การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 ก่อให้เกิดผลดีอย่างไร เหตุใดจึงมีการปฏิรูปการปกครองบ้านเมืองในสมัยรัชกาลที่ 5 การปฏิรูปสมัยรัชกาลที่ 5 มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ข้อใดคือการปฏิรูปการปกครองส่วนกลาง ในรัชกาลที่ 5 การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 สรุป การปฏิรูปสมัย ร.๕ สรุป ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการปกครองประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 การปฏิรูปประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 การจัดระเบียบการปกครองส่วนภูมิภาคในลักษณะการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางสมัยรัชกาลที่ 5 เรียกว่าอะไร บุคคลที่มีส่วนร่วมสำคัญในการปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5 คือใคร การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาอย่างไร การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 4

เหตุใดจึงมีการปฏิรูปการปกครองเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่5

��ǹ�����Ҥ ��¡��ԡ��èѴ���ͧ�繪���͡ � ��� �ѵ�� ����¹�繡�û���ͧẺ����Ժ�� ��� ���������ͧ�������ͧ��Ҵ��¡ѹ������� ˹�� ���բ����ǧ����Ժ�� �繼�黡��ͧ���� ��鹵ç��͡�з�ǧ��Ҵ�� ��èѴ�����������Ժ�Ź���繡������ӹҨ��û���ͧ��駴�ҹ������ͧ ������ɰ�Ԩ��������ǹ��ҧ ������û���ͧ������ͧ��Ẻ���ǡѹ����ջ���Է���Ҿ�ҡ��� �͡�ҡ����ѧ���ա����ࢵ��û���ͧ��ǹ�����Ҥ�͡�����ͧ(�ѧ��Ѵ) ����� �Ӻ� ��������ҹ ����ӴѺ

�����ͧ�ҡ���й���ôһ��������ӹҨ��ҧ���ѧ��ǧ���ҳҹԤ� ������¡�١������ʤء������ҧ˹ѡ ��������þѲ�һ����������Ѫ��ŷ�� 5 ���Թ�������ҷ��������Դ������Ҫ�� ���ͧ�ҡ��鹰ҹ�ҧ��ҹ����֡�� ���ɰ�Ԩ ����Ѳ������ͧ�¢Ѵ��͡�þѲ�һ���ȵ��ẺἹ���� ���͵��Ẻ����ȵ��ѹ��

บทเรียนจากการปฏิรูปประเทศสยามให้ทันสมัยในสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงการอภิวัฒน์ประชาธิปไตยโดยคณะราษฎร:อนาคตของประชาชนและทางออกจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจและการเมือง

เนื่องในวาระครบรอบ 110 ปี (พ.ศ. 2463-2563) ของการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือวันปิยมหาราช เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของรัชกาลที่ 5 ในพระราชกรณียกิจที่ปฏิรูปประเทศให้ทันสมัย เช่น การยกเลิกระบบทาสและระบบไพร่ การดำเนินวิเทโศบายให้ “สยาม” รอดพ้นจากการเป็นอาณานิคมแบบเต็มรูปของจักรวรรดินิยมตะวันตก  สังคมไทยควรร่วมกันหาทางออกจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจ ด้วยการปฏิรูปอย่างรอบด้าน เริ่มต้นด้วยการหยุดคุกคามผู้เห็นต่าง ยัดคดีและข้อหาต่าง ๆ ต่อเยาวชนผู้เป็นอนาคตของชาติ เปิดเวทีรัฐสภาเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาด้วยการไม่แบ่งฝักฝ่ายทางการเมือง จัดเวทีสานเสวนาในการหาทางออกปัญหาวิกฤติต่าง ๆ ร่วมกัน ผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย โดยในการจัดเวทีสานเสวนาเพื่อปรึกษาหารือกันนี้ควรจัดโดยหน่วยงานที่มีความเป็นกลางทางการเมืองและมีจุดยืนประชาธิปไตย สถาบันปรีดี พนมยงค์ ยินดีร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ  ไม่ว่าจะเป็นสถาบันพระปกเกล้าภายใต้รัฐสภา และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ จัดเวทีการหารือเพื่อหาทางออกให้กับประเทศ  

ต้นรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงยกเลิกธรรมเนียมหมอบคลานทั้งหมด  โดยมีพระราชดำรัสเมื่อมีพระชนมายุครบ 20 พรรษาว่า “ธรรมเนียมที่หมอบคลานนั้น ให้เปลี่ยนอิริยาบถเป็นยืนเป็นเดิน ธรรมเนียมที่ถวายบังคมและกราบไหว้นั้น ให้เปลี่ยนอิริยาบถเป็นก้มศีรษะ” เป็นการเปลี่ยนแปลงขนบประเพณีครั้งใหญ่ เป็นการเปลี่ยนจากการหมอบคลานเข้าเฝ้า เป็นการโค้งศีรษะตามอารยประเทศ

ธรรมเนียมอย่างหนึ่งซึ่งเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของชาวตะวันตกอันเนื่องมาจากแนวคิดที่ต่างกัน ทำให้ชาวตะวันตกวิจารณ์ว่าเป็นการกระทำที่กดขี่เหยียบย่ำมนุษย์ด้วยกัน นั่นคือธรรมเนียมการหมอบคลานของบรรดาข้าทาสบริวารที่ปฏิบัติต่อบรรดาเจ้านายของตน ดังปรากฏในคำวิจารณ์ของชาวตะวันตกที่มีโอกาสเข้ามาติดต่อกับชาวสยามในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เช่น มิสเตอร์ฟินเลสัน (Mr. Finlayson) หนึ่งในคณะทูตของจอห์น ครอว์เฟิร์ด บันทึกวิจารณ์ไว้ว่า “—วิธีที่บรรดาคนรับใช้ปฏิบัติต่อเสนาบดีดุจทาสนั้น เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจทั้งเป็นการเหยียบย่ำมนุษยชาติด้วยกันเอง ตลอดระยะเวลาการเข้าพบเสนาบดีนั้น พวกเขาทั้งหมอบราบกับพื้นเบื้องหน้าเสนาบดีในระยะห่าง ในขณะที่พูดกับเสนาบดีนั้น พวกเขาไม่กล้ามองสบตาเสนาบดี—” (ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย, วารสารศิลปวัฒนธรรม, ก.ค. 2557)

ช่วงสมัยของรัชกาลที่ 4 ต่อเนื่องจนถึงรัชกาลที่ 5 เป็นยุคล่าอาณานิคมของจักรวรรดินิยมตะวันตก ประเทศรอบข้างล้วนตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษและฝรั่งเศส  ด้วยพระปรีชาสามารถของทั้งรัชกาลที่ 4 และ 5 ประเทศสยามจึงรอดพ้นจากการตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตก โดยเฉพาะการปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้สยามปิดจุดอ่อนของประเทศในแถบนี้ที่ตะวันตกใช้เป็นหนึ่งในข้ออ้างหลาย ๆ ข้อ ทำให้ประเทศเป็นเมืองขึ้นด้วยเหตุผลล้าหลัง ป่าเถื่อน และไม่ทันสมัย  การปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเป็นส่วนผสมของพระปณิธานในการปฏิรูปสยามบวกกับสภาพแวดล้อมภายนอกบีบบังคับให้ต้องเปลี่ยนแปลงด้วย

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปประเทศให้เจริญทัดเทียมนานาอารยประเทศ ปรับปรุงระบบศาล ปฏิรูประบบราชการ รวมศูนย์อำนาจการเมืองการปกครองไว้ที่ส่วนกลาง ทรงประกาศเลิกทาส สร้างทางรถไฟและระบบคมนาคมทันสมัย จัดตั้งหน่วยงานไปรษณีย์โทรเลข  การปฏิรูปให้ทันสมัยในสมัยรัชกาลที่ 5 ไม่ได้ทำแบบเร่งรีบ และใช้เวลายาวนานถึง 35 ปี และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในบางระดับของโครงสร้างทางการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคมอย่างกว้างขวาง ขณะที่เปิดโอกาสให้เกิดการเติบโตของชนชั้นขุนนางหรือข้าราชการยุคใหม่ และชนชั้นพ่อค้า

ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมวงศ์ชั้นสูง 4 พระองค์ และข้าราชการของสถานทูตสยามประจำกรุงลอนดอนและกรุงปารีส 7 ท่าน ซึ่งได้ไปเห็นความเจริญความมีอารยธรรมของฝรั่ง จึงมีหนังสือลงวันที่ 8 มกราคม ร.ศ. 103 กราบทูลรัชกาลที่ 5 ให้พระราชทานรัฐธรรมนูญ ท่านเหล่านั้นคือ กรมพระนเรศวรฤทธิ์  กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา    สมเด็จกรมพระสวัสดิ์วัดนวิศิษฏ์  พระยาชนินทรภักดี (เปลี่ยน หัสดิเสวี)  พระยาสิงหเสนี (สะอาด สิงหเสนี)  พระยามหาโยธา (นกแก้ว คชเสนี)  พระยาอภัยพิพิธ (สุ่น สาตราภัย)  จมื่นไวยวรนาถ (บุศย์ เพ็ญกุล)  พระยาไชยวิชิตสิทธิสาตรา (นาค ณ ป้อมเพชร์)  ขุนปฏิภาณพิจิตร์ (หรุ่น) 

ปรากฏว่า การเรียกร้องครั้งนั้นไม่ได้รับการตอบสนองมากนัก เพราะรัชกาลที่ 5 ทรงเห็นว่า ประเทศสยามยังไม่พร้อม แต่พระองค์ท่านก็ทรงดำเนินการปฏิรูปประเทศในด้านต่าง ๆ เพื่อเตรียมพร้อมและวางรากฐานที่เข้มแข็งให้กับระบอบประชาธิปไตยที่จะได้รับสถาปนาขึ้นในระยะต่อมา และภารกิจการปฏิรูปประเทศปรากฏผลชัดเจนตลอดช่วงเวลา 42 ปีแห่งการครองราชย์ของรัชกาลที่ 5 แต่การปฏิรูปประเทศได้เข้าสู่สภาวะแห่งความยุ่งยากซับซ้อนในสมัยรัชกาลที่ 6

นักวิชาการส่วนใหญ่มองความสำเร็จในการปฏิรูปสยามสมัยรัชกาลที่ 5 ว่าเป็นต้นแบบและเหตุผลสำคัญที่ทำให้ประเทศมีความทันสมัยก้าวหน้าขึ้น และทำให้หลุดพ้นจากภัยของจักรวรรดินิยมจากยุโรปและทำให้เรารักษาเอกราชไว้ได้  นักวิชาการจีนในยุคนั้นอย่าง “เหลียง ฉี่ เชา” และ “เชียะ ฝู เฉิง” ยกย่องให้จีนเอาไทยเป็นแบบอย่าง และกล่าวถึงสยามอย่างยกย่องว่า     “แม้นถูกรุมเร้าสยามก็ยืดหยัดอย่างภาคภูมิ” 

ขณะที่นักวิชาการจำนวนหนึ่งมีแง่มุมที่แตกต่าง งานวิจัยประวัติศาสตร์เชิงวิพากษ์วิจารณ์ของฉัตรทิพย์ นาถสุภา, สุธี ประศาสน์เศรษฐ และนอร์แมน จาคอบส์ ตลอดจนถึงงานวิชาการของนักประวัติศาสตร์ชาวตะวันตกอย่าง เบเนดิก  แอนเดอร์สัน มองการปฏิรูปว่าเป็นส่วนหนึ่งขอความต้องการในการรวบอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง มีความมุ่งหมายเพื่อรักษาอำนาจของระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น จึงอาจเป็นการตอบสนองต่อผลประโยชน์ของผู้ปกครองมากกว่าผลประโยชน์ของประชาชนโดยทั่วไป

ความเห็นในลักษณะดังกล่าวสอดคล้องกับความเห็นของ “พระสารสาสน์พลขันธ์” ได้วิจารณ์ว่า การปฏิรูปในสยามจะต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อฐานะกษัตริย์ในระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์ จึงมีการพลักดันให้มีการปรับปรุง ขณะที่การรวบอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เพื่อความเป็นเอกภาพแห่งชาติถูกท้าทายโดยอำนาจของชุมชนและท้องถิ่นต่าง ๆ เมื่อกรุงเทพฯ และอำนาจจากส่วนกลางได้ยกเลิกระบบเกณฑ์แรงงานและนำระบบภาษีรัชชูปการมาใช้แทน ได้ก่อให้เกิดแรงปฏิกิริยาต่อต้านในดินแดนทางเหนือและอีสาน บรรดาอดีตเจ้าเมืองบางส่วนก็อยู่เบื้องหลังความเคลื่อนไหวเหล่านี้

รัชกาลที่ 5 มีแรงจูงใจหลายประการในการดำเนินการปฏิรูปแม้นจะมีความยากลำบาก

ประการหนึ่งต้องการกระชับอำนาจและทำให้ฐานอำนาจของกลุ่มอำนาจเก่าที่มีความเชื่อแบบโบราณอ่อนแอลง  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 2411 โดยมีพระชนมายุเพียง 15 พรรษา  ขณะนั้นการปกครองส่วนใหญ่อยู่ในมือของเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการแทนแผ่นดิน เมื่อทรงบรรลุนิติภาวะแล้วจึงทรงพยายามที่จะรวบรวมอำนาจที่อยู่ในมือของขุนนางมาที่สถาบันพระมหากษัตริย์ ใน พ.ศ. 2413 หลังจากขึ้นครองราชย์ได้ 2 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวางรากฐานทางอำนาจด้วยการตั้งกรมทหารมหาดเล็กขึ้น เพื่อสร้างฐานพระราชอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง และใน พ.ศ. 2416 ได้ออกพระราชบัญญัติหอรัษฎากรพิพัฒน์รวบรวมการเก็บภาษีเข้าสู่ศูนย์กลาง

ประการที่สอง พื้นฐานทางศีลธรรมและความเชื่อว่า ความทันสมัยจะนำมาสู่ความรุ่งเรืองของสยาม  มีการออกพระราชบัญญัติรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง มีการจัดทำงบประมาณ  มีการให้สัมปทานผูกขาดการค้าฝิ่น บ่อนเบี้ย ซึ่งเป็นการทำลายกลุ่มผลประโยชน์ที่ฉ้อราษฎรบังหลวง เลิกระบอบทาสและไพร่ซึ่งเท่ากับการยกเลิกระบบการเกณฑ์แรงงานอันเป็นฐานอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมืองที่สำคัญของกลุ่มขุนนางเก่า มีการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาในพระองค์ และสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ซึ่งมีอำนาจในการออกกฎหมายให้คำปรึกษาและตรวจสอบ สมาชิกส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่ม ทั้งที่เป็นพระอนุชาและสหาย เป็นการถ่วงดุลอำนาจกับขุนนางอนุรักษ์นิยมหัวโบราณ

การปฏิรูปให้ทันสมัยและการยกเลิกระบบไพร่ทาสทำให้เกิดพัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองในระยะต่อมา ขบวนการทหารประชาธิปไตย ร.ศ. 130 และการอภิวัฒน์เปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิ.ย. 2475 ล้วนเป็นพัฒนาการต่อเนื่องจากการปฏิรูปครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2440 ทั้งสิ้น กระแสความคิดต้องการเปลี่ยนแปลงให้เป็นประชาธิปไตยนั้นเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่มีใครกระทำการจนสำเร็จ แม้นจะมีความกล้าหาญและเสียสละมากเพียงใดก็ตาม

มีความพยายามแต่ก็ล้มเหลว เช่น เหตุการณ์ ร.ศ. 130

ร.ต. เหรียญ ศรีจันทร์ และ ร.ต. เนตร พูนวิวัฒน์ แกนนำของคณะทหารหนุ่มผู้ก่อการ ร.ศ. 130 ได้บันทึกไว้ในหนังสือ หมอเหล็งรำลึก โดย ร้อยเอก ขุนทวยหาญพิทักษ์ มีข้อความสำคัญตอนหนึ่งว่า

“สาเหตุส่วนสำคัญยิ่งของความคิดปฏิวัติอยู่ที่ความรักชาติยิ่งกว่าชีวิต และมีความปรารถนาอย่างมุ่งมั่นที่จะให้ชาติของตนเข้าถึงสมัยแห่งความเจริญก้าวหน้าของโลกทุกด้าน จึงจำต้องเป็นหน้าที่ของคนไทยเท่านั้นที่จะคิดชำระสะสางความเสื่อมสลายของสังคมชาติ ผดุงความมั่งคั่งสมบูรณ์พูนสุขของปวงชนชาวไทย ... เรื่องเศรษฐกิจของชาติยังหาได้ดำเนินไปเยี่ยงอารยประเทศทั้งหลายไม่ อย่างน้อยก็เยี่ยงประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง เช่น ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งเคยเดินคู่กันมาแท้ ๆ กับประเทศไทยสมัยที่ปิดเมืองท่า แต่ครั้นญี่ปุ่นเปลี่ยนระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้กฎหมายแล้ว มิช้ามินานเท่าใดนัก ความเจริญก้าวหน้าก็วิ่งเข้าหาประชาชาติของเขาอย่างรวดเร็ว จนเกินหน้าประเทศไทยอย่างไกลลิบ ทั้งนี้ ก็เนื่องจากเขาปลุกพลเมืองของเขาให้รักชาติฉลาดหลักแหลมและมั่นคงในวัฒนธรรมอันดีงาม ด้วยโครงการการศึกษาอันแน่นอนตามเงื่อนเวลา มาเป็นกำลังการปกครองและแก้เศรษฐกิจแห่งชาติ ... ส่วนกำลังเงินงบประมาณของชาติที่เคยฟุ่มเฟือยก็รวบรวมสะสมด้วยความสุจริตเที่ยงธรรมและด้วยความประหยัด จากการเปลี่ยนระบอบประเพณีการปกครองนั้นชั่วไม่กี่ปี ญี่ปุ่นก็มีการค้าไปทั่วโลกจากผลิตผลแห่อุตสาหกรรมของตนเอง ... ส่วนของไทยเราสิ ยังล้าหลังอย่างน่าเวทนาสงสารยากที่จะหยิบยกภาวะใดอันเป็นความเจริญก้าวหน้าแห่งสังคมชาติมาเทียบเคียงให้ชื่นอกชื่นใจได้ มิหนำซ้ำยังมีเหตุการณ์ภายในบ้านเมือง”

ความสำคัญของ “คณะ ร.ศ. 130” มิใช่อยู่ที่ว่า สมาคมนี้กระทำการสำเร็จหรือล้มเหลว แต่เหตุการณ์ ร.ศ. 130 นี้เป็นปรากฎการณ์สะท้อนภาพความคิดต้องการเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองให้เป็นเป็นประชาธิปไตยของกลุ่มทหารหนุ่มและข้าราชการรุ่นใหม่

แม้นความเคลื่อนไหวดังกล่าวจะถูกปราบปรามในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2454 หรือ ร.ศ. 130 ก็ตาม แต่ความไม่พอใจต่อสภาพบ้านเมืองและความล้าหลังทางการเมืองยังคงดำรงอยู่ในหมู่ชนชั้นข้าราชการรุ่นใหม่และปัญญาชนทั้งหลาย

ความคิดอภิวัฒน์ประชาธิปไตยเกิดขึ้นกับท่านปรีดีมาก่อนที่จะไปเรียนฝรั่งเศสทั้งจากเหตุการณ์ในประเทศอย่าง เหตุการณ์ ร.ศ. 130 และแรงบันดาลใจจากข้อเขียนของเทียนวรรณ และ ก.ศ.ร. กุหลาบ

ท่านเทียนวรรณ หรือวรรณาโภ ได้ออกนิตยสารชื่อว่า ตุลวิภาคพจนกิจ เรียกร้องให้รัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์เปลี่ยนแปลงการปกครองแบบรัฐสภาแบบนานาอารยประเทศ ก่อนที่นิตยสาร ตุลวิภาคพจนกิจ ถูกสั่งปิด นิตยสารเล่ม 7 วันที่ 8 กันยายน ร.ศ. 125 (พ.ศ. 2450) ได้ทำหน้าที่กระบอกเสียงเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและความเป็นธรรมอย่างสมภาคภูมิหนังสือพิมพ์สื่อมวลชน มีข้อความดังนี้

“ไพร่เป็นพื้นยืนร้องทำนองชอบ
ตามระบอบปาลิเมนต์ประเด็นขำ
แม้นนิ่งช้าล้าหลังยังไม่ทำ
จะตกต่ำน้อยหน้าเวลาสาย
ขอให้เห็นเช่นเราผู้เฒ่าทัก
บำรุงรักษาชาติสะอาดศรี
ทั้งเจ้านายฝ่ายพหลและมนตรี
จะเป็นศิวิไลซ์จริงอย่านิ่งนาน
ให้รีบหาปาลิเมนต์ขึ้นเป็นหลัก
จะได้ชักน้อมใจไพร่สมาน
เร่งเป็นฟรีปรีดาอย่าช้ากาล
รักษาบ้านเมืองเราช่วยเจ้านาย”

พอมาเรียนฝรั่งเศส ท่านปรีดีจึงไม่ได้เรียนหนังสือเหมือนนักเรียนทั่วไป ได้ดำเนินการเคลื่อนไหวเพื่อเตรียมการอภิวัฒน์ประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ในระหว่าง ปี พ.ศ. 2466-2467 ท่านปรีดีได้ร่วมกับนักเรียนไทยในฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และประเทศอื่นในยุโรปจัดตั้งสมาคมสามัคยานุเคราะห์ หรือมีชื่อย่อเป็นภาษาอังกฤษว่า S.I.A.M.

คณะราษฎรได้ก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469 ผู้ก่อตั้งเป็นนักเรียนและข้าราชการในสายทหารและพลเรือน กำลังศึกษาอยู่ทั้งในประเทศฝรั่งเศส อังกฤษ และ สวิตเซอร์แลนด์

ตรงนี้สะท้อนให้เห็นถึงเครือข่ายที่เข้มแข็งของ “นักเรียนนอก” เหล่านี้

การประชุมครั้งแรกของคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองเริ่มต้นอย่างเป็นรูปเป็นร่างเมื่อ ค.ศ. 1926 (ตรงกับปฏิทินไทยขณะนั้น คือ ปี พ.ศ. 2469 ปฏิทินไทยปัจจุบันเป็น พ.ศ. 2470) ประชุมทางการครั้งแรกที่หอพัก ถนน Rue Du Sommerard ซึ่งกลุ่มนักเรียนผู้ก่อการได้เช่าห้องใหญ่ไว้สำหรับการประชุมโดยเฉพาะ มีผู้เข้าร่วมประชุม 7 คน คือ นายปรีดี พนมยงค์ นักศึกษาปริญญาเอกวิชากฎหมายและเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยปารีส ข้าราชการและนักเรียนทุนกระทรวงยุติธรรม  ร้อยโท ประยูร ภมรมนตรี นายทหารกองหนุน เคยเป็นผู้บังคับหมวดทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ รัชกาลที่ 6  ร้อยโท แปลก ขิตตะสังคะ สำเร็จวิชาจากโรงเรียนเสนาธิการทหารบกสยาม แล้วมาศึกษาที่โรงเรียนนายทหารปืนใหญ่ฝรั่งเศส  ร้อยตรี ทัศนัย มิตรภักดี นายทหารกองหนุนเคยเป็นผู้บังคับหมวดกรมการทหารม้าที่ 5 นครราชสีมา แล้วมาศึกษาที่โรงเรียนทหารม้าฝรั่งเศส  นายตั้ว พลานุกรม นักศึกษาวิทยาศาสตร์ในสวิตเซอร์แลนด์ เคยเป็นจ่านายสิบในกองทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ 1  หลวงสิริราชไมตรี (จรูญ สิงหเสนี) ผู้ช่วยสถานทูตสยามประจำกรุงปารีส  และนายแนบ พหลโยธิน เนติบัณฑิตอังกฤษ หลานอาของพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์)  ที่ประชุมมีมติเอกฉันท์ให้ท่านปรีดีเป็นประธานและเป็นหัวหน้าคณะราษฎรจนกว่าจะมีบุคคลที่เหมาะสมเป็นหัวหน้าคณะราษฎรในกาลต่อไป

หลังจากประชุมติดต่อกันยาวนาน 5 วัน วัตถุประสงค์ของคณะราษฎร คือ เปลี่ยนระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีศัพท์สมัยใหม่ว่า “ปฏิวัติ” หรือ “อภิวัฒน์” เพื่อถ่ายทอดคำฝรั่งเศสอังกฤษ REVOLUTION ดังนั้น ทางคณะก่อการจึงใช้ศัพท์ธรรมดาว่า “เปลี่ยนการปกครองของกษัตริย์เหนือกฎหมายมาเป็นการปกครองที่มีกษัตริย์อยู่ใต้กฎหมาย” และมุ่งหมายให้สยามบรรลุเป้าหมายหลัก 6 ประการ

อันเป็นหลัก 6 ประการของคณะราษฎร ได้แก่

หนึ่ง รักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชทางการเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง

สอง รักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดลงให้มาก

สาม บำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะหางานราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก

สี่ ให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน

ห้า ให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน

หก ให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร

ท่านปรีดีได้ทำการบันทึกเล่าเหตุการณ์ดังกล่าวไว้ว่า “โดยคำนึงถึงสภาพของสยามที่ถูกแวดล้อมโดยอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งชาติทั้งสองนี้มีข้อตกลงกันถือเอาสยามเป็นประเทศกันชน แต่เขาอาจพร้อมกันยกกำลังทหารเข้ายึดครองแล้วแบ่งดินแดนสยามเป็นเมืองขึ้น หรืออยู่ใต้อำนาจอิทธิพลของประเทศทั้งสอง ดังนั้น เราจึงเห็นว่า วิธีเปลี่ยนแปลงการปกครองดังกล่าวจะต้องกระทำโดยวิธี Coup D’etat หรือการยึดอำนาจโดยฉับพลัน เพราะในสมัยนั้นยังไม่มีผู้ใดตั้งศัพท์ไทยว่า รัฐประหาร เพื่อป้องกันการแทรกแซงของมหาอำนาจ เพราะเมื่อคณะราษฎรได้อำนาจโดยฉับพลันแล้ว มหาอำนาจก็ต้องเผชิญต่อสถานการณ์ที่เรียกเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า Fait Accompli คือ พฤติกรรมที่สำเร็จรูปแล้ว” 

การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 ก่อให้เกิดผลดีอย่างไร

4) ผลของการปฏิรูปการเมืองการปกครอง การปฏิรูปการเมืองการปกครองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้เกิดผลดังนี้ 1) ก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในราชอาณาจักร ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นรัฐเดียว ทั้งนี้ เป็นผลคือจากการปกครองส่วนภูมิภาคในรูปมณฑลเทศาภิบาล โดยมีศูนย์ราชการอยู่ที่กรุงเทพฯ 2) รัฐบาลไทยมี ...

เหตุใดจึงมีการปฏิรูปการปกครองบ้านเมืองในสมัยรัชกาลที่ 5

การปฏิรูปบ้านเมืองสมัย . ด้านเศรษฐกิจ มีการปรับตัวให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก เพื่อให้หลุดพ้นจากการคุกคามจากประเทศตะวันตกด้วยเหตุผลว่าเป็นประเทศที่มีความล้าหลัง ดังนั้นในการปฏิรูปบ้านเมืองให้มีความทันสมัยนี้จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้เงินทุนอย่างมาก

การปฏิรูปสมัยรัชกาลที่ 5 มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง

ผล : ขุนนางถูกลดอำนาจ รัชกาลที่ 5 ทรงควบคุมการบริหารประเทศ.
จัดตั้งระบบมณฑลเทศาภิบาลเพื่อสร้างความเป็นเอกภาพทางการปกครองและการดูแลหัวเมืองอย่างใกล้ชิด ยกเลือกเมืองเอก โท ตรี หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองประเทศราชและเปลี่ยนมณฑล.
ยกเลิกระบบกินเมือง เพราะมีข้าหลวงเทศาภิบาลมาดูเป็นหูเป็นจาแทนรัฐบาลจากส่วนกลาง.

ข้อใดคือการปฏิรูปการปกครองส่วนกลาง ในรัชกาลที่ 5

๑) การปฏิรูปการปกครองส่วนกลาง มีการจัดแบ่งหน่วยงานการปกครองออกเป็น ๑๒ กรม ซึ่งต่อมาเปลี่ยนไปใช้คำว่า “กระทรวง” แทนโดยประกาศสถาปนากรมหรือกระทรวงต่าง ๆ ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๓๕ และยังได้ประกาศตั้งเสนาบดีเจ้ากระทรวงต่างๆ ขึ้น ยุบตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีและ เสนาบดีจตุสดมภ์ทุกตำแหน่ง มีสิทธิเท่าเทียมกันในที่ประชุม ต่อจากนั้น ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง