ตัวอย่าง การ เขียน ประเมิน ตนเอง

ทำดีเสมอต้นเสมอปลาย เป็นสิ่งที่ใช้ได้เสมอกับทุกสิ่ง โดยเฉพาะกับการประเมินผลการทำงาน เพราะเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้เราเห็นภาพการทำงานที่มีมาตลอดทั้งปีของเรา อีกทั้ง สิ่งที่เราทำ คือ สิ่งที่เพื่อนร่วมงานของเราเห็น เมื่อหัวหน้าของเราแอบมาถามเพื่อนร่วมงานเกี่ยวกับตัวเรา สิ่งที่เขาเห็น และเกิดขึ้นจริงเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยพิสูจน์เกี่ยวกับตัวเรา

การเตรียมความพร้อมในการประเมินผลงานตนเอง ให้ลองตั้งคำถาม 3 ข้อนี้กับตัวเองดูก่อนว่า ที่ผ่านมาเราทำงานออกมาเป็นที่น่าพอใจเพียงใด แล้วเรายังพอมีเวลาให้เราสามารถปรับตัว ให้เป็นพนักงานคนเก่งได้หรือไม่

  1. ผลงานที่ผ่านมาของเราดีแค่ไหน? (Good)

ลองหยุดคิดแล้วถามตัวเองว่า ที่ผ่านมาเราทำงานเป็นอย่างไร? ผลงานที่ดีที่สุดคืออะไร? มีผลงานชิ้นไหนบ้างที่เราภูมิใจเป็นพิเศษ? เมื่อสามารถตอบคำถามดังกล่าวได้แล้ว ให้ลองตั้งเป้าหมายในการทำงานของปีต่อไป ว่าควรมีรูปแบบอย่างไร? โดยให้เรารวบรวมผลงานที่ดี ในปีที่ผ่านมาของเรามาเป็นแบบอย่าง แล้วนำไปพัฒนาต่อยอดต่อไป เพื่อให้การทำงานของเราดีขึ้นเรื่อย ๆ และเชื่อมั่นว่าสิ่งที่เราทำ จะสร้างประโยชน์ให้กับบริษัท แล้วตั้งใจทำงานอย่างเต็มที่

  1. มีงานไหนบ้างที่ทำออกมาไม่ดี? (Bad)

ลองฟังเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของคนอื่นเกี่ยวกับ งาน ของเรา เพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ คิดเห็นเกี่ยวกับงานของเราว่าเป็นอย่างไรบ้าง? แต่การจะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นนั้น ให้เราเปิดใจให้กว้าง ให้คิดว่าสิ่งที่เขาพูดออกมานั้น เป็นโอกาสที่เราจะได้นำไปปรับปรุงตัว แล้วทำให้เราสามารถทำงานได้ดีขึ้น อย่าคิดว่าเพื่อนกำลังใส่ร้ายเรา หรือกำลังกล่าวถึงข้อเสียของเราอย่างไม่มีเหตุผล เมื่อรู้ว่าคนอื่นมีความเห็นเกี่ยวกับงานของเราว่าเป็นอย่างไรแล้ว ให้รวบรวมความคิดเห็นเหล่านั้น มาปรับปรุง เพื่อให้การทำงานของเราดีขึ้น

  1. วางแผนที่จะทำอะไรต่อไป? (Try)

แม้ว่าการทำงานในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา จะทำให้เราเห็นภาพรวมบ้างแล้ว ว่าการทำงานของเราเป็นอย่างไร แต่มีสิ่งหนึ่งที่เราไม่ควรมองข้าม คือ การ วางแผนการทำงาน เพราะจะทำให้เราสามารถทำงานได้สะดวกมากขึ้น และมองเห็นแนวทางว่าการทำงานของเรา จะเป็นไปในทิศทางใด แม้ว่าตำแหน่งหน้าที่การงานของเราอาจจะไม่ได้เปลี่ยนแปลง เรายังคงทำงานในตำแหน่งเดิม แต่ควรคิดเพิ่มด้วยว่า เราจะทำอย่างไรให้งานตำแหน่งเดิมของเรามีคุณค่า และมีความหมายมากกว่าเดิม หรืออยากลองทำอะไรใหม่ ๆ เพื่อเสริมให้งานของเรามีความน่าสนใจมากขึ้น บางคนอาจจะมองไปถึง การทำงานในตำแหน่งงานใหม่ เพื่อค้นหาความหมายให้กับชีวิตการทำงานของตนเอง ว่าจริง ๆ แล้วงานแบบใดที่เหมาะกับตัวเรา

การประเมินผลงานประจำปี เป็นช่วงที่ทำให้เราได้ใช้เวลาคิดทบทวนถึงการทำงานตลอดปีที่ผ่านมา เพื่อให้เราได้มีโอกาสสำรวจการทำงานของตัวเองดูว่า ทำออกมาได้ดีมากน้อยเพียงใด และยังเป็นโอกาสที่จะทำให้เราได้พัฒนาฝีมือในการทำงานให้ออกมาได้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป เป็นการทำให้พนักงานคนเก่า ได้กลายเป็นพนักงานคนเก่ง ที่มีมาตรฐานในการทำงานที่ดีขึ้น และทำงานที่เป็นประโยชน์กับบริษัทต่อไป

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ขั้นตอนการวางแผนประเมินผลงานประจำปี

คุณพร้อมกับการประเมินผลงานประจำปีแล้วหรือยัง

ความอยู่ดีมีสุขในที่ทำงาน

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่ามีผู้สมัครจำนวนเท่าไหร่ที่เตรียมเรซูเม่ที่หาข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของตนโดยการสำรวจด้วยคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

เผลอแป๊บเดียวเราก็เดินทางมาถึงช่วงปลายปีกันอีกครั้ง ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่คนเริ่มนั่งทบทวนสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในรอบปีไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องงาน เพื่อเตรียมวางแผนและตั้งเป้าหมายต่อไปสำหรับปีหน้า ซึ่งการที่เราจะตั้งเป้าหมายที่ดีได้เราก็ต้องรู้จักตัวเองก่อน การประเมินตนเองช่วงปลายปีจึงกลายเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เราได้รู้ศักยภาพที่แท้จริง และได้ทบทวนผลงานที่ผ่านมาตลอดปีว่าเป็นยังไง

และนี่คือ 6 ขั้นตอนการประเมินตนเอง ที่ JobThai อยากนำมาบอกต่อเพื่อให้คุณสามารถนำไปตั้งเป้าหมายได้ต่อไป

1. บันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา

ใช้เวลาในการคิดทบทวนและมองย้อนกลับไปว่าตลอดทั้งปีนี้มีเหตุการณ์สำคัญอะไรเกิดขึ้นบ้าง ทั้งเรื่องที่เราทำสำเร็จ คำชมที่ได้รับจากหัวหน้า และข้อผิดพลาดที่อยากกลับไปแก้ไข สิ่งเหล่านี้อาจถูกจดบันทึกในสมุดส่วนตัว หรือบน Social Media ก็ได้ ซึ่งมันจะช่วยให้เราเห็นภาพช่วงเวลาสำคัญต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น ในปีต่อ ๆ ไปพอเรากลับมาเปิดสมุดบันทึกเล่มเดิม หรือเฟซบุ๊กแจ้งเตือนโพสต์จากปีก่อน ๆ ขึ้นมาให้เราได้ย้อนอ่านสิ่งที่เคยเขียนไว้ เราก็จะเห็นเส้นทางการเติบโตของตัวเองในแต่ละปีว่ามาจนถึงตอนนี้เรามีความเปลี่ยนแปลงไปยังไงบ้าง

2. ประเมินตัวเองอย่างเป็นกลาง

นำบันทึกเหตุการณ์ที่เขียนมาเริ่มประเมินตนเองอย่างเป็นกลางและตรงไปตรงมาให้มากที่สุด โดยการประเมินแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้

การประเมินตนเองในรูปแบบความเห็น

ลองมองตัวเราเองเป็นเหมือนพนักงานคนนึงในออฟฟิศ แล้วเขียนคำแนะนำในการทำงานให้กับเขาดูว่าตลอดทั้งปีมีจุดไหนที่ควรปรับแก้บ้าง เช่น เราคิดว่าตัวเองน่าจะแสดงความเห็นในห้องประชุมให้มากกว่านี้นะ เราควรต้องออกไปหาลูกค้าให้บ่อยกว่าเดิม หรือ เราควรทำงานให้ละเอียดมากขึ้น

การประเมินทักษะโดยให้คะแนนเป็นตัวเลข

เขียนทักษะที่เกี่ยวข้องกับการทำงานเป็นข้อ ๆ เช่น ทักษะการสื่อสาร ทักษะการขาย หรือ ทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และเริ่มให้คะแนนตัวเองในช่วงตัวเลข 1 – 5 โดยที่ เลข 1 หมายถึง “ต้องพัฒนาอย่างจริงจัง” และ เลข 5 หมายถึง “ทำได้ดีมาก”

3. เปรียบเทียบผลงานที่ทำกับผลการประเมินตนเอง

พอได้ผลการประเมินออกมาแล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่ามันเชื่อถือได้ และการให้คะแนนของเรานั้นเป็นกลาง เหมาะสม คำตอบคือให้เอาผลการประเมินมาเปรียบเทียบกับเนื้องานจริงที่ทำออกมา เช่น ตัวเลขรายรับที่เพิ่มขึ้น ต้นทุนที่ลดลง หรือจำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้น สิ่งเหล่านี้จะแสดงให้เห็นว่าคะแนนที่เราประเมินตนเองนั้นสอดคล้องไปกับผลลัพธ์หรือไม่

4. เปรียบเทียบผลงานที่ทำกับเป้าหมายที่เคยตั้งไว้

นำเป้าหมายที่ตั้งไว้เมื่อตอนต้นปีมาเปรียบเทียบกับผลงานที่ทำจริงว่าตลอดปีมีเป้าหมายไหนที่เราทำสำเร็จ หรือเป้าหมายไหนที่ล้มเหลวบ้าง ถ้างานไหนล้มเหลวก็มองให้ลึกลงไปว่างานนั้นล้มเหลวเพราะอะไร เป้าหมายบางอย่างอาจไม่สำเร็จตามที่ตั้งเอาไว้เพราะความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์และปัจจัยอื่น ๆ ที่เข้ามาแทรกแซงและส่งผลกระทบกับเนื้องานจนทำให้ต้องตัดสินใจละทิ้งเป้าหมายนั้นไป

ถ้าความล้มเหลวไม่ได้เกิดขึ้นจากเรา ยกตัวอย่างเช่น เราอาจจะเคยตั้งเป้าว่าเราจะทำให้จำนวนลูกค้าของบริษัทเพิ่มสูงขึ้นในปีนี้ แต่ปรากฏว่าการระบาดของโรคโควิด-19 ยังคงทำให้การออกไปพบปะผู้คนเป็นไปได้ยาก ซึ่งทุกคนในทีมต่างก็เจอกับปัญหาแบบเดียวกัน สิ่งที่ดีที่สุดที่พอจะทำได้ก็คือการรักษาฐานลูกค้าเก่าเอาไว้แทน ถ้าเจอสถานการณ์ที่คล้าย ๆ กันแบบนี้ให้ลองถามตัวเองดูว่า “เราทำงานในส่วนของเราดีพอรึยัง?” ถ้าเราทำเต็มที่ที่สุดแล้วก็ไม่จำเป็นต้องโทษตัวเอง ถ้าเหตุผลของเราหนักแน่นพอ ยังไงคนเป็นหัวหน้าก็ต้องพยายามเข้าใจเราอยู่แล้ว

5. สอบถามคนใกล้ตัว

บางครั้งเราอาจจะเผลอประเมินผลแบบเข้าข้างตัวเอง หรืออาจให้คะแนนตัวเองต่ำเกินไป เพราะฉะนั้นการสอบถามจากคนใกล้ตัว เช่น การถามความคิดเห็นหรือการขอคำแนะนำจากเพื่อนร่วมทีมก็จะช่วยให้เรามองเห็นตัวเองได้ชัดขึ้น พยายามฟังทุกคำแนะนำอย่างเปิดรับ ไม่มีอคติ และนำมาประเมินอีกครั้งว่ามันสอดคล้องกับผลการประเมินตัวเองที่เราทำเอาไว้ทีแรกรึเปล่า

6. วางแผนและตั้งเป้าหมายในปีหน้า

เมื่อเราเห็นภาพรวมของตัวเองตลอดปีนี้แล้ว ก็ได้เวลาตั้งเป้าหมายของปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง โดยดูว่าเราจะปรับปรุงจุดอ่อนที่มีและพัฒนาจุดแข็งต่อไปได้ยังไง คะแนนการประเมินตนเองจะช่วยทำให้เราเข้าใจศักยภาพที่มีในตัว และสามารถตั้งเป้าหมายของปีถัดไปให้ออกมาท้าทายความสามารถในระดับที่กำลังดี ไม่ง่ายไม่ยากจนเกินไป

ในปีหน้าอาจคอยสังเกตการทำงานของตัวเองอยู่เรื่อย ๆ และจดบันทึกเอาไว้โดยเฉพาะในเหตุการณ์สำคัญที่มีผลกับเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ แล้วเมื่อเดือนธันวาคมวนกลับมาอีกครั้งเราก็จะเห็นว่าอะไรคือตัวแปรที่ทำให้เราประสบผลสำเร็จ และสิ่งที่คอยรั้งเราไม่ให้ไปถึงเป้าหมายคืออะไร

แบบประเมินตนเอง เขียนยังไง

หลักที่ใช้ในการเขียนแบบประเมินตนเอง คือ การเขียนเนื้อหาที่กระชับ ตรงประเด็น และสะท้อนการเรียนรู้ขององค์กร ตามหัวข้อในมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพของ สรพ. – เรื่องที่บรรยายควรสะท้อนการเปลี่ยนแปลงในแนวคิดและขั้นตอนการดำเนินงานของแต่ละกระบวนงาน ไม่นำสิ่งที่ทำปกติงานประจำมาเขียนพรรณนา

การประเมินตัวเอง มีอะไรบ้าง

บทเรียนที่ 8 - การประเมินตนเอง Self Assessment.

ความรับผิดชอบต่อตนเอง.

ค่านิยม.

ความรับผิดชอบด้านการเงิน.

ทักษะความสามารถ.

เป้าหมายชีวิต.

ความต้องการจำเป็น.

สุขภาพ.

ความสนใจ.

ประเมินตนเอง ยังไงดี

6 ขั้นตอนง่าย ๆ ในการประเมินตัวเองปลายปี เพื่อความสำเร็จในปีหน้า.

บันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา.

ประเมินตนเองอย่างเป็นกลาง.

เปรียบเทียบผลงานที่ทำกับผลการประเมินตนเอง.

เปรียบเทียบผลงานที่ทำกับเป้าหมายที่เคยตั้งไว้.

สอบถามคนใกล้ตัว.

วางแผนและตั้งเป้าหมายของปีหน้า.

วิธีการประเมินผลการปฏิบัติงาน มีอะไรบ้าง

1. วัดตามเป้าหมายของการปฏิบัติงาน ... .

2. ให้คะแนนตาม Job Description. ... .

3. วัดจากประสิทธิภาพในการทำงาน ... .

4. ให้พนักงานให้คะแนนความพึงพอใจในงานของตนเอง ... .

5. วัดจากผลงานของทีม ... .

6. วัดจากความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน ... .

7. วัดจากความคุ้มค่า ... .

8. วัดจากการขาด ลา มาสาย.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง