เขียนจดหมายสมัครงาน จบใหม่

ช่วงนี้ก็อาจมีหลายคนที่กำลังมองหางานกันอยู่ แต่ก็สงสัยว่าทำไมไม่เห็นมีการตอบกลับหรือเงียบหายเลย ในทางหนึ่งเราอาจจะยังเป็นคนที่ไม่ใช่ก็ได้ (เศร้าเฉย) แต่ในอีกทางก็อาจต้องลองกลับมารีเช็กกันใหม่ว่าตอนเราส่งใบสมัครงาน เราเขียนอีเมลหรือทำเรซูเม่กันแบบไหนนะ

เพราะการส่งอีเมลกับการทำเรซูเม่คือการสร้างความประทับใจแรกให้กับบริษัทที่ยังไม่รู้จักเรามาก่อนเลย ดังนั้นนี่ก็เป็นเรื่องสำคัญที่เราอาจจะต้องจริงจังกับการส่งใบสมัครงานกันหน่อยเนอะ

ส่งอีเมลแบบไหน?

ทุกวันนี้เราอาจไม่ต้องไปยื่นใบสมัครงานถึงบริษัท แค่ส่งผ่านอีเมลก็ถึงมือบริษัทได้ง่ายๆ แต่ว่าเมลของเราจะถูกปัดตกมั้ย ก็ต้องลองมาดูว่าเราเขียนอีเมลไปหาบริษัทยังไงกันบ้าง เพราะนี่คือ first impresstion ที่ทางบริษัทจะได้รู้จักกับคุณ และโปรดลบการเขียนอีเมลตอบกลับจากอาจารย์บางคนที่อาจพิมพ์มาหาเราในสมัยเรียนว่า ok krab / good job ka su su ไปได้เลย 

1. ใช้ชื่ออีเมลที่เป็นทางการ ไม่ควรเป็นอีเมลที่มีการใช้ฉายา หรือใส่ตัวอักษรแปลกๆ อย่าง fasai_lnwzaa หรือ nongfasai007 เพราะจะทำให้เราดูไม่จริงจังและสูญเสียภาพลักษณ์ที่น่าเชื่อถือไป

2. เขียนหัวข้ออีเมลให้ชัดเจน หากบางบริษัทกำหนดว่าต้องเขียนหัวข้อแบบไหนก็ให้ทำตามรูปแบบของบริษัทนั้นๆ แต่ถ้าไม่ได้กำหนเมา เราก็ควรเขียนหัวข้อว่า สมัครงาน ตำแหน่ง … เพื่อแจ้งให้บริษัททราบ

3. เขียนอธิบายตัวเองคร่าวๆ เป็นใคร จบจากที่ไหน ทำอะไรอยู่ ทำไมสนใจสมัครตำแหน่งนี้ และจะติดต่อกลับได้ยังไง โดยเป็นภาษาที่ทางการ เพื่อให้บริษัทได้รู้จักคุณคร่าวๆ เพราะหากไม่เขียนอะไรมาเลย ก็มีโอกาสง่ายมากที่จะโดนปัดตกทันที

4. เช็กให้ดีว่าแนบไฟล์เรซูเม่หรือผลงานที่เกี่ยวข้องแล้วเรียบร้อยหรือยัง และชื่อไฟล์ควรใช้ให้เป็นทางการ แจกแจงว่าไฟล์นี้คืออะไร เพื่อไม่ให้ทางบริษัทต้องเสียเวลามาเดาสุ่มว่าไฟล์ไหนคืออะไร และผลงานที่เกี่ยวข้องก็ต้องเกี่ยวข้องจริงๆ และเลือกมาเท่าที่เรารู้สึกว่าโดดเด่นจนบริษัทต้องว้าววววว (ไม่ควรเกิน 5-6 ผลงาน) และไฟล์ที่แนบมาก็ไม่ควรใหญ่เกินไป เพราะบริษัทอาจปิดใจระหว่างรอโหลดไฟล์ขนาดมหึมาของคุณก็ได้

5. สุดท้าย! ตรวจสอบความถูก-ผิดของตัวอักษรด้วยนะ

ทำเรซูเม่แบบไหน?

เรซูเม่ เป็นเรื่องสำคัญมากๆ เพราะถือว่าเป็นหน้าเป็นตาแทนตัวเราที่บริษัทจะได้ทำความรู้จักอย่างแท้จริง ดังนั้นการทำเรซูเม่ให้น่าอ่าน น่าสนใจ ก็อาจจะทำให้ทางบริษัทประทับใจเราได้ แล้วเราควรจะใส่อะไรลงไปในเรซูเม่บ้างนะ?

1. ชื่อ-นามสกุล ประวัติส่วนตัว เช่น วันเกิด ที่อยู่ เบอร์โทร อีเมล สิ่งเหล่านี้ควรใส่เพื่อให้บริษัทได้รู้จักเราคร่าวๆ ว่าเป็นใคร มาจากไหน แต่ไม่ต้องถึงขั้นใส่น้ำหนัก ส่วนสูง กรุ๊ปเลือด (ซึ่งขึ้นอยู่กับตำแหน่งนะ บางที่ก็อาจจะจำเป็นแหละ) 

2. ประวัติการศึกษา ซึ่งอย่างน้อยควรใส่ระดับมัธยม และมหาวิทยาลัย แต่จะเพิ่มระดับประถมศึกษาก็ได้เช่นกัน โดยบอกรายละเอียดเล็กน้อยว่าเรียนสาขาไหน เกรดเฉลี่ยเท่าไหร่

3. ประสบการณ์การทำงาน เป็นส่วนสำคัญมากๆ เพราะทางบริษัทจะได้รับรู้ว่าเราเคยทำอะไรมาก่อน เกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่สมัครมั้ย และทำให้ทางบริษัทสามารถมองเห็นทักษะหรือความสนใจบางอย่างจากประสบการณ์ของเราได้ เพราะไม่ว่ายังไงก็ตาม ประสบการณ์ก็ยังเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าหากเป็นเด็กจบใหม่ อาจจะใส่งานที่ทำในมหาวิทยาลัย รางวัลที่เคยได้รับ หรือการฝึกงานที่เคยไปร่วมก็ได้ เพื่อที่อย่างน้อยบริษัทจะได้เห็นว่าเรามีความพยายามและความสนใจในเรื่องไหนบ้าง

4. ทักษะ เป็นอีกส่วนที่สำคัญโดยเราจะต้องประเมินตัวเองว่าเรามีทักษะอะไรบ้างที่เหมาะสมกับตำแหน่งงาน โดยอาจจะแบ่งเป็น Hard Skill กับ Soft Skill ในส่วนของ Hard Skill นั้นมีข้อควรระวังคือไม่ควรใช้เป็นสเกลหลอดพลัง เพราะจะเทียบเกณฑ์ได้ยากว่าหลอดนี้สัดส่วนเทียบกับอะไร ระดับไหน อย่างง่ายสุดก็คือใช้เกณฑ์ทั่วไป ดีมาก ดี พอใช้ หรือจะดีที่สุดหากมีคะแนนจากการสอบ เช่น ทักษะภาษาอังกฤษ ก็ใส่คะแนน Toeic ได้เลย 

5. งานอดิเรก สิ่งนี้อาจช่วยให้บริษัทประเมินได้ว่าเรามีความสนใจอะไรบ้าง เหมาะกับตำแหน่งงานมั้ย หรือเวลาที่ไม่ใช่งานเรามีการเรียนรู้หรือทำอะไรอย่างอื่นอีก ถือเป็นการทำความรู้จักคนคนหนึ่งให้มากขึ้น

6. รูปถ่าย ไม่ควรใช้รูปเซลฟี่ และควรเป็นรูปหน้าตรง ในบางบริษัทที่มีความยืดหยุ่น อาจเลือกภาพที่ยิ้มแย้มได้ ไม่ต้องถ่ายในสตูดิโอก็ได้ ขอแค่ให้เห็นหน้าชัดๆ เห็นแล้วรู้ว่าหน้าตาเป็นไงก็พอ

นอกจากที่บอกไปข้างบนแล้ว บางแห่งอาจต้องการให้เราใส่บุคคลอ้างอิงด้วย ซึ่งอาจเป็นเจ้านายจากที่ทำงานเก่า หรือเด็กจบใหม่ก็อาจเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา หรืออาจารย์ในคณะ แล้วถ้ายังพอมีที่เหลือๆ ก็อาจจะใส่เป้าหมายในการทำงานจากตำแหน่งที่เราสมัครเพื่อสร้างความมุ่งมั่นไปด้วยก็ได้เหมือนกันนะ

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เรซูเม่นี้ก็ไม่ควรมีความยาวเกิน 1 หน้ากระดาษ A4 ไม่มีการเอาการ์ตูน หรือทำสีสันฉูดฉาดเกินไป หากไม่ได้สมัครตำแหน่งที่ต้องการความครีเอทีฟจริงๆ การใช้พื้นหลังสีขาวนั้นปลอดภัยที่สุดแล้วล่ะ

นี่เป็นคำแนะนำคร่าวๆ ซึ่งแต่ละบริษัทก็อาจจะมีข้อกำหนดที่ต่างกันไป เราเองก็ควรจะประเมินว่าตำแหน่งที่เราสมัคร บริษัทที่เราเลือกจะทำงานด้วยเขาเป็นแบบไหน เพื่อสร้างความประทับใจให้ตรงจุด เราเป็นกำลังใจให้คนที่กำลังตามหางานนะ 🙂

illustration by Monsicha Srisuantang

You might also like

Share this article


  • หน้าแรก

  • บทความที่เกี่ยวข้อง

  • Management Tips

  • เทคนิคการเขียนจดหมายสมัครงาน


     กระบวนการหนึ่งของการสมัครงานนั้น คือ การเขียนใบสมัคร ซึ่งเป็นเสมือนสิ่งที่บ่งบอกถึงตัวผู้สมัครเอง และเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดเพราะนายจ้างมักใช้ในการพิจารณาขั้นพื้นฐานก่อนที่จะมีการเรียกตัวเข้ามาสัมภาษณ์งาน หนึ่งในเอกสารที่ต้องใช้เพื่อการแนะนำตัว คือ จดหมายสมัครงาน     จดหมายสมัครงาน  คือ จดหมายที่ใช้ในการแนะนำตัวซึ่งจะส่งไปควบคู่กับเอกสาร ในการสมัครงานโดยมีข้อแนะนำ สำหรับนักศึกษาจบใหม่หรือผู้เริ่มหางาน ดังนี้


ข้อมูลส่วนตัวที่ควรมีในจดหมายสมัครงาน

     1. ชื่อ - นามสกุล

     2. ที่อยู่

     3. หมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ อย่างน้อย 2 เบอร์

     4. ตำแหน่งงานที่จะสมัคร

     5. รูปถ่าย

     6. ลงลายมือชื่อกำกับบนชื่อของเราในตอนท้ายของจดหมายข้อควรระวังในการเขียนจดหมายสมัครงาน

     1. การสะกดชื่อบริษัทผิด2. ควรใช้กระดาษ A4 ไม่ว่าจะใช้ลายมือตัวเองในการเขียน หรือจะใช้การพิมพ์จากคอมพิวเตอร์รวมถึงเอกสารอื่น ๆ ด้วย และกระดาษไม่ควรมีลายใด ๆ ทั้งสิ้น ยกเว้นการสมัครงานบางประเภทเช่น สถาปนิก กราฟิก วิศวกร ซึ่งอาจต้องมี Portfolio เพื่อเป็นการโชว์ผลงานบ้าง3. ควรทำ Resume ทั้งแบบภาษาไทย และภาษาอังกฤษ4. รูปถ่ายควรจะถ่ายแบบสีและใช้ขนาดตามที่บริษัทนั้น ๆ กำหนด ควรติดรูปไว้มุมขวาบนของ Resume และไม่ควรเอารูปใส่ซองไว้ เพราะอาจตกหล่นได้ ที่สำคัญไม่ควรแต่งภาพจนโอเว่อร์เกินตัวจริง เพราะจะทำให้คนที่จะเรียกเราสัมภาษณ์นั้นเกิดการผิดหวัง

     5. เมื่อเอกสารครบแล้ว ควรตรวจทานอีกครั้งก่อนส่ง รูปแบบการจัดเอกสารคือ จดหมายนำ ตามด้วย

Resume และ รูปถ่าย และจัดขอบให้ตรงกันให้เรียบร้อย และไม่ควรพับใบสมัครลงในซองจดหมาย ควรที่จะหาซองที่สามารถใส่เอกสารขนาด A4 ได้ แต่ไม่ต้องใหญ่เกินไป

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง