ข าวผลกระทบของโซเช ยลท ม ต อว ยร น

ปัจจุบันสื่อสังคมออนไลน์ (Social media หรือ Social Network) ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Line, Twitter, Google+, Instagram, YouTube และอื่น ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในวงกว้างต่อระบบการสื่อสาร ทำให้เราสามารถเชื่อมต่อความสัมพันธ์กันอย่างกว้างขวาง ไม่จำกัดเวลา สถานที่และอุปกรณ์ นำพาให้พี่น้องเพื่อนฝูงญาติสนิทมิตรสหายมาพบปะเจอะเจอกัน ทำให้คนที่ไม่ชอบหรือไม่รู้จักการใช้สมาร์ทโฟนหันกลับมาเห็นความสำคัญของการใช้อุปกรณ์ประเภทนี้มากขึ้น อาจเรียกได้ว่าสื่อสังคมออนไลน์ได้ก้าวเข้ามาเปลี่ยนโลกแห่งการสื่อสารใบนี้เลยทีเดียว

แต่หากเราไม่หลงไหลมัวเมากับข้อดีเหล่านี้มากจนเกินไป เราจะมองเห็นด้านมืดที่คนส่วนใหญ่อาจมองข้าม และหากต้องตอบคำถามเหล่านี้ เชื่อว่าหลายคนอาจตอบว่า “เคย”

  • * เคยรับคนที่ไม่เคยรู้จักหรือเห็นหน้ากันมาก่อน มาเป็นเพื่อนใน social media ของท่านหรือไม่
    • เคย Check in เมื่อเดินทางไปไหนมาไหน ทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน หรือสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ บ้างหรือไม่
    • เคยแชร์สถานะ (Status) ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว แบบสาธารณะ (public) หรือไม่
    • เคยแชร์ความรู้สึก รูปภาพกิจกรรมส่วนตัว การทำงานหรือข้าวของเครื่องใช้ เช่น รถ นาฬิกา กระเป๋า ฯลฯ หรือไม่
    • เคยได้รับไฟล์แชร์จากผู้อื่น รวมทั้งติดตั้ง Application เสริมหรือไม่
    • เคยเพิ่มรายการเสริม (item) จากการเล่นเกมส์ในสื่อสังคมออนไลน์ หรือไม่
    • เคยแชร์ทัศนคติด้านลบที่มีต่อองค์กร สู่บุคคลภายนอกองค์กรหรือไม่

คำตอบจากคำถามข้างต้นอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัย และภาพลักษณ์ส่วนบุคคลรวมถึงองค์กรทั้งสิ้น

  • * ท่านอาจรับมิจฉาชีพเข้ามาเป็นเพื่อนจากการรับเพื่อนโดยขาดการไตร่ตรองมิจฉาชีพเหล่านี้จะอาศัยข้อมูลการแชร์สถานะ ความรู้สึก ภาพกิจกรรมส่วนตัว การทำงาน ข้าวของเครื่องใช้ และการ check in ต่าง ๆ มาเชื่อมโยงวิเคราะห์หาพฤติกรรมเกี่ยวกับ รสนิยม ฐานะ ทรัพย์สิน ที่อยู่ และเส้นทางการเดินทางหรือเวลาที่อยู่ในสถานที่ต่าง ๆ ของท่าน เพื่อหาวิธีการเข้าถึงตัว หรือประสงค์ต่อร่างกาย บุคคลและทรัพย์สินอันเป็นที่รักของท่าน
  • * ท่านอาจติดไวรัสจากการรับไฟล์และติดตั้ง application เสริมที่เหล่ามิจฉาชีพทำขึ้น ทั้งในโทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์ส่วนตัว รวมถึงคอมพิวเตอร์ขององค์กร
    • ท่านอาจได้รับใบแจ้งหนี้ก้อนโต จากบริษัทผู้ให้บริการบัตรเครดิต หรือผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือจากการสั่งซื้อรายการเสริม (item) จากการเล่นเกมส์ออนไลน์โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
    • ท่านอาจได้รับการภาคทันฑ์หรือให้ออกจากงาน ในฐานะผู้นำข้อมูลกิจการ ความลับ หรือทัศนคติด้านลบที่ต่อองค์กรสู่บุคคลภายนอก

เราไม่อาจทราบได้เลยว่า เรื่องเลวร้ายเหล่านี้ จะเข้ามาถึงตัวเมื่อไหร่ ดังนั้นเพื่อเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม จึงควรระมัดระวัง พิจารณาอย่างรอบคอบ และใช้วิจารณญาณอย่างยิ่งในการทำกิจกรรมต่าง ๆ บนสื่อสังคมออนไลน์ดังข้อคำถามต่าง ๆ ข้างต้น รวมทั้งควรศึกษากฎระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กร ที่บุคลากรต้องตระหนักและพึงปฏิบัติตาม ตลอดจนการศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการตั้งค่าความเป็นส่วนตัว และควรเปลี่ยนรหัสผ่านในการเข้าใช้งาน social media อยู่เสมอ

ในส่วนขององค์กรที่มีความเสี่ยงต่อความมั่นคงปลอดภัย รวมถึงภาพลักษณ์ขององค์กรจากคนภายนอก อันเนื่องมาจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของบุคลากรที่อาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทั้งนี้สังคมออนไลน์ก็ไม่ต่างจากสังคมของโลกความเป็นจริง ที่มีทั้งคนดี คนไม่ดี มีข่าวลับ ข่าวลวง มีสิ่งยั่วยุ มอมเมา อีกทั้งการแพร่กระจายของข้อมูลข่าวสารเป็นไปในวงกว้างอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งข่าวสารในด้านลบ ซึ่งหากมันเกิดขึ้นกับองค์กรของเราแล้วคงเป็นเรื่องยากที่แก้ไข จึงทำให้ปัจจุบันมีองค์กรหลายแห่งเริ่มหันมาสนใจในการวางกรอบแนวทางด้านสื่อสังคมออนไลน์ให้กับบุคลากรในองค์กรถือปฏิบัติ เพื่อให้ตระหนักถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างมีความสุขและปลอดภัย…

หากคุณมีความรู้สึกว่าชีวิตของคุณไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ หากปราศจากการใช้งาน สื่อสังคมออนไลน์ หรือ ก็มีความเป็นไปได้ว่าคุณกำลังตกเป็นเหยื่ออำนาจของ Social Media ที่ส่งผลต่อสาธารณะไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งมันส่งผลเสียด้านลบต่อสุขภาพจิตแก่ผู้ใช้งานได้

บทความเกี่ยวกับ Social Network อื่นๆ

  • Viral Marketing คืออะไร ? รู้จักการตลาดแบบปากต่อปาก ชนิดไฟลามทุ่ง กัน
  • Cyberbullying คืออะไร ? รู้ได้ไงว่ากำลังโดนกลั่นแกล้งอยู่ ? พร้อมวิธีรับมือ
  • อาชีพ Influencer ดีจริงหรือไม่ ? ดู 7 ปัจจัยหลักที่ควรคำนึงก่อนเป็น
  • Reels กับ Stories คืออะไร ? ต่างกันอย่างไร ? มีตารางเปรียบเทียบ
  • Comment Marketing คืออะไร ? รู้จักการตลาดแบบปลิง และสิ่งที่ควร-ไม่ควรทำ
    ข้อมูลเพิ่มเติม : Social Network และ Social Media คืออะไร ? แตกต่างกันอย่างไร ?

โดยเรื่องที่น่ากลัวคือ หลายคนไม่รู้ตัวว่าจิตใจของตนเองเริ่มแย่ลงจากผลของการใช้งาน Social Media มากเกินไป ปัญหาเหล่านี้มีอะไรบ้าง ? มาศึกษากัน

เนื้อหาภายในบทความ

โซเชียลมีเดีย ส่งผลเสียต่อจิตใจของคุณอย่างไร ?

(How does Social Media affect your mind ?)

คุณอาจจะรู้สึกประหลาดใจ หากรู้ว่าผลเสียที่เกิดจากการติด การใช้งาน Social Media มากเกินไปนั้น มีผลต่อทั้งร่างกาย และจิตใจ เนื่องจากโลกโซเชียลนั้น สามารถเปลี่ยนมุมมองที่คุณมองโลกใบนี้ได้

ในแง่ดีการเล่น Social Media ก็มีเรื่องราวดี ๆ อยู่มากมาย ซึ่งเวลาที่คุณได้รับรู้เรื่องดี ๆ คุณก็รู้สึกดี โลกนี้ช่างสวยงาม หรือเกิดแรงบันดาลใจในการพัฒนาตัวเอง แต่เรื่องแย่ ๆ บนโลกโซเชียล ก็มีไม่น้อยเหมือนกัน เผลอ ๆ อาจจะมีเยอะกว่าเรื่องดี ๆ ด้วยซ้ำ ที่น่าสนใจคือ แม้จะเป็นเรื่องราวดี ๆ บางครั้งมันก็ให้ผลตรงกันข้าม กลับทำให้ผู้ชมรู้สึกดิ่งยิ่งกว่าเดิม

เหตุผลก็มีหลายอย่าง ลองสังเกตตัวเองดูว่าเราประสบกับปัญหาเหล่านี้หรือไม่ ? ถ้าใช่ล่ะก็ นี่อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณควรใช้เวลากับ Social Media ให้น้อยลง หรือหยุดใช้งานมันไปเลยก็ได้

1. อาการซึมเศร้า และความวิตกกังวล (Depression and Anxiety)

มีการวิจัยพบว่า ผู้ที่ใช้เวลาหลายชั่วโมงในแต่ละวันไปกับการไถฟีดบนโลกโซเชียล ก็จะได้รับผลกระทบทางอารมณ์ได้ ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตย่ำแย่ โดยมีภาวะอาการซึมเศร้า และความวิตกกังวล

สาเหตุก็ไม่ใช่เรื่องที่คาดเดาได้ยาก บนโลกโซเชียล ผู้ใช้งานส่วนใหญ่มักจะแบ่งปันสิ่งที่แชร์อย่างพิถีพิถัน พวกเขาเลือกที่จะแชร์ช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่เขามี จนคุณอดไม่ได้ที่จะคิดเปรียบเทียบกับชีวิตที่คุณมี จนเกิดคำถามตามมาว่าทำไมเราไม่มีอย่างเขา ทำไมพวกเขาดูมีความสุขกันจัง (ซึ่งในความเป็นจริง เขาอาจจะเหนื่อยทำงานเก็บเงินมาทั้งปีเพื่อไปเที่ยว แต่คุณไม่รู้ คุณไม่เห็นหรอกว่าเขาทำงานมาหนักขนาดไหน คุณเห็นแค่ตอนที่เขามีความสุข)

วิธีป้องกันตัวเอง ก็ไม่มีอะไรซับซ้อน ใช้หลักสามัญสำนึกโดยไม่ต้องไปอ่านงานวิจัยก็น่าจะคิดเองได้ นั่นคือลดช่วงเวลาที่จมอยู่ในโลกโซเชียล ให้สั้นลง ไม่ควรใช้เวลากับมันมากกว่า 30 นาทีต่อวัน

และถ้าหากคุณรู้สึกไม่สบายใจหลังจากใช้งาน Social Media ส่วนหนึ่งก็มาจากเนื้อหาที่ปรากฏอยู่บนแพลตฟอร์ม คุณอาจเลือกพิจารณาสื่อ หรือผู้คนที่คุณได้กดติดตามเอาไว้ ใครที่ชอบแบ่งปันเนื้อหาที่คุณอ่านแล้วรู้สึกไม่สบายใจ ก็กดเลิกติดตาม หรือปิดการมองเห็นโพสต์จากบุคคลดังกล่าวไป เพื่อให้เหลือแต่เรื่องราวสนุกสนานจากสิ่งที่คุณชื่นชอบแทน เช่น ความเคลื่อนไหวของศิลปินคนโปรด หรือแมวสุดน่ารักที่เพื่อนของคุณเลี้ยงไว้

ภาพจาก //www.freepik.com/free-vector/depression-concept-illustration_10386542.htm

2. โดนกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต (Cyberbullying)

ก่อนจะมี Social Media การกลั่นแกล้งกันเป็นบางสิ่งที่เกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีการเผชิญหน้ากันเท่านั้น แต่ต้องขอบคุณโลกโซเชียล (เหรอ ?) ที่ทำให้ผู้คนสามารถกลั่นแกล้งกันแบบออนไลน์ได้ ไม่ว่าเราจะรู้จักเขาดีหรือไม่ ? อาจจะไม่เคยเจอหน้ากันด้วยซ้ำ แต่เราทุกคนน่าจะรู้กันดีจากข่าวมากมายว่า การโดนกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต หรือ Cyberbullying นั่นสามารถทำอะไรคน ๆ หนึ่งได้มาก มีคนดังที่มีชื่อเสียง ถูกด่าท่อทางอินเทอร์เน็ตจนฆ่าตัวตายเสียชีวิตไปแล้วหลายราย

ในขณะที่โลกโซเชียล ก็จะช่วยให้เราพบปะเพื่อนใหม่ ๆ ได้อย่างง่ายดาย แต่มันก็เปิดโอกาสให้เหล่าคนใจร้ายเข้าถึงตัวเหยื่อได้ง่ายขึ้นเช่นกัน ผู้ร้ายบางคนใช้วิธีสร้างโปรไฟล์ปลอมในการเข้าถึงเหยื่อ เพื่อแสวงหาข้อมูล และความลับ ก่อนจะหักหลังเอาความลับมาประจานเหยื่อให้เกิดความอับอายบนโลกออนไลน์

บ่อยครั้งที่การกลั่นแกล้งออนไลน์เหล่านี้มักจะทิ้งบาดแผลลึกเอาไว้ในจิตใจของเหยื่อ จนเหยื่อรู้สึกกดดันทำร้ายตัวเอง หรือแม้แต่การทำอัตวินิบาตกรรม หากเลวร้ายกว่านั้นก็จะทำร้ายผู้อื่นที่บริสุทธิ์ไปด้วยเพื่อแก้แค้นต่อสังคม

การกลั่นแกล้งออนไลน์ไม่ได้เกิดขึ้นแค่กับเด็กเท่านั้น แม้แต่ผู้ใหญ่ก็สามารถตกเป็นเหยื่อได้เช่นกัน บ่อยครั้งที่คุณกลายเป็นตัวตลกบนโลกออนไลน์โดยที่คุณไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ

ภาพจาก : //www.freepik.com/free-vector/stop-bullying-concept_9005191.htm

3. FOMO (Fear of Missing Out)

FOMO ย่อมาจากประโยค "Fear of Missing Out" เป็นปรากฏการณ์หนึ่งที่มาพร้อมกับความเติบโตของโลกโซเชียล และเป็นหนึ่งผลเสียที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อสังคมอย่างกว้างขวาง

อาการ FOMO นั้นเป็นปรากฏการณ์ที่คุณรู้สึกหวาดกลัวที่จะพลาดโอกาสประสบการณ์ดี ๆ ที่คนอื่นได้รับ ตัวอย่างเช่น คุณพยายามเช็ค Facebook ตลอดเวลาว่า มีใครกำลังทำอะไรสนุก ๆ อยู่โดยที่คุณไม่ได้ร่วมในเหตุการณ์นั้นอยู่หรือเปล่า ? และคุณจะรู้สึกแย่ที่ไม่ได้ไปอยู่ตรงนั้นกับเพื่อน ๆ ด้วย ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม

ที่น่ากลัวคือ ความ FOMO จะทำให้คุณพยายามใช้งาน Social Media มากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะไม่อยากพลาดโอกาสดี ๆ แต่สุดท้ายคุณก็จะพลาดโอกาสอยู่ดี และรู้สึกแย่วนลูปไปกลับไปซ้ำไปซ้ำมา

ภาพจาก : //www.freepik.com/free-vector/mental-health-awareness-concept_7974025.htm

4. คาดหวังสิ่งที่ไม่เป็นจริง (Unrealistic Expectations)

เนื้อหาส่วนใหญ่ที่ปรากฏในโลกโซเชียล ก็มักจะมีแต่สิ่งดี ๆ มิตรภาพที่งดงามที่เกินจริง เพราะผู้ใช้มักจะแบ่งปันแต่ด้านที่ดีที่สุดในชีวิตออกมา ไม่มีใครอยากแสดงด้านมืดออกมาให้คนอื่นเห็นอยู่แล้ว

คุณเห็นรูปผู้คนทำความดี, การแสดงความรักที่ช่างดูบริสุทธิ์, การช่วยเหลือผู้อื่น ฯลฯ แต่ในความเป็นจริง เข้าอาจจะทำร้ายภรรยาลับหลัง, เอาเงินที่ได้จากการธุรกิจผิดกฏหมายมาทำบุญ หรือสร้างเปลือกคนดี เพื่อให้ทุกคนเชื่อว่าเขาเป็นมนุษย์ที่ดี

มันเป็นเรื่องยากที่จะตรวจสอบว่าเรื่องราวเหล่านั้นเป็นเรื่องจริงหรือเปล่า ? มีอาชญากรที่อาศัยช่องโหว่นี้ในการแสวงหาผลประโยชน์เข้าตัวเอง ที่พบได้บ่อยก็อย่างการขอรับบริจาคเพื่อช่วยเหลือเหยื่อ หรือสัตว์บาดเจ็บ พอคุณเห็นว่าในโปรไฟล์เขาดูเป็นคนดี คุณก็หลงเชื่อ และบริจาคเงินให้พวกเขาอย่างง่ายดาย หรือตกเป็นเหยื่อของการเข้ามาผูกมิตร ก่อนจะต้มตุ๋นหลอกเอาเงินคุณไป หรือที่เรียกว่า "Romance Scam"

จงจำเอาไว้ว่า "อย่าเชื่ออะไรที่เห็นบนโลกโซเชียล อย่างง่าย ๆ โดยเด็ดขาด"

5. อคติต่อรูปร่างหน้าตาของตนเอง (Negative Body Image)

หากคุณเข้าไปดูรูปภาพของบัญชีที่มีชื่อเสียงบน Instagram คุณจะพบเจอแต่คนสวย คนหล่อที่สวมใส่แฟชั่นราคาแพง และมีร่างกายที่สวยงามตามอุดมคติ ผู้ชายต้องสูงมีกล้ามซิกแพค ผู้หญิงเอวคอดมีหน้าอก มีสะโพก หน้าเป๊ะตลอดเวลา

ภาพที่ดูสวยงามเหล่านั้น ทำให้หลายคนมองข้ามความเป็นจริงว่าไม่มีใครที่จะดูสวยงามได้ตลอดเวลา จนเกิดคำถามต่อตัวเองว่าทำไมรุปร่างหน้าตาของเราถึงแตกต่างกันขนาดนั้น จงอย่าลืมความเป็นจริงว่าไม่มีใครที่ตื่นนอนมาตอนเช้าแล้วหน้าจะเป๊ะราวกับซุปเปอร์โมเดล หรือจะมีหุ่นฟิตเปรี๊ยะได้โดยไม่ต้องออกกำลังกายอย่างมีวินัย บางคนถึงกับเลือกทางที่อันตรายต่อสุขภาพ เพียงเพื่อให้ร่างกายของตัวเองดูน่าสนใจบนโลกโซเชียล ด้วยซ้ำไป

อย่าให้ความงามแต่เปลือกในโลกโซเชียล เข้ามาทำให้คุณเกิดความไม่มั่นใจในร่างกายของตัวคุณได้ มองหารอบตัวคุณ คุณน่าจะพบว่าทุกคนมองว่าคุณสวยงามในแบบที่คุณเป็นอยู่แล้ว โดยไม่ต้องพยายามต้องเลียนแบบใคร

6. ส่งผลกระทบต่อการนอนหลับ (Unhealthy Sleep Patterns)

เราได้อธิบายถึงปัญหาของการใช้งาน Social Media ในแต่ละวันเป็นเวลานานว่าส่งผลให้ อาการซึมเศร้า และความวิตกกังวลได้ไปแล้ว อาการดังกล่าวนอกจากจะส่งผลต่อสุขภาพจิตแล้ว ยังส่งผลต่อคุณภาพการนอนได้อีกด้วย

ตามปกติแล้ว แต่ละคนจะมีรูปแบบการนอนตามนาฬิกาชีวิตในร่างกายอยู่ แต่เมื่อคุณเริ่มติดโลกโซเชียล คุณก็จะเริ่มมีนิสัยเล่นมัน ก่อนนอน เช่น คุณคิดว่าจะใช้เวลาสัก 5 นาที ในการดูว่ามีแจ้งเตือนอะไรบ้างบน Facebook แต่รู้สึกตัวอีกทีก็ผ่านไปชั่วโมงกว่าแล้ว หรือจมไปกับการไถทวิตเตอร์ไปกับเรื่องไม่เป็นเรื่องที่ความจริงคุณอาจจะไม่ได้สนใจมันด้วยซ้ำ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพระาตัวอัลกอริทึมของ Social Media ทุกค่ายพยายามออกแบบมาให้นำเสนอเนื้อหาที่สามารถดึงดูดผู้ใช้งานให้อยู่บนแพลตฟอร์มให้นานได้มากที่สุด

สุดท้ายแล้วการเล่นโลกโซเชียล ก็จะทำให้คุณนอนน้อยลง และคุณภาพการนอนแย่ขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายต่อสุขภาพอย่างไม่ต้องสงสัย

ภาพจาก : //www.freepik.com/free-photo/young-attractive-brunette-woman-lying-soft-pillow-bed-outdoor-using-cell-phone_15753820.htm

7. การเสพติดสมาร์ทโฟน (Smartphone Addiction)

Social Media ไม่ใช่สารเสพติด แต่ก็ทำให้คนลุ่มหลงมันจนงอมแงมได้ บางคนติดมันยิ่งกว่าการติดบุหรี่ หรือแอลกอฮอล์เสียอีก มีหลายคนที่ติดโลกโซเชียลอย่างหนัก จนหยิบสมาร์ทโฟนออกมาเช็คการแจ้งเตือนตลอดเวลาโดยไม่คิดอะไร

หากคุณไม่แน่ใจว่าคุณเสพติดสมาร์ทโฟนแล้วหรือยัง ? ลองพยายามนึกดูว่า ครั้งสุดท้ายที่คุณใช้เวลาทั้งวันโดยไม่ได้เช็คการแจ้งเตือนจากโลกโซเชียลเลย เกิดขึ้นเมื่อไหร่ ? หากคุณรู้สึกกระวนกระวายใจที่ไม่ได้เช็คแจ้งเตือนในทันที หรือคิดว่าโลกทั้งใบจะหายไปในทันทีหาก Social Media ที่คุณใช้งานอยู่เกิดปิดตัวไปกะทันหัน

การเสพติดสมาร์ทโฟนยังส่งผลเสียต่อสัมพันธภาพในสังคมอีกด้วย ลองคิดตามว่าในขณะที่เพื่อนกำลังพูดคุยกันอย่างสนุกสนาน แต่มีคุณคนเดียวที่ก้มหน้าก้มตาเล่นสมาร์ทโฟน นอกจากนี้การก้มหน้าเล่นสมาร์ทโฟนเป็นเวลานานยังเป็นสาเหตุของโรคออฟฟิศซินโดรมได้อีกด้วย

สุดท้ายแล้วโลกโซเชียล ก็เป็นนวัตกรรมตัวหนึ่งที่มีทั้งข้อดี และข้อเสีย ปฏิเสธไม่ได้ว่ามันก็มีประโยชน์ และข้อดีอยู่มากมาย หากเราใช้มันอย่างถูกวิธี โดยที่ไม่ปล่อยให้มันครอบงำจิตใจ ไม่จำเป็นต้องลบบัญชีที่มอยู่ใน Social Media ทิ้งไปให้หมด ที่ต้องทำคืออย่าลืมมิตรภาพในโลกความเป็นจริง ใช้งานมันอย่างเหมาะสมก็เพียงพอแล้ว

ข้อเสียของSocial Media มีอะไรบ้าง

8 ผลกระทบที่เกิดจากการใช้ Social Media.

มีการปฏิสัมพันธ์ลดลง.

เรียกร้องความสนใจมากขึ้น.

ไขว้เขวจากเป้าหมายที่ตั้งไว้.

ความสัมพันธ์ล้มเหลม.

เจอกับนักเลงคีย์บอร์ด.

เกิดความทุกข์จากการเปรียบเทียบ.

นอนหลับยาก.

ไม่มีความเป็นส่วนตัว.

ผลกระทบจากสื่อออนไลน์มีอะไรบ้าง

เช็กสัญญาณเตือนเสพติดโซเชียลมากเกินไป.

1. ปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างลดลง ... .

2. ไขว้เขวจากเป้าหมาย ... .

3. เกิดความทุกข์จากการเปรียบเทียบ ... .

4. มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ ... .

5. ไม่มีความเป็นส่วนตัว.

ข้อใดเป็นผลเสียของ Social Network มากที่สุด

1. เล่นมากจนเกินไป เช่น เล่นไม่รู้จักเวลา ไม่กิน ไม่นอน เสียการเรียน เสียสัมพันธภาพกับคนอื่น 2. มีอาการถอนเมื่อไม่ได้เล่น เช่น หงุดหงิด อาละวาด ทำลายข้าวของ เครียด ซึมเศร้า 3. มีความต้องการที่จะเล่นเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น เพิ่มจำนวนเวลาในการเล่น ความทันสมัยของอุปกรณ์

Social network มีอะไรบ้าง ยก ตัวอย่าง มา 10 ชนิด

ทำความรู้จักกับแพลตฟอร์มโซเชียลมิเดียแต่ละตัวกัน.

1. Facebook มีผู้ใช้งาน 2,603 ล้านคน ... .

2. YouTube มีผู้ใช้งาน 2000 ล้านคน ... .

3. WhatsApp มีผู้ใช้งาน 2,000 ล้านคน ... .

4. Messenger มีผู้ใช้งาน 1,300 ล้านคน ... .

5. WeChat มีผู้ใช้งาน 1,203 ล้านคน ... .

6. Instagram มีผู้ใช้งาน 1,082 ล้านคน.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง