ารำ รวมทั้งเนียงทำนองเพลง จึงเป็นแบบมอญ ท่ารำบางท่าได้ความคิดมาจากภาพสลัก และภาพปูนปั้นที่ค้นพบโบราณสถานที่ สำคัญ เช่น

        ๑.ท่านั่งพับเพียบ มือขวาจีบตั้งข้อมือระดับไหล่ มือซ้ายวางบนตัก ท่านี้เป็นท่าที่ได้จากภาพปูนปั้น นักร้องนักดนตรีหญิงสมัยทวารวดี ซึ่งพบที่ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี 
         ๒.ท่ามือซ้ายคว่ำฝ่ามือ งอนิ้วทั้ง ๔ เล็กน้อยปรกหู มือขวาหงายฝ่ามือ ปลายนิ้วมือจรดที่หน้าขาเกือบถึงข่าซ้าย เขย่งเท้าซ้าย ย่อเข่าทั้ง ๒ ข้างลง กดไหล่ว้าย ลักคอข้างขวา ท่านี้เรียกว่าท่าลลิตะ จากภาพปูนปั้นกินรีฟ้อนรำ ที่ตำบลโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์   
         ๓.ท่ามือซ้ายจีบหันฝ่ามือเข้าหารักแร้ มือขาวจีบตั้งวงกันศอกระดับไหล่ ดกไหล่ขวา ลักคอทางซ้าย เท้าขวาเขย่ง ส้นเท้าขวาชิดกับข้อเท้าซ้าย ซึ่งยืนเต็มเท้า ย่อเข่าทั้ง ๒ ข้างและกับเข่าขวา ท่านี้เป็นท่าที่ได้จากการภาพปูนปั้นที่ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี

    การแต่งกาย

                                   

        เครื่องแต่งกายชุดระบำทวารวดี ได้แบบอย่างมาจากภาพปูนปั้น ที่ค้นพบตามสถานที่สำคัญต่าง ๆ สมัยทวารวดี และได้นำมาประดิษฐ์ให้เหมาะสมกับการแสดง ซึ่งมีดังนี้
        ๑. ผมเกล้าสูงกลางศีรษะในลักษณะคล้ายลูกจันแบน สวมเกี้ยวรัดผม
        ๒. สวมกระบังหน้า
        ๓. สวมต่างหูเป็นห่วงกลมใหญ่
        ๔. สวมเสื้อในสีเนื้อ ( แทนการเปลือยอกตามภาพปั้น )
        ๕. นุ่งผ้าลักษณะคล้ายจีบหน้านางสีน้ำตาลแถวหนึ่ง และสีเหลืองอ่อนแถวหนึ่ง มีตาลสีทองตกแต่งเป็นลายพาดขวางลำตัว
        ๖. ห่มสไบเฉียง ปล่อยชายไว้ด้านหน้า และด้านหลัง
        ๗. สวมกำไลข้อมือ ต้นแขนโลหะ และแผงข้อเท้าผ้าติดลูกกระพรวน
        ๘. สวมจี้นาง
        ๙. คาดเข็มขัดผ้าตาดเงิน หรือเข็มขัดโลหะ

ดนตรี

  เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบ ประกอบด้วย
      1.พิณ ๕ สาย 
      2.จะเข้ 
      3.ขลุ่ย 
      4 ระนาดตัด 
      5.ตะโพนมอญ 
      6.ฉิ่ง 
      7.ฉาบ
      8.กรับคู่ 

 ความเป็นมา 

สมัยศรีวิชัยอยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๘      
    ระบำศรีวิชัยเป็นระบำชุดที่ ๒ สมัยศรีวิชัยมีอาณาเขตตั้งแต่ภาคใต้ลงไปจนถึงดินแดนของประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซียบางส่วนปัจจุบัน 

     ระบำศรีวิชัยเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๙  ตนกู อับดุล รามานห์ อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ได้แต่งเรื่อง Raja Bersiyong ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอาณาจักรศรีวิชัย และได้เชิญคณะนาฏศิลป์ไทย   ไปแสดงประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้ กรมศิลปากรได้จัดการแสดง ๒ ชุด คือ รำชัดชาตรี และระบำศรีวิชัย โดยระบำศรีวิชัยนี้มอบให้ นางลมุล ยมะคุปต์   ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร และนางเฉลย ศุขะวณิช ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง(นาฏศิลป์)ปีพุทธศักราช ๒๕๓๐ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ

       นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดุริยางค์ไทย กรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง(ดนตรีไทย) ปีพุทธศักราช ๒๔๒๘  เป็นผู้แต่งทำนองเพลง โดยอาศัยหลักฐานจากศิลปกรรมภาพจำหลักที่สถูปบุโรพุทโธในเกาะชวา ซึ่งเชื่อกันว่าอยู่ในสมัยราชวงศ์ไศเลนทร์ อันเป็นยุคเดียวกันกับสมัยศรีวิชัย สร้างขึ้นในราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๘ การแต่งทำนองเพลง กระบวนท่ารำ และเครื่องแต่งกาย ประดิษฐ์ขึ้นจากลักษณะที่ปรากฏอยู่บนภาพจำหลักผสมกับท่วงท่าของนาฏศิลป์ชวา เรียกว่า ระบำศรีวิชัย และได้นำไปแสดงเพื่อถ่ายทำภาพยนตร์ ณ กรุง กัวลาลัมเปอร์ และนครสิงคโปร์ เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๐        

      ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ได้มีการปรับปรุงระบำศรีวิชัยใหม่ทั้งกระบวนท่ารำและทำนองเพลงบางตอน เพื่อให้เข้ากับระบำโบราณคดีอีก ๔ ชุด สำหรับนำออกแสดงให้ประชาชนชมในงานดนตรีมหกรรม ณ สังคีตศาลาเมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๐ และได้แสดงถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทอดพระเนตรในงานเสด็จพระราชดำเนินทางเปิดการแสดงศิลปะโบราณวัตถุในอาคารสร้างใหม่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๐ โดยมีนายสนิท ดิษฐพันธ์ ออกแบบเครื่องแต่งกาย นางชนานันท์ ช่างเรียน สร้างเครื่องแต่งกาย นายชิต แก้วดวงใหญ่ สร้างศิราภรณ์ และเครื่องประดับ

      ท่ารำระบำศรีวิชัยประดิษฐ์ขึ้นจากภาพจำหลักและภาพปูนปั้นสมัยศรีวิชัย ประสมกับท่ารำชวาและบาหลี สอดแทรกลีลาทางนาฏศิลป์ ลักษณะรำบางท่าคล้ายท่ารำของชวา และบาหลี เช่น การตั้งวงกันศอก ออกเป็นวงโค้ง การทำมือ การใช้คอยักคอเหมือนนาฏศิลป์ชวาและบาหลี การตั้งท่านิ่ง ท่าบิดสะโพกคล้ายท่ารำของบาหลี 

เครื่องแต่งกาย

       ๑.เสื้อในนาง ตัวเสื้อใช้ผ้าต่วนเนื้อหนาสีเนื้อ เป็นเสื้อเข้ารูปไม่มีแขน ดันทรง เปิดช่วงไหล่และหลัง     
       ๒.ผ้านุ่ง เป็นผ้าโสร่งบาติค เย็บเป็นจีบหน้านางเล็กๆ อยู่ตรงกลางด้านหน้า ไม่มีชายพก     
       ๓.ผ้าคาดรอบสะโพก ใช้ผ้าแพรเนื้อบาง มี ๒ สี คือ สีเขียว และสีแดง               ๔.เข็มขัด ทำด้วยโลหะชุบทอง ลายโปร่งเป็นข้อๆ ต่อกัน หัวเข็มขัดทำด้วยหนังลงรักปิดทอง ประดับพลอยสี     
       ๕.ต่างหู เป็นต่างหูแบบห้อย ตรงส่วนแป้นหูทำด้วยหนังลงรักปิดทอง ประดับด้วยพลอยสี     
       ๖.สร้อยคอ เป็นห่วงๆ ต่อกัน ประดับด้วยพลอยสีแดงและสีเขียว   
       ๗.สร้อยสะโพก เป็นห่วงๆ ต่อกัน ทำด้วยหนังลงรักปิดทอง ประดับด้วยพลอยสีเขียวหรือสีแดง     
       ๘.กำไลต้นแขน มีลักษณะโปร่งตรงกลาง ด้านหน้าของกำไลเป็นรูปกลมเรียงสูงขึ้นไป ๓ ชั้น     
       ๙.กำไลมือ มีลักษณะกลม ประดับด้วยพลอยสีขาว    
       ๑๐.กำไลข้อเท้า ลักษณะกลมแต่ด้านในทึบ ตัวกำไลสลับลวดลายทำด้วยหนังลงรักปิดทอง ประดับพลอย    
       ๑๑.โบ โบเส้นเล็กๆ สำหรับสอดใต้เข็มขัด    
       ๑๒.ผ้าสไบ มีแผ่นโค้งเหนือไหล่ตอดสร้อยตัว ๒ เส้น ประกอบด้วยผ้าแพรบาง ความยาวเท่ากับสร้อย ชายผ้าและสร้อยตัวทั้งสองข้างติดอยู่กับเครื่องประดับสีทอง ที่ใช้คล้องไว้บนไหล่เครื่องประดับนี้ ทำด้วยหนังลงรักปิดทอง ประดับด้วยพลอยสีเขียว สีแดง ส่วนสร้อยตัวเป็นโซ่ห่วงทองเล็กๆ ต่อให้ติดกัน ทำด้วยโลหะชุบทอง    
       ๑๓.กะบังหน้า มีลักษณะคล้ายกะบังหน้าธรรมดา ตรงกลางด้านหน้าเป็นรูปกลมและต่อยอดกลมให้แหลมถึงตรงปลาย ประดับด้วยพลอยสีขาว    
       ๑๔.ปิ่นปักผม ตรงโคนที่ใช้ปักผมนั้นเรียวแหลม ส่วนตอนปลายกลึงจนมีลักษณะกลม ประดิษฐ์ขึ้นด้วยไม้นำมากลึงตามลักษณะ แล้วทาสีทองทับ

ดนตรี


    ๑. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีด ได้แก่ กระจับปี่ คือ พิณ ๔ สายชนิดหนึ่ง

    ๒. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสี  ได้แก่  ซอสามสาย 

    ๓.เครื่องดนตรีประเภทตี ได้แก่ ตะโพน กลองแขก ฆ้อง ๓ ลูก ฉิ่ง กรับ ฉาบ 

    ๔.เครื่องดนตรีประเภทเป่า ได้แก่ ขลุ่ย                                         

ความเป็นมา                                              

สมัยลพบุรีอยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๖–๑๙

     
     ระบำลพบุรี เป็นระบำชุดที่ ๓ เกิดขึ้นจากแนวความคิดของนายธนิต อยู่โพธิ์ (อดีตอธิบดีกรมศิลปากร) เช่นเดียวกับระบำทวารวดี  ประดิษฐ์ขึ้น โดยอาศัยหลักฐานจากโบราณวัตถุ และภาพจำหลักตามโบราณสถาน ซึ่งสร้างขึ้นตามแบบศิลปะของขอม ที่อยู่ในประเทศกัมพูชา และประเทศไทย อาทิ พระปรางค์สามยอดในจังหวัดลพบุรี ทับหลังประตูระเบียงตะวันตกของปราสาทหินพิมายในจังหวัดนครราชสีมา ปราสาทหินพนมรุ้งในจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น การแต่งทำนองเพลง กระบวนท่ารำ และเครื่องแต่งกาย จึงมัลักษณะคล้ายเขมรเป็นส่วนใหญ่ ระบำลพบุรีแสดงครั้งแรกเพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทอดพระเนตรในงานเสด็จพระราชดำเนินทางเปิดการแสดงศิลปะโบราณวัตถุในอาคารสร้างใหม่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อวันที่ ๒๕ 
พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๐ และภายหลังได้นำออกแสดงในโรงละครแห่งชาติและที่อื่น ๆ เพื่อให้ประชาชนชม

      นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดุริยางค์ไทย กรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) ปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ เป็นผู้แต่งทำนองเพลง โดยมีสำเนียงออกไปทางเขมร


       นางลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร และนางเฉลย ศุขะวณิช ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์) ปีพุทธศักราช ๒๕๓๐ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ 

       

นายสนิท ดิษฐพันธ์ ออกแบบเครื่องแต่งกาย นางชนานันท์ ช่างเรียน สร้างเครื่องแต่งกาย นายชิต แก้วดวงใหญ่ สร้างศิราภรณ์

นาฏยศัพท์

              จีบมือ ( จีบมือแบบลพบุรี ) ได้รูปแบบมาจากลักษณะนิ้วของพระพุทธรูปในสมัยลพบุรี ซึ่งเมื่อนำมาผสมผสานกับลีลาทางนาฏศิลป จะมีลักษณะดังนี้ คือ ปลายนิ้วหัวแม่มือจรดเหนือข้อแรกของปลายนิ้วชี้ นิ้วที่เหลือเหยียดตึง

     (จีบแบบปกติ ) 

             นิ้วหัวแม่มือจรดข้อแรกของปลายนิ้วชี้ที่เหยียดตึง

     ถองสะเอว แขนขวางศอก ให้ข้อศอกจรดเอว หักข้อมือ ตั้งวงกดไหล่ขวาศีรษะเอียงขวา มือซ้ายตั้งวงสูงระดับแง่ศีรษะ ถ้าถองสะเอวข้างซ้ายก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน เดี่ยวเท้า เดี่ยวเท้าขวา ยืนด้วยเท้าซ้าย ยกฝ่าเท้าขวาขึ้นแนบกึ่งกลางด้านข้างขวา พับซ้าย ถ้าจะเดี่ยวเท้าซ้ายก็ปฏิบัติเช่นเดี่ยวกัน

เครื่องแต่งกาย

        ๑.เสื้อ ใช้ผ้ายืดสีเนื้อ คอกลม แขนสั้นเหนือศอก ติดแถบสีทองโอบรอบคอตลอดหว่างอกและรอบเอว ตัวเอกปักดิ้นเป็นลายดอกประจำยามหนึ่งดอกตรงระหว่างอก

    ๒.ผ้านุ่ง เย็บสำเร็จแบบซ้อนหน้า ชายล่างโค้งมน ยาวคลุมเข่า ปักดิ้นลาย ประจำยาม    
    ๓.ระปราย มีผ้าตาลสีทองทาบชายกระโปรง ตัวเอกนุ่งผ้าสีส้มแสด หมู่ระบำสีฟ้าอมม่วง 
    ๔.ผ้าคลุมสะโพก สีม่วงอ่อน ชายแหลมมนแยกเป็น ๒ ชิ้น หมู่ระบำริมผ้าทาบ ด้วยผ้าตาดสีทอง ตัวเอกทาบริมด้วยผ้าตาลสีเงิน
    
   ศีรษะของระบำชุดนี้ ประกอบด้วย      
๑.กระบังหน้า หมู่ระบำใช้กระบังหน้าประดับดอกไม้ไหว ตัวเอกกระบังหน้ารูปดอกดาวกระจาย ๖ ดอก
๒.เกี้ยว
๓.พู่ไหมแซมเงิน
๔.ที่ครอบผม
๕.รัดต้นแขน ประดับกระจกสีต่างๆ
๖.สร้อยคอ ประดับด้วยแก้ว หรือพลอย
๗.เข็มขัด
๘.กำไลข้อมือ ประดับด้วยแก้วหรือพลอย
๙.กำไลข้อเท้า ประดับกระจกต่างๆ

                                                  

ความเป็นมา

สมัยเชียงแสนอยู่ในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ – ๒๕

    ระบำเชียงแสน เป็นระบำชุดที่ ๔ ประดิษฐ์ขึ้นตามแบบศิลปะ และโบราณวัตถุสถานเชียงแสน นักโบราณคดีกำหนดสมัยเชียงแสน อยู่ในระหว่าง ซึ่งได้เผยแพร่ไปทั่วดินแดนภาคเหนือของประเทศไทย ในสมัยโบราณเรียกว่าอาณาจักรลานนา ต่อมามีนครเชียงใหม่เป็นนครหลวงของอาณาจักร และเป็นศูนย์กลางแห่งการศึกษาพระพุทธศาสนาฝ่ายหินยานอันเจริญรุ่งเรือง จนถึงมีพระเถระไทยผู้เป็นนักปราชญ์สามารถแต่งตำนาน และคัมภีร์พระพุทธศาสนาเป็นภาษาบาลีขึ้นไว้หลายคัมภีร์ อาทิ คัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ และมังคลัตถทีปนี เป็นต้น ศิลปะแบบเชียงแสนได้แพร่หลายลงมาตามลุ่มแม่น้ำโขงเข้าไปในพระราชอาณาจักรลาว สมัยที่เรียกว่าลานช้าง หรือกรุงศรีสัตนาคนหุต แล้วแพร่หลายเข้าในประเทศไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนด้วย เช่น พระพุทธรูปบางชนิดที่นักโบราณคดีบางท่าน บัญญัติเรียกว่า พระพุทธรูปเชียงแสนแบบลาว หรือพระลาวพุงขาว ด้วยเหตุนี้ระบำเชียงแสนจึงมีลีลาท่ารำ และกระบวนเพลงแบบสำเนียงไทยภาคเหนือ ลาว และแบบไทยภาตะวันออกเฉียงเหนือปนอยู่ด้วย 

       ระบำเชียงแสน จัดแสดงครั้งแรก เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ ๒๕๑๐ และภายหลังได้นำออกแสดงในโรงละครแห่งชาติ และที่อื่นๆ เพื่อให้ประชาชนชน

       นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดุริยางค์ไทย กรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) ปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ เป็นผู้แต่งทำนองเพลง

       นางลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร และนางเฉลย ศุขะวณิช ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์) ปีพุทธศักราช ๒๕๓๐ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ

       นายสนิท ดิษฐพันธ์ ออกแบบเครื่องแต่งกาย นางชนานันท์ ช่างเรียน สร้างเครื่องแต่งกาย นายชิต แก้วดวงใหญ่ สร้างศิราภรณ์ และเครื่องประดับ

เครื่องแต่งกาย

     เครื่องแต่งกายของระบำเชียงแสน      
ประกอบด้วย       
    ๑.เสื้อรัดอกสีเนื้อ      
    ๒.เสื้อลูกไม้สีเหลือง ติดริมด้วยแถบผ้าตาดสีทอง      
    ๓.ซิ่นเชิงแบบป้ายข้างแถวหนึ่งสีแดง อีกแถวหนึ่งสีตอง       
    ๔.เครื่องประดับประกอบด้วยเข็มขัดมีเชือกห้อยทิ้งชายพู่ลงมาด้านหน้าทั้งสองข้าง สร้อยคอ ต่างหู กำไลข้อมือ และกำไลข้อเท้า     
    ๕.แต่งทรงผมตั้งกระบังหน้าประดับขดโลหะสีเงิน เกล้าผมมวย ไว้ด้านหลัง ติดดอกกล้วยไม้ข้างหูซ้าย

ดนตรี

     ใช้วงพื้นเมืองภาคเหนือ เครื่องดนตรีประกอบด้วย ปี่จุ่ม แคน สะล้อ ซึง ตะโพน ฉิ่ง ฉาบใหญ่ และฆ้องหุ่ย     
     เพลงที่ใช้ประกอบการแสดง ได้แก่ เพลงเชียงแสน (เที่ยวช้า และเที่ยวเร็ว)



                                                     

ความเป็นมา

อยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๘ – ๒๐
      

       ระบำสุโขทัย เป็นระบำชุดที่ ๕ นับเป็นยุคสมัยที่ชนชาติไทย เริ่มสร้างสรรค์ศิลปะด้านนาฏศิลป์ และดนตรีในเป็นสมบัติประจำชาติ โดยอาศัยหลักฐานอ้างอิงที่กล่าวไว้ในเอกสาร และหลักศิลาจารึก ประกอบศิลปกรรมอื่น ๆ การแต่งทำนอง กระบวนท่ารำ และเครื่องแต่งกาย ประดิษฐ์ขึ้นให้มีลักษณะที่อ่อนช้อยงดงาม ตามแบบอย่างของศิลปะสมัยสุโขทัย

       ระบำชุดสุโขทัย จัดแสดงครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ และภายหลังได้นำออกแสดง ในโรงละครแห่งชาติ และที่อื่นๆ เพื่อให้ประชาชนชม

       นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดุริยางค์ไทย กรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) ปีพุทธศักราช ๒๕๒๘  เป็นผู้แต่งทำนองเพลง โดยนำทำนองเพลงเก่าของสุโขทัยมาดัดแปลง

       ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย กรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาจาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ไทย) ปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ

       นายสนิท ดิษฐพันธ์ ออกแบบเครื่องแต่งกาย นางชนานันท์ ช่างเรียน สร้างเครื่องแต่งกาย นายชิต แก้วดวงใหญ่ สร้างศิราภรณ์ และเครื่องประดับ

นาฎยศัพท์

นาฎยศัพท์ที่ใช้ประกอบการรำ
      ๑.จีบหังสัสยะหัสต์ โดยการนำนิ้วหัวแม่มือจรดข้อสุดท้ายของนิ้วชี้
 หักข้อนิ้วชี้ลงมา นิ้วที่เหลือกรีดดึงออกไป 

      ๒.ท่าปางลีลา เป็นท่าออก โดยมือซ้ายจีบแบบหังสัสยะหัสต์ มือขวาแบส่งไปหลังหงายท้องแขนขึ้น เอียงศีรษะด้านซ้าย ก้าวเท้าขวามาข้างหน้า เท้าซ้ายเปิดส้นเท้า 

      ๓.ท่าดอกบัว คิดจากการเคารพบูชากราบไหว้ มือทำเป็นรูปดอกบัว อยู่ระหว่างอกเป็นดอกบัวตูม ชูมือขึ้นแล้วค่อยๆบานปลายนิ้วออกเป็นบัวบาน 

      ๔.ท่าพระนารยณ์ แทนองค์พระนารายณ์ พระอิศวร ท่าจีบแบบหังสัสยะหัสต์ ตั้งวงกลางข้างลำตัว กระดกเท้าซ้าย 

      ๕.ท่ายูงฟ้อนหาง คิดจากท่านาฎศิลป์ แบมือ แขนทั้งสองตึงส่งหลัง หงายท้องแขนขึ้น

      ๖.ท่าบัวชูฝัก คิดจากการขอพร อีกมือหนึ่งไว้ข้างสะโพก มือจีบคว่ำแล้วสอดมือขึ้น เป็นท่าสอดสูงเหนือศีรษะ 

      ๗.ท่าชะนีร่ายไม้ คิดจากมนุษย์โลกต้องการดำรงชีวิต หมุนเวียนเปลี่ยนไป โดยหมุนเป็นวงกลมแทนการเวียน ว่าย ตาย เกิด  มือข้างหนึ่งตั้งวงสูง มืออีกข้างหนึ่งหงายท้องแขน ลำแขนตึง แบมือและชี้ปลายนิ้วลง มองมือสูง

 

การแต่งกาย  

    แบ่งออกเป็นตัวเอกและตัวรอง ดังนี้    
    ศีรษะ            ทรงยอดรัศมีสำหรับตัวเอก และทรงระฆังคว่ำสำหรับตัวรอง   
    ต่างหู            เป็นดอกกลม   
    เสื้อในนาง         สีชมพูอ่อน   
    กรองคอ          สีดำ ปักดิ้นและเลื่อม    
    ต้นแขน           ตัวรองพื้นสีดำ ปักดิ้นและเลื่อม ตัวเอกทำด้วยหนังลงรักปิดทอง 
    กำไลข้อมือ        ตัวรองพื้นสีดำ ปักดิ้นและเลื่อม ตัวเอกทำด้วยหนังลงรักปิดทอง 
    ข้อเท้า           ตัวรองพื้นสีดำ ปักดิ้นและเลื่อม ตัวเอกทำด้วยหนังลงรักปิดทอง
    ผ้ารัดเอว         ทำด้วยผ้าสีดำ มีลวดลายเป็นดอกไม้ประดับและห้อยที่ชายเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มีริบบิ้นสีเขียวห้อยมาทั้งสองข้าง   
    ผ้านุ่ง            เป็นกระโปรงบานจีบหน้าสีส้ม มีลูกไม้สีขาวระบายเป็นชั้น ๆ  
    ทรงผม           เกล้าผม ครอบด้วยที่รัดผม

         จำนวนผู้เล่น ผู้หญิงจำนวน ๗ คน (มากกว่านั้นก็ได้แต่ผู้แสดงต้องเป็นเลขคี่)

    เครื่องดนตรี       

                  ประกอบด้วย 

                ปี่ใน กระจับปี่ ฆ้องวงใหญ่ ซอสามสาย ตะโพน ฉิ่งและกรับ

อ้างอิง

//patdramaa111.srp.ac.th/raba-borankhdi
//sites.google.com/site/ajanthus/raba-borankhdi/raba-lphburi

ระบำสุโขทัยเกิดขึ้นในสมัยใด

ระบำสุโขทัย พบในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๘ – ๒๐ เป็นยุคสมัยที่ชนชาติไทย เริ่มสร้างสรรค์ศิลปะด้านนาฏศิลป์ และดนตรีในเป็นสมบัติประจำชาติ โดยอาศัยหลักฐานอ้างอิงที่กล่าวไว้ในเอกสาร และหลักศิลาจารึก การแต่งทำนอง กระบวนท่ารำ และเครื่องแต่งกาย ประดิษฐ์ขึ้นให้มีลักษณะที่อ่อนช้อยงดงาม ตามแบบอย่างของศิลปะสมัยสุโขทัย

ใครเป็นผู้ประดิษฐ์การแสดงชุด "ระบำลพบุรี"

ระบำ ลพบุรี เป็นระบำชุดที่ ๓ ในระบำโบราณคดีที่เกิดขึ้นจากแนวความคิดของนายธนิต อยู่โพธิ์ (อดีตอธิบดีกรมศิลปากร) เช่นเดียวกับระบำทวารวดี อยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๖ – ๑๙ ประดิษฐ์ขึ้น โดยอาศัยหลักฐานจากโบราณวัตถุ และภาพจำหลักตามโบราณสถาน ซึ่งสร้างขึ้นตามแบบศิลปะของขอม ที่อยู่ในประเทศกัมพูชา และประเทศไทย อาทิ พระปรางค์ ...

การแสดงระบำสุโขทัยจัดอยู่ในงานประเภทใด

ระบำสุโขทัยเป็นระบำหมู่ ประกอบด้วยผู้แสดง ๕-๗ คน แบ่งเป็นตัวเอง ๑ คน และหมู่ระบำ ท่ารำประดิษฐ์ขึ้นโดยเลียนแบบศิลปะสมัยสุโขทัย ลักษณะท่ารำจะมีทั้งท่ารำของตัวเอก และท่ารำของหมู่ระบำ ที่มีความสอดคล้อง กลมกลืนกัน รวมทั้งการใช้มือ เท้า ศีรษะ จะมีลักษณะพิเศษตามยุคสมัย ตลอดจนการแปรปรวนในการรำด้วยลักษณะต่างๆ

บุคคลสำคัญทางนาฏศิลป์ท่านใดเป็นผู้คิดประดิษฐ์ท่ารำระบำโบราณคดีชุดระบำสุโขทัย

ระบำสุโขทัย เป็นระบำชุดที่ 5 ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย กรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาจาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ไทย) ปีพุทธศักราช 2528 เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง