ว จ ยเก ยวก บส อการสอนภาษาไทย ม ธยม

วันที่นำเข้าข้อมูล 15 ก.พ. 2566

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 15 ก.พ. 2566

| 5,404 view

ความสัมพันธ์ด้านการศึกษา

ไทยกับเยอรมนีมีความสัมพันธ์ด้านการศึกษามายาวนาน มีนักเรียนไทยหลายต่อหลายรุ่นที่มาศึกษาเล่าเรียนในเยอรมนี และได้นำวิชาความรู้ในสาขาต่างๆ กลับไปพัฒนาประเทศไทย โดยเริ่มตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ได้ทรงส่งพระราชโอรสหลายพระองค์มาศึกษาที่เยอรมนีเพื่อให้นำความรู้และวิทยาการสมัยใหม่กลับไปพัฒนาประเทศ อาทิ – สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยเสนาธิการแห่งเยอรมนี – สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ทรงเริ่มศึกษาระดับมัธยมที่เมืองฮัลเบอรชตัดท์ (Halberstadt) และทรงเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยที่เมืองไฮเดลแบร์ก (Heidelberg) สาขากฎหมายและการศึกษา รวมทั้งได้ทรงเข้าเรียนวิชาเกี่ยวกับการแพทย์เป็นการส่วนพระองค์ด้วย – พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี ทรงศึกษาในสาขาเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยมิวนิก (Munich) จากนั้น ทรงสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาเอกด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยทือบิเงน (T?bingen) โดยทรงเป็นคนไทยคนแรกที่จบการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์และทรงเป็นเจ้านายพระองค์แรกและเป็นคนไทยคนที่ 2 ที่จบการศึกษาในวิชาระดับปริญญาเอก – สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงศึกษาวิชาทหารที่โรงเรียนเตรียมนายร้อยที่เมืองพอทสดัม (Potsdam) และทรงศึกษาวิชาทหารต่อที่มหาวิทยาลัยทหาร ที่ตำบลโกรสลิชเทอร์เฟลเดอ (Gross-Lichterfelde) กรุงเบอร์ลิน จากนั้น ได้ทรงเข้าศึกษาวิชาทหารเรือที่ M?rwik Imperial German Naval Academy ที่เมืองเฟลนซ์บวร์ก (Flensburg) โดยทรงสอบได้ที่ 1 และทรงได้รับการประดับยศเรือตรีแห่งกองทัพเรือเยอรมัน อีกทั้งในขณะทรงศึกษาอยู่ ทรงชนะการประกวดการออกแบบเรือดำน้ำด้วย ภายหลังที่ทรงสำเร็จการศึกษา ทรงรับราชการในกองทัพเรือเยอรมันเป็นเวลา 3 ปี ก่อนเสด็จนิวัติประเทศไทย และในปี 2468 ทรงเสด็จกลับมาเยอรมนีเพื่อทรงศึกษาการแพทย์ สาขากุมารเวชศาสตร์ ที่เมืองไฮเดลแบร์ก (Heidelberg) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลฯ เสด็จพระราชสมภพ ที่เมืองดังกล่าวในปี 2468

ความร่วมมือด้านการศึกษา

เยอรมนีจัดได้ว่าเป็นประเทศที่มีระบบการศึกษาที่เข้มแข็งและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีหลักสูตรอาชีวศึกษาที่มีมาตรฐานได้รับการยอมรับจากทั่วโลก ความโดดเด่นในฐานะประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ และความก้าวหน้าด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนวัตกรรม เป็นจุดสนใจให้นักเรียนต่างชาติจากประเทศต่างๆ รวมทั้งไทย มาศึกษาในเยอรมนี ระบบการศึกษาของเยอรมนี มุ่งเน้นให้เด็กมีการพัฒนาไปตามวัย และความถนัดของแต่ละบุคคลโดยในระดับปฐมวัย (ก่อนเริ่มการศึกษาภาคบังคับในระดับประถมศึกษา) เด็กอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป จนถึง 6 ปี สามารถเข้าโรงเรียนอนุบาล ซึ่งจะเน้นกิจกรรมการเล่น ร้องเพลง ระบายสี และงานประดิษฐ์ต่างๆ เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้พัฒนาทักษะตามวัย เยอรมนีกำหนดการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี เริ่มเมื่อเด็กอายุ 6 ปี จะเข้าเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา (Grundschule) เป็นเวลา 4 ปี เมื่อจบชั้นเรียนที่ 4 เด็กๆ จะเรียนต่อชั้นมัธยมในโรงเรียนแบบต่างๆ แบ่งตามความเข้มข้นของวิชาการและการปฏิบัติในหลักสูตรการเรียนการสอน ซึ่งมี 4 รูปแบบ ได้แก่ Hauptschule Realschule Gymnasium และ Gesamtschule – โรงเรียนแบบ Hauptschule เป็นโรงเรียนมัธยมที่สอนความรู้ทั่วไป ตั้งแต่ชั้นเรียนที่ 5-9 (เทียบเท่ากับชั้น ป. 5 – ม. 3 ของไทย) โดยเมื่อจบชั้นเรียนที่ 9 จะได้รับประกาศนียบัตรมัธยมตอนต้น เรียกว่า Hauptschulabschluss และนักเรียนสามารถเลือกเรียนชั้นเรียนที่ 10 ได้ตามความสมัครใจ สำหรับโรงเรียนแบบ Realschule จะมีหลักสูตรเรียนตั้งแต่ชั้นเรียนที่ 5-10 (เทียบเท่าชั้น ป. 5 – ม. 4 ของไทย) ซึ่งนักเรียนจะได้รับประกาศนียบัตรที่เรียกว่า Realschulabschluss โดยนักเรียนสามารถเข้าเรียนต่อในโรงเรียนฝึกอาชีพได้ – โรงเรียนแบบ Gymnasium เป็นโรงเรียนมัธยมที่เน้นด้านวิชาการ จะมีทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (Sekundar Stufe I) ตั้งแต่ชั้นเรียนที่ 5-10 และระดับเตรียมอุดมศึกษา (Sekundar Stufe II) ตั้งแต่ชั้นเรียนที่ 11-13 เมื่อจบการศึกษา จะมีการสอบที่เรียกว่า Abitur ซึ่งผลสอบสามารถนำไปสมัครเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยได้ – สำหรับโรงเรียนแบบ Gesamtschule เป็นโรงเรียนมัธยมแบบประสม ซึ่งรวมโรงเรียนแบบ Hauptschule แบบ Realschule และแบบ Gymnasium เข้าด้วยกัน เปิดสอนตั้งแต่ชั้นเรียนที่ 5-13 เด็กที่เรียนที่นี่สามารถเลือกเรียนชั้นมัธยมรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง และหากเห็นว่าไม่เหมาะกับความสามารถของตน ก็อาจย้ายไปเรียนในรูปแบบอื่นที่เหมาะกับตัวเองแทนได้ สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของเยอรมนีแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ (1) มหาวิทยาลัย (Universit?t) เน้นการเรียนการสอนทางด้านทฤษฎีในหลักสูตรด้านแพทยศาสตร์ นิติศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (2) มหาวิทยาลัยที่เน้นภาคปฏิบัติ (Fachhochschule) เป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นในทางปฏิบัติ โดยจะสอนเพื่อนำองค์ความรู้ไปใช้ในอุตสาหกรรมมากกว่าการทำวิจัย (3) วิทยาลัยศิลปะและการดนตรี (Kunst- und Musikhochschule) ซึ่งนักเรียนสามารถเลือกเรียนสาขาวิชาได้ตามความถนัด เช่น จิตรกรรมการแสดง นาฏศิลป์ การออกแบบ การดนตรี ภาพยนตร์ เป็นต้น สำหรับการเรียนสายอาชีพ (Berefsausbildung) ผู้เข้าเรียนต้องมีความรู้จบประกาศนียบัตรมัธยมตอนต้น จะเป็นการเรียนภาคทฤษฎีควบคู่ไปกับภาคปฏิบัติ คือ เรียนในโรงเรียนอาชีวะ (Berufschule) ซึ่งจะสอนวิชาการและวิชาเฉพาะเกี่ยวกับอาชีพนั้นๆ และเรียนภาคปฏิบัติ คือ ฝึกงานในบริษัท ห้างร้าน โรงงานที่รับเป็นผู้ฝึกอบรม โดยการเรียนในสายอาชีพนี้ ผู้เรียนจะได้รับเงินเดือนจากบริษัทหรือห้างร้านที่ไปฝึกงาน โดยจะใช้เวลาเรียนประมาณ 2-3 ปี ด้วยจุดเด่นของระบบการศึกษาของเยอรมนีดังกล่าว ไทยจึงส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับเยอรมนีเพื่อเรียนรู้ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญจากเยอรมนี โดยเฉพาะในด้านที่เยอรมนีมีความโดดเด่น ตัวอย่างความร่วมมือที่สำคัญ อาทิ การสนับสนุนของเยอรมนีในการจัดตั้งโรงเรียนเทคนิคพระนครเหนือ เมื่อปี พ.ศ. 2502 ซึ่งได้พัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือในปัจจุบัน อีกทั้งกระทรวงศึกษาธิการของไทยยังได้พัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานของเยอรมนีในสาขาการศึกษาทวิภาคี (dual system) ซึ่งเป็นระบบการอาชีวศึกษาที่มีชื่อเสียงของเยอรมนี โดยได้ลงนามบันทึกความเข้าใจแล้ว 4 ฉบับ เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนระบบทวิภาคีในประเทศไทย นอกจากนี้ “โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” เป็นความร่วมมือระหว่างไทยกับเยอรมนีในด้านการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย เป็นโครงการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาพระราชทานพระราชดำริให้ริเริ่มดำเนินการเพื่อส่งเสริมการพัฒนาการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของไทย โดยมีความร่วมมือกับมูลนิธิบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย (Stiftung Haus der kleinen Forscher) ของเยอรมนี ซึ่งดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการศึกษาสำหรับเด็กในด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี โดยการสนับสนุนครูและนักการศึกษาในด้านเนื้อหาสำหรับการเรียนการสอนที่เน้นการสืบเสาะหาความรู้ (inquiry-based learning) โดยได้นำกิจกรรมดังกล่าวมาทดลองดำเนินการในประเทศไทย “โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเดซี” (DESY Summer Student Programme) เป็นความร่วมมือด้านการศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชนในระดับอุดมศึกษา โดยเป็นโครงการที่ให้ทุนแก่นักศึกษาไทยในสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติที่กำลังศึกษาในชั้นปีที่ 4 ในระดับปริญญาตรี หรือในชั้นปีที่ 1-2 ในระดับปริญญาโท เข้าร่วมกิจกรรมปฏิบัติการวิจัยร่วมกับเยาวชนประเทศอื่น เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ในช่วงฤดูร้อนของยุโรป โดยนักศึกษาที่ได้รับการคัดเลือกจะได้ไปทำงานในห้องปฏิบัติการของสถาบันสถาบัน Deutsches Electronen-Synchrotron หรือ DESY ที่นครฮัมบูร์ก ตามสาขาที่เลือกตามความถนัด ซึ่งได้แก่ การทดลองทางฟิสิกส์ของอนุภาคมูลฐาน การทดลองที่ใช้แสงซินโครตรอน การวิจัยเครื่องเร่งอนุภาค ทฤษฎีของอนุภาคมูลฐาน และการคำนวณด้านฟิสิกส์พลังงานสูง ในส่วนของเยอรมนี องค์การแลกเปลี่ยนวิชาการเยอรมัน (Deutscher Akademischer Austauschdienst: DAAD) ของเยอรมนี ซึ่งเป็นองค์กรสำคัญในการสนับสนุนการเรียนการสอนภาษาเยอรมันในประเทศไทย และสนับสนุนทุนการศึกษาและการวิจัยสำหรับนักศึกษาและนักวิชาการของไทย โดย DAAD ได้เริ่มดำเนินการในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2500 โดยการส่งอาจารย์ภาษาเยอรมันมาสอนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจากนั้น ได้ขยายขอบเขตภารกิจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อาทิ การจัดอาจารย์มาสอนตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบัน มีอาจารย์จาก DAAD สอนอยู่ในมหาวิทยาลัย 4 แห่งของไทย ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และบัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมัน (TGGS) ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการศึกษาและวิจัยในเยอรมนี และการจัดสรรทุนการศึกษาแก่อาจารย์และนักวิจัยจากไทยปีละกว่า 300 ทุน ตลอดจนการสนับสนุนโครงการความร่วมมือระดับมหาวิทยาลัย อาทิ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนโยบายสาธารณะและธรรมาภิบาลเยอรมัน-อุษาคเนย์ (German Southeast Asian Centre of Public Policy and Good Governance หรือ CPG) ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมัน (TGGS) ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นต้น นอกจากนี้ ในเยอรมนี ยังมีสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนวิชาไทยศึกษา (Thai Studies) และภาษาไทย ได้แก่ มหาวิทยาลัยฮัมบูร์ก (Hamburg University) มหาวิทยาลัยฮุมโบลด์ท (Humboldt University) มหาวิทยาลัยพัสเซา (Passau University) และมหาวิทยาลัยเกอเธ่ ที่นครแฟรงก์เฟิร์ต (Goethe University Frankfurt) รวมทั้งมีมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (South East Asia Studies) อาทิ มหาวิทยาลัยไฟรบวร์ก (Freiburg University) ด้วย

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน มกราคม 2564

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง