ใบงาน ที่ 14 การขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรป

             การขยายอิทธิพลของชาติตะวันตก 

การสำรวจเส้นทางการเดินเรือ


ระหว่างค.ศ. 1450 – 1750 ยุโรปได้เข้าสู่ยุคการสำรวจเส้นทางการเดินเรือและขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจ อันนำความเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงมาสู่สังคมตะวันตก  การเปิดน่านน้ำกับโลกตะวันออก ทำให้พ่อค้าตะวันตกสามารถติดต่อค้าขายทางทะเลโดยตรงกับอินเดียและประเทศตะวันออกอื่นๆ และจัดตั้งสถานีการค้าตั้งแต่เมืองบาสรา ในบริเวณอ่าวเปอร์เซียจนถึงประเทศญี่ปุ่น ตลอดจนควบคุมเส้นทางการค้าเครื่องเทศในบริเวณช่องแคบมะละกา นอกจากนี้การสำรวจเส้นทางการเดินเรือยังทำให้ค้นพบทวีปอเมริกาและจัดตั้งเมืองท่าสำคัญๆทางชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกทั้งในทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้

สาเหตุของการสำรวจเส้นทางการเดินเรือ

          ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ชาวยุโรปได้หันมาใส่ใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวอีกครั้ง การติดต่อกับโลกตะวันออกในสงครามครูเสดซึ่งเป็นสงครามศาสนาระหว่างคริสต์ศาสนิกชนตะวันตกกับพวกมุสลิมตะวันออกกลางและการฟื้นตัวของเมืองที่เกิดขึ้นในระยะเวลาใกล้เคียงกันทำให้ชาวยุโรปมีโอกาสสัมผัสกับอารายธรรมของโลกตะวันออก วิชาความรู้ต่างๆและวิทยาการอื่นๆของกรีกและมุสลิม ทำให้ปัญญาชนเริ่มทบทวนและตรวจสอบความรู้ของตนเองมากขึ้น ตลอดจนท้าทายแนวความคิดทางธรรมชาติและจักวาลวิทยาของคริสต์ศาสนาที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาในสมัยกลาง

          บรรยากาศของการแสวงหาและการค้นหาคำตอบให้กับตนเองเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัวได้ผลักดันให้ชาวยุโรปในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาหันมาสนใจท้องทะเลที่กั้นขวางพวกเขากับโลกของชาวตะวันออก โดยเฉพาะความรู้ทางภูมิศาสตร์และแผนที่ของปโตเลมี ความสนใจดังกล่าวได้ทวีมากขึ้น เมื่อพวกมุสลิมสามารถยึดครองกรุงคอนสแตนติโนเบิล (ปัจจุบัน คือ นครอิสตันบูล ในประเทศตุรกี) และดินแดนในจักรวรรดิไบแซนไทด์ได้ทั้งหมด ซึ่งมีผลกระทบให้การค้าทางบกระหว่างตะวันออกกับตะวันตกชะงักงันแต่สินค้าต่างๆจากตะวันออกยังเป็นที่ต้องการของตลาดตะวันตก ดังนั้นการติดต่อค้าขายทางทะเลจึงสำคัญมากสำหรับพ่อค้า

          นอกจากนี้ความรู้ในการใช้เข็มทิศและการพัฒนารูปทรงและขนาดเรือให้มีความเหมาะสมและมีความคงทนแน่นหนาขึ้น พร้อมติดตั้งอาวุธปืนใหญ่ ทำให้ชาติตะวันออกต่างๆต้องยินยอมเปิดสัมพันธไมตรีด้วย และมีผลให้อิทธิพลของชาติตะวันตกหลั่งไหลสู่โลกตะวันออกได้อย่างกว้างขวางนอกจากเครื่องเทศที่เป็นสินค้าหลักที่พ่อค้าตะวันตกต้องการ ชาติตะวันตกยังมุ่งแสวงหาแหล่งแร่เงินและแร่ทองคำซึ่งเชื่อว่ามีอยู่มากมายทางซีกโลกใต้ เพื่อนำไปใช้ซื้อสิ่งของต่างๆจากประเทศทางตะวันออก และใช้จ่ายเป็นค่าจ้างทหารและเจ้าหน้าที่รัฐต่างๆ

การค้นพบเส้นทางเดินเรือสู่ดินแดนทางตะวันออกและการค้นพบโลกใหม่ของชาติตะวันตก

          1. โปรตุเกสและสเปน

          นับตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษทื่ 15 เป็นต้นมา ชาวยุโรปเริ่มให้ความสนใจและพยามแสวงหาเส้นทางเดินเรือมายังตะวันออก เจ้าชายเฮนรีนาวิกราชทรงจัดตั้งโรงเรียนราชนาวีขึ้นที่แหลมซาเกรสให้เป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้วิทยาการใหม่ๆในการเดินทะเล และเป็นแหล่งรวบรวมการสำรวจเส้นทางเดินเรือประกอบกับความรู้ในการใช้เข็มทิศ และเทคนิคการสร้างเรือขนาดใหญ่ที่สามารถต้านทานคลื่นลมได้ ทำให้นักเดินเรือของโปรตุเกสสามารถเดินทางจนถึงแหลมกรีนในทวีปแอฟริกา

          หลังจากที่เจ้าชายเฮนรีนาวิกราชสิ้นพระชนม์ บาร์โธโลมิว ไดแอส สามารถเดินเรือเลียบชายฝั่งทวีปแอฟริกาจนผ่านแหลมกู๊ดโฮปได้สำเร็จ และ

นักเดินเรือชาวโปรตุเกสอีกผู้หนึ่งคือ วัสโก ดา กามา แล่นเรือในเส้นทางสำรวจของไดแอสจนถึงเอเชีย และหลังจากใช้เวลาเดนทางได้ 93วัน ก็ขึ้นฝั่งที่เมืองกาลิกัตของอินเดีย และสามารถซื้อเครื่องเทศจากอินเดียโดยตรง

นำกลับไปขายในยุโรปได้กำไรมากมาย

          ระยะก่อนหน้านั้น คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ก็รับอาสากษัตริย์เดินทางสำรวจเส้นทางการเดินเรือไปประเทศจีน และค้นพบทวีปอเมริกาได้ในที่สุด ซึ่งทำให้สเปนได้ครอบครองดินแดนส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดของทวีปอเมริกาใต้ อเมริกากลาง และส่วนใหญ่ของดินแดนที่เป็นประเทศสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน

          ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นระยะเวลาแห่งการเริ่มต้นแข่งขันในด้านเศรษฐกิจและอำนาจทางทะเลระหว่างสเปนกับโปรตุเกส ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาสัมพันธไมตรีต่อกัน สมเด็จพระสันตะปาปา

อเล็กซานเดอร์ที่6 ทรงให้สเปนและโปรตุเกสทำสนธิสัญญาทอร์เดซียัส กำหนดให้เส้นเมอร์ดิเตอร์เรเนียนที่ 370 ทางตะวันตกของหมู่เกาะเคปเวิร์ด (เส้นเมริเดียนที่51) ทางตะวันตกของกรีนิช เป็นเส้นสมมติที่แบ่งโลกออกเป็น 2 ส่วน โดยสเปนมีสิทธิในดินแดนทางด้านตะวันตกของเส้นเมริเดียนที่51 และโปรตุเกสได้สิทธิทางด้านตะวันออก อาณาเขตที่เกิดจากการแบ่งเส้นสมมติดังกล่าวนำไปสู่การครอบครองทวีปอเมริกาใต้ของสเปนเกือบทั้งหมด ยกเว้นบราซิลซึ่งตกเป็นของโปรตุเกสตามข้อตกลงของสนธิสัญญานี้ และนำไปสู่การสร้างจักรวรรดิทางทะเลของโปรตุเกสในเอเชีย

          โปรตุเกสประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในการกำจัดอำนาจของพวกมุสลิมในมหาสมุทรอินเดียจนสามารถควบคุมเมืองต่างๆ และยึดเมืองกัว ซึ่งเป็นศูนย์บัญชาการของสันนิบาตมุสลิมในมหาสมุทรอินเดียได้และใช้เมืองกัวเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิโปรตุเกสในตะวันออก

          อาฟองโซ เดอ อัลบูเกร์เก ข้าหลวงโปรตุเกสสามารถขยายอำนาจและแผ่อิทธิพลจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเข้ายึดครองมะละกาซึ่งเป็นชุมทางของเรือสินค้าจากอินเดีย อาหรับ อียิปต์ และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน การยึดครองดินแดนดังกล่าวคือ บริเวณคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะอินโดนีเซียต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของโปรตุเกส และสร้างความมั่งคั่งอย่างมหาศาลให้แก่โปรตุเกสจากการผูกขาดการค้าเครื่องเทศ

          ในค.ศ.1519 เฟอร์ดินันด์ มาเจลลัน นักเดินเรือชาวโปรตุเกสมายังหมู่เกาะเครื่องเทศโดยทางมหาสมุทรอินเดีย และคุมเรือสเปน 5ลำ ออกค้นหาเส้นทางเดินเรือสายใหม่มายังตะวันออก การเดินทางของมาเจลลันครั้งนี้นับเป็นการเดินเรือครั้งแรกที่ข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกมายังทวีปเอเชีย และสามารถพิสูจน์ได้ว่าเอเชียตั้งอยู่คนละทวีป คนละซีกโลก และรู้ว่าเกาะเฮติและคิวบาไม่ใช่ญี่ปุ่นและจีนตามที่ชาวตะวันตกเข้าใจผิดกันมาตั้งแต่โคลัมบัสค้นพบอเมริกา

          อย่างไรก็ตาม มาเจลลันไม่มีโอกาสได้แล่นเรือกลับสเปน เขาถูกคนพื้นเมืองฆ่าตาย แต่ลุกเรือที่เหลือโดยการนำของเซบาสเตียน เดล กาโน สามารถหลบหนีออกจากฟิลิปปินส์ได้ และเดินทางต่อไปจนพบโมลุกกะหรือหมู่เกาะเครื่องเทศ ได้แวะซื้อเครื่องเทศจากชาวพื้นเมือง บรรทุกจนเต็มลำเรือวิคโตริโอ และสามารถหลบเรือโปรตุเกสกลับสเปนทางมหาสมุทรอินเดียได้สำเร็จ เรือวิคโตริโอนับได้ว่าเป็นเรือลำแรกที่แล่นรอบโลกและสามารถพิสูจน์ทฤษฎีโลกกลมว่าเป็นจริง

          การค้นพบเส้นทางการเดินเรือมายังตะวันออกของดา กามา และมาเจลลันเป็นการเปิดน่านน้ำให้เรือจากทวีปยุโรปสามารถแล่นมายังทวีปเอเชียทางมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกได้ และเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้อารยธรรมตะวันตกหลั่งไหลมายังเอเชียก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

          ในค.ศ.1580 ได้เกิดความผันผวนทางการเมืองในโปรตุเกส ทำให้โปรตุเกสต้องตกอยู่ในอำนาจของสเปนจนถึง ค.ศ.1640

          2. ฮอลันดา

          - อาจเรียก ฮอลแลนด์ หรือ เนเธอร์แลนด์

          - อยู่ในทวีปยุโรป

          - ในศตวรรษที่ 16 เนเธอร์แลนด์ถูกปกครองโดยสเปน(พระเจ้าฟิลิปที่2)ต่อมาเจ้าชายวิลเลียมแห่งออเรนจ์และขุนนางจำนวนหนึ่ง ได้ก่อการปฏิวัติต่อสมเด็จพระราชาธิบดีฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน เพื่อเรียกร้องให้ประชาชนเนเธอร์แลนด์และได้สถาปนาสาธารณรัฐดัตช์และ สามารถนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ได้

          - จึงทำให้พระเจ้าฟิลิปที่ 2 ประกาศปิดท่าเรือ ลิสบอน ซึ่งทำให้พ่อค้าชาวดัตช์ไปซื้อเครื่องเทศที่โปรตุเกสไม่ได้ แต่ในที่สุดฮอลันดาก็สามารถยึดครองอำนาจการค้าเครื่องเทศของโปรตุเกสได้ใน ค.ศ. 1598

          - ฮอลันดาเป็นชาติแรกที่พบทวีปออสเตรเลีย เนื่องจากในค.ศ.1606 บริษัท อินเดียตะวันออกของฮอลันดาได้ส่ง Willem Jansz คุมเรือ Duyfken เพื่อหาเกาะทองคำ ซึ่งการเดินทางครั้งนืทำให้ฮอลันดาพบทวีปออสเตรเลีย

          - ค.ศ. 1648 จึงได้มีการลงนามในสนธิสัญญามุนสเตอร์ เพื่อสงบศึกระหว่างเนเธอร์แลนด์และสเปน ซึ่งดำเนินมาถึง 80 ปี และถือเป็นการประกาศเอกราชของเนเธอร์แลนด์

          - หลังจากได้ประกาศเอกราชจากจักรวรรดิสเปน ชาวดัตช์ได้ร่วมกันฟื้นฟูประเทศจนในที่สุดได้เข้ามาสู่ยุคทอง เช่นเดียวกับ สเปน โปรตุเกสและสหราช-อาณาจักร ซึ่งเป็นมหาอำนาจทางทะเลในการแสวงหาโอกาสทางการค้าในดินแดนต่าง ๆ ของโลก

          - เนเธอร์แลนด์เป็นมหาอำนาจทางทะเลและเศรษฐกิจชั้นนำของยุโรปในเวลานั้น และกรุงอัมสเตอร์ดัมก็ได้กลายมาเป็นศูนย์กลางการเงินของยุโรป จนมีนักเศรษฐศาสตร์หลายคนถือให้เนเธอแลนด์เป็นประเทศระบอบทุนนิยมประเทศแรกของโลก

          3. อังกฤษ

          - แพร่อิทธิพลมาในตะวันออกในเวลาใกล้เคียงกับฮอลันดา

          - ค.ศ. 1600 “Queen Elizabeth I” ได้พระราชธานกฏบัตรให้บริษัท อินเดียตะวันออกของอังกฤษ ให้มีสิทธิพิเศษในการทำการค้าตั้งแต่แหลมกู๊ดโฮปจนถึงช่องแคปมาเจลลัน

          - สลายอำนาจทางการทะเลของโปรตุเกสที่ควบคุม มหาสมุทรอินเดีย จนเข้าไปมีอำนาจและอิทธิพลในอินเดียและอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งทำให้อังกฤษเป็นคู่แข่งทางการค้าในตะวันออกกับฮอลันดา

          - ทำสงครามกับฮอลันดาและฝรั่งเศส แต่ฝรั่งเศสแพ้จึงหมดโอกาสควบคุมตลาดการค้าในตะวันออก

ผลของการค้นพบดินแดนของชาติตะวันตก

          1. การเผยแผ่ศาสนา

          - แบบสันติวิธี : โดยมีบาทหลวง ทำหน้าที่ สอนศาสนาและให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการศึกษาแก่คนพื้นเมือง

          - แบบวิธีรุนแรง : บีบบังคับให้มานับถือคริสต์ศาสนา เช่น สเปนได้ส่งกองทหารเข้าทำลายล้างอารยธรรมของเผ่ามายา, แอสเต็ก และอินคา และบีบบังคับให้นับถือคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก

          2. การเปลี่ยนแปลงเศษฐกิจและระบบการค้า

          - ทำลายระบบสมาคมอาชีพ

          - ขยายตัวทางการค้าอย่างรวดเร็ว จนเกิดการปฏิวัติการค้า

          - ใช้เงินตรา

          - เกิดระบบพาณิชยนิยม  

                    1) รัฐบาลของกษัตริย์เข้าควบคุมการผลิตและการค้า

                    2) เน้นส่งออก

                    3) กีดกันสินค้านำเข้า

                    4) แสวงหาอาณานิคมเพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบและระบายสินค้า

          - ค.ศ.1600-1700  โลกตะวันตกยึดถือนโยบายแข่งขันทางเศรษฐกิจเป็นนโยบายหลัก ในช่วงนี้พ่อค้านายทุนได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัทรวมทุน เปิดโอกาสให้บุคคลร่วมกันลงทุนเพื่อขยายการค้าผูกขาดสินค้าต่างๆโดยมีรัฐหรือกษัตริย์สนับสนุน

          - บริษัทรวมทุนจะทำการค้าในนามของประเทศและมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมประเทศของตนให้สามารถยึดครองดินแดนต่างๆได้ เช่น บริษัทอันเดียตะวันออกของอังกฤษได้ก่อตั้งมลรัฐเวอร์จิเนียและมลรัฐเมสซาชูเชตส์ในทวีปอเมริกาเหนือและเบิกทางให้รัฐบาลอังกฤษสามารถเข้าคอบครองอินเดียได้ในเวลาต่อมา

          - ค้นพบเหมืองแร่เงินและทองในทวีปอเมริกา ซึ่งทำให้สินค้าอุปโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีพมีราคาสูงขึ้นและทำให้เกิดเงินเฟ้อในภายหลัง

          3. การเปลี่ยนแปลงด้านอื่นๆ

          - ด้านสิ่งแวดล้อม :  ก่อให้เกิดการกระจายและแพร่พันธุ์สัตว์,พืชและเชื้อโรค เช่น ชาวดัตช์นำต้นกาแฟจากตะวันออกกลางมาปลูกที่เกาะชวาแทนเครื่องเทศที่ทำกำไรได้น้อยลงจนในที่สุดกาแฟได้เป็น

สินค้าหลักอย่างหนึ่งของภูมิภาคนี้.

          - ทำให้มีความรู้ด้านภูมิศาสตร์ของชาติต่างๆมากขึ้น

          - มีการพัฒนาด้านวิชาการและเทคโนโลยีมากขึ้น เช่น การสำรวจ

          - อารยธรรมเก่าแก่ถูกทำลาย ซึ่งทำให้สภาพสังคม,เศรษฐกิจในดินแดนเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง