ทำไม ต้อง เรียน วิทยาการคำนวณ

อาจจะต้องย้อนความทรงจำกันหน่อย ว่าผู้อ่าน Blognone ได้เริ่มเรียนวิชาที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ในหลักสูตรการศึกษาพื้นฐานภาคบังคับ (ป. 1 - ม. 6) ในตอนไหน? ความทรงจำวิชาด้านคอมพิวเตอร์ของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน

เดิมวิชาด้านคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีสารสนเทศนั้น เป็นวิชาหนึ่งในกลุ่มสาระการงานพื้นฐานอาชีพ แต่ด้วยกระแสดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงในช่วงที่ผ่านมา จนเรียกได้ว่าดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตมากขึ้น Computer Science กลายเป็นวิชาพื้นฐานที่จำเป็น กระทรวงศึกษาธิการ และความร่วมมือในการปรับปรุงหลักสูตรจาก สสวท. (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ได้ประกาศให้หัวข้อด้านคอมพิวเตอร์ในชื่อวิชา วิทยาการคำนวณ ย้ายมาเป็นวิชาในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ เป็นวิชาบังคับในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) โดยเริ่มเรียนกันตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ไปจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งมีผลกับนักเรียน ป. 1, ป. 4, ม. 1 และ ม. 4 รุ่นนี้เป็นรุ่นแรก

เชื่อว่าหลายคนอาจตั้งคำถามเมื่อพูดถึงเรื่องนี้ก็คือ เร็วไปหรือไม่? ที่จะเรียนวิชาแบบนี้ตั้งแต่ประถม 1 ก็ต้องย้อนมาดูหลักการและที่มาก่อน

เปลี่ยนจากเรียนไปเป็นผู้ใช้ มาเป็นผู้เขียน ผู้คิด

วิชาคอมพิวเตอร์และการเขียนโปรแกรมไม่ใช่ของใหม่ในหลักสูตรการศึกษาไทย หลายคนอาจเคยเรียนภาษาเต่าโลโก้ แต่ไม่ใช่ทุกโรงเรียนที่มีการสอน เนื้อหาหลักสูตรคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีเดิมนั้น เน้นให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในฐานะผู้ใช้ รู้จักซอฟต์แวร์ต่างๆ ตัวเนื้อหาวิชาเองก็มีความเสี่ยงต่อความล้าสมัย แต่ในหลักสูตรใหม่วิทยาการคำนวณนี้ จะสอนให้นักเรียนเป็นผู้เขียน ผู้พัฒนา และได้ฝึกหัดคิดอย่างเป็นระบบแบบคอมพิวเตอร์มากขึ้น

เดิมหัวข้อคอมพิวเตอร์ อยู่ในวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศฯ กลุ่มสาระการงานพื้นฐานอาชีพ

เป้าหมายของวิชานี้ไม่ได้ต้องการให้ทุกคนที่เรียนจะต้องไปเป็นคนเขียนโปรแกรม หรือโปรแกรมเมอร์ แต่ต้องการเพิ่มทักษะคิดเชิงคำนวณสำหรับแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน, สามารถมองได้ว่าปัญหาใดแก้ด้วยระบบอัตโนมัติได้, ทำความเข้าใจว่าระบบอัตโนมัติเพิ่มประสิทธิภาพงานได้ และที่สุดคือมีความรู้ที่จะควบคุมระบบอัตโนมัติได้ในเบื้องต้น ซึ่งทักษะที่ว่ามานี้ เป็นสิ่งจำเป็นและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ไม่ว่าจะไปเป็นคนในสายวิทยาศาสตร์ ศิลปะ ดนตรี หรือแม้แต่วรรณกรรม

โครงสร้างของหลักสูตร วิทยาการคำนวณ

เนื้อหาวิชาวิทยาการคำนวณ แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักคือ

  1. Computer Science (วิทยาการคอมพิวเตอร์) หัวใจหลักของวิชานี้ ให้ผู้เรียนสามารถคิดได้เป็นขั้นตอน นำการเขียนโปรแกรมมาเป็นเครื่องมือในการฝึกคิดเป็นขั้นตอน ตามแนวทาง Computational Thinking
  2. ICT (เทคโนโลยีสารสนเทศ) ให้ผู้เรียนสามารถรวบรวมข้อมูล จัดการข้อมูล นำข้อมูลมาประมวลผล และทำการตัดสินใจจากพื้นฐานของข้อมูลได้
  3. Digital Literacy (รู้เท่าทันดิจิทัล) ให้ผู้เรียนรู้ทันเทคโนโลยี ไม่ตกเป็นทาสเทคโนโลยี สามารถสร้างสรรค์ผลงานบนเทคโนโลยีได้

เนื้อหาที่ปรับขึ้นในแต่ละช่วงระดับ

ถึงตรงนี้อาจมีคำถามว่านักเรียนในระดับ ป. 1 จะเรียนเขียนโปรแกรมอะไรได้ ในหลักสูตรวิทยาการคำนวณนี้ ก็มีการปรับเนื้อหาให้เหมาะสมกับแต่ละช่วงระดับ โดยจะยกตัวอย่างเนื้อหาส่วนวิทยาการคอมพิวเตอร์ ในหัวข้อที่เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม ซึ่งจะแตกต่างในแต่ละระดับ โดยในระดับ ป. 1 จะเป็นการเขียนโปรแกรมแบบไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ (Unplugged) เป็นการฝึกใช้บัตรคำสั่งเดินขึ้น-ลง-ซ้าย-ขวา

ตัวอย่างบัตรคำสั่ง จากหนังสือเรียน ป. 1

ในระดับ ป. 4 การเขียนโปรแกรมก็ยังเน้นแบบ Unplugged แต่พื้นที่ในการใช้คำสั่งจะใหญ่มากขึ้น ซับซ้อนมากขึ้น และต้องจัดลำดับความคิดที่ยากขึ้น โดยเริ่มมีการเขียนโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์แบบ Block Programming ใช้วิธีลากบล็อกคำสั่งบนจอ ไม่มีการเขียนโค้ด ใช้โปรแกรม Scratch ของ MIT ประกอบการสอน

โปรแกรม Scratch ใช้เรียนรู้การเขียนโปรแกรม ผ่านการต่อบล็อกคำสั่ง

มาถึงในระดับมัธยมศึกษา จะเริ่มเขียนโปรแกรมแล้วตั้งแต่ชั้น ม. 1 โดยภาษาที่แนะนำในการเรียนการสอนคือ Python ส่วนในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่ ม. 4 จะเน้นไปที่การบูรณาการองค์ความรู้เพื่อทำโครงงาน ตัวอย่างที่พูดถึงในหนังสือเรียน เช่น โครงงานอุปกรณ์รดน้ำอัตโนมัติ, การเขียน sort, โปรแกรมคำนวณค่าที่จอดรถยนต์ ฯลฯ

ในระดับ ม. 4 จะพูดถึงการทำโครงงานมากขึ้น

การอบรมครูสำหรับการสอน

อีกหนึ่งประเด็นที่น่าจะมีหลายคนสงสัยเมื่ออ่านถึงตรงนี้ ก็คือแล้วเรามีบุคลากรครูที่เป็นผู้สอนในโรงเรียนที่พอและพร้อมหรือยัง? ในช่วงปี 2560 ที่ผ่านมา สสวท. ได้จัดอบรมครูแกนนำคอมพิวเตอร์ไปแล้ว มีการทดลองทำกิจกรรมในหลักสูตร เพื่อให้นำไปเผยแพร่กับเพื่อนครูคนอื่นต่อไปได้ จากนั้นก็มีอบรมต่อเนื่องผ่านช่องทางทั้งออฟไลน์ และออนไลน์ (สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ Facebook: สาขาคอมพิวเตอร์ สสวท.)

การจัดอบรมและวิจัยนั้น สสวท. ได้มีการลงพื้นที่ร่วมกับครูเครือข่าย นำวิชาไปทดลองสอนในโรงเรียนจริงๆ ตามจังหวัดต่างๆ รวมทั้งในพื้นที่ทุรกันดาร ไม่มีคอมพิวเตอร์ใช้ในการเรียนการสอน เพื่อดูว่ากิจกรรมแบบ Unplugged นั้นได้เป็นอย่างไร ซึ่งผลตอบรับออกมาดี นักเรียนมีความสนุก ได้ฝึกหัดคิดแบบเป็นขั้นตอน

ที่น่าสนใจมาก คือการเรียนการสอนด้านวิชาเขียนโปรแกรมนี้ ประเทศไทยถือเป็นประเทศกลุ่มแรกๆ ในโลก ที่มีการเรียนสอนในหลักสูตรพื้นฐาน อังกฤษเริ่มการสอนเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ส่วนสิงคโปร์เพิ่งเริ่มสอนมา 2 ปี จึงอาจมองได้ว่าเป็นโอกาสในการต่อยอดพัฒนาความพร้อมบุคลากรสำหรับอนาคตในระยะ 10 ปีข้างหน้าของประเทศไทยได้

เนื้อหาเรียบเรียงจาก Dek-d Live สอนเขียนโปรแกรมตั้งแต่ป. 1 เหมาะสมหรือยังกับประเทศไทย 4.0 (ได้รับอนุญาตแล้ว), และหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (การคำนวณ) ระดับชั้น ป. 1, ป. 4, ม. 1 และ ม. 4 ของ สสวท.

Get latest news from Blognone Follow @twitterapi

เหตุใดจึงต้องมีหลักสูตรวิทยาการคำนวณ

วิทยาการคำนวณสร้างโอกาสให้เด็กที่จะเติบโตไปในโลกยุคใหม่ เพื่อเตรียมรับอาชีพในอนาคตที่อาจเกิดขึ้น เพื่อสามารถแข่งขันในตลาดแรงงานได้ โลกยุค 4.0 นี้ เด็ก ๆ จะต้องรู้จักแยกแยะข่าวสาร การตรวจสอบข่าวปลอม ความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ เรียกว่ารู้เท่าทันสื่อ

ทำไมถึงเลือกเรียนสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์

สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้น จะเรียนเกี่ยวกับโครงสร้างของคอมพิวเตอร์ การทำงานภายในคอมพิวเตอร์ รวมไปถึงการประยุกต์ใช้งานคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ที่เรียนเข้าใจหลักทำงานของคอมพิวเตอร์มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเรียนรู้ศาสตร์ต่างๆที่เป็นการผสมผสานระหว่างด้านไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ คณิตศาสตร์อีกหลายแขนง ไม่ว่าจะเป็น ตรรกศาสตร์ สถิติ ...

วิทยาการคำนวณคืออะไรมีประโยชน์อย่างไร

การเรียนรู้เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) มุ่งหวังให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และมีทักษะการคิดเชิงคำนวณ การคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา เป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิทยาการ คอมพิวเตอร์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้กำหนดความสำคัญดังนี้

ความสำคัญของวิทยาการคอมพิวเตอร์คืออะไร

วิทยาการคอมพิวเตอร์ทำให้เราเข้าใจถึงหลักการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่ง เป็นรากฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศ ขณะที่เทคโนโลยีสารสนเทศจะเน้นด้านการใช้งานวิทยาการคอมพิวเตอร์จะเน้นทฤษฏีและหลักการ วิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นวิทยาศาสตร์ แขนงหนึ่งที่ผสมผสานระหว่าง ศาสตร์ด้านไฟฟ้าอีเล็กทรอนิกส์ คณิตศาสตร์หลายแขนง เช่น ตรรกศาสตร์ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง