กล มอาหาร เกษตร และเทคโนโลย ช วภาพ ม อาช พอะไรบ าง

การเรียนรู้เพื่อเป็นผู้ประกอบการทางเทคโนโลยีชีวภาพอย่างมืออาชีพ เป็นการผสมผสานความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพกับเครื่องมือทางด้านธุรกิจ เพื่อเปลี่ยนการวิจัยด้านนวัตกรรมให้เป็นโอกาสทางธุรกิจ

สู่การเป็นผู้ประกอบการ

ทางเทคโนโลยีชีวภาพ

คุณกำลังคิดเพื่อก้าวต่อไปสำหรับอาชีพในอนาคตของคุณใช่หรือไม่ ? การสร้างนวัตกรรมและการเป็นผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีชีวภาพอาจเป็นสิ่งที่เหมาะสมสำหรับคุณ

การฝึกงาน

นักศึกษาจะได้รับประสบการณ์การฝึกงานตรงกับอุตสาหกรรมที่มีชื่อเสียงและห้องปฏิบัติการวิจัยทั่วโลก การฝึกอบรมภาคปฏิบัติมากกว่า 300 ชั่วโมง กับเครือข่ายความร่วมมือของเราทั้งในและต่างประเทศ

เทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรมมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยเป็นกลจักรสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศสู่การเปลี่ยนผ่านจากอุตสาหกรรมเดิม (First S-Curve) ไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ (New S-Curve) ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีความยั่งยืน มูลค่าสูง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันการขยายตัวของการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อเพิ่มมูลค่าทางอุตสาหกรรมกำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และจำเป็นต้องใช้นักเทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรมที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เช่น การแปรรูปอาหาร การเกษตร พันธุวิศวกรรม เป็นต้น นอกจากนี้เทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรมยังเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของประเทศในตลาดการค้าโลก ดังนั้นอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีทางด้านนี้จึงได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีโดยหน่วยงานภาครัฐและเอกชน บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรม ที่สจล. เน้นการเรียนการสอนเทคนิคทางชีววิทยาระดับโมเลกุล พันธุวิศวกรรม การประยุกต์เทคโนโลยีเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมาใหม่เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ เทคโนโลยีชีวภาพด้านอาหาร ด้านเกษตรหรือเกษตรชีวภาพ ด้านเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ ด้านพลังงานชีวภาพและสิ่งแวดล้อม ด้านการแพทย์และสาธารณสุข และเทคโนโลยีชีวภาพด้านอุตสาหกรรมการผลิตสารเคมีชีวภาพตลอดจนมาตรฐานทางอุตสาหกรรมที่สำคัญทั้ง ISO GMP HACCP ความปลอดภัยด้านอาหาร ตลอดจนเสริมทักษะการตลาดดิจิตอล และการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างรายวิชาที่น่าสนใจ เช่น นวัตกรรมทางเทคโนโลยีชีวภาพและการตลาด พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวสารสนเทศ เทคโนโลยีชีวภาพอาหารปลอดภัย คุณภาพและมาตรฐานการผลิตผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีชีวภาพ

ในยุคที่วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเข้ามามีบทบาทมาก นอกจากจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนแล้ว ยังเป็นฐานที่สำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนาประเทศด้วย ซึ่งการพัฒนาในกลุ่มอุตสาหกรรมต้องใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์มาเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญในการขับเคลื่อน พี่วีวี่เลยจะพาน้อง ๆ มาดูยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ในระยะ 20 ปี คือ พ.ศ. 2560-2579 ว่ามีอะไรบ้าง เพื่อให้น้อง ๆ ได้ศึกษาเรื่องเหล่านี้ไว้เป็นข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจเลือกคณะหรือสาขาที่จะเรียน เพราะจะเชื่อมโยงต่อการประกอบอาชีพในอนาคตของน้อง ๆ นั่นเอง ถ้าพร้อมแล้ว มาเริ่มกันเลย ในอนาคตจะมีการสนับสนุนอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ ดังนี้

การต่อยอดอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ

(First S-curve)

อุตสาหกรรมอนาคต

(New S-curve)

  • อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่
  • ##### อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
  • ##### อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร
  • ##### การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
  • ##### อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
  • ##### อุตสาหกรรมดิจิทัล
  • ##### อุตสาหกรรมหุ่นยนต์
  • ##### อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร
  • ##### อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์
  • ##### อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ

10 อุตสาหกรรมเหล่านี้เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต ซึ่งมีเทคโนโลยีและนวัตกรรม 5 กลุ่ม เป็นตัวช่วยสนับสนุน ได้แก่

  • 1. กลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเกษตร เทคโนโลยีอาหาร เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบจากชีวภาพ หรือมีการแปรรูปวัสดุชีวภาพ เช่น การเกษตรแปรรูป การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
  • 2. กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ การใช้เทคโนโลยีสุขภาพ เทคโนโลยีการแพทย์ในการผลิตสินค้าและบริการด้านสุขภาพ เช่น อุปกรณ์ทางการแพทย์
  • 3. กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และระบบเครื่องกลที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม การพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์ แบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ 1.หุ่นยนต์บริการ เช่น หุ่นยนต์ช่วยเหลือผู้สูงอายุ 2.หุ่นยนต์ในอุตสาหกรรม เช่น เทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่
  • 4. กลุ่มดิจิทัล เทคโนโลยี อินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่อและบังคับอุปกรณ์ต่าง ๆ ปัญญาประดิษฐ์ และเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว เช่น การพัฒนาด้านคลังข้อมูล สมาร์ทฟาร์มที่ใช้ระบบสารสนเทศในการเก็บข้อมูลการผลิตพืชผล จนถึงการจำหน่าย
  • 5. กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง เช่น การสร้างบรรจุภัณฑ์ที่สื่อถึงวัฒนธรรม การออกแบบอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

จากแนวโน้มการพัฒนานี้อาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอาชีพในอนาคต น้อง ๆ จึงควรศึกษาข้อมูลให้หลากหลายรอบด้าน เพราะจะเป็นประโยชน์กับน้อง ๆ สำหรับวันนี้พี่วีวี่ขอลาไปก่อน สวัสดีค่ะ ☺☺

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง