Ar left ventricle ม preload ออกกำล งกายแล วหอบเหน อย

เคยเป็นไหม? รู้สึกเหนื่อยง่าย เดินหรือวิ่งนิดหน่อยก็เหนื่อยแล้ว ยิ่งตอนออกกำลังกายมักรู้สึกเหนื่อยหอบจนหายใจไม่ทัน ซึ่งหลายคนที่มีอาการแบบนี้มักเข้าใจว่าเป็นเรื่องปกติที่อัตราการเต้นของหัวใจจะต้องเร็วขึ้นเมื่อออกกำลังกายจึงไม่สงสัยอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้ว อาการเหนื่อยหอบตอนออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ต้องระวัง! เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณของ “โรคหัวใจ” ที่กำลังลุกลาม

ดังนั้น หากสงสัยหรือมีอาการเกิดขึ้นบ่อยๆ ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองสุขภาพหัวใจด้วยการ “เดินสายพานหัวใจ” ซึ่งเป็นเทคนิคการค้นหาความผิดปกติของหัวใจขณะออกกำลังกาย ที่เรียกว่า EST (Exercise Stress Test) โดยผลตรวจที่ได้มีความแม่นยำสูง! ทั้งยังให้คำตอบได้ว่าการหายใจหอบเหนื่อยที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากความผิดปกติของหัวใจหรือเปล่า

การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกายคืออะไร?

การตรวจสมรรถภาพของหัวใจขณะออกกำลังกาย โดยปกติจะใช้สำหรับการวินิจฉัยภาวะหัวใจขาดเลือด หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยผู้เข้ารับการตรวจจะออกกำลังกายด้วยการเดินบนสายพานหรือปั่นจักรยาน เพื่อวัดค่าการตอบสนองของหัวใจ เพราะขณะออกกำลังกายหัวใจก็จะเต้นเร็วขึ้น และจำเป็นต้องได้รับเลือดมาเลี้ยงมากขึ้นด้วย หากผู้เข้ารับการตรวจมีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ เลือดจะไม่สามารถเดินทางมาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้เพียงพอ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการแน่นหน้าอก หายใจลำบาก และหากมีการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติก็จะมีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจแสดงออกมาเป็นกราฟให้เห็น ซึ่งตลอดการทดสอบ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจจะควบคุมดูแลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย จึงไว้วางใจได้ว่าทุกขั้นตอนมีความปลอดภัยสูงมาก

EST เดินสายพานหัวใจ กับ ปั่นจักรยาน แบบไหนเหมาะกับใคร?

การออกกำลังกายเพื่อให้หัวใจเต้นแรงและทำงานหนักขึ้น หรือ EST นี้ โดยทั่วไปจะมีอุปกรณ์ให้เลือกใช้ 2 อย่าง คือ

  • แบบเดินสายพานไฟฟ้า (Treadmill) ซึ่งข้อดีคือ สามารถปรับตั้งโปรแกรมการทดสอบได้หลากหลาย ควบคุมทั้งความเร็วและความชันของลู่วิ่งได้สะดวกและตลอดเวลาการทดสอบได้ง่าย
  • แบบปั่นจักรยาน (Bicycle ergometer) เหมาะกับผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีปัญหาเรื่องการเดินหรือการทรงตัว

    การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกายเหมาะกับใครบ้าง?

  1. ผู้ที่มีปัจจัยเสียงโรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น ผู้สูบบุหรี่จัด ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ขาดการออกกำลังกาย ตรวจพบไขมันในเลือดสูง เป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือผู้ที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเมื่อออกแรงหรือออกกำลังกาย
  2. ผู้ที่ไม่มีปัจจัยเสียง แต่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
  3. ผู้ที่กลับมาออกกำลังกายหลังจากหยุดไปนาน
  4. ผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ แต่มีความกังวล หรือเคยเจ็บแน่นหน้าอก หอบเหนื่อยผิดปกติขณะออกกำลังกาย

    ขั้นตอนการตรวจสมรรถภาพหัวใจ EST

ในขั้นตอนการตรวจ จะมีการต่อขั้วและสายนำไฟฟ้าบริเวณหน้าอกของผู้เข้ารับการทดสอบ 10 สาย เข้ากับเครื่องตรวจระบบคอมพิวเตอร์ ในขณะที่เดินหรือวิ่งอยู่บนสายพานลู่วิ่งนั้น เครื่องจะบันทึกและแสดงลักษณะของคลื่นนำไฟฟ้าหัวใจ พร้อมทั้งความดันโลหิตไว้ แพทย์ผู้ควบคุมการทดสอบจะมีการเพิ่มความเร็วและความชันของเครื่องเป็นระยะๆ ตามโปรแกรม โดยจะเลือกให้เหมาะกับผู้เข้าทดสอบแต่ละราย

ออกกำลังกายเป็นประจำ แต่จู่ ๆ วันหนึ่งเกิดเหนื่อยง่าย หอบขึ้นมา แถมเจ็บหน้าอกด้านซ้าย อาการเหล่านี้อาจจะเป็นสัญญาณอันตรายของโรคหัวใจขาดเลือด

แน่นหน้าอกแบบไหนคือหัวใจขาดเลือด

ภาวะหัวใจขาดเลือดมักเกิดขึ้นฉับพลัน ไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า ผู้ป่วยบางรายตอนกลางวันใช้ชีวิตปกติ พอตกเย็นไปวิ่งออกกำลังกายแล้วเกิดอาการแน่นหน้าอก ใจสั่น เหนื่อยง่าย ขาบวม หน้ามืด เป็นลม โดยอาการแน่นหน้าอกดังกล่าวเกิดขึ้นด้านซ้าย แล้วร้าวไปที่หัวไหล่และต้นแขนซ้าย หรือลงไปถึงลิ้นปี่ แต่ไม่ถึงสะดือ ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้ขณะออกกำลังกายควรหยุดออกกำลังกายทันที รีบไปพบแพทย์เพื่อประเมินอาการ และพิจารณารับการตรวจเพิ่มเติม

สัญญาณเตือนหัวใจขาดเลือด

ผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำและนักกีฬาส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าเหนื่อย หอบ หมดแรง หายใจติดขัด หรือแน่นหน้าอก อาจเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นจากการออกกำลังกายหักโหมหรือเสียเหงื่อมาก แต่บางครั้งอาการเหล่านี้คือสัญญาณเตือนภัยของโรคหัวใจขาดเลือด ผู้ที่ควรได้รับการตรวจคัดกรองภาวะหัวใจขาดเลือด เช่น

  1. มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ หรือเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ
  2. มีปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือด เช่น เบาหวาน ไตวายเรื้อรัง ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่
  3. นักกีฬาอาชีพหรือผู้ที่ออกกำลังกายจริงจัง และนักวิ่งมาราธอน

ดูแลอย่างไรให้ห่างไกล “โรคหัวใจขาดเลือด”

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อลดปัจจัยเสี่ยง ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควรเลือกรับประทานโปรตีนจากปลา หรือเนื้อไก่ไม่ติดหนัง รับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง อย่างผัก ผลไม้ และลดการบริโภคอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว เช่น เนื้อแดง อาหารทอด
  • ออกกำลังกายแบบแอโรบิค ซึ่งเน้นการทำงานของปอดและหัวใจ ให้ได้อย่างน้อย สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละประมาณ 30 นาทีขึ้นไป
  • งดสูบบุหรี่
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • หมั่นมาตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำทุกปี

แม้เทคโนโลยีทางการแพทย์จะเจริญก้าวหน้าและสามารถรักษาโรคต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นก็ตาม แต่การดูแลตัวเองเบื้องต้นถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพื่อเป็นเกราะป้องกันให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ

เมื่อออกกำลังกายจนเหนื่อยหอบร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

โดยปกติแล้วการหายใจไม่ถูกต้องหรือผิดจังหวะในช่วงเล่นกีฬาหรือในระหว่างการออกกำลังกายและการหายใจที่ถี่เร็วเกินไป ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อยและได้รับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น ซึ่งเราสามารถสังเกตได้จากการที่เราต้องพยายามหายใจถี่ๆ ส่งผลให้มีอาการหอบต้องหายใจทางปาก ในบางคนอาจมีอาการหน้ามืด หรือวูบร่วมด้วย

ทำยังไงให้หายเหนื่อยหอบ

วิธีหายใจลดอาการ หอบเหนื่อย หากตัวเรามีอาการหอบในช่วงระหว่างที่กำลังทำกิจกรรม ควรหยุดกิจกรรมนั้นทันที แล้วให้พักจัดท่าทางโดยโน้มลำตัวมาด้านหน้า เพื่อให้อวัยวะภายในช่องท้องดันความโค้งของกะบังลมให้ความยาวอยู่ในช่วงที่เหมาะสมสำหรับการทำงาน ช่วยให้หายใจได้ง่ายขึ้น และลดการทำงานของกล้ามเนื้อเสริมในการหายใจ

อาการเหนื่อยหอบเกิดจากสาเหตุอะไร

สาเหตุหลักของอาการเหนื่อยและหอบมาจาก “การเป็นโรค” และ “การไม่เป็นโรค” เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ , กำลังฟื้นตัวจากอาการเจ็บป่วยหรือโรค , ความเครียด วิตกกังวล และไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย เป็นต้น โดยแบ่งเป็น “เหนื่อยปัจจุบัน” คือมีอาการมาแล้ว 2-3 วัน และ “เหนื่อยเรื้อรัง” คือมีอาการสะสมมานาน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง