Www.epayment.go.th ผ ม รายได น อย pantip

รบ.เชิญ ปชช.ลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยรอบสอง พรุ่งนี้ ย้ำลงใหม่หมดเพื่ออัปเดตข้อมูล

เผยแพร่: 2 เม.ย. 2560 10:32 ปรับปรุง: 2 เม.ย. 2560 13:10 โดย: MGR Online

รัฐบาลเชิญชวนประชาชนลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยรอบที่ 2 ดีเดย์พรุ่งนี้วันแรก เพื่อรับสิทธิ์สวัสดิการแห่งรัฐ ย้ำต้องลงทะเบียนใหม่ทุกรายทั้งรายเดิมรายใหม่ เพื่ออัปเดตข้อมูล

วันนี้ (2 เม.ย.) พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้รัฐบาลจะเปิดให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อย ลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐรอบที่ 2 เป็นวันแรก โดยจะดำเนินการต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 15 พ.ค. 60 เพื่อให้ภาครัฐมีข้อมูลของผู้มีรายได้น้อยที่เป็นปัจจุบันและจัดสวัสดิการช่วยเหลือได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย

“เมื่อปีที่แล้วมีประชาชนไปลงทะเบียนทั้งสิ้น 8,375,383 ราย แต่เป็นผู้มีสิทธิ์ซึ่งมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่จะได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล 1,500 บาท และ 3,000 บาท จำนวน 7,715,359 ราย โดยในจำนวนนี้ได้รับเงินโอนไปแล้ว 7,525,363 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 97.5 ของจำนวนผู้มีสิทธิ์ทั้งหมด ส่วนที่เหลือไม่ได้รับเงินโอนเนื่องจากไม่มีบัญชีเงินฝากกับธนาคาร ไม่ไปติดต่อกับธนาคาร หรือบัญชีติดอายัด”

ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญต่อโครงการนี้เป็นอย่างมากเพราะถือเป็นช่องทางให้ความช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยโดยตรง โดยฝากเชิญชวนให้ผู้ที่มีคุณสมบัติตามที่ประกาศไว้ไปลงทะเบียนได้ที่ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส.ทุกสาขา สำนักงานคลังจังหวัดทุกจังหวัด และสำนักงานเขตใน กทม. เพื่อรับบัตรประจำตัวผู้มีรายได้น้อยการช่วยเหลือค่าน้ำค่าไฟ ค่าโดยสารรถสาธารณะ การประกันภัยผู้มีรายได้น้อย หรือเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นต้น

“ผู้ที่มีสิทธิ์ทุกคนจะต้องไปลงทะเบียนใหม่ทั้งหมดทุกราย ทั้งรายเดิมที่เคยลงทะเบียนแล้วและรายใหม่ที่ยังไม่เคยลงทะเบียน โดยต้องมีสัญชาติไทยอายุ 18 ปีขึ้นไป เป็นผู้ว่างงานหรือมีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาทในปี 59 ไม่มีทรัพย์สินทางการเงิน หรือไม่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมาย หรือหากมีบ้านพักอาศัยต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 25 ตร.ว. ห้องชุดไม่เกิน 35 ตร.ม. หรือมีที่ดินเพื่อการเกษตรไม่เกิน 10 ไร่ หรือที่ดินอื่นที่ไม่ใช่การเกษตร ไม่เกิน 1 ไร่”

หลังจากลงทะเบียนแล้วสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิ์ได้ตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2560 ที่ www.epayment.go.th หรือที่ทำการกำนันผู้ใหญ่บ้าน หากไม่มีชื่อให้ไปติดต่อกับหน่วยงานที่ลงทะเบียนไว้ และรอรับบัตรสวัสดิการที่กระทรวงการคลังจะดำเนินการให้ต่อไป

คนทำธุรกิจ-คนใช้บริการ “แพลตฟอร์มดิจิทัล” ต้องรู้ 6 ข้อ! เกี่ยวกับกฎหมายธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล

จะทำอย่างไร หากวันหนึ่ง “แพลตฟอร์มดิจิทัล” ที่เราใช้อยู่ทุกวันจนเคยชิน ไม่ว่าจะเป็นซื้อขายสินค้า/บริการออนไลน์ ดูหนังซีรีส์ ฟังเพลง จองที่พักโรงแรม สั่งซื้ออาหารเดลิเวอรี และอื่น ๆ อยู่ดี ๆ กลับหายไปในพริบตา ซึ่งความรู้สึกที่ตามมาคงหนีไม่พ้นความหงุดหงิดใจที่พวยพุ่งขึ้นมา ขณะเดียวกัน ยิ่งคนไทยส่วนใหญ่หันมาทำกิจกรรมบนแพลตฟอร์มดิจิทัลมากขึ้น เหล่านักธุรกิจ ผู้ประกอบการ รวมถึงพ่อค้าแม่ขาย ก็เทน้ำหนักหันมาทำธุรกิจผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลมากขึ้นเพื่อตอบสนองผู้ใช้บริการ แน่นอนว่ายิ่งมีผู้ใช้จำนวนมาก ปัญหาบนแพลตฟอร์มดิจิทัลก็ย่อมมีตามมาเหมือนเงาตามตัว เช่น ถูกหลอก โดนฉ้อโกง จากการทำธุรกิจ การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

ที่ผ่านมา ประเทศไทย แม้จะมีกฎหมายมาดูแลก็อาจจะยังไม่ครอบคลุมในมิติที่จำเป็น โดยเฉพาะการมีข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับการกำกับดูแลธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล รวมทั้งการดูแลคุ้มครองผู้ใช้บริการ ทั้งในด้านการให้ข้อมูลที่จำเป็นเพื่อดูแลความโปร่งใสและเป็นธรรม และการมีมาตรการชดใช้เยียวยาความเสียหายที่เกิดจากการให้บริการ อีกทั้งบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล มีทั้งผู้ให้บริการอยู่ในประเทศไทยและในต่างประเทศ ทำให้พบอุปสรรคในด้านต่างๆ เช่น การติดต่อประสานงาน การแจ้งข้อร้องเรียนต่างๆ ไปยังผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์ม การติดต่อประสานงานเกี่ยวกับการชดใช้เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น เป็นต้น

ดังนั้น สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) (Electronic Transactions Development Agency) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เล็งเห็นว่า ประเทศไทยควรมีกลไกในการกำกับดูแลบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล จึงนำไปสู่การเสนอ (ร่าง) พระราชกฤษฎีกาการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. …. (ชื่อเดิมคือ ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. .…) ต่อคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ความเห็นชอบ และเสนอต่อรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบในหลักการ ตามลำดับ ทั้งนี้ เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนนโยบายด้านการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการพัฒนามาตรฐานหรือหลักเกณฑ์ในการให้บริการ โดยล่าสุด นายชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการ ETDA มาจับเข่าคุยเล่าให้ฟังถึงเรื่องกฎหมายฉบับนี้อย่างเอ็กซ์คลูซีฟ ซึ่งมีผลโดยตรงต่อผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล รวมถึงผู้ใช้บริการ วันนี้จะขอแบ่งเป็นรายข้อเพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจ ดังนี้

1. บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล” สื่อกลางที่จำเป็นต้องมี “ความโปร่งใสและเป็นธรรม” จึงนำมาสู่การใช้กลไกของกฎหมายแพลตฟอร์มดิจิทัล

นิยามของบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลคือ บริการสื่อกลางที่ทำให้บุคคล 2 ฝ่ายขึ้นไป อาทิ ผู้ประกอบการบนแพลตฟอร์มดิจิทัล ผู้บริโภค และผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ได้มาทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกันเพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อกันโดยใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น แพลตฟอร์มดิจิทัลที่เกี่ยวกับการเช่าที่พักอาศัย ที่มีคนเอาที่พักของตนมาลงทะเบียนในบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ซึ่งเป็นสื่อกลางเกี่ยวกับการบริการค้นหาที่พักอาศัยและคนที่ต้องการจะเช่าเข้าไปดูแล้วแมชชิ่งกัน หรือโปรแกรมค้นหา Search Engine อย่าง Google ก็นับเป็นแพลตฟอร์มดิจิทัล เพราะมีทั้งฝ่ายที่มีข้อมูลหรือคอนเทนต์บนเว็บไซต์ และฝ่ายที่ต้องการข้อมูลแล้วเข้าไปสืบค้นจนทำให้บุคคลสองฝ่ายนี้มาเจอกันบนแพลตฟอร์ม หรือบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลประเภท Video หรือ Content sharing ก็จะมีฝ่ายผู้ใช้บริการที่เป็นคนอัปโหลดเนื้อหา และอีกฝ่ายเป็นผู้ใช้บริการที่เป็นคนรับชมเนื้อหา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หากเป็นกรณีที่มีการทำธุรกรรมระหว่างนาย A ซึ่งมีสินค้าแล้วอัปโหลดสินค้าขึ้นไปขายบนเว็บไซต์ของตนฝ่ายหนึ่ง กับมีลูกค้าอีกฝ่ายหนึ่ง โดยมีการพูดคุยและซื้อขายสินค้ากันบนแพลตฟอร์มดังกล่าว กรณีนี้จะเห็นได้ว่าไม่มี “สื่อกลาง” ที่ให้บริการสื่อกลางทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำการบริหารจัดการข้อมูลที่แยกออกต่างหากจากผู้ประกอบการ ตามตัวอย่างนาย A เป็นบุคคลคนเดียวกับเจ้าของแพลตฟอร์มซึ่งก็คือเว็บไซต์ที่อัปโหลดสินค้า ลักษณะนี้จึงไม่ถือเป็น “บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล” ตามนิยามที่กฎหมายกำหนดไว้

ดังนั้น เมื่อมีการสื่อสารระหว่างผู้ประกอบการบนแพลตฟอร์มดิจิทัล ผู้บริโภค หรือผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลอื่นแล้ว สิ่งที่จะทำให้การใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลดำเนินต่อไปได้อย่างมั่นคงและปลอดภัย จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายมากำกับดูแล จนนำมาสู่การ (ร่าง) พระราชกฤษฎีกาการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. …. โดยวางคอนเซปต์ที่เน้นเรื่อง “ความโปร่งใสและเป็นธรรม” ซึ่งเป็นกฎหมายที่จะเข้ามาช่วยดูแล “การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล” เพื่ออำนวยความสะดวกและเสริมประสิทธิภาพแก่ผู้ประกอบธุรกิจ รวมถึงคุ้มครองดูแลผู้ใช้บริการร่วมด้วย

2. บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลกลุ่มใด อยู่ภายใต้กฎหมายฉบับนี้บ้าง?

สำหรับบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ ETDA ทราบก่อนประกอบธุรกิจ และอยู่ภายใต้ (ร่าง) พระราชกฤษฎีกาการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. …. นั้น จะมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 8 ดังนี้ 1. บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ที่มีรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายจากการให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลในราชอาณาจักรเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นบุคคลธรรมดา 2. บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายจากการให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลในราชอาณาจักรเกิน 50 ล้านบาทต่อปี ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นนิติบุคคล และ 3. บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีจำนวนผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลในราชอาณาจักรเกิน 5,000 รายต่อเดือน โดยคำนวณจากการใช้งานเฉลี่ยต่อเดือนย้อนหลังตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานประกาศกำหนด โดยบริการแพลตฟอร์มเหล่านี้มีหน้าที่ต้องแจ้งข้อมูลที่จำเป็นให้ ETDA ทราบ อาทิ ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจ ข้อมูลเกี่ยวกับบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการ ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องร้อง

อย่างไรก็ตาม กฎหมายฉบับนี้ก็ได้ยกเว้นบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ โดยแบ่งเป็น 3 กรณี ได้แก่ 1. บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เช่น e-Payment Platform ต่างๆ เป็นต้น 2. บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และ 3. บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ให้บริการโดยหน่วยงานของรัฐที่ไม่เกี่ยวกับธุรกิจการค้าโดยตรง หรือไม่เป็นการให้บริการที่มีลักษณะเพื่อแสวงหากำไรเป็นหลักและได้แจ้งให้ ETDA ทราบแล้ว เช่น แพลตฟอร์มในการบริการยื่นภาษี เป็นต้น แต่ถ้าหน่วยงานของรัฐได้ทำแพลตฟอร์มขึ้นมาและเกี่ยวกับธุรกิจการค้าโดยตรงหรือเป็นการให้บริการที่มีลักษณะแสวงหากำไรเป็นหลัก ก็จะกลายเป็นบริการแพลตฟอร์มที่อยู่ภายใต้ร่างพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้

3. การจัดทำกฎหมายฉบับนี้จะเป็นภาระของผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยหรือไม่?

สำหรับผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลรายย่อย หมายถึง กรณีบุคคลธรรมดารายได้ต่ำกว่า 1.8 ล้านบาท หรือมีผู้ใช้บริการต่ำกว่า 5,000 คนต่อเดือน หรือถ้าเป็นนิติบุคคลรายได้ต่ำกว่า 50 ล้านบาท หรือมีผู้ใช้บริการต่ำกว่า 5,000 คนต่อเดือน ในกรณีเช่นนี้ธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดังกล่าวจะไม่มีลักษณะตามที่กฎหมายฉบับนี้กำหนด ทำให้ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลและการควบคุมดูแลตามหมวด 2 แต่ผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลรายย่อยจะต้องแจ้งรายการโดยย่อเกี่ยวกับข้อมูลของผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจ ข้อมูลเกี่ยวกับบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ได้แก่ ชื่อบริการแพลตฟอร์ม ประเภทบริการแพลตฟอร์ม และช่องทางการให้บริการ และข้อมูลเกี่ยวกับผู้ประสานงานในราชอาณาจักรในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจประกอบธุรกิจอยู่นอกราชอาณาจักรเพื่อให้ ETDA ทราบ นอกจากนี้ ยังต้องแจ้งข้อมูลรายปีสำหรับมูลค่าการทำธุรกรรมที่เกิดขึ้นบนแพลตฟอร์ม รายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายจากการให้บริการ ตลอดจนจำนวนรวมของผู้ใช้บริการและจำนวนของผู้ใช้บริการแต่ละประเภทอีกด้วย

เมื่อพิจารณาจากหน้าที่การแจ้งข้อมูลของผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยแล้ว ก็จะพบว่าเป็นการแจ้งเพียงข้อมูลโดยย่อเท่านั้น ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยพึงมีอยู่แล้ว

4. กำหนดหน้าที่ให้สอดคล้องกับความเหมาะสมของขนาด หรือประเภทความเสี่ยงของผู้ประกอบธุรกิจ

นอกจากลักษณะทั่วไปของธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่เป็นบุคคลธรรมดามีรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายเกิน 1.8 ล้านบาท หรือมีผู้ใช้บริการเกิน 5,000 คนต่อเดือน หรือถ้าเป็นนิติบุคคล รายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายเกิน 50 ล้านบาท หรือมีผู้ใช้บริการเกิน 5,000 คนต่อเดือน แล้ว (ร่าง) พระราชกฤษฎีกาการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. …. ฉบับนี้ ได้กำหนดลักษณะบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลขนาดใหญ่และบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีลักษณะเฉพาะ ดังนี้

  1. บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลขนาดใหญ่ ซึ่งมีรายได้จากการให้บริการในไทย แต่ละประเภทบริการเกิน 300 ล้านบาทต่อปี หรือรวมทุกประเภทบริการเกิน 1,000 ล้านบาทต่อปี หรือมียอดคนใช้งานแพลตฟอร์มต่อเดือนเกินร้อยละ 10 ของจำนวนประชากรไทย
  2. บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีลักษณะเฉพาะตามความเสี่ยง ซึ่งมีความเสี่ยงและมีผลกระทบในระดับสูง
  3. บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีลักษณะเฉพาะในด้านสำคัญ

ทั้งนี้ บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลทั้ง 3 ลักษณะดังกล่าวจะมีหน้าที่เพิ่มเติมเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยง และมีมาตรการการบริหารและจัดการความเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อให้เป็นไปตามความเหมาะสมของบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลนั้น ๆ เป็นต้น เนื่องจากแพลตฟอร์มเหล่านี้มักจะมีผู้ใช้บริการจำนวนมาก เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นย่อมกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมประเทศได้

5. กฎหมายฉบับนี้กำหนดมาตรการป้องกันผลกระทบจากการเลิกประกอบธุรกิจบริการบนแพลตฟอร์มดิจิทัลไว้อย่างไร?

สำหรับหน้าที่การแจ้งเลิกประกอบธุรกิจตามกฎหมายฉบับนี้ สามารถสรุปสาระสำคัญเป็นตารางเพื่อสะดวกต่อการทำความเข้าใจได้ดังนี้

หากวันหนึ่งมีผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลเลิกประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องมีการแจ้งเลิกประกอบธุรกิจด้วย ดังนี้ (ร่าง) พระราชกฤษฎีกาการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. .... จึงได้กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยบริการแพลตฟอร์มที่มีลักษณะทั่วไปจะต้องแจ้งต่อ ETDA ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 60 วัน ก่อนวันที่คาดว่าจะเลิกประกอบธุรกิจ แต่หากเป็นบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่เป็นสื่อกลางในการเสนอสินค้าหรือบริการ (Marketplace) หรือเป็น Search engine หรือเป็นแพลตฟอร์มขนาดใหญ่หรือแพลตฟอร์มที่มีลักษณะเฉพาะ ต้องแจ้งให้ ETDA ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 120 วัน ก่อนวันที่คาดว่าจะเลิกประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแพลตฟอร์มที่เป็น Marketplace หรือ Search engine หรือแพลตฟอร์มขนาดใหญ่หรือแพลตฟอร์มที่มีลักษณะเฉพาะจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ผู้ประกอบธุรกิจชดใช้หรือเยียวยาผู้ได้รับความเสียหาย หรือการอื่นที่จำเป็นเพื่อคุ้มครองผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลเพิ่มเติมด้วย

นอกจากนี้ ผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลตามกฎหมายฉบับนี้จะต้องประกาศให้ผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลทราบถึงการแจ้งเลิกการประกอบธุรกิจทันทีที่ได้แจ้งให้ ETDA ทราบ จากนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบว่าผู้ประกอบธุรกิจได้ดำเนินการตามแผนและมาตรการที่กฎหมายกำหนดครบถ้วนแล้วหรือไม่ หากได้ดำเนินการโดยครบถ้วนแล้ว หรือหากไม่พบผู้ได้รับความเสียหายหรือผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลซึ่งได้รับความเสียหายไม่ติดใจที่จะให้ดำเนินการแก้ไขเยียวยาความเสียหาย พนักงานเจ้าหน้าที่ก็จะออกใบรับแจ้งการเลิกประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ และให้ถือว่าเลิกประกอบธุรกิจเมื่อออกใบรับแจ้งดังกล่าว

6. กลไกที่เพิ่มมา “คณะกรรมการร่วม – การอุทธรณ์” ช่วยผู้ประกอบธุรกิจอย่างไร?

นอกจาก ETDA จะพิจารณาข้อมูลของผู้ประกอบธุรกิจที่ได้แจ้งให้ทราบแล้ว (ร่าง) พระราชกฤษฎีกาการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. .... ฉบับนี้ ยังมีกลไกเพิ่มเติมเกี่ยวกับ “คณะกรรมการร่วม” และ “การอุทธรณ์” โดยสามารถช่วยผู้ประกอบธุรกิจในด้านต่าง ๆ ได้ดังต่อไปนี้

“คณะกรรมการร่วม” เพื่อประสานการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ ในการให้ความเห็น คำแนะนำ เสนอแนะแนวทาง พิจารณาและวินิจฉัยเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ความโปร่งใสและเป็นธรรม หรือมาตรฐานที่ไม่ต่ำกว่ากฎหมายฉบับนี้กำหนดไว้ โดยคำนึงถึงการลดความซ้ำซ้อนที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติตามกฎของหน่วยงานของรัฐ การอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจและผู้ใช้บริการ การชดใช้หรือเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล และประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย

ขณะที่ “การอุทธรณ์” เพิ่มขึ้นมาเพื่อเป็นการกำหนดขั้นตอนการอุทธรณ์ให้ชัดเจนขึ้น ในกรณีที่มีพนักงานเจ้าหน้าที่ติดต่อไปบอกผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจแจ้งข้อมูลให้ครบถ้วน หรือให้ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด แต่ถ้าผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลพบว่าคำสั่งดังกล่าวไม่เหมาะสมอย่างไร ก็สามารถยื่นคำอุทธรณ์ได้ โดยการอุทธรณ์คำสั่งแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ

  1. ถ้าเป็นคำสั่งทางปกครองของพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้อุทธรณ์ต่อผู้อำนวยการ ETDA และ
  2. ถ้าเป็นคำสั่งทางปกครองของคณะกรรมการร่วม สำนักงาน หรือผู้อำนวยการ ETDA ให้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ มีการกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ 30 นับแต่วันได้รับแจ้งคำสั่ง หรือวันที่รู้หรือควรรู้ถึงคำสั่ง

จะเห็นว่ากฎหมายเป็นเรื่องใกล้ตัวที่อยู่กับทุกคนในบริบทที่แตกต่างกันไป ซึ่งปัจจุบันก็ต้องยอมรับว่า เทรนด์ธุรกิจมีการหันมาลงทุนกับบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลมากยิ่งขึ้น ดังนั้น เพื่อประโยชน์สูงสุดทั้งในแง่ความโปร่งใสและเป็นธรรมต่อทั้งผู้ประกอบธุรกิจและผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อพัฒนาให้กลายเป็นแรงขับเคลื่อนกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศไทยในเชิงมหภาค การมีกฎหมายมาช่วยกำกับดูแลและส่งเสริมความเชื่อมั่นในการทำธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องร่วมด้วยช่วยกัน เพื่อให้ผู้ใช้บริการเกิดความเชื่อมั่น หันมาใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลเพิ่มขึ้น และเป็นการส่งเสริมธุรกิจให้เติบโตได้ดีในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง