ข อม ลย อนกล บจากผ ม ส วนได เส ย

โรคกรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux disease: GERD) เป็นโรคที่เกิดจากการไหลย้อนของสารคัดหลั่งในกระเพาะอาหารไม่ว่าจะเป็นกรดหรือแก๊สกลับไปที่หลอดอาหาร ซึ่งโดยปกติร่างกายคนเราจะมีการไหลย้อนของกรดในกระเพาะอาหารขึ้นไปในหลอดอาหารอยู่บ้างโดยเฉพาะหลังรับประทานอาหาร แต่ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีปริมาณกรดที่ย้อนมากขึ้นหรือย้อนบ่อยกว่าผู้ที่ไม่เป็นโรค หรือหลอดอาหารมีความไวต่อกรดมากขึ้นแม้ว่าจะมีปริมาณกรดที่ย้อนขึ้นไปไม่มากกว่าปกติ

อาการสำคัญที่พบบ่อยในโรคกรดไหลย้อน ได้แก่

  • ความรู้สึกแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ กลางหน้าอก ซึ่งมักเกิดหลังรับประทานอาหารเสร็จใหม่ๆ
  • ความรู้สึกเปรี้ยวหรือขมในปากและคอ
  • มีอาหารย้อนขึ้นมาในปากและคอ
  • จุกเสียด แน่นท้องบริเวณลิ้นปี่

นอกจากอาการเหล่านี้แล้ว โรคกรดไหลย้อนยังก่อให้เกิดอาการอื่นๆ ได้อีก เช่น

  • อาการเจ็บหน้าอกที่ไม่ได้เกิดจากโรคหัวใจ
  • เสียงแหบเรื้อรัง เสียงเปลี่ยน
  • ไอเรื้อรังโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน
  • กลืนติดขัดเหมือนมีก้อนจุกในคอ
  • อาการทางช่องปาก เช่น ฟันผุ มีกลิ่นปาก
  • โรคหืดที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาตามปกติ
  • ความผิดปกติของหูรูดส่วนปลายหลอดอาหารที่ทำหน้าที่ป้องกันกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมีความดันของหูรูดต่ำหรือเปิดบ่อยกว่าคนปกติ ความผิดปกติเหล่านี้อาจเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ กาแฟ ชา เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และ ยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคหอบหืดบางตัว
  • ความผิดปกติในการบีบตัวของหลอดอาหาร ทำให้อาหารที่รับประทานเคลื่อนตัวลงช้าหรืออาหารที่ไหลย้อนขึ้นมาจากกระเพาะอาหารค้างอยู่ในหลอดอาหารนานกว่าปกติ
  • ความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหาร ทำให้อาหารค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานกว่าปกติ ทำให้เพิ่มโอกาสการไหลย้อนของกรดจากกระเพาะอาหารสู่หลอดอาหารมากขึ้น อาหารประเภทไขมันสูงและช็อกโกแลตจะทำให้กระเพาะอาหารบีบตัวลดลง
  • พฤติกรรมในการดำเนินชีวิต เช่น เข้านอนทันทีหลังรับประทานอาหาร รับประทานอาหารปริมาณมากในหนึ่งมื้อ สูบบุหรี่ ดื่มน้ำอัดลมหรือแอลกอฮอล์ ความเครียด
  • โรคอ้วน ทำให้เพิ่มแรงกดต่อกระเพาะอาหารและทำให้กรดไหลย้อนกลับ
  • การตั้งครรภ์ เนื่องจากฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ทำให้หูรูดหลอดอาหารอ่อนแอลง รวมถึงมดลูกที่ขยายตัวจะเพิ่มแรงกดต่อกระเพาะอาหาร
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่เพิ่มการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร เช่น อาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด แอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน น้ำอัดลม กระเทียม หัวหอม เป็นต้น รวมถึงหลีกเลี่ยงการทานอาหารมื้อใหญ่ ควรแบ่งเป็นมื้อเล็กๆ แต่บ่อยครั้ง
  • ผ่อนคลายความเครียด เช่น นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกกำลังกาย นั่งสมาธิ สวดมนต์
  • ควบคุมน้ำหนัก โดยเฉพาะในคนอ้วน หรือคนที่น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน เมื่อน้ำหนักลด ความดันในกระเพาะอาหารก็จะลดลง ทำให้อาหารและกรดในกระเพาะอาหารดันหูรูดหลอดอาหารน้อยลง อาการกรดไหลย้อนก็จะลดลงตามไปด้วย นอกจากนั้นยังส่งผลดีต่อสุขภาพด้านอื่นๆ และทำให้มีสุขภาพที่แข็งแรง
  • หลีกเลี่ยงการนอนราบทันทีหลังรับประทานอาหาร ควรรออย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง หรือหากนอนควรนอนหนุนหมอนสูง และไม่ควรออกกำลังกายหลังรับประทานอาหารเสร็จทันที
  • การซักประวัติและการตรวจร่างกายทั่วไป โดยทั่วไปแพทย์จะวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อนโดยใช้อาการของผู้ป่วยเป็นหลัก หากผู้ป่วยมีอาการทางหลอดอาหารเข้าได้กับภาวะกรดไหลย้อนสามารถวินิจฉัยโรคได้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับการตรวจเพิ่มเติม
  • การตรวจเพิ่มเติม หากผู้ป่วยปฏิบัติตามคำแนะนำหรือรับการรักษาเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการเตือนอื่นๆ เช่น กลืนลำบาก กลืนเจ็บ อาเจียนบ่อยๆ หรือมีประวัติอาเจียนเป็นเลือด ปวดท้องรุนแรง ถ่ายอุจจาระดำ มีอาการซีด เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อาจจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยพิเศษเพิ่มเติม เช่น
    • การส่องกล้องทางเดินอาหาร
    • การเอกซเรย์กลืนสารทึบแสง
    • การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์
    • การตรวจการบีบตัวของหลอดอาหาร
    • การตรวจวัดความเป็นกรด-ด่างในหลอดอาหาร
  • การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการทานอาหาร
  • ทานยาตามแพทย์สั่ง
  • การเย็บหูรูดหลอดอาหารโดยไม่ต้องผ่าตัดด้วยเทคนิค TIF
  • การตัดเย็บหูดรูดหลอดอาหาร

โรคกรดไหลย้อนอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เนื่องจากฤทธิ์ของกรดทำให้หลอดอาหารระคายเคืองจนอาจเกิดการอักเสบ เป็นแผลรุนแรงจนตีบ ทำให้กลืนอาหารได้ลำบาก รู้สึกเจ็บ นอกจากนี้อาจทำให้เกิดโอกาสเสี่ยงในการเป็นมะเร็งหลอดอาหาร แต่ในปัจจุบันยังพบได้น้อยมาก

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 8.84 of 10,จากจำนวนคนโหวต 313 คน

Related Health Blogs

อาการกรดไหลย้อน ท้องผูก แน่นท้อง หากทำการรักษาแล้วไม่ดีขึ้น สามารถหาคำตอบได้ที่นี่

โรคกรดไหลย้อนท้องผูกศูนย์เฉพาะทางด้านการทำงานระบบทางเดินอาหาร

อ่านเพิ่มเติม

กรดไหลย้อนมักเป็นปัญหาเรื้อรังที่รบกวนชีวิตประจำวันไม่มากก็น้อย ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการมากจนใช้ชีวิตลำบาก แพทย์อาจแนะนำการผ่าตัดเพื่อรักษาให้หายขาด แต่ในปัจจุบันบำรุงราษฎร์มีเทคโนโลยีเย็บหูรูดหลอดอาหารโดยไม่ต้องผ่าตัด เป็นที่แรกใน Southeast Asia

โรคกรดไหลย้อนการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ศูนย์เฉพาะทางด้านการทำงานระบบทางเดินอาหาร

อ่านเพิ่มเติม

หากคุณกำลังประสบปัญหากรดไหลย้อน ไอเรื้อรัง ท้องอืด ท้องผูกเรื้อรัง กลืนลำบาก และหาสาเหตุไม่พบ ศูนย์เฉพาะทางด้านการทำงานระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มีคำตอบให้คุณด้วยเครื่องมือการตรวจวินิจฉัยที่ทันสมัย และแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์มากวว่า 20 ปี

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง