เพราะเหตุใดจึงต้องมีการทดสอบสมรรถภาพทางกาย

         สำหรับใครที่มีผู้สูงอายุในครอบครัว เคยสงสัยไหมคะว่า ถ้าเราไม่ได้คอยอยู่ดูแลใกล้ ๆ อย่างเวลาที่ออกไปจ่ายตลาดคนเดียว หรือต้องอยู่บ้านคนเดียว ผู้สูงอายุจะสามารถดูแลตนเองได้ดีหรือไม่? หรือมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุหรือเปล่า? บทความนี้จึงมี การทดสอบสมรรถภาพทางกาย ของผู้สูงอายุ เพื่อประเมินความสามารถในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ รวมทั้งมีแนวทางในการฟื้นฟูปัญหาสุขภาพเหล่านั้นมาฝากด้วยค่ะ

สารบัญ

  • ก่อนเริ่มทดสอบสมรรถภาพทางกาย ควรระวังอะไรบ้าง?
  • การทดสอบสมรรถภาพผู้สูงอายุ 6 อย่าง มีอะไรบ้างมาดูกัน!
  • หากผู้สูงอายุมีสมรรถภาพทางกายที่ไม่ดี สามารถฟื้นฟูได้อย่างไรบ้าง?

(อ้างอิงข้อมูลจาก : คู่มือปฏิบัติการการตรวจสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุ)

ก่อนเริ่ม การทดสอบสมรรถภาพทางกาย ควรระวังอะไรบ้าง?

         ถึงแม้ว่า การทดสอบสมรรถภาพทางกาย ในผู้สูงอายุ จะไม่ได้มีความอันตรายใด ๆ แต่ด้วยปัญหาทางด้านสุขภาพในผู้สูงอายุบางอย่าง อาจทำให้เกิดผลกระทบหรือผลเสียตามมาได้ จึงทำให้ต้องมีการคัดกรองผู้สูงอายุที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ให้งดการทดสอบสมรรถภาพนะคะ

  • มีโรคประจำตัวบางอย่าง ที่แพทย์แนะนำไม่ให้ออกกำลังกาย
  • มีภาวะหัวใจล้มเหลว
  • ก่อนทดสอบมีอาการปวดข้อต่อ เจ็บหน้าอก มึนงง หน้ามืด แน่นหน้าอก
  • มีความดันโลหิตสูงกว่า 160/100 มิลลิเมตรปรอท

         เตรียมตัวผู้สูงอายุก่อนวันที่จะเริ่มทำการทดสอบ

  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหนัก 1 – 2 วันก่อนทำการทดสอบ
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
  • รับประทานอาหารมื้อเบา ๆ
  • สวมใส่เสื้อผ้าและรองเท้าที่เหมาะสม สามารถขยับร่างกายได้ง่าย ไม่อึดอัด

         หากระหว่างการทดสอบ ผู้สูงอายุมีอาการดังต่อไปนี้ ให้หยุดทำการทดสอบทันที

  • อ่อนล้าผิดปกติ หน้ามืด ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน
  • หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ หายใจสั้นถี่หรือหอบเหนื่อย
  • อาการเจ็บปวดทุกประเภท เช่น เจ็บหน้าอก เจ็บข้อต่อ
  • สูญเสียการควบคุมกล้ามเนื้อ หรือการทรงตัว
  • สับสนเรื่องเวลาและสถานที่
  • เห็นภาพซ้อนหรือมองเห็นภาพไม่ชัด

การทดสอบสมรรถภาพ ผู้สูงอายุ 6 อย่าง มีอะไรบ้างมาดูกัน!

         ก่อนที่จะเริ่มทำการทดสอบ ให้ผู้สูงอายุอบอุ่นร่างกายประมาณ 5 – 8 นาทีก่อนนะคะ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ ด้วยการยืดกล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อขา กล้ามเนื้อแขน เช่น การย่ำอยู่กับที่ แกว่งแขน ก้าวขาไปด้านข้าง เหยียดขา ซึ่งในระหว่างการอบอุ่นร่างกาย อาจจะเปิดเพลงไปด้วย เพื่อให้ผู้สูงอายุตื่นตัว ลดอาการเกร็ง และเพิ่มความสนุกสนานได้ด้วยค่ะ (อ้างอิงข้อมูลจาก : คู่มือปฏิบัติการการตรวจสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุ)

1.ทดสอบการลุกจากเก้าอี้ (วัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา)

วิธีทดสอบ : ให้ผู้สูงอายุนั่งหลังตรงบนเก้าอี้ เท้าทั้งสองข้างวางราบ แขนวางไขว้กันที่หน้าอก แล้วให้ผู้สูงอายุลุกขึ้นยืนตรง และกลับมานั่งเก้าอี้ตามเดิม จากนั้นเริ่มจับเวลา โดยให้ยืนและนั่งซ้ำเช่นนี้ ภายในเวลา 30 วินาที

ประเมินผล : ถ้าผู้สูงอายุยืนและนั่ง ได้น้อยกว่า 8 ครั้ง แสดงว่าผู้สูงอายุ มีกล้ามเนื้อขาที่ไม่แข็งแรง มีความเสี่ยงที่จะหกล้มหรือเกิดอุบัติเหตุ ระหว่างเดิน ขึ้น-ลงบันไดหรือรถ การลุกจากที่นั่ง หรือเตียงนอนได้

2.ทดสอบการงอข้อศอก (วัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนและลำตัวส่วนบน)

วิธีทดสอบ : ให้ผู้สูงอายุนั่งตรง หลังพิงกับเก้าอี้ (ใช้เก้าอี้ที่มีพนักพิงหลัง) เท้าทั้งสองข้างวางราบ ใช้แขนข้างที่ถนัดถือดัมเบล โดยผู้หญิงให้ใช้น้ำหนักประมาณ 2 กิโลกรัม และผู้ชายให้ใช้น้ำหนักประมาณ 3 กิโลกรัม แล้วปล่อยแขนลงข้างลำตัว จากนั้นทำการงอศอกในลักษณะหงายมือขึ้น จนสุดช่วงการงอและเหยียดกลับสู่ท่าเริ่มต้น โดยให้ทำให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ภายใน 30 วินาที

การประเมินผล : ถ้าผู้สูงอายุทำได้น้อยกว่า 11 ครั้ง ถือว่ากล้ามเนื้อแขนไม่แข็งแรง อาจเกิดการบาดเจ็บ หรือไม่มีแรงมากพอ ในการทำงานบ้าน การยกหรือหิ้วสิ่งของหนัก ๆ รวมทั้งการอุ้มหลาน

3.ทดสอบการยกขาสูง 2 นาที (วัดความทนทานของหัวใจและการหายใจ)

วิธีทดสอบ : ก่อนอื่นจะต้องหาความสูงในการยกเข่าสำหรับผู้สูงอายุแต่ละคน โดยจะอยู่ที่จุดกึ่งกลางระหว่างเข่า และขอบบนของกระดูกสะโพก แล้วใช้เทปติดผนังเพื่อเป็นเครื่องหมายไว้ จากนั้นเริ่มทดสอบ โดยให้ผู้สูงอายุยกขาอยู่กับที่ ทั้งสองข้างสลับกัน ให้สูงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ภายในเวลา 2 นาที แต่การนับจำนวนครั้ง ให้นับเฉพาะครั้งที่ขาขวายกถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้ (ที่ติดเทปไว้ในขั้นตอนแรก) ถ้าผู้สูงอายุยกเข่าไม่ถึงเป้าหมาย ให้ยกขาช้าลง หรือหยุดจนกว่าจะทำให้ได้ถึงเป้าหมายได้ (ไม่ต้องหยุดเวลา) แต่ต้องทำให้ได้ภายใน 2 นาทีที่ทำการทดสอบ

การประเมินผล : หากในเวลา 2 นาที ผู้สูงอายุทำได้น้อยกว่า 65 ครั้ง ถือว่ามีความทนทานของระบบหัวใจและการหายใจต่ำ ผู้สูงอายุท่านนั้นอาจไม่สามารถเดินทางระยะไกล ควรระมัดระวังในเรื่องของการไปจับจ่ายซื้อของในตลาด การไปเที่ยวที่ต้องเดินเยอะ ๆ เป็นต้น

4.ทดสอบการนั่งเก้าอี้เอื้อมแตะ (วัดความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหลังและกล้ามเนื้อขา)

วิธีทดสอบ : ให้ผู้สูงอายุนั่งที่บริเวณขอบเก้าอี้ (ขาและก้นอยู่ด้านหน้าของขอบที่นั่ง) ให้ขาด้านหนึ่งงอ โดยเท้าวางราบกับพื้น ส่วนอีกข้างหนึ่งเหยียดไปข้างหน้าให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยให้ส้นเท้าวางที่พื้น ข้อเท้ากระดกขึ้น 90 องศา จากนั้นเอื้อมมือไปแตะที่ปลายเท้า โดยใช้นิ้วกลางยื่นไปแตะปลายเท้าให้ได้ (เข่าต้องเหยียดตรง) จากนั้นค้างการเอื้อมมือแตะไว้ 2 วินาที

การประเมินผล : ถ้าเอื้อมแตะแล้วเหลือระยะห่างระหว่างปลายนิ้วกลางและปลายเท้า โดยที่ผู้ชายเหลือมากกว่า 4 นิ้ว และผู้หญิงเหลือมากกว่า 2 นิ้ว ถือว่าความยืดหยุ่นต่ำ อาจมีปัญหาในเรื่องของการทรงตัว การเดิน และเสี่ยงต่อการหกล้มในขณะก้าวขึ้น-ลงรถ

5.ทดสอบการเอื้อมมือทั้งสองข้างแตะกันด้านหลัง (วัดความยืดหยุ่นของลำตัวส่วนบนและแขน)

วิธีการทดสอบ : ให้ผู้สูงอายุยืนและวางมือข้างใดข้างหนึ่งอยู่ด้านบน คว่ำมือลงแตะด้านหลัง ข้อศอกชี้ขึ้นบน โดยที่เอื้อมไปกลางหลังให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หลังจากนั้นให้วางมืออีกข้างหนึ่งอ้อมมาทางด้านหลัง โดยหงายฝ่ามือขึ้น เอื้อมมือมาแตะมืออีกข้างที่รออยู่ด้านบนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

การประเมินผล : ถ้าผู้ชายเหลือระยะห่างระหว่างมือทั้งสองข้างมากกว่า 4 นิ้ว และผู้หญิงมากกว่า 2 นิ้ว ถือว่าความยืดหยุ่นต่ำ ผู้สูงอายุท่านนั้นอาจมีปัญหาในการหยิบจับสิ่งของที่อยู่เหนือศีรษะ รวมทั้งการใส่เสื้อ การเอื้อมหยิบของ หรือคาดเข็มขัดนิรภัยในรถ

6.ทดสอบการลุกขึ้นจากเก้าอี้ (วัดความคล่องแคล่วและการทรงตัวเมื่อเคลื่อนไหว)

วิธีทดสอบ : ให้วางเก้าอี้พิงผนังห้องไว้ จากนั้นให้วางกรวยหรือวัตถุอะไรก็ได้ เพื่อเป็นเป้าหมายให้ผู้สูงอายุเดินอ้อม โดยตั้งห่างจากเก้าอี้ประมาณ 2 เมตร จากนั้นให้ผู้สูงอายุนั่งที่เก้าอี้ โดยนั่งให้หลังตรง เท้าวางราบกับพื้นห้อง มือวางที่ต้นขา หากพร้อมแล้ว ให้ผู้ทำการทดสอบ ออกคำสั่ง “เริ่ม” เมื่อผู้สูงอายุลุกขึ้นให้เริ่มจับเวลา ให้ผู้สูงอายุเดินด้วยความเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่อเดินอ้อมกรวยกลับมานั่งเก้าอี้แล้ว ให้หยุดการจับเวลา

การประเมินผล : ถ้าผู้สูงอายุใช้เวลามากกว่า 9 วินาที ถือว่าเป็นผู้ที่มีความคล่องแคล่วน้อย มีความเสี่ยงในเรื่องของการทรงตัวไม่ดีและเสี่ยงต่อการล้ม ซึ่งกิจกรรมที่ต้องทำในชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ ก็ต้องใช้ความเร็วในการเคลื่อนไหวอยู่บ้าง เช่น การขึ้นลงรถประจำทาง การทำงานในครัว การเข้าห้องน้ำ

อ่านบทความ : การหกล้มในผู้สูงอายุ อุบัติเหตุในผู้สูงอายุที่ต้องระวังไว้เพื่อคนที่คุณรัก

หากผู้สูงอายุมีสมรรถภาพทางกายที่ไม่ดี สามารถฟื้นฟูได้อย่างไรบ้าง?

         หากพบว่าผู้สูงอายุในครอบครัวมีสมรรถภาพทางกายที่ไม่ดี ผู้ดูแลควรรีบหาทางฟื้นฟูโดยเร็วนะคะ เพราะหากปล่อยไว้ผู้สูงอายุจะเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ จนอาจนำสู่ภาวะที่ต้องพึ่งพิงผู้ดูแล หรือแย่ไปกว่านั้น อาจอันตรายถึงขั้นชีวิตเลยค่ะ ดังนั้น การฟื้นฟูสภาพภาพผู้สูงอายุ จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 วิธีหลัก ๆ คือ การออกกำลังกายเพื่อการรักษา และการใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือ

1.การออกกำลังกายเพื่อการรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุด้วยวิธีนี้ จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต่าง ๆ ทำให้หัวใจและการไหลเวียนเลือดทำงานดีขึ้น และลดการเกิดปัญหาปัญหาสุขภาพบางอย่าง เช่น ภาวะข้อยึดติด ช่วยให้ผู้สูงอายุมีสมรรถภาพทางกายที่ดีขึ้น สามารถกลับมาทำกิจกรรมบางอย่างด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึ่งผู้ดูแลได้ แต่ผู้สูงอายุที่เป็นโรคบางอย่างจะไม่สามารถใช้วิธีนี้ได้ เช่น โรคความดันสูง โรคกระดูกพรุน อีกทั้งยังเสี่ยงเกิดอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ กระดูก และผิวหนัง หากปฏิบัติไม่ถูกวิธี

2.การใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือ เป็นอุปกรณ์ที่จะมาช่วยให้ผู้สูงอายุ สามารถทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ด้วยตนเองได้มากขึ้น ลดการพึ่งพาผู้ดูแลให้น้อยลง และช่วยป้องกันในเรื่องของอุบัติเหตุต่าง ๆ ได้ เช่น

  • รองเท้าเพื่อสุขภาพ : จะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถก้าวเดินได้อย่างมั่นคง ลดความเสี่ยงในการหกล้มหรือเกิดอุบัติเหตุในขณะเคลื่อนไหวได้ นอกจากนี้ยังช่วยดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องเท้า เช่น กระดูกแม่เท้าโปน ปวดหัวเข่า แผลเบาหวาน เป็นต้น

รองเท้าเพื่อสุขภาพ KAIHOSHUGI ออกแบบโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านข้อและกระดูก ลดความเสี่ยงในการสะดุดหกล้ม ใส่สบาย นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น

  • รถเข็นช่วยเดิน : ช่วยเสริมความมั่นคงในการยืนและเดินของผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกมั่นใจ ป้องกันภาวะหกล้มและช่วยแบ่งเบาแรงกระทำต่อข้อกระดูกและกล้ามเนื้อขา นอกจากนี้ยังช่วยในการฝึกเดินหรือฝึกยืนได้อีกด้วย

รถเข็นช่วยเดิน Rollator รุ่น Let’s Shop ดีไซน์สวย ใช้สำหรับช่วยเดิน และใช้เป็นเก้าอี้รองนั่ง มาพร้อมกระเป๋าใส่ของ สามารถพับเก็บขึ้นรถยนต์ได้

  • รถเข็นวีลแชร์ : สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่สามารถยืนหรือเดินได้อย่างมั่นคง และไม่สามารถเดินทางในระยะไกล ๆ ได้ รถเข็นผู้ป่วยจะช่วยลดปัญหาเหล่านั้น ซึ่งผู้สูงอายุที่มีกล้ามเนื้อแขนแข็งแรง แล้วอยากดูแลตนเองโดยไม่ต้องพึ่งพาผู้ดูแล อาจเลือกเป็นวีลแชร์แบบล้อใหญ่ ซึ่งสามารถเข็นหรือเคลื่อนที่ด้วยตนเองได้ หรือหากผู้สูงอายุมีกำลังแขนไม่มากพอ จะเหมาะกับวีลแชร์แบบล้อเล็ก ซึ่งจะช่วยให้ผู้ดูแลสามารถเข็นได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ไม่ต้องออกแรงเยอะ

รถเข็นวีลแชร์ แบบล้อเล็ก รุ่น GK863LABJ-12 (ซ้าย) และแบบล้อใหญ่ รุ่น GK863LAJ-20 (ขวา) น้ำหนักเบา พับเก็บใส่ท้ายรถได้

  • เก้าอี้ขับถ่ายและอาบน้ำ : ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเดินได้อย่างมั่นคง และมีกำลังแขนไม่มากพอ จะเสี่ยงต่อการลื่นล้มในห้องน้ำเป็นอย่างมาก เก้าอี้ขับถ่ายและอาบน้ำ จะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถทำกิจวัตรในห้องน้ำได้อย่างปลอดภัย และเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุน้อยลง

รถเข็นนั่งถ่าย และอาบน้ำ รุ่น MOEM ถอดฝาปิดและถังรองรับของเสียได้ อำนวยความสะดวกในการทำความสะอาด และใช้งานกับสุขภัณฑ์ได้

สรุป

         การทดสอบสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ จะช่วยให้ผู้ดูแลหรือครอบครัว สามารถประเมินความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง หรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันด้วยตนเองได้ ซึ่งหากทดสอบแล้วพบว่า ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงในการใช้ชีวิตหรือมีโอกาสที่ต้องพึ่งพาผู้ดูแลสูง ควรให้ผู้สูงอายุฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย ไม่ว่าจะด้วยการรักษาด้วยการออกกำลังกายหรือการใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือ เพื่อให้ป้องกันไม่ให้อุบัติเหตุต่าง ๆ เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุได้

BED & MATTRESS PRODUCT

จัดจำหน่าย บริษัท ฟาร์ ทริลเลียน จำกัด 73,75 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 89/2 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ10700

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง