เร ยน เสาร อาท ตย สามารถ ย ม กรอ wfh.s

ทุกคนคงจำได้ว่า ตอนที่เราสมัครเรียนในเทอมแรก มหาวิทยาลัยนั้นมีการแนะนำวิชาที่จะให้เราลงทะเบียนเรียนให้เรียบร้อยเลย เราแทบจะไม่ต้องวางแผนเองเลย แต่พอถึงเทอมต่อๆไป นักศึกษาทุกคนจำเป็นต้องลงทะเบียนเรียนด้วยตัวเองกันแล้ว แต่จะมีวิธียังไง เรามีคำแนะนำมาฝากกัน วิธีนี้ใช้ได้ทั้งนักศึกษา ป.ตรี (ภาคปกติ) และนักศึกษาพรีดีกรี(Pre-degree)

...บทความนี้ค่อนข้างยาว มีหลายองค์ประกอบ ขอให้ค่อยๆอ่าน ทำความเข้าใจไปทีละขั้นตอน เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนที่ 0 เลยนะ...

ลงทะเบียนเรียนได้กี่วิชา…

  • นักศึกษารหัส 60, 61, 62, … เป็นต้นไป ภาคเรียนที่ 1 ลงทะเบียนเรียนได้ 9-22 หน่วยกิต ภาคเรียนที่ 2 ลงทะเบียนเรียนได้ 9-22 หน่วยกิต ภาคฤดูร้อน ลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน 9 หน่วยกิต
  • นักศึกษารหัส 55-59 ภาคเรียนที่ 1 ลงทะเบียนเรียนได้ 1-24 หน่วยกิต ภาคเรียนที่ 2 ลงทะเบียนเรียนได้ 1-24 หน่วยกิต ภาคฤดูร้อน ลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน 12 หน่วยกิต *นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์(หลักสูตร 5ปี) ลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน 22หน่วยกิต

ขั้นตอนที่ 0 : เตรียมสิ่งที่ต้องใช้

  • [A] : แผนกำหนดการศึกษาชั้นปริญญาตรี หรือ โครงสร้างหลักสูตร หรือ แผนการเรียน เรียกได้เหมือนกัน มันจะบอกว่า เราจะต้องเรียนสะสมหน่วยกิตวิชาใดบ้างจึงจะจบปริญญาตรี ซึ่งเราสามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยตามรหัสของปีหลักสูตร ค้นหาใน Google ก็ได้ด้วยคำว่า “โครงสร้างหลักสูตร ราม” หรือคลิกไปดาวน์โหลดได้ที่ –> ไปหน้าดาวน์โหลด <–
  • [B] : ตาราง ม.ร.30 ของภาคเรียนนี้ ตารางเรียนนี้จะบอกว่าในเทอมนี้ มหาวิทยาลัยเปิดสอนวิชาอะไรบ้าง มันจะมีรหัสวิชา ชื่อวิชา อาจารย์ผู้สอน ห้องที่ใช้เรียน เวลาเรียน และที่สำคัญบอกเวลาสอบด้วย ซึ่งมหาวิทยาลัยจะประกาศ ตาราง ม.ร.30 ให้ทราบก่อนถึงกำหนดลงทะเบียนเรียนเป็นประจำทุกภาคการศึกษา 🧾🧾ดูออนไลน์ได้ที่ –> คลิกเล้ยยย <–
  • [C] : ข้อมูลการลงทะเบียนเรียนภาคเรียนที่ผ่านมาเพื่อให้วางแผนการลงทะเบียนเรียนได้ถูกต้องและไม่ซ้ำซ้อนกัน เราควรทราบว่าในภาคเรียนที่ผ่านๆ มาเคยลงทะเบียนเรียนวิชาอะไรไปแล้วบ้าง โดยดูได้จาก เช่น ใบเสร็จลงทะเบียนเรียนภาคเรียนที่ผ่านมา, ใบเช็คเกรด ซึ่งสามารถดูได้จากระบบ e-Service

ขั้นตอนที่ 1 : เอา [A] แผนการเรียน มากาง

แผนการเรียนนี้เป็นตัวแนะนำว่าในแต่ละภาคเรียน เราควรจะลงทะเบียนเรียนวิชาใดบ้างตลอดระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามหลักสูตร (ภาพตัวอย่างนี้เป็นหลักสูตร 4 ปี จึงมีแผนการเรียน 4 ปี มี 132 หน่วยกิต)

[A] ตัวอย่างแผนการเรียน(การจัดการ, บริหารธุรกิจ)

– Freshman Year หมายถึง ชั้นปีที่ 1 – Sophomore Year หมายถึง ชั้นปีที่ 2 – Junior Year หมายถึง ชั้นปีที่ 3 – Senior Year หมายถึง ชั้นปีที่ 3 – First Semester หมายถึง ภาคเรียนที่ 1 ของปีนั้นๆ – Second Semester หมายถึง ภาคเรียนที่ 2 ของปีนั้นๆ – Total for 4 years หมายถึง หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 4 ปี

...เอาล่ะ น้องๆนักศึกษาใหม่ที่เพิ่งลงทะเบียนเรียนด้วยตัวเองเป็นครั้งแรก ลองมองไป[A] แผนการเรียนของตัวเอง ลองมองดูว่าเทอมที่เรากำลังจะลงทะเบียนเรียนนี้ มันแนะนำให้เราลงทะเบียนวิชาอะไรบ้าง นอกจากนี้ให้ดูว่าเทอมที่ผ่านมาเราลงทะเบียนเรียนวิชาอะไรไปแล้วบ้าง(ดูได้จากใบเสร็จ หรือใบเช็คเกรด), วิชาไหนสอบผ่านแล้วก็ไม่ต้องลงซ้ำอีก, วิชาไหนที่รอผลสอบอยู่ก็ไม่ต้องลงทะเบียนเรียนในเทอมนี้, ส่วนวิชาไหนยังไม่เคยลงทะเบียนเรียนเลยและน่าสนใจก็ลองจดวิชานั้น ๆ ใส่กระดาษเอาไว้ ลองเลือกมาสัก 9 - 22 หน่วยกิตนะ สมมติว่า เลือกมาได้ 3 วิชา คือ... ACC1102 (3หน่วยกิต) ECT1101 (3หน่วยกิต) LAW1003 (3หน่วยกิต) ⚠️ แต่เดี๋ยวก่อน...เราจะเอาวิชานี้พวกนี้ไปลงทะเบียนเรียนทันทีไม่ได้นะ เพราะเราจะต้องตรวจสอบก่อนว่า วิชาเหล่านี้เรียนในวัน/เวลาใด และที่สำคัญวิชาเหล่านั้นไม่ควรมีวัน/เวลาสอบเดียวกัน เพราะเราแยกร่างไปสอบ 2 วิชาในเวลาเดียวกันไม่ได้ โดยตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวได้ที่... "ตารางเรียน ม.ร.30"

ขั้นตอนที่ 2 : เอา [B] ตาราง ม.ร.30 มากาง

ภาพต่อไปนี้คือ “ตาราง ม.ร.30 ของภาคเรียนที่ 2/2562” มันจะบอกว่าภาคเรียนนี้มหาวิทยาลัยเปิดสอนวิชาอะไรบ้าง เรียนวันไหน เมื่อไหร่ ห้องไหน ใครสอน และบอกเวลาสอบด้วย ให้เราดาวน์โหลด ตาราง ม.ร.30 ของภาคเรียนที่จะลงทะเบียนเรียนมาดูนะ

[B] ตัวอย่างตาราง ม.ร.30 ส่วนกลาง

อธิบายวิธีดูตาราง ม.ร. 30 (ในกรอบเส้นประสีแดง โดยใช้ตัวอย่างวิชา ACC1102) ดังนี้…

  • ตัวหนังสือ สีชมพู หมายถึง (รหัสวิชา)+ (จำนวนหน่วยกิต)
  • ตัวหนังสือ สีน้ำตาล หมายถึง (รหัสวิชาเก่า)+(ชื่อกระบวนวิชาภาษาอังกฤษ)
  • ตัวหนังสือ สีฟ้า หมายถึง (วันเรียน)(เวลาเรียน) TU=Tuesday (วันอังคาร) เวลา 8.30 – 11.00 น.
  • ตัวหนังสือ สีเขียว หมายถึง (อาคารเรียน)+(ห้องเรียน) KTB201 = อาคารคนที ห้อง 201
  • ตัวหนังสือ สีดำ หมายถึง (ชื่ออาจารย์ผู้สอน)
  • ตัวหนังสือ สีแดง หมายถึง วันเวลาสอบ (วัน)(วันที่)(เดือน)(ปีค.ศ.)(คาบสอบ A/B) ซึ่ง TU 03 MAR. 2020 B อธิบายได้ ดังนี้ TU = Tuesday (วันอังคาร) 03 = วันที่ 3 MAR. = March (มีนาคม) 2020 = ปี ค.ศ.2020 (หรือ พ.ศ.2563) อักษร B หมายถึง คาบเวลาสอบบ่าย (14.00-16.30น.) แต่ถ้าเป็นอักษร A หมายถึง คาบสอบเวลาเช้า(9.30-12.00น.)
  • ในภาคฤดูร้อน จะมีการปรับวันเรียน โดยวิชาหนึ่งๆ จะเรียน 3 ครั้งสัปดาห์(วันเว้นวัน) บางวิชาจะเรียนเฉพาะวัน จันทร์/พุธ/ศุกร์ = MWF และบางวิชาจะเรียนเฉพาะ อังคาร/พฤหัสบดี/เสาร์ = TTS

...เมื่อทราบวิชาดูตาราง ม.ร.30 แล้ว ให้นำวิชาที่เราเลือกเอาไว้ มาเทียบกับตาราง ม.ร.30 โดยให้ทำแบบนี้ครบทุกวิชาที่เราวางแผนจะเรียนในเทอมนี้ อย่าให้วิชาเวลาสอบตรงกันแค่นี้ก็ได้วิชาที่จะลงทะเบียนเรียนแล้ว ลองเขียนตารางเรียนและใส่รายละเอียดไว้ให้ครบถ้วน ลองทำตารางเรียนเหมือนในภาพด้านล่างนี้ก็ได้นะ (ตารางตัวอย่าง)...

...เมื่อลองใส่ข้อมูลแล้ว ก็จะได้ประมาณนี้(ภาพด้านล่าง) ต่อไปก็รอลงทะเบียนเรียนตามกำหนดการในปฏิทินการศึกษาได้เลย แถมยังใช้ตารางนี้เป็นตารางเรียนส่วนตัวของเราก็ได้นะ...

แล้วลงทะเบียนเรียนเมื่อไหร่/ช่องทางไหนบ้าง ?

ทุกๆคน สามารถทราบกำหนดการลงทะเบียนเรียน และกำหนดการสำคัญๆ เช่น การสอบ การเพิ่ม-ถอนวิชา ได้จากปฏิทินการศึกษาของมหาวิทยาลัย หรือดูผ่านเว็บไซต์รอบรั้วรามฯ คลิก โดยช่องทางการลงทะเบียนเรียนในปัจจุบันมี 3 ช่องทางคือ เว็บไซต์มหาวิทยาลัย www.iregis2.ru.ac.th , แอปพลิเคชัน RU-Regis และการลงทะเบียนเรียนทางไปรษณีย์ (ปัจจุบันงดการลงทะเบียนเรียนด้วยตนเองที่มหาวิทยาลัยเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19) ซึ่งในแต่ละช่องทางมีกำหนดบอกไว้ในปฏิทินการศึกษาแล้ว(ดังภาพต่อไปนี้)

สายอาชีพ มีเรียนเสาร์อาทิตย์ไหม

การเรียนอาชีวศึกษาควบคู่กับการทำงาน – การเรียนภาคสมทบหรือภาคค่ำ เฉพาะผู้ที่ทำงานแล้ว สามารถเรียนวันเสาร์ – อาทิตย์ หรือภาคค่ำ (เปิดสอนเฉพาะบางสาขาเท่านั้น)

ภาคพิเศษสามารถกู้กยศได้ไหม

การกู้ยืมทั้ง 2 ลักษณะ สามารถยื่นกู้ได้ทั้งภาคปกติ ภาคพิเศษและหลักสูตรนานาชาติ

ยังเรียนไม่จบ เทียบโอนได้ไหม

ผู้ที่กำลังศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาอื่น และยังไม่สำเร็จการศึกษาอย่างเป็นทางการ จะเทียบโอนไม่ได้ ผู้ที่กำลังศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาอื่น และยังต้องการเรียนต่อสถาบันเดิมควบคู่กับรามคำแหง จะเทียบโอนไม่ได้(แต่สมัครแบบไม่เทียบโอนได้) ผู้ที่จบ ม.ปลาย หรือ กศน.ม.ปลาย และไม่เคยสะสมหน่วยกิตพรีดีกรีมาก่อน จะเทียบโอนไม่ได้

ป.ตรีมีเรียนเสาร์ อาทิตย์ไหม

ป.ตรี วันเสาร์-อาทิตย์ หรือวันอาทิตย์ วันเดียว เหมาะสำหรับผู้ที่ทำงานแล้ว และต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี สามารถเลือกเรียนต่อ ปริญญาตรี วันเสาร์-อาทิตย์ หรือวันอาทิตย์วันเดียวได้ โดยไม่กระทบเวลาทำงาน ค่าเทอมมีส่วนลดและสามารถผ่อนชำระได้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง