การจดภาษ ม ลค าเพ มทางอ นเตอร เน ต

มีคนสนใจส่งคำถามเข้ามาจำนวนมากเกี่ยวกับการ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ทั้งทางเพจ InflowAccount และทางเว็บไซต์ ว่าควร จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตอนไหน เพราะตอนนี้ตนเองก็เริ่มมีรายได้เข้ามาเป็นหลักล้านแล้ว

รู้ได้ยังไง…จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตอนไหน ?

คำตอบง่ายๆ ก็คือ “จดตอนมีรายได้ถึงเกณฑ์กำหนด”

เกณฑ์การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) คือภาษีที่เก็บจากมูลค่าการซื้อขายและการให้บริการภายในประเทศ รวมถึงสินค้านำเข้า โดยมีกรมสรรพากรเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ ซึ่งปัจจุบันภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ที่ 7%

โดยกฎหมายมีการบังคับให้ผู้มีรายได้จากการประกอบธุรกิจเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยให้ยื่นจดไม่เกิน 30 วัน นับจากวันที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท และนำส่งให้กรมสรรพากรทุกๆ เดือน นับตั้งแต่วันที่ยื่น จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้นไป แต่ถ้าหากมีรายได้ตลอดทั้งปีเท่ากับ 1.8 ล้านบาทพอดี ยังถือว่าไม่เข้าเกณฑ์ก็ยังไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม นะคะ

ในบางรายที่ทำทั้งงานประจำและมีรายได้จากการทำธุรกิจของตนเองด้วย จะนำแค่รายได้จากการประกอบธุรกิจนอกเหนือจากเงินเดือนมาคิดเท่านั้น และยังมีรายได้บางประเภทที่ได้รับการยกเว้นไม่นำมานับรวมเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม อย่างเช่น

  • การให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาลทั้งราชการและเอกชน
  • การให้บริการสถานศึกษา ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์
  • ธุรกิจจำหน่ายสัตว์ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตภายในประเทศ
  • ธุรกิจจำหน่ายพืชผลทางการเกษตรภายในประเทศ
  • ธุรกิจเกี่ยวกับการขนส่ง

(กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมด ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 81)

ตัวอย่างการคำนวณรายได้…เข้าเกณฑ์ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่

วิธีการคำนวณว่าตนเองมีรายได้เกิน 1.8 ล้านหรือไม่ คือ สมมุติให้ผู้มีรายได้มีทั้งเงินเดือนที่เป็นรายได้ประจำ 500,000 บาทต่อปี และรายได้จากการขายเสื้อผ้าออนไลน์ 1,000,000 บาทรวมทั้งปี และขายผักออแกนิกส์ 450,000 บาทรวมทั้งปี รายละเอียดดังนี้

เงินเดือนทั้งปี 500,000 บาท รายได้จากการขายเสื้อผ้าออนไลน์ 1,000,000 บาท รายได้จากการขายผักออร์แกนิค 450,000 บาท สรุปรายได้ทุกประเภทตลอดทั้งปี

รวมเป็นรายได้ทั้งปี 1,950,000 บาท

วิธีการคำนวณรายได้ตามเกณฑ์ VAT ต้องนำเงินเดือนและรายได้จากการขายผักออแกนิกส์มาหักลบออกก่อน เนื่องจากเป็นรายได้ยกเว้น ดังนั้น จะเหลือรายได้ตลอดทั้งปีเพียง 1,000,000 บาท เพราะฉะนั้นจากกรณีตัวอย่างนี้ ยังไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนั่นเองค่ะ

ใครบ้างที่ต้อง…จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้มีรายได้ เมื่อมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด จำเป็นต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยไม่มียกเว้นว่าผู้มีรายได้นั้นจะอยู่ในรูปแบบ “บุคคลธรรมดา” หรือ “นิติบุคคล”

นอกจากนี้ สำหรับสินค้าและบริการที่ผู้ประกอบการไม่ได้อยู่ในประเทศไทย แต่ขายผ่านตัวแทนที่นำเข้ามาขายในประเทศไทย ตัวแทนนั้นๆ ต้องเป็นผู้รับผิดชอบจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มยังไง

สำหรับใครที่เข้าเกณฑ์ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ที่ กองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือสำนักงานสรรพากรสาขาต่างๆ ตามพื้นที่สาขาที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร โดยเตรียมเอกสารสำหรับขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนี้

  • แบบคำขอจดทะเบียน ภ.พ.01 จำนวน 3 ฉบับ
  • ภ.พ.01.1 จำนวน 3 ฉบับ
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านกรรมการผู้มีอำนาจ หรือผู้ประกอบการ 1 ฉบับ
  • สำเนาทะเบียนบ้านที่ใช้ตั้งเป็นสถานประกอบการ 1 ฉบับ
  • รูปภาพสำนักงานทั้งภายในและภายนอก อย่างน้อย 4 ภาพ จำนวน 2 ชุด
  • แผนที่สำนักงาน 2 ชุด
  • สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์ / สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ / ภาพถ่ายหนังสือการจัดตั้งคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล 1 ฉบับ
  • หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี) กรณีให้บุคคลอื่นยื่นจดทะเบียนแทนผิมีอำนาจของกิจการ 1 ฉบับ
  • สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของสถานที่ 1 ฉบับ (กรณีผู้มีอำนาจกิจการไม่ใช่เจ้าของสถานที่)
  • หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ 1 ฉบับ (กรณีผู้มีอำนาจกิจการไม่ใช่เจ้าของสถานที่)
  • สัญญาเช่า 1 ฉบับ (กรณีเช่าสถานที่ตั้งสำนักงาน)

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องทำอะไรบ้าง

หลังจากจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องทำคือ ออกใบกำกับภาษีทุกครั้งเมื่อมีการขายสินค้าหรือให้บริการ รวมถึงต้องมีการทำรายงานรายการภาษีซื้อ ภาษีขาย สินค้าคงเหลือ และวัตถุดิบ พร้อมส่งยื่นรายงานแก่สรรพากรภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป แม้ว่าเดือนนั้นๆ จะมีหรือไม่มีการซื้อขายก็ตาม

และในกรณีที่ผู้มีรายได้เสียภาษีแบบบุคคลธรรมดา ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท หลังจากจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สิ่งที่ตามมาคือเรื่องของ “ภาษี” ที่ต้องเสียสูงถึง 35% ตามอัตราภาษีก้าวหน้า ดังนั้น การจดทะเบียนบริษัทเป็นนิติบุคคล จึงเป็นเรื่องที่ผู้มีรายได้ควรพิจารณาต่อ เพราะจะทำให้เสียภาษีน้อยลงเหลือ 20% หรือปรึกษาสำนักงานบัญชีเพื่อเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจจดทะเบียนบริษัทต่อไปได้

เมื่อไหร่ที่จะเกิดภาษีมูลค่าเพิ่ม

กรณีที่กิจการออกใบกำกับภาษีให้ลูกค้าเมื่อออกใบกำกับภาษีแล้ว จะถือว่าภาษีเกิดขึ้นทันที ซึ่งระหว่างธุรกิจขายกับธุรกิจบริการจะแตกต่างกัน ดังนี้

ธุรกิจขายสินค้า ภาษีขายจะเกิดขึ้นเมื่อมีการส่งสินค้า และมีการออกใบกำกับภาษี ยกเว้นว่าได้รับเงินค่าสินค้าก่อน หรือออกใบกำกับภาษีก่อนทั้งที่ยังไม่ได้ส่งสินค้า ภาษีขายก็จะเกิดขึ้นทันที ดังนั้น หากไม่อยากเสียภาษีเร็วเกินไปก็ควรออกใบกำกับภาษี ณ วันที่ส่งสินค้า

ธุรกิจบริการ จะออกใบกำกับภาษีเมื่อได้รับเงินจากลูกค้า แต่ถ้าออกใบกำกับภาษีก่อนได้รับเงิน ภาษีจะเกิดขึ้นเลยทันทีเช่นกัน

หลังจดภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว คำนวณภาษีอย่างไร

หลังจากจด VAT แล้ว กิจการจะมีภาระหน้าที่ในการบวก 7% จากราคาสินค้าที่ขายหรือราคาของบริการ โดยมีวิธีคำนวณ VAT 7% ดังนี้

ฝั่งซื้อ หากกิจการซื้อสินค้ามูลค่า 100 บาท กิจการจะมีภาษีซื้อ 7 บาท จำนวนเงินที่จะต้องเสียให้กับคู่ค้าเมื่อซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบการจด VAT ต้องจ่ายทั้งหมด 107 บาท

ฝั่งขาย หากกิจการขายสินค้าและบริการให้กับลูกค้า 200 บาท จะมีภาษีขาย 14 บาท ลูกค้าจะต้องจ่ายเงินทั้งหมดให้กิจการ 214 บาท ซึ่ง 14 บาท คือภาษีขายที่กิจการเก็บมาจากลูกค้าเพิ่มแทนกรมสรรพากร และ 7 บาทของภาษีซื้อ คือภาษีที่กิจการจ่ายให้กับสรรพากรล่วงหน้า

ดังนั้น ในแต่ละเดือนกิจการจะต้องนำภาษีขายและภาษีซื้อมาเช็กว่าแบบไหนมีมากกว่ากัน ถ้าภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อดังตัวอย่าง กิจการต้องจ่ายเพิ่มให้กับกรมสรรพากรอีก 7 บาท ณ วันที่ 15 ของเดือนถัดไป แต่ในกรณีที่กิจการมีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย อย่างเช่นเดือนนั้นซื้อสินค้ามาเยอะ แต่ขายได้น้อย กิจการสามารถนำภาษีซื้อดังกล่าวขอคืนจากกรมสรรพากรได้ หรือที่นิยมกันก็จะยกเครดิตภาษีซื้อไปใช้ในเดือนถัดไป ซึ่งก็จะง่ายกับกิจการมากกว่าเพราะในกรณีที่กิจการขอภาษีคืน กรมสรรพากรมีโอกาสตรวจเอกสารย้อนหลังได้ถึง 3 ปีเลยทีเดียว

นอกจากนี้เมื่อกิจการมีภาษีซื้อภาษีขายแล้ว ผู้จัดทำบัญชีจะต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อภาษีขายและนำส่งสรรพากร หรือหากจ้างสำนักงานบัญชีก็จะทำรายงานภาษีซื้อภาษีขายให้กับกิจการด้วยทุกเดือน

อยากออกจากระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม…ต้องทำอย่างไร?

1.หากผู้ประกอบการเลิกกิจการ สามารถแจ้งยกเลิกภาษีมูลค่าเพิ่มได้โดยยื่นแบบ ภ.พ.09 เพื่อแจ้งเลิกประกอบกิจการแก่สรรพากร

2.ยังประกอบกิจการอยู่ และรายได้ไม่ถึง 1.8 ล้านบาท สามารถออกจากระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้ หากเป็นไปตามเงื่อนไขคือ

  • มีรายได้ตลอดทั้งปีไม่ถึง 1.8 ล้านบาท ติดต่อกัน 3 ปี
  • กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ผู้ประกอบการเลือกขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และได้ยื่นเสียภาษีมูลค่าเพิ่มติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี และมีมูลค่าของฐานภาษีต่ำกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน

โดยยื่นแบบ ภ.พ.08 ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กับกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ให้ยื่นกับกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ นอกจากนี้สามารถยื่นออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร หรือที่กระทรวงการคลัง

ที่สำคัญหลังจากยื่นขอออกจากทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หากยังมีชื่ออยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการยังจำเป็นต้องยื่นภ.พ. 30 เพื่อนำส่งภาษีรายเดือนไปทุกเดือนจนกว่าได้รับการขีดชื่อออกจากทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

สุดท้ายนี้…สำหรับใครที่ตอนนี้มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี เราขอย้ำว่าต้องไปจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะตามมาหากสรรพากรตรวจสอบพบ อีกทั้งยังช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าของเราอีกด้วยค่ะ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง