การเขียนแนะนําตัวเอง ภาษาไทย

John Lees ที่ปรึกษาด้านอาชีพและผู้เขียนหนังสือ The Interview Expert ได้ให้คำแนะนำเอาไว้ว่า “ให้มองการสัมภาษณ์งานนี้เหมือนการออดิชั่นไปเล่นหนังสักเรื่อง จินตนาการว่าผู้สัมภาษณ์ของเรามีหนังฉายอยู่ในหัว หนังเรื่องนี้เป็นเรื่องของเรา ที่ได้เข้ามาทำงานที่บริษัทนี้ กำลังพรีเซนต์งานให้หัวหน้าฟัง กำลังพูดคุยกับลูกค้าของบริษัท”

Steven Davis ที่ปรึกษาด้านอาชีพอีกคนหนึ่งก็ได้ให้คำแนะนำเอาไว้ว่า “นี่เป็นโอกาสเดียวที่จะสร้าง First Impression ที่ดี” ในความคิดเห็นของเขา การที่บริษัทจะตัดสินใจว่าจะรับเราเข้าทำงานหรือไม่นั้นเกิดขึ้นในช่วงไม่กี่นาทีแรกของการสัมภาษณ์ ตั้งแต่การทักทาย การสบตา ประโยคแรกที่เราพูด และการแนะนำตัวของเรา

ที่จริงคำถามว่า “แนะนำตัวเองหน่อย” ไม่มีสูตรสำเร็จในการตอบ มันเป็นเหมือนคำถามที่เราจะตอบอะไรก็ได้ และผู้สัมภาษณ์บางรายอาจประเมินเราตั้งแต่คำถามนี้ ทำให้เราต้องเตรียมคำตอบที่ผู้สัมภาษณ์น่าจะอยากฟังไป แต่ปัญหาคือ แล้วเขาอยากฟังอะไรจากเรากันนะ

 

 

1.ข้ามข้อมูลเบื้องต้นที่อยู่ในเรซูเม่ก็ได้

ข้อมูลเรื่องชื่อหรือประสบการณ์การทำงานนั้นอยู่ในเรซูเม่อยู่แล้ว ไม่ต้องเสียเวลาอ่านมันซ้ำอีกครั้งให้ผู้สัมภาษณ์ฟังก็ได้ การที่เราได้รับเลือกมานั่งสัมภาษณ์อยู่ตรงนี้เป็นเพราะข้อมูลในเรซูเม่นั่นแหละ ดังนั้นนี่เป็นโอกาสที่เราจะได้แนะนำตัวเองในเรื่องอื่นบ้าง แต่ถ้ารู้สึกไม่มั่นใจ จะพูดซ้ำก็ได้ ไม่มีอะไรผิดหรือถูกในการแนะนำตัวหรอก

ถึงอย่างนั้น การแนะนำตัวนี้ก็ยังไม่ใช่ช่วงเวลาที่เราสามารถพูดถึงชีวิตส่วนตัวได้ อย่างเรื่องไลฟ์สไตล์ ครอบครัว งานอดิเรก ความชอบ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าพูดไม่ได้เลยตอบการสัมภาษณ์ เพียงแค่เก็บเอาไว้ทีหลังในช่วงที่การสัมภาษณ์เริ่มผ่อนคลายลง หรือผู้สัมภาษณ์ถามถึงงานอดิเรกของเราจะดีกว่า เพราะบางครั้งเราอาจบังเอิญมีงานอดิเรกเหมือนกับผู้สัมภาษณ์ และคุยกันต่อติดได้แบบยาวๆ หลังจากที่คุยรายละเอียดสำคัญจบไปแล้ว

 

2.ลองหาคำใบ้จากรายละเอียดงาน

ถ้าข้ามข้อมูลเบื้องต้นและชีวิตส่วนตัวไปก่อน แล้วจะมีอะไรให้แนะนำตัวอีก คำตอบคือ Job Description และ Qualification ในหน้าประกาศรับตำแหน่งใหม่ที่เรากำลังจะไปสัมภาษณ์นี่แหละเป็นแหล่งคำใบ้ชั้นดีของการคราฟต์ประโยคแนะนำตัวที่เข้ากับบริษัทที่เรากำลังจะไปสัมภาษณ์มากที่สุด

ลองอ่านข้อความพวกนั้นจนกว่าเราจะเข้าใจว่าเขาต้องการคนแบบไหนมาร่วมงาน นำข้อมูลเหล่านั้นมาร้อยเรียงกันและเช็คกับตัวเองว่าเราเป็นคนในใจของเขาหรือเปล่า เขาต้องการคนที่สามารถสื่อสารได้อย่างฉะฉานใช่หรือไม่ ต้องการคนที่เขียนคำว่า ‘คะ’ และคำว่า ‘ค่ะ’ อย่างถูกวิธีใช่หรือเปล่า หรือเขาบอกว่า ‘ถ้าสามารถขับรถได้จะพิจารณาเป็นพิเศษ’ เอาไว้ไหม จดคำใบ้เหล่านี้เอาไว้เลย เดี๋ยวเราจะมาร้อยเรียงเรื่องกัน

Tammy Johns ซีอีโอของบริษัทวางแผนและจัดหาทรัพยากรบุคคลให้คำแนะนำว่า อีกหนึ่งอย่างที่จะทำให้โปรไฟล์ของเราดูดีมากขึ้นคือการเล่าว่าทักษะในปัจจุบันของเรานั้นสามารถนำมาใช้ในตำแหน่งงานที่เรากำลังสัมภาษณ์อยู่ได้อย่างไร แม้ว่าบางทักษะอาจจะไม่ได้สามารถใช้ได้โดยตรง แต่ถ้ามันมีความคาบเกี่ยวกันกับตำแหน่งงานที่เรากำลังสัมภาษณ์อยู่ ลองเล่าเรื่องนี้ให้ผู้สัมภาษณ์ฟังด้วยก็ได้

 

3.ขุดค้นความทรงจำ

เมื่อได้คำใบ้มาแล้ว มาลองขุดค้นความทรงจำกัน ว่าเรามีทักษะอะไรบ้าง มีเรื่องราวประสบการณ์สุดโปรฯ ที่พอจะเข้ากับตำแหน่งงานที่กำลังสัมภาษณ์อยู่และอยากเล่าให้เขาฟังไหม หยิบเรื่องราวเล่านั้นมาใช้คำในการเล่าให้เข้ากับตำแหน่งงาน ถ้ามันยาวเกินไปก็ลองรวบตึงให้ฟังง่ายขึ้น ไม่ต้องลงรายละเอียดในทุกอย่างขนาดนั้น

ทุกสิ่งที่เราเล่าไป จะเป็นวัตถุดิบในการสร้างคำถามต่อไปของผู้สัมภาษณ์ ดังนั้นเรื่องที่เราเล่าจะต้องไม่เกินจริง ถ้ามีคำถามเพิ่มเติมเราต้องสามารถตอบได้ด้วยนะ ซึ่งนี่แหละเป็นโอกาสที่เราจะแสดงความเป็นมืออาชีพในการตอบคำถาม เพราะในทุกการทำงานต้องมีการตอบคำถามเกิดขึ้น และถ้าเราตอบได้ดี ผู้สัมภาษณ์ก็จะเริ่มสนใจในตัวเรามากขึ้น

 

4.ประกอบเข้าด้วยกันให้เป็นเรื่องราว

เมื่อได้คำใบ้และเรื่องราวในอดีตของเราที่เหมาะกับการจะแนะนำตัวแล้ว ก็ได้เวลาจับมาร้อยเรียงเป็นเรื่องราว โดยที่ปรึกษาด้านอาชีพ Lily Zhang แนะนำขั้นตอนการร้อยเรียงที่ง่ายและใช้ได้ผลจริงไว้ดังนี้

เริ่มที่ปัจจุบัน: เรากำลังทำอะไรอยู่ ตำแหน่งงานปัจจุบันของเราคืออะไร ทักษะของเรามีอะไรบ้าง สิ่งที่เราภาคภูมิใจที่สุดในตำแหน่งงานปัจจุบัน

ต่อด้วยอดีต: อะไรที่ทำให้เรามาถึงจุดนี้ หรือประสบการณ์ในอดีตที่ทำให้เราควรได้รับตำแหน่งงานที่กำลังสัมภาษณ์อยู่

ปิดด้วยอนาคต: เป้าหมายของเราที่มีเมื่อได้รับตำแหน่งงานนี้ เราจะทำอะไรให้กับบริษัทได้บ้าง

ถ้าร้อยเรียงตามนี้แล้วยังรู้สึกว่าไม่ใช่ ก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามที่ใจเราชอบ อย่าลืมว่าการแนะนำตัวไม่มีสูตรสำเร็จ ร้อยเรียงยังไงก็ได้ให้ข้อมูลที่เราต้องการเล่าให้เขาฟังครบถ้วน และตัวเองเราเองพอใจ

 

5.ฝึกซ้อมจนกว่าจะคล่อง

อย่าลืมซ้อมจนกว่าเราจะพูดได้คล่องและดูเป็นมืออาชีพ Steven Davis ให้คำแนะนำว่าควรซักซ้อมให้บ่อย ลองอัดเสียงตัวเอง หรืออัดวิดีโอไว้เลยก็ได้ อัดเสร็จแล้วก็รอสักหนึ่งชั่วโมงถึงค่อยกลับมาดูใหม่ เพราะการเว้นช่วงเวลานี้จะทำให้เรามีระยะห่างและมุมมองที่อาจเปลี่ยน ทำอย่างนี้ซ้ำจนกว่าจะรู้สึกว่าตัวเราในวิดีโอดูฉะฉานและมีความน่าเชื่อถือมากพอ

ทีนี้หลายคนอาจสงสัยว่า แล้วแนะนำตัวกี่นาทีถึงจะเพียงพอ ที่จริงแล้วไม่เคยมีใครให้คำตอบได้ว่าเวลาที่เหมาะสมในการแนะนำตัวตอนสัมภาษณ์งานอยู่ที่กี่นาที ผู้เชี่ยวชาญบางคนก็แนะนำใช้เวลาแค่ 30 วินาทีก็พอ หรือบางคนก็แนะนำว่าใช้เวลาให้มากกว่า 2 นาที แต่มันไม่มีกฎตายตัว เพราะทุกคนมีเรื่องราวที่แตกต่างกัน ขอเพียงแค่เล่าให้ครบจบเท่าที่อยากเล่าได้ก็พอ

การแนะนําตัวเองควรมีอะไรบ้าง

การเขียนแนะนำตนเอง ..
การขึ้นต้น เหมือนการเปิดตัว ควรให้เป็นที่ประทับใจ.
บอกชื่อ นามสกุล ชื่อเล่น.
บอกวัน เดือน ปีเกิด สถานที่เกิด (จังหวัด หรือประเทศ).
สถานภาพทางครอบครัว หรือสมาชิกในครอบครัว มีกี่คน เป็นบุตรคนที่เท่าไร.
การศึกษา เรียนจบทางด้านใด หรือเคยเรียนที่โรงเรียนไหนก่อนจะมาเรียนที่ปัจจุบัน.

แนะนำตัวเองยังไงให้โลกจำ

“5 สุดยอดวิธีแนะนำตัวให้โลกไม่ลืมเราง่าย ๆ “คุยกันแค่ครั้งเดียว....
อย่าพูดแค่ชื่อหรืออาชีพ แต่นิยามมันให้ไกลกว่านั้น ... .
พูดเรื่องความรู้สึกบ้าง ... .
แนะนำตัวเองในแบบที่เพื่อนบอกเรา ... .
หาความเหมือนกันระหว่างเรากับคนตรงหน้า ... .
อย่าแค่แนะนำ แต่สร้างบทสนทนา.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง