เพราะเหตุใดจึงมีอัตราการหายใจมากกว่าปกติ

เป็นกระบวนการซึ่งนำอากาศเข้าหรือออกจากปอด สิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องใช้ออกซิเจน ก็เพราะต้องการนำออกซิเจนไป เพื่อปลดปล่อยพลังงานผ่านการหายใจระดับเซลล์ในรูปเมแทบอลิซึม โมเลกุลพลังงานสูง เช่น กลูโคส การหายใจเป็นเพียงกระบวนการเดียว ซึ่งส่งออกซิเจนไปยังที่ที่ต้องการในร่างกายและนำคาร์บอนไดออกไซด์ออก อีกกระบวนการหนึ่งที่สำคัญเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของเลือดโดยระบบไหลเวียน การแลกเปลี่ยนแก๊สเกิดขึ้นในถุงลมปอด โดยการแพร่ของแก๊ส ระหว่างแก๊สในถุงลมและเลือดในหลอดเลือดฝอยปอด เมื่อแก๊สที่ละลายนี้อยู่ในเลือด หัวใจจะปั๊มเลือดให้ไหลไปทั่วร่างกาย

กลไกการหายใจ

อากาศเมื่อผ่านเข้าสู่รูจมูกแล้วก็จะเข้าสู่โพรงจมูก ที่โพรงจมูกจะมีขนเส้นเล็ก ๆ และต่อมน้ำมัน ที่ช่วยในการกรองและจับฝุ่นละอองไม่ให้ผ่านลงสู่ปอด นอกจากนี้ที่โพรงจมูกยังมีเยื่อบุจมูกหนา ที่ช่วยให้อากาศที่เข้ามามีความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้น และเนื่องจากเส้นเลือดจำนวนมากที่อยู่ใต้เยื่อบุผิวของโพรงจมูก ปรับอุณหภูมิของอากาศให้เท่ากับอุณหภูมิของร่างกายก่อนผ่านเข้าปอด

ผลของการมีออกซิเจนในร่างกายต่ำ

หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับระบบหายใจ หรือภาวะที่ทำหายใจไม่มีประสิทธิภาพ เช่น การหายใจทางปากเป็นเวลานานจะทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนต่ำเมื่อออกซิเจนในเลือดต่ำ ร่างกายจะพยายามปรับสมดุลในตัวเองเพื่อรักษาระดับออกซิเจนไม่ให้ตกโดยการหายใจเร็วขึ้น แรงขึ้น หัวใจก็จะพยายามสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมากขึ้น

หากยังไม่สามารถรักษาระดับออกซิเจนในเลือดไว้ได้ก็จะส่งผลให้เซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกายเริ่มทำงานผิดปกติ นำไปสู่ภาวะการเกิดของเสียในเซลล์มากขึ้น จนในที่สุดเซลล์จะสูญเสียหน้าที่การทำงานไป นั่นหมายถึงระบบต่าง ๆ ในร่างกายล้มเหลวนั่นเอง รวมทั้งยังมีผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ได้แก่

1.ทางด้านอารมณ์

– ในผู้ใหญ่ ส่งผลให้เครียดบ่อย หงุดหงิดง่าย ความจำลดลง ไม่สดชื่น ซึมเศร้า

– ในเด็ก จะทำให้อยู่ไม่นิ่ง สมาธิสั้น ความจำไม่ดี มีพฤติกรรมก้าวร้าว หรือซุกซนมากกว่าปกติ

2. ทางสมอง

1. โรคสมองเสื่อม การที่เลือดนำออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้ไม่เพียงพอ คุณภาพการนอนหลับจึงไม่ได้ประสิทธิภาพที่ดี หลังตื่นนอนจึงมักรู้สึกเหมือนนอนไม่เต็มอิ่ม สมองตื้อ ขี้หลงขี้ลืม และหากสะสมภาวการณ์นอนกรนนี้ไปนาน ๆ จะส่งผลให้สมองเสื่อมเร็วขึ้น เสี่ยงต่อการเกิด “โรคอัลไซเมอร์” ในอนาคต

2. ความจำไม่ดี ไม่มีสมาธิต่อสิ่งต่าง ๆ ที่ระดับออกซิเจนน้อยกว่าปกติสมองจะมีการสั่งงานได้ไม่ดี เนื่องจากเซลล์สมองจะใช้ปริมาณออกซิเจนมากกว่า 20% ของออกซิเจนทั้งหมดในการทำงาน ดังนั้นเมื่อร่างกายมีออกซิเจนอยู่ในระดับน้อยกว่าปกติจะทำให้เซลล์สมองทำงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้มีความจำลดลง ขาดสมาธิในการเรียนและการทำงาน เรียนรู้เข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ไม่ดี และทำให้ให้ระบบภายในร่างกายทำงานผิดปกติภายใต้การสั่งงานของสมองที่ขาดประสิทธิภาพ

3. ทางสุขภาพทั่วไป

มีอาการอ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ เมื่อยล้า ภูมิต้านทานลดลง ติดเชื้อโรคได้ง่าย เนื่องจากออกซิเจนที่อยู่ในรูปของน้ำ เมื่อเข้าร่างกายจะดูดซึมเข้าสู่ตับ เซลล์ของตับจะได้รับออกซิเจนที่อยู่ในน้ำโดยที่เซลล์ตับจะดึงออกซิเจนมาใช้ในกระบวนการเปลี่ยนสารอาหารที่ดูดซึมเข้ามาให้เป็นพลังงานส่งให้กับร่างกาย แต่ถ้าร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ส่งผลให้เซลล์ตับไม่แข็งแรง ไม่สามารถสร้างพลังงานเพียงพอในการใช้งานของร่างกาย ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรงตามมา และตับไม่สามารถขับสารพิษออกจากร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการตกค้างของสารพิษที่เป็นอัตรายต่อร่างกาย​

เป็นภาวะที่ผู้ป่วยหายใจเร็วมากและลึกมากกว่าปกติ ทำให้เสียความสมดุลระหว่างการหายใจเข้าออกและการหายใจออก ซึ่งมักหายใจออกมากกว่าหายใจเข้า และทำให้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกายลดลงอย่างรวดเร็ว จึงเกิดการหดตัวของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะที่สมอง และมีการลดลงของระดับแคลเซียมในเลือดทำให้มีอาการต่าง ๆ ตามมา โดยก่อนที่จะมีอาการมักมีความเกี่ยวข้องกับภาวะวิตกกังวลหรือมีความกดดันทางจิตใจ และเป็นภาวะที่มักเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

อย่างไรก็ตาม อาการจะเกิดเพียงครั้งคราว และมักไม่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หากไม่ได้มีสาเหตุจากทางด้านร่างกายอื่น ๆ

อาการของภาวะระบายลมหายใจเกิน

อาการของ Hyperventilation มักจะเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ประมาณ 20-30 นาที และอาการต่าง ๆ เกิดจากปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดลดลง โดยอาจมีอาการดังต่อไปนี้

  • หายใจหอบเร็ว
  • รู้สึกหายใจลำบาก รู้สึกว่าหายใจเท่าไหร่ก็ไม่พอ หรือต้องนั่งลงเพื่อหายใจ
  • หัวใจเต้นแรงและเร็วกว่าปกติ ใจสั่น
  • มีปัญหาในการทรงตัว รู้สึกหวิว หน้ามืดหรือเวียนศีรษะ
  • มีอาการเหน็บหรือชาที่มือ เท้า หรือรอบ ๆ ปาก
  • เกร็ง มือจีบ
  • แน่นหน้าอก แน่นท้อง มีอาการกดเจ็บหรือปวด
  • รู้สึกกังวล กระวนกระวาย หรือตึงเครียด

อาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งพบได้น้อยและผู้ป่วยอาจไม่ทันสังเกตว่าเกี่ยวข้องกับ Hyperventilation โดยมีอาการ ได้แก่

  • ปวดศีรษะ
  • มีลมมาก เรอ ท้องอืด
  • มีอาการกระตุก
  • เหงื่อออก
  • การมองเห็นเปลี่ยนแปลง เช่น มองเห็นไม่ชัด หรือเห็นเฉพาะด้านหน้า
  • ไม่มีสมาธิหรือมีปัญหาเกี่ยวกับความจำ
  • หมดสติชั่วคราว

สาเหตุของภาวะระบายลมหายใจเกิน

สาเหตุของ Hyperventilation ส่วนใหญ่จะเป็นผลมาจากความวิตกกังวล ความตกใจกลัว ความประหม่า หรือความเครียด และมักจะเกิดขึ้นกับโรคแพนิค โดยหากเกิดจากสาเหตุทางจิตใจหรืออารมณ์เป็นหลักอาจเรียกว่าโรคหอบจากอารมณ์ (Hyperventilation Syndrome)

นอกจากนี้ ยังเกิดจากโรคทางกายอื่น ๆ ที่พบบ่อย ได้แก่

  • มีเลือดออก
  • มีไข้สูง
  • มีอาการเจ็บปวดรุนแรง
  • มีอาการในระหว่างที่ตั้งครรภ์
  • มีการติดเชื้อที่ปอด
  • โรคหืด
  • โรคถุงลมโป่งพอง
  • โรคปอด เช่น โรคปอดอุดกันเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary disease: COPD)
  • โรคหัวใจ
  • ภาวะเป็นกรดในเลือดจากเบาหวาน (Diabetic Ketoacidosis)
  • เกิดการบาดเจ็บที่บริเวณศีรษะ
  • ใช้สารกระตุ้น
  • ใช้ยาเกินขนาด เช่น ยาแอสไพริน เป็นต้น
  • เดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานที่ที่มีความสูงมากกว่า 6,000 ฟุต

การวินิจฉัยภาวะระบายลมหายใจเกิน

การวินิจฉัย Hyperventilation นั้นแพทย์สามารถทราบได้ง่ายยิ่งขึ้น หากผู้ป่วยมีประวัติหรืออาการเบื้องต้นดังต่อไปนี้

  • ก่อนเกิดอาการอาจพบว่า ผู้ป่วยมักมีปัญหากดดันจิตใจอย่างเห็นได้ชัด เช่น ทะเลาะกับคนใกล้ชิดหรือที่ทำงาน หรือมีปัญหาการเรียน ต้องสอบ
  • มีอาการหายใจหอบหรือหายใจไม่ออกในขณะที่กำลังพักผ่อนอยู่เฉย ๆ
  • มีอาการหายใจหอบหรือหายใจไม่ออก ร่วมกับรู้สึกหวิว และความรู้สึกสัมผัสเพี้ยน (Paraesthesiae)
  • มีอาการแย่เมื่อต้องออกแรงมาก
  • เมื่อมีอาการทำให้รู้สึกมีความกลัวที่จะเสียชีวิต
  • มีประวัติเป็นโรคแพนิคหรืออาการกลัวที่โล่ง
  • เป็นโรคหืด
  • สาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้การหายใจติดขัด เช่น ภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นในปอดที่กลับมาเป็นซ้ำ หรือภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ
  • เจ็บหน้าอก
  • โรคกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม (Cervical Spondylosis) หรือเส้นประสาทถูกกดทับ
  • เวียนศีรษะจากไมเกรน

อาการดังกล่าว อาจคล้ายคลึงกับอาการหอบจากสาเหตุทางกายหลายประการ เช่น โรคหืด (Asthma) โรคลมชัก ภาวะหัวใจขาดเลือด ภาวะเป็นกรดในเลือดจากเบาหวาน (Diabetic ketoacidosis) และอื่น ๆ ดังนั้น ผู้ป่วยจึงต้องได้รับการซักประวัติ การตรวจร่างกาย และส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็น เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยและการดูแลที่ถูกต้องตามสาเหตุต่อไป

การทดสอบเพื่อคัดแยกโรคหรือภาวะอื่น ๆ ได้แก่

  • การตรวจวิเคราะห์ก๊าซในเลือด เพื่อตรวจสอบค่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) ช่วยคัดแยกโรค เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • การทดสอบการทำงานของปอดหรือการส่งผ่านของก๊าซในปอด ช่วยแยกแยะภาวะทางปอด เช่น โรคหืด หรือโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด
  • ตรวจสารเคมีในร่างกาย
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalogram: EEG) อาจจำเป็นในกรณีที่เกิดภาวะ Hyperventilation ชนิดฉับพลัน เพื่อแยกจากโรคลมชัก

การรักษาภาวะระบายลมหายใจเกิน

การรักษา Hyperventilation มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกายและทำให้การหายใจช้าลง ซึ่งมีวิธีการรักษาดังนี้

วิธีการดูแลตนเองเบื้องต้น

  • การหายใจทางปากโดยทำปากจู๋
  • หายใจช้า ๆ ในถุงกระดาษหรืออุ้งมือ เพื่อควบคุมการหายใจ โดยหายใจเพียง 6-12 ครั้ง อย่างช้า ๆ และเป็นธรรมชาติ แต่หากเป็นโรค เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือมีประวัติภาวะหลอดเลือดขาและปอดอุดตัน โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด รวมไปถึงหากมีอาการหายใจเร็ว ซึ่งอยู่ในที่สูงประมาณ 6,000 ฟุต ขึ้นไป ห้ามหายใจในถุงกระดาษ
  • พยายามหายใจเข้าไปในท้องแทนที่จะใช้หน้าอก
  • เมื่อหายใจเข้าแล้วให้กลั้นหายใจเอาไว้ประมาณครั้งละ 10-15 วินาที

นอกจากนั้น อาจสลับมาใช้วิธีหายใจผ่านรูจมูกและปิดปากขณะที่หายใจ โดยปิดรูจมูกและหายใจสลับกันทีละข้าง ทำซ้ำจนกว่าการหายใจจะกลับมาสู่ภาวะปกติ

สำหรับบางคนอาจพบว่าการออกกำลังกายอย่างเดินเร็วหรือวิ่งเหยาะ ๆ โดยหายใจเข้าและออกผ่านจมูก สามารช่วยอาการ Hyperventilation ได้

การลดความเครียด

ผู้ป่วย Hyperventilation ที่มีสาเหตุมาจากความเครียดหรือความวิตกกังวล อาจต้องพบนักจิตวิทยาเพื่อช่วยให้ผู้เข้าใจและทราบวิธีรักษาภาวะนี้ ซึ่งการเรียนรู้ที่จะลดความเครียดและวิธีการหายใจที่ถูกต้องจะสามารถช่วยควบคุมภาวะดังกล่าวได้

การฝังเข็ม

การฝังเข็มเป็นการรักษาทางเลือกของแพทย์แผนจีน ซึ่งจะใช้เข็มฝังไปตามบริเวณร่างกายที่ต้องการรักษา และจากการศึกษาเบื้องต้นได้พบว่า การฝังเข็มมีส่วนช่วยลดความวิตกกังวลและลดความรุนแรงของ Hyperventilation ลงได้

นอกจากนั้น แพทย์จะให้ใช้ยารักษา โดยจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ซึ่งยาที่นำมาใช้รักษา Hyperventilation เช่น ยาอัลปราโซแลม (Alprazolam) ยาด็อกเซปิน (Doxepin) และยาพาร็อกซีทีน (Paroxetine) เป็นต้น

ภาวะแทรกซ้อนของภาวะระบายลมหายใจเกิน

ภาวะแทรกซ้อนของ Hyperventilation ได้แก่

  • ส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิต
  • พบว่ามีนัยสำคัญ ที่ Hyperventilation จะมีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติหรือโรคทางจิตใจ
  • ผู้ป่วยแต่ละรายจะมีความเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการตรวจหรือการรักษาที่วินิจฉัยผิดพลาดโดยแพทย์
  • มีรายงานที่พบว่ามีผู้เสียชีวิตจาก Hyperventilation แต่พบได้น้อยมาก

การป้องกันภาวะระบายลมหายใจเกิน

การป้องกันและหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิด Hyperventilation ได้แก่

  • พยายามหายใจทางจมูก เพราะภาวะดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ยากในขณะที่ปากกำลังปิดอยู่ และเมื่อหายใจทางจมูกก็จะทำให้อากาศเข้าและออกได้น้อยกว่า
  • คลายเสื้อผ้าหรือเครื่องแต่งกายให้หลวม เช่น เข็มขัดที่รัดแน่น เสื้อชั้นใน หรือกางเกงรัดรูป เพราะจะทำให้หายใจลำบากหรือหายใจตื้น
  • ศึกษาวิธีการหายใจด้วยท้อง และฝึกเวลาที่ไม่มีอาการ เมื่อเกิดอาการก็สามารถนำมาใช้ช่วยบรรเทาอาการได้ ซึ่งผู้ที่เป็น Hyperventilation มักจะมีอาการหายใจตื้นหรือหายใจเข้าเพียงช่วงอกส่วนบนเท่านั้น
  • พยายามหาวิธีผ่อนคลายและจัดการกับความเครียด โดยเลือกวิธีที่เหมาะหรือได้ผลกับตนเอง
  • พูดคุยปรึกษากับเพื่อน คนในครอบครัว หรือผู้ให้คำปรึกษา เพื่อช่วยลดความวิตกกังวล รวมไปถึงจดบันทึกประจำวันถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและหาทางแก้ไขปัญหานั้น ๆ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ลดการดื่มการแฟ ชาและโซดา และไม่ควรรับประทานช็อคโกแลตมากเกินไป
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เน้นการออกกำลังกายที่ช่วยในการหายใจ ซึ่งจะช่วยลดความวิตกกังวลที่อาจนำไปสู่ Hyperventilation
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะเมื่อพักผ่อนอย่างเพียงพอจะช่วยลดความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นในเวลากลางวันได้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง