คณ ตbbl_ป2_4.2_การลบจำนวนสองจำนวนท ม ต วต งไม เก น100ม การกระจาย

ไมเกรน (migraine) เป็นโรคปวดหัวชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะอาการที่สำคัญ คือ ปวดตุ้บๆ ที่บริเวณขมับข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ อาการปวดจะเป็นพักๆ เป็นๆ หายๆ

ความรุนแรงของอาการปวด มีตั้งแต่ปวดปานกลางจนถึงรุนแรงมาก ระยะเวลาในการปวดแต่ละครั้งส่วนใหญ่ประมาณ 4-7 ชม.

อาการปวดจะกำเริบหรือรุนแรงมากขึ้นเมื่อมี ความเครียด อากาศร้อน แสงจ้า หรืออดนอน

ขณะปวดไมเกรนอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร และอาจไวต่อแสงหรือเสียง ดังนั้นผู้ที่เป็นไมเกรนส่วนใหญ่มักอยากอยู่ในห้องมืดและเงียบ เพราะจะทำให้อาการปวดดีขึ้น

ชนิดของไมเกรนที่พบบ่อย

  1. Classic migrain : อาการมักเกิดในช่วงวัยรุ่น เมื่ออายุมากขึ้นอาการปวดศีรษะจะลดลงจนกระทั่งหายขาด แต่ผู้ป่วยบางคนอาจจะมีอาการนำมาก่อน เช่น เห็นแสงแลบ ตามองไม่เห็น ชาซีกใดซีกหนึ่งเราเรียก classic migrain
  2. Common migrain : อาการแสดงมักเกิดบริเวณหน้าผาก รอบดวงตา ขมับและขากรรไกร ปวดมักเป็นข้างใดข้างหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่ไม่มีอาการนำเรียก common migrain ไมเกรนเป็นโรครักษาไม่หายขาดแต่ถ้าเข้าใจและปฏิบัติตามคำแนะนำสามารถทำให้ควบคุมโรคได้

สาเหตุของโรค

ไมเกรนเป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของเส้นเลือด และเส้นประสาทรอบๆสมอง ระบบประสาทผู้ป่วยที่เป็นโรคไมเกรนจะไวต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และสิ่งแวดล้อมมากกว่าผู้ที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคนี้ ระบบประสาทจะมีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนทำให้เกิดอาการอักเสบดังกล่าวเกิดขึ้น และอาการปวดอย่างรุนแรงตามมา

ปัจจัยกระตุ้นมีดังนี้

  • อาหาร คือ ผู้ที่รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อาหารที่ใส่ผงชูรสหรือสารถนอมอาหาร สิ่งเหล่านี้อาจกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะได้
  • การนอนหลับ การนอนหลับมากหรือน้อยเกินไป สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการปวดได้ และยังไปกระตุ้นอาหารปวดกล้ามเนื้อด้วย
  • ฮอร์โมน ผู้หญิงจำนวนมากที่เป็นไมเกรน บางคนจะมีอาการปวดไมเกรนในช่วงที่มีประจำเดือนหรือตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก บางคนที่ใช้ยาฮอร์โมนคุมกำเนิดบางชนิดอาจกระตุ้นให้มีอาการปวดไมเกรนที่รุนแรงหรือระยะเวลาในการปวดนานมากขึ้นได้
  • สิ่งแวดล้อม เช่น อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็น “อากาศร้อน” หรือ “เย็นมาก ” อยู่ท่ามกลางแสงแดดเป็นเวลานาน หรือได้กลิ่นบางอย่างก็ทำให้ปวดหัว เช่น กลิ่นน้ำหอม ควันบุหรี่ หรือการอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ
  • ความเครียด ผู้ที่มีความเครียดจะมีอาการปวดไมเกรนได้บ่อยและรุนแรงกว่าผู้ที่ไม่เครียด

อาการ

แบบแรกอาการปวดตุบ ๆ แถว ๆ ขมับ หรือลึก ๆ อยู่แถวเบ้าตา เหมือนหัวใจเต้น และจะปวดในระดับกลางถึงมาก ซึ่งนี่เป็นลักษณะเด่นของการปวดไมเกรน แต่ถ้าปวดพอรำคาญ ไม่มากนัก โอกาสเป็นไมเกรนจะน้อย นอกจากนี้ อาการปวดแบบไมเกรนนั้น เมื่อหายปวดจะหายสนิท โดยในช่วงที่ปวดนั้น อาจจะปวดได้นาน 2-3 วันตามทฤษฎี แต่โดยทั่วไป อาจจะปวดแค่ 2-3 ชั่วโมง หรืออาจจะ 4 ชั่วโมง

นอกจากนี้อาจมีอาการอาเจียน เห็นแสงแวบ ๆ เป็นสีเหลือง ๆ หรือเป็นหยัก ๆ ในช่วงก่อนปวด เรียกได้ว่าเป็นอาการนำ แต่อาการแบบนี้ไม่พบในคนไข้ทุกคน

Checklist อาการไมเกรน

  • จะต้องมีอาการปวดศีรษะ อย่างน้อย 5 ครั้ง
  • ปวดศีรษะนาน 4-72 ชั่วโมง
  • ลักษณะปวดศีรษะต้องประกอบด้วยลักษณะอย่างน้อย 2 ประการ
  • ปวดข้างเดียว และมีอาการปวดตุ๊บๆๆ
  • ปวดมากจนทำงานประจำไม่ได้
  • ขึ้นบันไดหรือเคลื่อนไหวทำให้ปวดมากขึ้น
  • ขณะปวดศีรษะจะต้องมีอาการข้างล่างนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง
    • คลื่นไส้หรืออาเจียน
    • แสงจ้าหรือเสียงดังทำให้ปวดศีรษะ

ปวดหัวข้างเดียว ใช่ไมเกรน 100% หรือไม่

ในความเป็นจริงแล้ว อาการปวดข้างเดียวไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกอะไรเลยว่าเป็นไมเกรน ปวดข้างเดียวนี้ อาจะเป็นเนื้องอก หรือเกิดจากล้ามเนื้อตึงตัวก็ได้ ตกหมอน หรือได้รับอาการบอบช้ำ

คนที่ปวดหัวข้างเดียวเพราะไมเกรนนั้น จริง ๆ แล้วมีสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของคนไข้ทั้งหมด ปวดสองข้างก็เป็นไปได้

กลุ่มเสี่ยง

คนสูงอายุจะไม่ค่อยเป็นกนมากนัก ส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาของวัยรุ่น คนหนุ่มสาวมากกว่าคนสูงอายุหลายเท่า คนที่เป็นไมเกรนนั้น จะเป็นได้ตั้งแต่เด็ก อายุ 7-8 ขวบ แต่ที่พบบ่อยจะเป็นช่วงวัยรุ่นอายุ 10 - 25ขึ้นไป

และจะเป็นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย แต่พออายุมากขึ้นเรื่อย ๆ อาการจะน้อยลง ซึ่งเชื่อว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนบางอย่าง ผู้หญิงบางคนเป็นมาตลอด พอมาถึงวัยหมดประจำเดือนกลับหายจากอาการไปเลย

การวินิจฉัย

การวินิจฉัยไมเกรนนั้น จำเป็นต้องอาศัยประวัติและการตรวจร่างกายเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะอาการปวด ตำแหน่ง ความรุนแรง ความถี่ ระยะเวลาในการปวด และอาการอื่นที่ร่วมด้วย

ประวัติโรคประจำตัวและประวัติการใช้ยา การตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือการตรวจเอกซเรย์เพื่อวินิจฉัยแยกจากโรคอื่น เช่น อาการปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อตึงตัว หรือจากภาวะเครียด การติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง โรคของต่อมใต้สมองหรือมีเนื้องอก เป็นต้น

การรักษา

ไมเกรนไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็มีวิธีการช่วยให้ความถี่และความรุนแรง ของไมเกรนลดน้อยลง โดยใช้ยาเพื่อป้องกันรักษา และหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ดูแลสุขภาพและพบแพทย์สม่ำเสมอ ปัจจุบันจะมีการฝังเข็มเข้ามาด้วย ซึ่งเป็นที่ยอมรับและในการฝังเข็มนั้นได้มีการระบุว่า เป็นการรักษาไมเกรนได้เช่นกัน

ยาแก้ปวดและป้องกันไมเกรน

ยาแก้ปวดไมเกรน คือ ยาที่ใช้เมื่อมีอาการปวด ส่วนยาป้องกันไมเกรน ใช้เพื่อทำให้ความถี่และความรุนแรงของการปวดลดลง และจะใช้ในกรณีที่มีอาการปวดบ่อยกว่า 2 ครั้งต่อเดือน

ยาทั้ง 2 กลุ่มนี้มีมากมาย หลายชนิด การเลือกใช้ยาชนิดใด ควรได้รับคำแนะนำหรือควรปรึกษาแพทย์

การป้องกัน

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นไมเกรน เช่น แอลกอฮอล์โดยเฉพาะไวน์แดง ผงชูรส เนย นม ชอคโกแลต กล้วยหอม ผงชูรส ผลไม้ประเภทส้ม กาแฟและชา
  • การนอน ควรนอนให้เป็นเวลา
  • งดการใช้ฮอร์โมน เช่นยาคุมกำเนิด
  • ควบคุมความเครียด เช่น ออกกำลังกาย ทำสมาธิ
  • ควบคุมปัจจัยสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ อากาศ แสงไฟกระพริบ กลิ่นที่ฉุนเฉียว
  • การทำสมาธิ
  • การจัดการกับความเครียด
  • การออกกำลังกาย

FAQ คำถามที่ถามบ่อย

ถาม: เมื่อมีอาการปวดศีรษะจะปวดรุนแรง ถึงขั้นอาเจียนออกมา เวลาหายปวดจะหายสนิท และสัปดาห์หนึ่งจะเป็นถึง 5 วัน อยู่ในขั้นหน้าวิตกหรือไม่

ตอบ : ควรให้แพทย์เฉพาะทางตรวจดูอาการว่าเป็นไมเกรนแน่นอนหรือเปล่า ซึ่งจากอาการโอกาสจะเป็นไมเกรนค่อนข้างสูง สำหรับความถี่ของการการที่เกิดขึ้นนั้นนับว่าค่อนข้างบ่อย เพราะควรจะปวดเดือนละ 2-3 ครั้ง กรณีที่ปวดบ่อย อาจจะต้องรับประทานยาป้องกันอาการปวด ในขณะที่ปวดไม่บ่อย อาจรับประทานยาแก้อาการปวด

ถาม: ทานยารักษาอาการเป็นประจำจะมีผลเสียหรือไม่

ตอบ : ยาไมเกรน แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มป้องกัน กับกลุ่มแก้เวลาปวด การจะนำมาใช้ต้องให้แพทย์พิจารณาเป็นราย ๆ ไป และเมื่อรับประทานแล้ว จะต้องดูการตอบสนองด้วย ส่วนยา คาฟาค๊อท ที่มีจำหน่ายและมีการใช้กันอย่างแพร่หลายนั้น ทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป อาจทำให้เส้นเลือดหัวใจตีบได้ บางรายอาจไม่ต้องใช้ยาชนิดนี้ เพียงยาพาราเช็ตตามอล หรือแอสไพริน ก็สามารถช่วยได้

ถาม: การพิจารณาอาการในเด็ก ควรทำอย่างไร

ตอบ : ถ้าพบอาการปวดศีรษะในเด็ก สิ่งแรกที่ควรเช็คคือสายตา หรืออาจจะมีปัญหากับเพื่อน เพิ่งย้ายโรงเรียน ไปอยู่ในสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ อาจเกิดอาการเครียดโดยไม่รู้ตัว จุดนี้ก็อาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะขึ้นมาได้ แต่อย่างไรก็ตาม ในเด็ก อายุ 7-8 ปี ก็อาจพบว่าเป็นไมเกรนได้เช่นกัน ให้สังเกตดูว่าเวลาปวดจะปวดมาก อาจถึงขึ้นอาเจียน แต่เมื่อหายปวดจะหายสนิทเลยเช่นกัน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง