เพราะเหตุใดประเทศในทวีปยุโรปจึงไม่ประสบปัญหาภัยพิบัติจากสภาพภูมิอากาศแบบทะเลทราย บริเวณใดของทวีปยุโรปที่มักประสบปัญหาอุทกภัยบ่อยครั้งเพราะเหตุใด เพราะเหตุใดบริเวณตอนกลางของทวีปยุโรปจึงเป็นบริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในทวีปยุโรปมีอะไรบ้าง โรงงานอุตสาหกรรมในภาคใดของทวีปยุโรป ที่มีความเจริญก้าวหน้ามาก เพราะเหตุใด ประเทศในทวีปยุโรปจึงสามารถใช้เส้นทางรถไฟเชื่อมต่อกันระหว่างประเทศได้ทั้งทวีป ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมในทวีปยุโรป ที่มีผลต่อประเทศไทย คือข้อใด กิจกรรมใดสัมพันธ์กับภูมิอากาศ ประชากรยุโรปจะอาศัยอยู่กันอย่างหนาแน่นในแถบ พื้นที่ใด ของทวีปยุโรป แหล่งเกษตรกรรมสำคัญของทวีปยุโรป อยู่ในบริเวณใด เพราะเหตุใด เส้นทางการคมนาคมทางอากาศของทวีปยุโรป จึงได้รับความนิยมจากประชาชนทั่วไป

เพราะเหตุใดทวีปยุโรปจึงเป็นทวีปที่มีผลกระทบจากภัยพิบัติน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับทวีปอื่น ๆ

อ.ดร.ลดาวัลย์ ไข่คำ[1]

ขณะที่โลกกำลังต่อสู้และพยายามปรับตัวกับความปกติใหม่ (New Normal) จากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มายาวนานเกือบสองปี ในเวลาเดียวกันความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมกำลังภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่ท้าทายความมั่นคงในระดับรัฐและระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุทกภัยครั้งใหญ่ได้ปรากฏขึ้นทั่วโลก เช่น เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในทวีปยุโรปที่กระทบต่อทั้งประเทศเยอรมนี เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ น้ำท่วมครั้งนี้ได้ทำลายและสร้างความสูญเสียอย่างมหาศาลจนนักวิทยาศาสตร์ยังประหลาดใจ และในเอเชียก็เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ที่เมืองเจิ้งโจว มณฑลเหอหนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน อุทกภัยและดินถล่มในอินเดีย ทั้งสามเหตุการณ์เกิดขึ้นภายในเดือนกรกฎาคม 2021 ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าหลายประเทศกำลังเผชิญหน้ากับภัยพิบัติสองด้าน คือ ด้านสาธารณสุข และด้านสิ่งแวดล้อม ..

อุทกภัยคืออะไร 

อุทกภัย‘ หรือ น้ำท่วม (Flood) หมายถึง การสะสมของน้ำบนพื้นดินแห้ง สาเหตุเกิดจากการเอ่อล้นของน้ำเข้ามาในแผ่นดินจากแม่น้ำและลำธาร เหตุการณ์น้ำขึ้นน้ำลงตามธรรมชาติ หรือจากการสะสมของปริมาณน้ำที่มากผิดปกติจากแหล่งน้ำต่าง ๆ เช่น ฝนตกหนัก หรือเหตุการณ์เขื่อนแตก  (Denchak, 2019) สภาป้องกันทรัพยากรธรรมชาติของสหรัฐอเมริกา (The Natural Resources Defense Council) (2019) ซึ่งเป็นหน่วยงานเพื่อปกป้องโลก ทั้งผู้คน พืช สัตว์ และระบบธรรมชาติ ได้แบ่งประเภทของน้ำท่วมไว้สี่ประเภทดังนี้

  1. น้ำท่วมจากแม่น้ำ (River Flooding) เกิดขึ้นเมื่อแม่น้ำหรือลำธารมีมวลน้ำจำนวนมากไหลมาตามธรรมชาติและเกิดน้ำเอ่อล้นท่วมพื้นดินตามฝั่งแม่น้ำ เหตุการณ์นี้มักเกิดขึ้นในช่วงปลายฤดูหนาวและต้นฤดูใบไม้ผลิ (ในยุโรป) และในฤดูฝน น้ำท่วมจากแม่น้ำอาจมีสาเหตุมาจากฝนตกหนัก หิมะละลายอย่างรวดเร็ว หรือการติดขัดของน้ำแข็ง จากการศึกษาพบว่าประชาชนประมาณ 41 ล้านคนในสหรัฐอเมริกามีความเสี่ยงที่จะประสบภัยจากน้ำท่วมจากประเภทนี้
  2. น้ำท่วมชายฝั่ง (Coastal Flooding) หมายถึงปริมาณน้ำที่เอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่บริเวณชายฝั่ง เกิดขึ้นเมื่อลมพายุพัดจากมหาสมุทรเข้าสู่ชายฝั่ง เช่น พายุเฮอริเคน หรือคลื่นพายุที่พัดนำกำแพงน้ำจากมหาสมุทรเข้าสู่พื้นดิน ซึ่งคลื่นพายุสามารถก่อความสูญเสียได้อย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ น้ำทะเลหนุนที่เกิดจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นอาจทำให้เกิดน้ำท่วมในลักษณะที่ไม่รุนแรงนัก แต่หากน้ำทะเลหนุนสูงมาก ก็อาจเกิดอุทกภัยในระดับที่สร้างความเสียหายได้ 
  3. น้ำท่วมฉับพลัน (Flash Floods) และน้ำป่าไหลหลาก มักเกิดจากฝนตกหนักในช่วงเวลาสั้น ๆ (ปกติไม่เกิน 6 ชั่วโมง) ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ มักเกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีความลาดชันมาก ที่ราบระหว่างหุบเขา และพื้นที่ที่ไม่สามารถกักเก็บน้ำหรือต้านน้ำได้ พื้นที่ลุ่มต่ำจะมีความเสี่ยงเป็นพิเศษหากระบบการระบายน้ำไม่ดี นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากเขื่อนแตกหรือน้ำล้นอย่างกะทันหัน อันเนื่องจากมีเศษซากหรือน้ำแข็งขัดขวางทางระบายน้ำได้ โดยธรรมชาติ การเกิดน้ำท่วมฉับพลันนั้นมีอันตรายเพราะกระแสน้ำมีความรุนแรงสูงและไม่สามารถประเมินผลกระทบได้ ประชาชนจึงมีโอกาสน้อยที่จะได้รับการเตือนเพื่อให้ป้องกันและอพยพได้ทันเวลา และก่อให้เกิดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินมากที่สุด
  4. น้ำท่วมในเมือง (Urban Flooding) หมายถึงน้ำท่วมที่เกิดจากน้ำท่วมฉับพลัน น้ำท่วมชายฝั่ง หรือน้ำท่วมจากแม่น้ำที่เกิดขึ้นในพื้นที่เขตเมืองหรือพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น น้ำล้นในเมืองเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพของระบบระบายน้ำในท้องถิ่น น้ำฝนจำนวนมหาศาลจึงไหล่บ่าลงถนน ลานจอดรถ อาคาร และพื้นผิวแห้งต่าง ๆ และไหลลงสู่ท่อระบายน้ำ แต่ระบบระบายน้ำในเมืองไม่สามารถรองรับมวลน้ำขนาดใหญ่ได้ ทำให้น้ำระบายไม่ทันหรือเกิดปรากฏการณ์ “น้ำรอระบาย” จนกลายเป็นน้ำท่วมขังในเมือง

อุทกภัยกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

ปัญหาอุทกภัยมีความสอดคล้องกับ 3 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SGDs) ดังนี้ 

#SDG3 การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good Health and Well-being) ที่เน้นเป้าหมายของการที่คนมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ปัญหาอุทกภัยก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยในชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ SGDs จึงต้องการเสริมขีดความสามารถให้ทุกประเทศโดยเฉพาะกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในเรื่องการแจ้งเตือนล่วงหน้า การลดความเสี่ยง และการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพในระดับประเทศและระดับโลก เนื่องจากในน้ำท่วมมีเชื้อโรคและสิ่งสกปรกปะปนมาจำนวนมากส่งผลให้เกิดโรคระบาดตามมาได้

#SDG6 การมีน้ำสะอาดและสุขอนามัย (Clean Water and Sanitation) คือการสร้างหลักประกันว่าจะมีการจัดให้มีน้ำสะอาดและสุขอนามัยสำหรับทุกคน มีการบริหารจัดการที่ยั่งยืน โดยเฉพาะเป้าหมายย่อย 6.4 ที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในทุกภาคส่วนและสร้างหลักประกันว่าจะมีการใช้น้ำและการจัดหาน้ำที่ยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำและลดจำนวนประชาชนที่ประสบความทุกข์จากการขาดแคลนน้ำให้ได้ภายในปี 2030 และเป้าหมายย่อย 6.6 การปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับแหล่งน้ำ รวมถึงภูเขา ป่าไม้ พื้นที่ชุ่มน้ำ แม่น้ำ ชั้นหินอุ้มน้ำ และทะเลสาบภายในปี 2020 

#SDG11 เมืองและถิ่นฐานมนุษย์ที่ยั่งยืน (Sustainable Cities and Communities) คือการทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในชุมชนมีความครอบคลุม ปลอดภัยและยั่งยืน โดยเฉพาะเป้าหมายย่อย 11.5 ที่ต้องการลดจำนวนการตายและจำนวนคนที่ได้รับผลกระทบและลดการสูญเสียโดยตรงทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของโลกที่เกิดจากภัยพิบัติ ซึ่งรวมถึงภัยพิบัติที่เกี่ยวกับน้ำโดยมุ่งปกป้องและช่วยเหลือคนจนและกลุ่มเปราะบาง ในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์น้ำท่วม ภายในปี 2030 

อุทกภัยทั่วโลกกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ความท้าทายด้านสาธารณสุขที่รุนแรงด้านหนึ่งคือการระบาดใหญ่ของ COVID-19 แต่อีกด้านหนึ่งหลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ

วิกฤตการระบาดใหญ่ทั่วโลก (Pandemic) ของ COVID-19 เริ่มต้นที่เมืองหวู่ฮั่น ประเทศจีน ซึ่งมีการรายงานไวรัสครั้งแรกเมื่อปลายปี 2019 ขณะนี้ (6 สิงหาคม 2021) มีผู้ติดเชื้อทั่วโลกรวม 201,724,792 คน และมีผู้เสียชีวิตรวม 4,280,666 ราย (Worldometer, 2021) การระบาดใหญ่นี้ทำให้สถานการณ์การควบคุมโรคในประเทศที่มีจำนวนประชากรมากและมีรายได้ต่ำซึ่งเป็นสังคมที่มีความเปราะบางมากกว่าประเทศอื่น ๆ ย่ำแย่ลง เช่น ในประเทศอินเดียและประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซีย และประเทศไทย ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและมีข้อจำกัดในการเข้าถึงวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ การระบาดของ COVID-19 กำลังสั่นคลอนชีวิตมนุษย์ และความเป็นอยู่ที่ดี โรคระบาดจึงเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของมนุษย์ที่สำคัญที่สุดในปัจจุบัน (Saha & Chakrabarti, 2021) องค์การอนามัยโลกและรัฐบาลของแต่ละประเทศต้องบังคับใช้กฎระเบียบที่เคร่งครัดในการจำกัดการเดินทาง ให้ประชาชนต้องปรับตัวให้เข้ากับการทำงานออนไลน์ รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลโดยการล้างมือบ่อย ๆ และลดกิจกรรมประจำวันนอกเคหะสถานให้มากที่สุด เพื่อจำกัดการแพร่ระบาดของ COVID-19

ความท้าทายด้านสาธารณสุขที่รุนแรงด้านหนึ่งคือการระบาดใหญ่ของ COVID-19 แต่อีกด้านหนึ่งหลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น พายุไซโคลนแฮโรลด์ (Tropical Cyclone Harold) ซึ่งเป็นพายุหมุนเขตร้อนระดับ 5 ที่มีกำลังแรงมาก[2] ก่อให้เกิดการทำลายล้างเป็นวงกว้าง กระทบต่อหมู่เกาะโซโลมอน วานูอาตู ฟิจิ และตองกาในช่วงเดือนเมษายน 2020 (Mangubhai, Nand, Reddy, & Jagadish, 2021) โรคระบาดทำให้โครงการฟื้นฟูในพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากไต้ฝุ่นฮากิบิส (Hagibis) ในประเทศญี่ปุ่นที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2019 ต้องหยุดชะงักลง และเหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล เช่น น้ำท่วมที่เกิดจากหิมะละลายในจังหวัดแมนิโทบา (Manitoba Province) และเมืองออตตาวา (Ottawa City) ในประเทศแคนาดาเมื่อปี 2020 น้ำท่วมใหญ่ในยุโรปตะวันตกเมื่อเดือนกรกฎาคม 2021 ส่งผลกระทบกับหลายเมืองในประเทศเยอรมนี เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเกิดจากฝนตกหนัก แม่น้ำหลายสายไหลเชี่ยว ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปกว่า 160 คน (Schmidt, Pleitgen, Wojazer, & Ravindran, 2021)

ภาพที่ 1: แผนที่บริเวณที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในยุโรปตะวันตกปี 2021
ที่มา: (BBC News, 2021a)

ในเอเชีย สถานการณ์น้ำท่วมตามฤดูกาลมีความรุนแรงมากขึ้นระหว่างเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม น้ำท่วมตามแนวแม่น้ำแยงซี ประเทศจีนในปี 2020 มักเกิดขึ้นหลังจากฝนตกเป็นเวลานาน และการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน ที่เมืองเจิ้งโจว มณฑลเหอหนานในเดือนกรกฎาคม 2021 มีสาเหตุหลักมาจากปริมาณฝนที่มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ คือมีปริมาณน้ำฝนสูงสุด 201.9 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง โดยไม่มีการเตือนภัยล่วงหน้า ทำให้ผู้มีเสียชีวิตถึง 302 ราย (มี 12 รายที่เสียชีวิตในรถไฟฟ้าใต้ดิน) สูญหาย 50 คน รวมประชาชนที่ได้รับผลกระทบมากกว่า 9.3 ล้านคน และก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจมหาศาล (BBC News, 2021b; Gan & Wang, 2021) ขณะที่เหตุการณ์น้ำท่วมและดินถล่มตามชายฝั่งตะวันตกของประเทศอินเดียเมื่อวันที่ 17-18 กรกฎาคม 2021 เกิดจากฝนมรสุมตกหนัก ได้ส่งผลกระทบต่อผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองมุมไบและรัฐมหาราษฏระ รายงานจาก Humanitarian Aid International เมื่อวันที่ 3 สิงหาคมระบุว่าเหตุการณ์นี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 209 รายและยังคงสูญหายอีกจำนวนหนึ่ง ขณะที่มีประชาชนที่ต้องอพยพแล้วถึงกว่าสี่แสนคนจากพื้นที่แปดอำเภอ (Humanitarian Aid International, 2021) ปรากฏการณ์เหล่านี้ล้วนเป็นอุทกภัยที่มากับฤดูฝนประจำปี แต่ปีนี้อุทกภัยได้เกิดขึ้นพร้อมกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 (Botzen, Deschenes, & Sanders, 2019; Zhou, Wu, Xu, & Fujita, 2018)

 น้ำท่วมเฉียบพลันในรถไฟใต้ดินเมืองเจิ้งโจว ประเทศจีน 

น้ำท่วมตามฤดูกาลมีความรุนแรงมากขึ้น เพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก การทำให้เป็นเมือง (Urbanization) และการพัฒนาที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยให้มากขึ้น เช่น ระบบระบายน้ำที่ไม่มีประสิทธิภาพในพื้นที่ลุ่มต่ำ พื้นที่ลาดชันในเขตเมืองและเขตชุมชน นอกจากนี้ ในเขตเมืองและเขตชุมชนยังมีความเสี่ยงมากกว่าต่อการแพร่ระบาดของ COVID-19 อีกด้วย (Ishiwatari, Koike, Hiroki, Toda, & Katsube, 2020) การศึกษาของ Han และ He (2021) ตั้งข้อสังเกตว่าน้ำท่วมฉับพลันในสภาพอากาศทร้อนในพื้นที่เขตเมืองทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับสถานการณ์น้ำท่วมตามฤดูกาลส่งผลต่อกิจกรรมการใช้ชีวิตของมนุษย์ การทำลายทรัพย์สิน สร้างความสูญเสียในชีวิตไม่น้อย (Kongmuang, Tantanee, & Seejata, 2020) และทำให้พลเมืองจำนวนมากต้องพลัดถิ่น โดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยอยู่ในสังคมที่ยากจนและเปราะบาง แม้กระทั่งในประเทศที่พัฒนาแล้ว การศึกษาของ Shen และคณะ (2021) พบว่าในช่วงเวลาสามปีที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกาประสบปัญหาอุทกภัยจนทำให้มีพลเมืองชาวอเมริกันกลายเป็นผู้พลัดถิ่นเฉลี่ย 10,729 คนต่อปี โดยเฉพาะในปี 2020 และน้ำท่วมเฉียบพลันในมณฑลเหอหนาน ประเทศจีนทำให้ผู้คนต้องอพยพย้ายถิ่นมากกว่า 1.1 ล้านคน นอกจากนี้ ปัญหาอุทกภัยได้เพิ่มความเสี่ยงให้ประชากรพลัดถิ่นที่อาศัยอยู่ในประเทศที่ยังไม่สามารถจำกัดการระบาดของ COVID-19 ได้มีโอกาสติดเชื้อมากขึ้น เนื่องจากน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในเขตเมืองนั้นมีการปนเปื้อนเชื้อโรคจากสิ่งปฏิกูลอยู่ด้วย (Shen, Cai, Yang, Anagnostou, & Li, 2021) ดังนั้น รัฐบาลจึงไม่อาจรับมือกับอุทกภัยแบบเดิมที่เคยทำกันมาท่ามกลางภาวะวิกฤตโรคระบาดในปัจจุบันได้

เหตุการณ์ภัยพิบัติในภาวะโรคระบาดได้ให้บทเรียนราคาแพงที่มนุษย์สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ การศึกษาของ Ishiwatari และคณะ (2021) พบว่า โดยทั่วไปรัฐบาลและองค์กรจัดการภัยพิบัติในประเทศต่าง ๆ  จะใช้มาตรการเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของ COVID-19 ก่อนที่จะมีมาตรการเพิ่มเติมในการจัดการภัยพิบัติ ผลของการทำเช่นนี้กลับทำให้การรับมือกับภัยพิบัติล่าช้า ไม่มีประสิทธิภาพ และมีค่าใช้จ่ายสูงเกินไปในการบรรเทาความเสียหาย เช่น ประเทศวานูอาตูได้รับผลกระทบจากพายุไซโคลนฮาโรลด์อย่างรุนแรง สภากาชาดสากลและนานาชาติจึงได้ให้ความช่วยเหลือ แต่ก็ดำเนินการได้ล่าช้าเพราะข้อจำกัดในการเดินทางที่รัฐบาลใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 และประชากรเกิดความหวาดกลัวต่อการแพร่กระจายของเชื้อโรคที่ปะปนผ่านสิ่งของและบุคลากรที่ส่งมาช่วยเหลือ (OCHA, 2020) นอกจากนี้ การรับมือกับน้ำท่วมในเมืองออตตาวา ประเทศแคนาดาได้จัดตั้งทีมรับมือกับอุทกภัยแยกต่างหาก ในขณะที่เมืองกำลังตอบสนองต่อการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 รัฐบาลท้องถิ่นจึงขอให้องค์กรที่เกี่ยวข้องและประชาชนปฏิบัติตามข้อจำกัดการทำงาน โดยให้เว้นระยะห่างและห้ามทำงานเกินห้าคน เพราะเกรงว่าจะเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโรค หรือประเทศญี่ปุ่นได้รับความความเสียหายจากไต้ฝุ่นฮากิบิสเมื่อเดือนตุลาคม 2019 โดยพายุไต้ฝุ่นคร่าชีวิตผู้คนไป 100 ราย บ้านเรือนเสียหายกว่า 60,000 หลัง แต่การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2020 ทำให้รัฐบาลท้องถิ่นต้องสั่งระงับการทำงานของอาสาสมัครประมาณ 200,000 คน ทำให้ยังไม่ได้ทำความสะอาดชุมชนและซ่อมแซมบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหาย ซึ่งอาจกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อพันธุ์เชื้อโรคได้ (Ishiwatari et al., 2020)

Ishiwatari และคณะ (2020) จึงมีข้อเสนอแนะในการรับมือกับภัยพิบัติท่ามกลางการแพร่ระบาดของ COVID-19 ดังนี้ 

1. รัฐบาลต้องบูรณาการแนวคิดเรื่องความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security) กับนโยบายใหม่ที่มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างการคุ้มครองและเสริมอำนาจให้กับทุกคน และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ตามหลักการของ “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” (SDGs) โดยยึดหลักที่ว่าประชาชนมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีแม้ในยามวิกฤต และต้องมีส่วนร่วมในการจัดการภัยพิบัติร่วมกับภาครัฐและองค์กรต่าง ๆ (UNDRR Asia-Pacific, 2020)

2. รัฐบาลต้องให้ความสำคัญในการปกป้องชีวิตมนุษย์ทุกคน รวมทั้งองค์กรภาครัฐ และเจ้าหน้าที่จัดการภัยพิบัติ ขณะเดียวกันรัฐบาลต้องเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลระทบจากจากอุทกภัยและควบคุมการแพร่กระจายของ COVID-19 ได้ด้วย นอกจากนี้ รัฐบาลต้องมีการจัดสรรทรัพยากรไปยังพื้นที่ประสบภัยที่มีความต้องการทรัพยากรที่สำคัญ ได้แก่ เงิน มนุษย์ ความช่วยเหลือ และอุปกรณ์เครื่องมือที่เหมาะสม ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นที่ต้องการมากกว่าก่อนการระบาดของ COVID-19 พร้อมกันนั้นรัฐบาลต้องรับรองความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ในขณะที่ปฏิบัติงานในการจัดการภัยพิบัติ รัฐบาลต้องมีสวัสดิการต่าง ๆ ให้แก่พนักงานและอาสาสมัคร เช่น การฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ การจัดหาอุปกรณ์ที่เหมาะสม ปลอดภัย เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ 

3. การร่วมมือและการประสานงานกับหลายภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่เกี่ยวข้องกับน้ำและสาธารณสุข เพราะมีความสำคัญในการควบคุมการแพร่กระจายของ COVID-19 ในขณะที่จัดการภัยพิบัติ ทุกภาคส่วนต่าง ๆ จะต้องมีการประสานงานเพื่อให้กลไกการจัดการภัยพิบัติมีประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเฉพาะกิจ (War Room) เพื่อประสานงานองค์กรต่าง ๆ ในแบบองค์รวมทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น

4. หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนจะต้องมีการแบ่งปันข้อมูลความเสี่ยงกับชุมชนท้องถิ่นเพื่อให้มีส่วนร่วมในการดำเนินการตอบสนองต่อโรคระบาดและภัยพิบัติ เนื่องจากความรู้เกี่ยวกับ COVID-19 มีอยู่อย่างจำกัด การแบ่งปันข้อมูลบนพื้นฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อหลีกเลี่ยงข่าวลือและข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง พร้อมกันนั้นก็เปิดโอกาสให้นักวิทยาศาสตร์ด้านสาธารณสุข น้ำ และภัยพิบัติมีส่วนร่วมในนโยบายและกระบวนการตัดสินใจเช่นกัน (Djalante, Shaw, & DeWit, 2020)

5. รัฐบาลต้องมุ่งเน้นไปดูแลกลุ่มเปราะบางเป็นพิเศษทั้งในภาวะโรคระบาดและภัยพิบัติ กลุ่มเปราะบาง เช่น เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยจาก COVID-19  และคนยากจนมักได้รับผลกระทบด้านลบมากกว่าผู้อื่น นอกจากนี้ ผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนแออัดก็มีความเสี่ยงสูงเพราะฐานะที่ยากจน อาศัยอยู่อย่างหนาแน่น และไม่สามารถเข้าถึงสุขอนามัยที่เหมาะสมได้  รัฐบาลและองค์กรท้องถิ่นต้องปรับปรุงสถานบริการสุขภาพที่ผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้ออาศัยอยู่ให้เป็นไปตามมาตรการสุขอนามัย และมาตรฐานการจัดการภัยพิบัติ (Cannon, 2006; The Lancet, 2020, p. 19)

สรุป

การระบาดครั้งใหญ่ของ COVID-19 ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการรับมืออุทกภัยในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่ยากจนและกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา การช่วยเหลือผ่านองค์กรจัดการภัยพิบัติและการจัดการน้ำและองค์กรช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและสุขภาพได้จัดทำแนวทางในการตอบสนองต่อภัยพิบัติในภาวะการระบาดของ COVID-19 แต่กลับพบว่าการรับมือจากภัยทั้งสองด้านกลับไม่ประสบความสำเร็จหากแยกส่วนกันทำ ดังนั้น รัฐบาล องค์กรและชุมชนท้องถิ่นจึงต้องมีบทบาทสำคัญและร่วมมือกันในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและความเสี่ยงบนฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และประสบการณ์การจัดการภัยพิบัติ เพื่อดำเนินมาตรการในการจัดการภัยพิบัติให้มีประสิทธิภาพ ภายใต้ข้อจำกัดในสภาวะการระบาดของ COVID-19 


เนตรธิดาร์ บุนนาค – พิสูจน์อักษร

[1] อาจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

[2] Australian tropical cyclone intensity scale แบ่งความรุนแรงของพายุหมุนเขตร้อนออกเป็น 5 ระดับ ซึ่งระดับที่ 5 ถือเป็นความความรุนแรงระดับสูงที่สุด คือ มีความเร็วลมอย่างน้อย 108 kn (124 mph; 200 km/h)

เอกสารอ้างอิง

BBC News. (2021a). Germany floods: Where are the worst-hit areas? BBC News. Retrieved from //www.bbc.com/news/world-europe-57862894

BBC News. (2021b). China floods: 12 dead in Zhengzhou train and thousands evacuated in Henan. BBC News. Retrieved from //www.bbc.com/news/world-asia-china-57861067

Botzen, W. J. W., Deschenes, O., & Sanders, M. (2019). The Economic Impacts of Natural Disasters: A Review of Models and Empirical Studies. Review of Environmental Economics and Policy, 13(2), 167–188. //doi.org/10.1093/reep/rez004

Cannon, T. (2006). Vulnerability analysis, livelihoods and disasters. In RISK21—Coping with Risks due to Natural Hazards in the 21st Century. CRC Press.

Denchak, M. (2019). Flooding and Climate Change: Everything You Need to Know. Retrieved August 5, 2021, from NRDC website: //www.nrdc.org/stories/flooding-and-climate-change-everything-you-need-know

Djalante, R., Shaw, R., & DeWit, A. (2020). Building resilience against biological hazards and pandemics: COVID-19 and its implications for the Sendai Framework. Progress in Disaster Science, 6, 100080. //doi.org/10.1016/j.pdisas.2020.100080

Gan, N., & Wang, Z. (2021). China flooding: Death toll rises in Henan as passengers recount horror of Zhengzhou subway floods—CNN. CNN. Retrieved from //edition.cnn.com/2021/07/22/china/zhengzhou-henan-china-flooding-update-intl-hnk/index.html

Humanitarian Aid International. (2021). Current situation on Maharashtra Floods and Landslides (Date: 03-08-2021) – India. ReliefWeb. Retrieved from ReliefWeb website: //reliefweb.int/report/india/current-situation-maharashtra-floods-and-landslides-date-03-08-2021

Ishiwatari, M., Koike, T., Hiroki, K., Toda, T., & Katsube, T. (2020). Managing disasters amid COVID-19 pandemic: Approaches of response to flood disasters. Progress in Disaster Science, 6, 100096. //doi.org/10.1016/j.pdisas.2020.100096

Kongmuang, C., Tantanee, S., & Seejata, K. (2020). Urban flood hazard map using gis of muang sukhothai district, Thailand. Geographia Technica, 15, 143–152. //doi.org/10.21163/GT_2020.151.13

Mangubhai, S., Nand, Y., Reddy, C., & Jagadish, A. (2021). Politics of vulnerability: Impacts of COVID-19 and Cyclone Harold on Indo-Fijians engaged in small-scale fisheries. Environmental Science & Policy, 120, 195–203. //doi.org/10.1016/j.envsci.2021.03.003

OCHA. (2020). Pacific Humanitarian Team—Tropical Cyclone Harold Situation Report #5, 11 April 2020—Vanuatu. Retrieved from //reliefweb.int/report/vanuatu/pacific-humanitarian-team-tropical-cyclone-harold-situation-report-5-11-april-2020

Saha, S., & Chakrabarti, S. (2021). The Non-traditional Security Threat of COVID-19 in South Asia: An Analysis of the Indian and Chinese Leverage in Health Diplomacy. South Asian Survey, 28(1), 111–132. //doi.org/10.1177/0971523121998027

Schmidt, N., Pleitgen, F., Wojazer, B., & Ravindran, J. (2021). More than 150 people still missing in German floods unlikely to be found, officials fear. CNN. Retrieved from //www.cnn.com/2021/07/22/europe/germany-belgium-europe-floods-death-climate-intl/index.html

Shen, X., Cai, C., Yang, Q., Anagnostou, E. N., & Li, H. (2021). The US COVID-19 pandemic in the flood season. The Science of the Total Environment, 755, 142634. //doi.org/10.1016/j.scitotenv.2020.142634

The Lancet. (2020). Redefining vulnerability in the era of COVID-19. Lancet (London, England), 395(10230), 1089. //doi.org/10.1016/S0140-6736(20)30757-1

UNDRR Asia-Pacific. (2020). UNDRR Asia-Pacific COVID-19 Brief: Leave no One Behind in COVID-19 Prevention, Response and Recovery. United Nations Office for Disaster Risk Reduction – Regional Office for Asia and Pacific. Retrieved from United Nations Office for Disaster Risk Reduction – Regional Office for Asia and Pacific website: //www.undrr.org/publication/undrr-asia-pacific-covid-19-brief-leave-no-one-behind-covid-19-prevention-response-and

Worldometer. (2021). COVID Live Update: 201,724,792 Cases and 4,280,666 Deaths from the Coronavirus – Worldometer. Retrieved August 6, 2021, from //www.worldometers.info/coronavirus/

Zhou, L., Wu, X., Xu, Z., & Fujita, H. (2018). Emergency decision making for natural disasters: An overview. International Journal of Disaster Risk Reduction, 27, 567–576. //doi.org/10.1016/j.ijdrr.2017.09.037

Last Updated on สิงหาคม 14, 2021

จำนวนครั้งที่เข้าชม: 1,703

เพราะเหตุใดประเทศในทวีปยุโรปจึงไม่ประสบปัญหาภัยพิบัติจากสภาพภูมิอากาศแบบทะเลทราย

2.ปัจจัยด้านลักษณะภูมิประเทศและอิทธิพลจากทะเล ทวีปยุโรปเป็นทวีปที่มีฝั่งทะเลยาวมาก เทือกเขาส่วนใหญ่ วางตัวแนวตะวันออก - ตะวันตก ไม่เป็นอุปสรรคในการขวางกั้นทิศทางลม ทำให้ทวีปยุโรปได้รับอิทธิพลจากทะเลอย่างทั่วถึง จึงเป็นทวีปเดียวที่ไม่มีอากาศแห้งแล้งแบบทะเลทราย เขตแห้งแล้งที่สุดในทวีปยุโรป คือ ทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย บริเวซ ...

บริเวณใดของทวีปยุโรปที่มักประสบปัญหาอุทกภัยบ่อยครั้งเพราะเหตุใด

เกิดน้ำท่วมใหญ่เนื่องจากฝนตกหนักในพื้นที่ตอนกลางของทวีปยุโรป ซึ่งประกอบด้วยเยอรมนี โปแลนด์ สาธารณรัฐเช็ก ออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ โดยล่าสุดมีผู้เสียชีวิต และสูญหายไปแล้วนับ 10 คน

เพราะเหตุใดบริเวณตอนกลางของทวีปยุโรปจึงเป็นบริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น

ที่ราบใหญ่ภาคกลางเป็นเขตที่มีความส าคัญมากที่สุดทางด้านเศรษฐกิจของทวีปยุโรปและมีประชากร อาศัยอยู่หนาแน่น เพราะมีพื้นที่เป็นที่ราบขนาดใหญ่สร้างเส้นทางคมนาคมทางบกได้ง่าย และมีแม่น้าสายยาว ไหลผ่านที่ราบนี้หลายสาย ได้แก่แม่น้าแซน ไรน์เอลเบอ โอเดอร์และ วิสตูลา ใช้ในการขนส่งได้ดีและท าให้มี ดินและน้าที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การ ...

ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในทวีปยุโรปมีอะไรบ้าง

1) คลื่นความร้อนในทวีปยุโรป 2) น้ำแข็งบนเทือกเขาละลาย 3) การพังทลายของพื้นที่ชายฝั่งทะเล.
ภัยแล้งและการขาดแคลนน้ำ.
การขยายตัวของพื้นที่ทะเลทราย.
ภาวะน้ำท่วมฉับพลัน.
หิมะละลาย.
ชายฝั่งทะเลถูกกัดเซาะ.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง