การเชื่อมต่อของคุณไม่เป็นส่วนตัว 2564

9 วิธีแก้ปัญหาข้อผิดพลาด “Your connection is not private” บนเว็บเว็บเบราว์เซอร์

คุณกำลังท่องเว็บไซต์ ผ่าน โปรแกรมเปิดเว็บ หรือ เว็บเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) แล้วดันเจอข้อความแจ้งเตือน "Your connection is not private" ใช่หรือไม่ ? แน่นอนว่านั่นหมายถึง การเชื่อมต่อของคุณไม่เป็นส่วนตัว และเว็บเบราว์เซอร์พยายามที่จะเตือนคุณ

บทความเกี่ยวกับ Browser อื่นๆ

โดยปกติแล้วปัญหานี้มักเกิดขึ้นจากการตรวจสอบ Secure Sockets Layer (SSL) ที่มีข้อผิดพลาด แต่ก็ยังมีปัญหาอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุได้เหมือนกัน เช่น การตั้งค่าที่ผิดพลาดของคอมพิวเตอร์ ปัญหาจาก DNS, ตัวเว็บเบราว์เซอร์ และอื่น ๆ อีกมากมาย บทความนี้เราจะมาวิเคราะห์สาเหตุและหาวิธีแก้ไขไปพร้อมกัน

การเตือน "Your connection is not private" คืออะไร ?

ก่อนอื่นมาทำความรู้จัก Secure Sockets Layer (SSL) สาเหตุหลักของข้อผิดพลาด "Your connection is not private" โดย SSL ก็คือเทคโนโลยีการเข้ารหัสความปลอดภัย ที่ใช้บนโปรโตคอล HTTPS (Hypertext Transfer Protocol Secure) หรือโปรโตคอลการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต เหมือนกับที่เวลาคุณใส่ URL เว็บไซต์ใด แล้วจะมีคำว่า "https" ขึ้นต้นก่อนเสมอนั่นเอง

โดยหลัก ๆ แล้วหน้าที่ของ SSL คือช่วยในการเข้ารหัสข้อมูลที่สื่อสารกันระหว่างเว็บไซต์กับเว็บเบราว์เซอร์ โดยจะมีสิ่งที่เรียกว่า "SSL Certificates" หรือใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นข้อมูลไฟล์ขนาดเล็กที่ผูกกับเว็บไซต์และใช้เป็นเครื่องยืนยันว่าเว็บดังกล่าวมีความปลอดภัย และ น่าเชื่อถือขนาดไหน

ถ้าเกิดว่าเว็บเบราว์เซอร์ตรวจสอบแล้วเจอความผิดพลาดของ "SSL Certificates" เช่น ใบรับรองหมดอายุ หรือ ขัดข้องบางประการ เว็บเบราว์เซอร์ของเราก็จะแจ้งเตือนว่า "Your connection is not private" นั่นเอง เป็นการย้ำเตือนคุณว่า ไม่ควรเข้าชมเว็บไซต์เหล่านั้นเพราะมันอันตรายและอาจมีแฮกเกอร์มาล้วงข้อมูลไปได้

ซึ่งจากปัญหานี้ หลายคนอาจจะเลือกที่จะไม่สนใจ และเข้าเว็บไซต์ต่อไปโดยคลิกที่ "ปุ่ม Advanced" และกดที่คำว่า "Proceed to ...ชื่อเว็บไซต์ (unsafe)" แต่หลายคนก็อาจรู้สึกกลัวและปิดมันไป

อย่างไรก็ตามนั่นคือกรณีปกติ เพราะนอกจากการแจ้งเตือน "Your connection is not private" นั้นจะเกิดขึ้นเพราะ "มันไม่ปลอดภัยจริง ๆ แล้ว" มันอาจจะมีสาเหตุอื่นอีกก็ได้ และถ้าคุณยืนยันที่จะต้องการเข้าเว็บไซต์เหล่านั้นให้ได้ แบบไม่ต้องกังวล หรือสงสัยว่ามันเกิดจากข้อผิดพลาดอื่น เรามีวิธีที่จะตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตัวเอง

วิธีที่ 1 : รีโหลดหน้าเว็บเบราว์เซอร์ใหม่อีกครั้ง

บางทีปัญหาอาจจะไม่ได้ใหญ่นัก เว็บเบราว์เซอร์อาจทำงานพลาดเอง แก้ง่าย ๆ คือกด "ปุ่ม F5" เพื่อรีโหลดหน้าเว็บเหล่านั้นอีกรอบ 

วิธีที่ 2 : เว็บสลับไปใช้เว็บเบราว์เซอร์อื่น

หากรีโหลดหน้าเว็บไซต์แล้วยังเป็นเหมือนเดิม ทางแก้ที่ง่ายอีกทางคือให้ลองสลับไปใช้เว็บเบราว์เซอร์อื่นดู ถ้าพบว่าผลลัพธ์ต่างกัน คุณก็จะทราบได้ง่ายว่าปัญหาเกิดจากอะไรและควรจะเปลี่ยนเว็บเบราว์เซอร์ไหม 

วิธีที่ 3 : ตรวจสอบว่าคุณใช้เครือข่ายสาธารณะอยู่หรือเปล่า

บางครั้งสาเหตุก็เกิดจากเครือข่ายที่ใช้งาน โดยเฉพาะถ้าคุณกำลังใช้เครือข่ายสาธารณะ เช่น Wi-Fi อาคาร, ร้านอาหาร โรงแรม และอื่น ๆ ซึ่งแน่นอนว่ามันไม่ปลอดภัยอยู่แล้ว และมันอาจทำให้เกิดปัญหาของเราตามมาด้วย เพราะส่วนใหญ่ Wi-Fi สาธารณะมักจะไม่รันบน HTTPS แต่ใช้เว็บพอร์ทัลของตัวเองเพื่อให้ผู้ใช้ยินยอมข้อตกลง และ เข้าถึงเครือข่ายได้ ดังนั้นเวลาอยู่นอกสถานที่ ควรใช้เครือข่ายมือถือ หรืออะไรจำพวกนี้ดีกว่า

วิธีที่ 4 : คืนค่าโรงงาน (Factory Reset) เราเตอร์

ถ้าคุณใช้คอมพิวเตอร์และเครือข่ายในบ้านอยู่แล้ว สาเหตุก็อาจเกิดจาก ข้อผิดพลาดของ เราเตอร์ (Router) ก็เป็นได้ ให้ลองรีเซ็ตเราเตอร์กลับมาเป็นค่าโรงงานดูสักครั้ง มันอาจช่วยคุณได้ ปกติเราเตอร์แต่ละรุ่น มีวิธีการรีเซ็ตไม่เหมือนกัน คุณสามารถหาขั้นตอนและวิธีทำได้ตามรุ่นที่ใช้งานเลย

วิธีที่ 5 : ตรวจสอบการตั้งค่า "วันที่และเวลา" บนอุปกรณ์

การตั้งค่า วันที่และเวลาของอุปกรณ์ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง หรือ เขตโซนที่คุณอาศัยอยู่ สามารถส่งผลกระทบต่อความเข้าใจผิดของเบราวเซอร์ในการตรวจสอบใบรับรอง SSL (SSL Certificate) ได้เหมือนกัน ทางทีดีให้ตรวจสอบว่าเวลาตรงกันไหม ? หรือปรับเป็นอัตโนมัติจะเหมาะสมที่สุด

การตั้งค่าวันที่และเวลาบนอุปกรณ์ Mac

  1. กดไปที่ "เมนู Apple" ที่มุมซ้ายจอ และเลือก "เมนู System Preferences"
  2. เลือก "เมนู Choose Date & Time"
  3. ตรวจสอบว่าวันและเวลาถูกต้อง

  1. ปรับเวลาให้เป็นอัตโนมัติ โดยคลิกที่แท็บ "เมนู Time Zone” 
  2. คลิกรูปล็อกที่มุมล่างซ้ายเพื่อทำการปลดล็อกการเปลี่ยนแปลง
  3. จากนั้นติ๊กที่ช่อง "เมนู Set time zone automatically using current location"

การตั้งค่าวันที่และเวลาบนระบบปฏิบัติการ Windows

  1. คลิกขวาที่ "ไอคอน Date & Time" บนแถบงาน (Taskbar)
  2. คลิก "เมนู Adjust Date & Time" เพื่อตรวจสอบว่าวันและเวลาถูกต้อง

  1. คลิกเปิดใช้ "Set time automatically" หรือเปิดใช้ "Set time zone automatically"
  2. เสร็จแล้วให้ปิด และ เปิดเว็บเบราว์เซอร์ขึ้นมาใหม่

การตั้งค่าวันที่และเวลาบนอุปกรณ์ iPhone

  1. สำหรับ iPhone ให้ไปที่การตั้งค่า 
  2. เลือก "เมนู General" กด "เมนู Date & Time" 
  3. และเปิดใช้ "เมนู Set Automatically" (ปกติทุกเครื่องจะเปิดไว้อยู่แล้ว)

การตั้งค่าวันที่และเวลาบนอุปกรณ์ Android 

  1. สำหรับ Android ไปที่การตั้งค่า
  2. เลือก "เมนู General Management" กด "เมนู Date & Time"
  3. และเปิดใช้ "Automatic date and time หรือ "Automatic Time zone"

วิธีที่ 6 : ปิดการทำงานของ Firewall และโปรแกรมแอนตี้ไวรัส

ลองปิดการใช้งาน Firewall และโปรแกรมแอนตี้ไวรัสดู หากโหลดหน้าเว็บแล้วขึ้น "Your connection is not private" วิธีนี้น่าจะช่วยคุณได้ 

  1. กดเปิด "เมนู Settings" ด้วย "ปุ่ม Windows + i" บนคีย์บอร์ด
  2. เข้าไปที่ "เมนู Privacy & Security" จากนั้นไปที่ "เมนู Windows Security" 
  3. คลิกที่คำว่า "Virus and Threat Protection"

  1. เมื่อเปิดหน้าต่างถัดมาให้เลื่อนไปคลิกที่ "ปุ่ม Manage Settings" ใต้ "เมนู "Virus and Threat Protection Settings"

  1. จากนั้นที่ใต้ "คำว่า Real-time Protection" ให้เปลี่ยนจาก "ปุ่ม On เป็น Off" 

  1. กดกลับมาและเปลี่ยนไปที่ "แท็บ Firewall & network protection" คุณจะเห็นชื่อเมนู 3 ตัวได้แก่
    • Domain Network
    • Private Network
    • Public Network

  1. ให้คุณเข้าไปที่ละเมนูจากนั้นเปลี่ยน "คำสั่ง Microsoft Defender Firewall" ทุกเมนูให้เป็น "Off" ให้หมด
  2. จากนั้นให้ลองเข้าเว็บไซต์เดิม

กรณีถ้าคุณมี โปรแกรมแอนตี้ไวรัส (Antivirus Software) แบบ บุคคลที่สาม (3rd Party) ให้ปิดการทำงานของโปรแกรมด้วย จากนั้นเข้าสู่หน้าเว็บไซต์เดิมที่มีปัญหา

วิธีที่ 7 : เปิด โหมดไม่ระบุตัวตน (Incognito mode) บนเบราว์เซอร์

นอกจาก โหมดไม่ระบุตัวตน (Incognito Mode) จะช่วยให้คุณเข้าเว็บไซต์ต่าง ๆ แบบส่วนตัวได้แล้ว ก็สามารถช่วยให้คุณแก้ "Your connection is not private" ได้เหมือนกัน และเรายังสามารถวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาได้ด้วย โดยเฉพาะเมื่อคุณเข้าเว็บไซต์ด้วยโหมดไม่ระบุตัวตนแล้วก็ยังเจอผลลัพธ์เหมือนเดิม แสดงว่าข้อผิดพลาดนั้นอาจเกิดจากเว็บไซต์นั้นมีปัญหาด้านความปลอดภัยจริง ๆ หรืออาจเป็นที่ปัจจัยอื่นของเว็บเบราว์เซอร์ เช่น การติดตั้งส่วนเสริม หรือ ข้อมูลแคชที่ทำงานผิดพลาด

โดยนอกจาก เว็บเบราว์เซอร์ Google Chrome แล้ว เว็บเบราว์เซอร์อื่น ๆ อย่าง Microsoft Edge, Mozilla Firefox และอื่น ๆ ก็มีโหมดไม่ระบุตัวตนให้ใช้เหมือนกัน แต่ชื่อเมนูอาจจะแตกต่างกันเล็กน้อย

วิธีที่ 8 : ล้างข้อมูลการท่องเว็บไซต์ บนเว็บเบราว์เซอร์

แน่นอนว่าพวก ไฟล์คุกกี้ (Cookies) ข้อมูลแคช (Cache) และประวัติเว็บเบราว์เซอร์ (Browsing History) ที่เว็บเบราว์เซอร์ได้บันทึกเอาไว้ให้คุณต่างเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ และช่วยในการอำนวยความสะดวกสำหรับการใช้งานครั้งต่อไป แต่อีกทางมันก็อาจเป็นสาเหตุของปัญหานี้ได้เหมือนกัน และการล้างประวัติเว็บเบราว์เซอร์ก็สามารถช่วยคุณได้

วิธีล้างข้อมูลการท่องเว็บ บนเว็บเบราว์เซอร์ Google Chrome

  1. ไปที่ "เมนู Settings → Privacy and Security"
  2. กดคลิกที่ "เมนู Clear browsing data"

  1. เปลี่ยนช่อง "Time range" เป็น "All Time"
  2. ติ๊กทุกช่อง จากนั้นกด "ปุ่ม Clear data"

วิธีล้างข้อมูลการท่องเว็บ บนเว็บเบราว์เซอร์ Mozilla Firefox

  1. ให้ไปที่ "เมนู Settings → Privacy and Security"
  2. ใต้ "เมนู Cookies and Site Data" คลิกที่ "ปุ่ม Clear Data"

  1. ต่อมาติ๊กทุกช่อง และกด "ปุ่ม Clear"

วิธีล้างข้อมูลบนเว็บเบราว์เซอร์ Microsoft Edge

  1. ให้ไปที่ "เมนู Settings → Privacy, Search, and Security"
  2. ใต้ "เมนู Clear browsing data" คลิกที่ "ปุ่ม Choose what to clear"

  1. จากนั้นเปลี่ยน "ช่อง Time range" เป็น "All Time"
  2. ติ๊กทุกช่อง และกด "ปุ่ม Clear now"  

วิธีที่ 9 : ล้างแคชของ DNS

เวลาเยี่ยมชมเว็บไซต์ต่าง ๆ คอมพิวเตอร์ของคุณจะมีการเก็บข้อมูล Domain Name และ IP Address ที่เคยค้นหามาแล้ว เพื่อที่จะได้ไม่ต้องส่งไปถาม DNS Server ทุกครั้งเวลาเรียกใช้เว็บไซต์ที่เคยเชื่อมต่อ แต่บางครั้งข้อมูลที่เก็บไว้ก็อาจเสียหาย หรือ เก่าไปจนทำให้เกิดข้อผิดพลาดจากการเชื่อมต่อเว็บไซต์ ทางแก้คือต้องล้างแคช DNS บนอุปกรณ์ของคุณ หรือ การ "Flush DNS"

  1. เปิดใช้ Command Prompt ด้วย "Run as administrator"
  2. จากนั้นพิมพ์ "คำสั่ง ipconfig /flushdns" ลงไป
  3. ตามด้วยคำสั่ง 
    • ipconfig /registerdns
    • ipconfig /release
    • ipconfig /renew
  4. จากนั้นพิมพ์ "คำสั่ง netsh winsock reset"
  5. และทำการ Restart คอมพิวเตอร์ของคุณ


ภาพจาก //www.technewstoday.com/your-connection-is-not-private/

เราหวังว่ามันจะช่วยคุณได้ แต่หากลองทำวิธีทั้งหมดแล้วยังไม่ได้ผล ก็อาจต้องพิจารณาว่าเว็บไซต์เหล่านั้นผิดข้อกำหนดและไม่ผ่านการตรวจสอบ "SSL Certificates" ของเว็บเบราว์เซอร์จริง ๆ ซึ่งคุณคงแก้อะไรไม่ได้

ที่มา : www.technewstoday.com , us.norton.com

เขียนโดย

    Thaiware

งานเขียนคืออาหาร ปลายปากกา ก็คือปลายตะหลิว

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง