บุคคลที่องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ยูเนสโก้ ยกย่องให้ เป็นกวีเอกของโลก คือใคร

ยูเนสโกประกาศยกย่อง “กำพล วัชรพล”
เป็นบุคคลสำคัญของโลก

นายกำพล วัชรพล สามัญชนคนหนังสือพิมพ์ เป็นชาวเอเชียเพียงคนเดียวที่ UNESCO ประกาศยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก
ผู้มีผลงานดีเด่นด้านการศึกษาที่ UNESCO ร่วมเฉลิมฉลองในโอกาส 100 ปีชาตกาล พ.ศ.2561-2562

ในการประชุมสมัยสามัญครั้งที่ 39 ขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม ถึงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2560 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้มีมติให้ประกาศยกย่อง นายกำพล วัชรพล อดีตผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ผู้ก่อตั้งโครงการโรงเรียนไทยรัฐวิทยาเพื่อชุมชนในชนบท และมูลนิธิไทยรัฐ ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านสื่อสารมวลชนและการศึกษาตามข้อเสนอของประเทศไทย ด้วยการสนับสนุนของประเทศมาเลเซีย เกาหลีใต้ และเวียดนาม ทั้งนี้องค์การยูเนสโกจะร่วมเฉลิมฉลองระหว่างปีพุทธศักราช 2561-2562

บุคคล สถาบัน และเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ที่ยูเนสโกได้ประกาศยกย่องในคราวเดียวกับที่ได้ยกย่อง นายกำพล วัชรพล จากประเทศไทยและเป็นคนเอเชียเพียงคนเดียวครั้งนี้ มีทั้งสิ้น 48 ชื่อ จาก 30 ประเทศ ในจำนวนสมาชิกของยูเนสโก 195 ประเทศ

จำแนกเป็นการยกย่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี 100 ปีชาตกาล หรือมากกว่านั้นของบุคคล หรือครบรอบปีการก่อตั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูง สถาบันทางวิชาการ เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของประเทศต่างๆ

ในส่วนของการยกย่องบุคคลสำคัญนั้น ล้วนแต่เป็นบุคคลผู้มีชื่อเสียงของประเทศต่างๆ ซึ่งมีทั้งนักดนตรีชื่อก้องโลก นักประพันธ์เพลง วาทยากร ศิลปิน กวี จิตรกร ช่างภาพ นักสำรวจ นักวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ นักคณิตศาสตร์ นักการศึกษา นักแสดงชาย-หญิง และนักแปล เป็นต้น

ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังที่เป็นผู้รู้จักกันโดยทั่วไปที่ได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกครั้งนี้ เช่น จิตรกรชื่อดังชาวอิตาลี ลีโอนาร์โด ดาร์วินชี่ (มรณกรรมครบ 500 ปี), นักประพันธ์ชาวเมกซิกัน ฮวน โฮเซ่ อาร์ลีโอล่า (100 ปีชาตกาล), นักประพันธ์เพลงและนักดนตรีชาวเยอรมัน คลาร่า โจเซฟิน ชูมานน์ (200 ปีชาตกาล),

นักประพันธ์เพลงและวาทยากรชาวโปแลนด์ สตานิสลาฟ โมนิอุสโก (200 ปีชาตกาล), นักประพันธ์ชื่อดังชาวรัสเซีย แมกซิม กอร์กี้ (150 ปีชาตกาล), นักประพันธ์ชื่อดังชาวรัสเซียคนที่สองชื่อ อเล็กซานเดอร์ โซลเซ นิตซิน (100 ปีชาตกาล), และนักประพันธ์ชื่อดังคนที่สามชื่อ เซอร์เกเยวิช ตูร์เกเนฟ (200 ปีชาตกาล), นักการศึกษาชาวยูเครน วาซิล สุคอมลินสกี้ (100 ปีชาตกาล), นักประพันธ์เพลงชาวคาซัคสถาน คูรมานกาซี่ (100 ปีชาตกาล) และวีรบุรุษของคนผิวสี ผู้นำการต่อสู้การเหยียดผิว รัฐบุรุษ อดีตประธานาธิบดีอัฟริกาใต้ เนลสัน โรลีห์ลาห์ลา แมนเดลา (100 ปีชาตกาล) เป็นต้น

ในประเทศไทย นับตั้งแต่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย อดีตเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงธรรมการ ทรงได้รับการประกาศยกย่องจากยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกผู้มีผลงานด้านการศึกษา การปฏิรูปการปกครอง การสาธารณสุขและประวัติศาตร์โบราณคดี เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2515 เนื่องในวันประสูติครบรอบ 100 พรรษาเป็นต้นมา มีคนไทยที่ได้รับการประกาศยกย่อง จำนวน 27 พระองค์/รูป/คน โดยเป็นพระมหากษัตริย์และ พระราชวงศ์ชั้นสูง 15 พระองค์ เป็นขุนนาง 3 คน เป็นพระ 1 รูป เป็นนายกรัฐมนตรี 2 คน และเป็นสามัญชน 6 คน

ผู้ที่ได้รับการประกาศยกย่องคนก่อนจะถึงนายกำพล วัชรพล คือ ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในโอกาสครบรอบ 100 ปีชาตกาล เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2559 ในฐานะเป็นผู้มีผลงานดีเด่น ด้านการศึกษาสังคมศาสตร์ และมานุษยวิทยา

สำหรับขั้นตอนการดำเนินการเสนอนั้น คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทย ได้มีมติเห็นชอบให้เสนอชื่อนายกำพล วัชรพล โดยประกาศยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ประจำปี พ.ศ. 2561 - 2562 (นายกำพล วัชรพล จะมีอายุครบรอบ 100 ปี ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2562)​ โดยหนังสือที่นำเสนอได้ผ่านความเห็นชอบที่ประชุมคณะกรรมการผู้จัดวาระการประชุม รวมทั้งการประชุมคณะกรรมการบริหาร ครั้งที่ 202 ระหว่างวันที่ 4 ตุลาคม ถึง 18 ตุลาคม พ.ศ.2560 และเข้าสู่การพิจารณาเห็นชอบในที่สุด

จากที่ประชุมสมัชชาใหญ่นั้น ได้เสนอว่า ‘นายกำพล วัชรพล เป็นนักการศึกษาแห่งมวลชน แม้เขาจะปราศจากการศึกษาอย่างเป็นทางการ แต่เขาก็ได้ส่งเสริมความรู้ และการศึกษาผ่านกิจการทางสื่อ ของเขา ซึ่งเป็นผู้ใจบุญที่เรียนรู้ด้วยตนเองนี้ ได้ใช้หนังสือพิมพ์รายวันของเขาอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป้าหมายสำคัญสองประการ

ประการแรก เพื่อให้การศึกษาแก่ชาวบ้านในด้านการเมือง และสภาพเศรษฐกิจสังคมของประเทศ ประการที่สอง เพื่อต่อสู้กับความพยายามในการถูกตรวจพิจารณาข่าวสาร (censor) โดยรัฐบาลระบอบเผด็จการทางทหารของไทยก่อน พ.ศ. 2535

ความเป็นมืออาชีพทางสื่อ และทักษะทางการบริหารจัดการของเขาได้ทำให้ไทยรัฐ หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่กลายเป็นหนังสือพิมพ์รายวันที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของประเทศ เมื่อ พ.ศ. 2505 นับตั้งแต่บัดนั้น หนังสือพิมพ์ฉบับนี้ได้กลายเป็นเสียงที่มีอิทธิพลมากที่สุดเสียงหนึ่ง ในการพัฒนาอย่างเสรีทางด้านการเมือง และเศรฐกิจของประเทศไทย ซึ่งได้ทำให้ประเทศนี้เป็นสังคมเปิดให้กับเสรีภาพสื่อ

นอกจากนี้ นายกำพล ได้ตระหนักว่าการให้การศึกษาแก่ประชาชนคนไทยอย่างไม่เป็นทางการและการแพร่กระจายของข่าวสาร ที่เขาแสดงความสามารถก่อนหน้านั้น ไม่เพียงพอที่จะสร้างคนรุ่นหลังที่มีความรู้และความสามารถขึ้นมาได้ โดยเฉพาะผู้คนในชนบท ดังนั้นเขาจึงตัดสินใจที่จะส่งเสริมการศึกษาอย่างจริงจัง ผ่านการสร้างโรงเรียนใหม่ให้แก่เยาวชนในส่วนที่ขัดสน ตามชนบทที่ห่างไกลความเจริญ และไม่สามารถเข้าถึงได้ของอุปกรณ์การเรียนการสอน อาคารสถานที่ และครูที่เอาใจใส่ในการอบรมเยาวชนในประเทศ หลังจากโรงเรียนต้นแบบที่เขาให้เงินไปทำ 2 โรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เขาได้ก่อตั้งเครือข่ายโรงเรียนที่เรียกว่า “ไทยรัฐวิทยาเพื่อชุมชนในชนบท” เริ่มต้นที่จังหวัดลพบุรี เมื่อ พ.ศ. 2512 ภายในเวลาสามสิบปี นายกำพลใช้จ่ายเงินประมาณ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ ในการสร้างเครือข่ายไทยรัฐวิทยาทั่วประเทศ 101 โรง ให้ความดูแลนักเรียนจำนวน 30,000 คน สะท้อนถึงคติพจน์และความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้า ของนายกำพล ที่โรงเรียนไทยรัฐวิทยาได้รวมเอาวิชาเสริมสองวิชาเข้าไว้ คือ วิชาความสามารถในการอ่านเขียนสื่อ (Media literacy - การรู้เท่าทันสื่อ) และ การศึกษาวิชาหน้าที่พลเมืองและศีลธรรม (พลเมืองดี) เขาเชื่อว่าหลักสูตรทั้งสองนั้น จะปลูกฝังความเชื่อที่มีผลต่อการกระทำดีของประชาชนให้กับนักเรียน และช่วยพวกเขาให้กลายเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศ

ข้อมูลในการนำเสนอจากยูเนสโกประเทศไทยได้กล่าวยกย่องนายกำพลด้วยว่า ในฐานะที่เป็นเจ้าของสื่ออย่างหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ อันเป็นหนังสือพิมพ์รายวันที่เป็นอิสระและไม่ขึ้นกับผู้ใดเพียงแห่งเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุค ค.ศ. 1960 (ระหว่างปี พ.ศ. 2503-2513) นายกำพลเป็นตัวแทนสื่ออิสระที่เป็นที่รู้จักอย่างดี เขาได้รับพิจารณาให้เป็นผู้บุกเบิกในการสนับสนุนเสรีภาพสื่อ นอกจากนั้น เหล่าบรรณาธิการอาวุโสของหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ได้ให้ความช่วยเหลือต่อองค์กรสื่อท้องถิ่น และรวมถึงให้ความรู้ต่อผู้สอนที่มาจากองค์กรการศึกษาด้วย ต่อจากนั้น ไทยรัฐได้รวมเอาปรัชญาที่ว่า ‘หนังสือพิมพ์ในการศึกษา’ หรือการที่หนังสือพิมพ์เข้าไปมีส่วนในวงการศึกษา (Newspaper in Education : NIE) เข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมของไทยรัฐ สำหรับเยาวชนไทยผู้ด้อยโอกาสด้วย

นอกจากนี้ในปัจจุบันกิจการด้านสื่อที่ตั้งอยู่ในอาเซียน และนักข่าวของสื่อจากประเทศอาเซียนเหล่านั้นเข้าเยี่ยมสำนักงานใหญ่ของไทยรัฐบ่อยครั้ง รวมทั้งนักหนังสือพิมพ์จากยุโรป และสหรัฐอเมริกา เพื่อศึกษาให้มากขึ้นเกี่ยวกับการพัฒนาด้านสื่อของประเทศไทยและภูมิภาค บางหน่่วยงานได้รับโอกาสเข้าศึกษาหลักสูตร หรือฝึกงานเพื่อเรียนรู้ให้เกิดความชำนาญและทักษะทางด้านสื่อ และปรับเทคโนโลยีด้านสื่อให้ทันสมัยขึ้น

ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา นายกำพล วัชรพล ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของไทยรัฐเข้าช่วยเหลือทั้งองค์กรทางอาชีพสื่อท้องถิ่นและภูมิภาค อาทิเช่น สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์อาเซียน เครือข่ายสื่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยในการสร้างความมั่นคงอย่างยั่งยืนให้กับองค์กรเหล่านั้นด้วย

บุคคลใด ที่องค์การยูเนสโก (Unesco) ได้ถวายพระเกียรติคุณ ให้ในฐานะบุคคลสำคัญที่มีผลงานดีเด่นด้านวรรณกรรมระดับโลก

26 มิถุนายน 2529 องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ “ยูเนสโก” ( UNESCO) ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ “สุนทรภู่” ให้เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก ในวาระครบรอบ 200 ปีเกิดของสุนทรภู่ นับเป็นสามัญชนคนแรกของไทยที่ได้รับเกียรตินี้

บุคคลใดที่ได้รับการยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ

สำหรับขั้นตอนการดำเนินการเสนอนั้น คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทย ได้มีมติเห็นชอบให้เสนอชื่อนายกำพล วัชรพล โดยประกาศยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ประจำปี พ.ศ. 2561 - 2562 (นายกำพล วัชรพล จะมีอายุครบรอบ 100 ปี ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2562)​ โดยหนังสือ ...

บุคคล ใด ที่ องค์การ ยูเนสโก ยกย่องให้เป็น กวี เอก ของโลก

5.สุนทรภู่ กวีเอกครั้งรัชกาลที่ 2 ยูเนสโกได้ประกาศยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านวรรณกรรม เนื่องในโอกาสฉลองวันเกิดครบ 200 ปี เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2529 นับเป็นสามัญชนคนแรกที่ได้รับเกียรตินี้

บุคคลในข้อใดที่องค์การยูเนสโก (Unesco) ยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกและเป็นนักเขียนคนสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย *

ยูเนสโกยกย่อง "พระอาจารย์มั่น-สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส" เป็นบุคคลสำคัญของโลก 25 พฤศจิกายน 2562.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง