หลักการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ 10 ข้อ

Highlight

  • การสื่อสารเป็นทักษะพื้นฐานอย่างหนึ่งของ HR ที่จะต้องสื่อสารผ่านการพูด การรับฟังปัญหา หรือการส่งข้อความผ่านตัวอักษร โดยเฉพาะการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่สำคัญขององค์กรไปยังแต่ละหน่วยงานให้เข้าใจตรงกัน
  • การสื่อสารเป็นหัวใจสำคัญ อย่าสื่อสารแค่ทางเดียว อย่าสื่อสารแบบ Hierarchy เพราะมันไม่มีทางไปถึงพนักงานที่ต้องการรับสารที่สุด HR ต้องรู้ว่าจะทำอย่างไรให้การสื่อสารนั้นสั้นที่สุดและส่งตรงถึงพนักงานได้เร็วที่สุด
  • การสื่อสารของ HR จะต้องน้อมรับการสื่อสารแบบสองทาง ใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยี ทำให้การเข้าถึงข้อมูล HR เป็นเรื่องง่าย และทำให้เอกสาร HR อ่านง่าย
  • ฉะนั้นถ้า HR มีการวางแผนการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ก็จะนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กรในระยะยาวต่อไป

เมื่อการทำงานไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในออฟฟิศอย่างเดียว การพบเจอหน้ากันระหว่างองค์กรและพนักงานจึงเต็มไปด้วยความลำบาก แต่สิ่งหนึ่งที่จะช่วยรักษาความสัมพันธ์นั้นได้ก็คือ การสื่อสารของ HR ที่กลายมาเป็นหัวใจหลักระหว่างช่วง Work From Home นี้ ฉะนั้นการสื่อสารจึงเป็นอีกหนึ่งทักษะที่ HR จำเป็นต้องมี และต้องเชี่ยวชาญมากขึ้น ที่สำคัญแผนการสื่อสารแบบเดิมอาจใช้ไม่ได้แล้วในยุคดิจิทัล เพราะความคาดหวังของพนักงานไม่ได้ต้องการการสื่อสารแบบเก่าอีกต่อไป

สำหรับวันนี้ HR Note จะมาพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล เพื่อการสื่อสารในยุคใหม่นั้นมีประสิทธิภาพ สั้น และส่งตรงถึงพนักงานเร็วที่สุด

Contents

  • ความสำคัญของการสื่อสารที่ดีในงาน HR
      • HR มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้ 
  • ประเภทการสื่อสาร HR ในที่ทำงาน
    • Upward Communication: การสื่อสารจากล่างขึ้นบน
    • Downward Communication: การสื่อสารจากบนลงล่าง
    • Diagonal Communication: การสื่อสารแนวทแยง
    • Horizontal Communication: การสื่อสารแนวนอน
  • 6 ทักษะการสื่อสารที่ดีสำหรับ HR
    • 1. การเขียนที่ชัดเจน
    • 2. ฟังอย่างมีวิจารณญาณ
    • 3. การจัดการความขัดแย้ง
    • 4. ความรอบคอบและความสัตย์จริง
    • 5. การให้เครดิต
    • 6. ตระหนักรู้จรรยาบรรณ HR
      • HR มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้ 
  • เทคนิคพัฒนาการสื่อสารที่ดีของ HR
  • ประโยชน์ของการสื่อสารที่ดีในองค์กร
  • บทสรุป

ความสำคัญของการสื่อสารที่ดีในงาน HR

การสื่อสารนับเป็นทักษะพื้นฐานอย่างหนึ่งของฝ่ายทรัพยากรบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารผ่านการพูด การรับฟังปัญหาที่เกิดขึ้น หรือการส่งข้อความผ่านตัวอักษร ซึ่งเป็นหน้าที่ของ HR ที่จะต้องเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่สำคัญขององค์กรไปยังแต่ละหน่วยงานให้เข้าใจตรงกัน

การสื่อสารงาน HR จึงต้องทำอย่างรวดเร็วและทันเวลา ที่สำคัญคือต้องมีความต่อเนื่องตลอดทั้งปี ฉะนั้นการวางแผนงานไว้ล่วงหน้าจึงเป็นสิ่งจำเป็น เกิดเป็นแผนการสื่อสารงาน HR ที่จะกำหนดกรอบ กำหนดทิศทาง และกำหนดแนวทางในการเผยแพร่ระบบงาน

ทั้งนี้แผนการสื่อสารงาน HR ที่ดีจะต้องเป็นแผนเชิงรุก สามารถปรับภาพลักษณ์ของงาน HR ได้ รวมไปถึงการนำหลักการตลาดมาใช้เพื่อสร้างการสื่อสารที่ตรงใจพนักงาน โดยเฉพาะช่วงนี้ที่ทุกคนไม่ได้ทำงานในออฟฟิศ ทำงานทางไกล หรือทำงานจากบ้าน นับเป็นโจทย์ท้าทายที่ HR ทุกองค์กรต้องเตรียมพร้อมจัดทำแผนการสื่อสารอย่างจริงจัง

ตัวอย่างการสื่อสารของ HR ผ่านแบบจำลอง SMCR ของ เดวิด เค. เบอร์โล (David K.Berlo)

S Sender ผู้ส่งสาร เช่น ฝ่ายทรัพยากรบุคคล HR
M Message ข้อมูลข่าวสาร เช่น นโยบายบริษัท, ขั้นตอนการทำงาน, การจ้างงาน, การไล่ออก, การเลื่อนตำแหน่ง, การประเมินประจำปี, การเข้าออกงาน, การลางาน,​ สวัสดิการ ฯลฯ
C Channel ช่องทางการสื่อสาร เช่น เว็บไซต์บริษัท, กระดานข่าว, รายงานประชุม, อีเมล, โซเชียลมีเดีย
R Receiver ผู้รับสาร  เช่น พนักงาน

HR มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้ 

Q: นายจ้างจะสื่อสารอย่างจริงใจเพื่อซื้อใจพนักงานได้อย่างไร

การบอกพนักงานทางอ้อมแบบจริงใจ ว่าเราแคร์ชีวิตคุณนะ เราไม่ได้มองว่าคุณเป็นแค่หุ่นยนต์นะจะทำได้อย่างไร ???

A: ในการบอกพนักงานให้ทราบถึงความใส่ใจของบริษัทกับพนักงาน

ต้องบอกว่า ความต้องการพื้นฐานของพนักงานทุกคนไม่เท่ากันครับ หากเราต้องการแสดงความจริงใจกับพนักงาน อาจจะเข้าไปดูแลสภาพความเป็นอยู่พนักงานขณะทำงาน และอาจต้องทำมากกว่าการสื่อสาร,,,

ประเภทการสื่อสาร HR ในที่ทำงาน

ประเภทการสื่อสารของ HR จะแตกต่างไปวัตถุประสงค์ของบริษัท โดยจะแบ่งตามทิศทางและระดับของพนักงานได้ 4 กลุ่ม ดังนี้

Upward Communication: การสื่อสารจากล่างขึ้นบน

เป็นการสื่อสารจากล่างขึ้นบน หรือจะเรียกว่าเป็นการสื่อสารแบบ Bottom-Up ซึ่งการสื่อสารประเภทนี้จะเป็นลักษณะพนักงานสื่อสารไปยังหัวหน้าที่สูงกว่า ส่วนใหญ่มักจะเป็นการสื่อสารแบบสองทาง  (Two-way Communicaiton) ที่จะเปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ตั้งคำถาม หรือทำผลสำรวจ เช่น HR สามารถทำแบบสอบความพึงพอใจของพนักงาน เพื่อทราบถึงความเป็นไปและสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานมากขึ้น เพราะการสื่อสารประเภทนี้จะทำให้พนักงานรู้สึกมีความผูกพันกับองค์กร คล้ายว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรที่มีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นนั่นเอง

Downward Communication: การสื่อสารจากบนลงล่าง

เป็นการสื่อสารจากบนลงล่าง หรือเรียกว่าเป็นการสื่อสารแบบ Top-Down ซึ่งการสื่อสารประเภทนี้จะเห็นอยู่บ่อย ๆ ในทุกองค์กร ที่ HR จะถ่ายทอดข้อมูลต่าง ๆ มายังพนักงานในทิศทางเดียว โดยเฉพาะข้อมูลจากหัวหน้าที่มักจะออกเป็นกฎหรือนโยบายที่ทุกคนต้องทำตาม เช่น การแจ้งนโยบายการลาพักร้อน, สวัสดิการ, การให้รางวัล หรือทิศทางการดำเนินงานบริษัท เพราะฉะนั้นส่วนมากมักใช้กับข้อมูลที่เป็นทางการมากกว่า

Diagonal Communication: การสื่อสารแนวทแยง

การสื่อสารแนวทแยงจะเกิดขึ้นเมื่อเกิดการสื่อสารระหว่างแผนกของคนในระดับต่าง ๆ ขององค์กร เช่น ฝ่าย HR พูดถึงกับหัวหน้าฝ่ายการตลาดเกี่ยวกับการจ้างพนักงานใหม่ ก็จะถือว่าเป็นสื่อสารแนวทแยงเช่นกัน

Horizontal Communication: การสื่อสารแนวนอน

การสื่อแนวนอนหรือการสื่อสารระหว่างเพื่อนร่วมงาน (Peer-to-Peer) ที่อยู่ในระดับเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นแผนกเดียวกันหรือคนละแผนก ส่วนใหญ่มักมีทั้งการสื่อสารเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว ที่จะช่วยพนักงานใกล้ชิดสนิทกันมากขึ้น โดย HR สามารถสร้างให้เกิดการสื่อสารเหล่านี้ได้ผ่านการจัดกิจกรรม หรือแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งกันและกัน นับเป็นอีกหนึ่งการสื่อสารที่มีประโยชน์หากใช้เป็น

นอกจากนี้เรายังสามารถแบ่งประเภทการสื่อสารในองค์กรได้จากประเภทของข้อมูลได้อีก เช่น

  • การสื่อสารข้อมูลข่าวสาร (Information)
  • การสื่อสารวัฒนธรรมองค์กร (Culture)
  • การสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Change)
  • การสื่อสารแคมเปญต่างๆ (Campaign)
  • การสื่อสารภาวะวิกฤต (Crisis)
  • ฯลฯ

6 ทักษะการสื่อสารที่ดีสำหรับ HR

แต่ละอาชีพ แต่ละตำแหน่งก็ต้องการทักษะการสื่อสารที่แตกต่างกัน ซึ่งสำหรับ HR และผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรบุคคล เราขอแนะนำ 6 ทักษะการสื่อสารที่สำคัญดังนี้

1. การเขียนที่ชัดเจน

พื้นฐานสุด ๆ ของการสื่อสารก็คือความชัดเจนในการสื่อสาร ที่ผู้รับสารฟังหรืออ่านแล้วเข้าใจได้ โดยเฉพาะทักษะการเขียนที่ทุกวันนี้ในโลกดิจิทัลทำให้การเขียนผิดเพี้ยนไปจากเดิมมาก การเขียนสื่อสารแบบเก่า ๆ ที่ฟังดูโบราณ ทว่ากลับมีประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือกว่าการเขียนสเตตัส โดยเฉพาะการสื่อสารโซเชียลมีเดียทำให้ผู้ส่งสารเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย เพราะรูปแบบดูไม่ได้ทางการเหมือนการประกาศบนกระดาษ เช่น การแชทผ่าน Slack หรือ LINE ถึงสัญญาจ้างต่าง ๆ ที่อาจพิมพ์ไม่ทางการ จึงเกิดความผิดพลาดได้ ฉะนั้นเรื่องง่าย ๆ อย่างการเขียนที่ชัดเจน ถูกต้อง และเรียบร้อย จึงเป็นเรื่องแรกที่ HR ทุกคนควรสื่อสารเป็น

2. ฟังอย่างมีวิจารณญาณ

HR เป็นฝ่ายที่จะเผชิญหน้ากับพนักงานในหลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะต้องแก้ไขและอำนวยความสะดวกให้กับพนักงานที่ประสบปัญหา ฉะนั้นหากฟังแบบผ่านหู ไม่ได้ตั้งใจฟังจริง ๆ ก็จะก่อให้เกิดความผิดพลาดตามมาได้ ที่สำคัญหากไม่ได้ฟังอย่างจริงใจ อาจทำให้พนักงานหมดความเชื่อใจ และทำให้องค์กรไม่สามารถเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น แนะนำว่าลองฝึก Deep Listening ดูสักครั้ง และนำมาประยุกต์ใช้เมื่อมีพนักงานเข้ามาพูดคุยกับเรา

3. การจัดการความขัดแย้ง

ทุก ๆ วันของ HR คือการแก้ปัญหาที่เกิดในบริษัท ซึ่งบางครั้งก็เข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่น่าสบายใจเท่าไหร่ เช่น การเจรจาเรื่องเงินเดือน การปรับทุกข์พนักงาน หรือแม้กระทั่งการให้พนักงานออกจากงาน แน่นอนว่า สิ่งเหล่านี้นับเป็น Conflicts หรือความขัดแย้งที่ HR ต้องจัดการ และต้องสื่อสารให้พนักงานในกรณีนั้นเข้าใจ ซึ่งทุกคนสามารถทำความรู้จักการบริหารความขัดแย้ง (Conflict Management) เพิ่มขึ้นได้จากบทความอื่นของ HR Note

การบริหารความขัดแย้ง (Conflict Management) 5 รูปแบบ เมื่อพนักงานมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน

4. ความรอบคอบและความสัตย์จริง

อคติเป็นสิ่งเลวร้ายที่สามารถทำลายกระบวนการทำงานของ HR รวมไปถึงความน่าเชื่อถือขององค์กรลงได้ ฉะนั้นความรอบคอบและความซื่อสัตย์ จะเสริมสร้างพลังทางจิตวิทยาโดยเฉพาะความไว้วางใจให้เกิดขึ้นในองค์กร ซึ่งจะช่วยรักษาความผูกพันของพนักงานในลำดับต่อไป การสื่อสารที่ดีจึงต้องไร้ซึ่งอคติเช่นกัน

5. การให้เครดิต

นับเป็นหนึ่งในทักษะการสื่อสารที่สำคัญที่สุดสำหรับ HR คือการให้เครดิตพนักงานบ้าง ไม่ว่าจะมาในรูปแบบโปรแกรมการยกย่องพนักงา หรือเป็นเพียงแค่คำขอบคุณอย่างตรงไปตรงมา มีข้อพิสูจน์มากมายที่บ่งบอกว่าการรับรู้ความสำเร็จของพนักงาน และให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอจะส่งผลดีต่อองค์กรในระยะยาว และหากสามารถพัฒนาเป็นวัฒนธรรมองค์กรได้ ก็จะเป็นประโยชน์สูงสุดทีเดียว

6. ตระหนักรู้จรรยาบรรณ HR

เมื่อ HR เป็นหน่วยงานที่เข้าถึงข้อมูลสำคัญ ๆ ซึ่งบางครั้งก็เป็นข้อมูลละเอียดอ่อน เช่น งบประมาณ,​เงินเดือน หรือข้อสัญญาต่าง ๆ แน่นอนว่าบางข้อมูลก็สามารถสื่อสารออกไม่ได้ จรรยาบรรณของ HR เองจึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสื่อสารด้วย HR จึงต้องมีความเป็นมืออาชีพอยู่ตลอดเวลาด้วย

HR มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้ 

Q: ในที่ทำงานมักจะขาดเรื่องการสื่อสารอยู่บ่อยครั้ง 

ไม่ว่าจะไม่การสั่งงานไป เหมือนพนักงานไม่เข้าใจ  และทำงานมาส่งก็ไม่ได้ดั่งใจ  เราจะมีวิธีจัดการอย่างไรให้ได้งานตามที่คาดหวังไว้ครับ

A: เรื่องการสื่อสาร ผมถือว่าเป็นหนึ่งในหัวใจของการที่บริษัทจะอยู่รอดหรือไม่ 

สิ่งที่จะทำให้มั่นใจว่า ข้อมูล หรือ ข้อวามที่เราต้องการสื่อออกไป ผู้รับสารเข้าใจถุกต้องจริงๆ ทำได้หลายอย่าง ยกตัวอย่างเช่น
1. ให้เขาสรุปให้ฟังก่อนที่จะออกจากที่ประชุมหรือก่อนจะจบบทสนทนา,,, (คลิกดูคำตอบทั้งหมด👇)

เทคนิคพัฒนาการสื่อสารที่ดีของ HR

เพราะ HR มีหน้าที่ถ่ายทอดข้อมูลสำคัญและการเปลี่ยนแปลงนโยบายขององค์กรอยู่เสมอ การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพก็จะเพิ่มคุณภาพในการทำงานและป้องกันความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้น นี่จึงเป็นเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ HR สามารถประยุกต์ใช้ เพื่อสร้างกระบวนการสื่อสารให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนี้

  • น้อมรับการสื่อสารแบบสองทาง (two-way communication): HR ที่ดีจะต้องรับฟังความคิดเห็นของพนักงานทุกครั้งที่พวกเขาสื่อสาร รวมไปถึงแผนการสื่อสารของ HR ที่จะต้องสร้างช่องทางให้เกิดการสื่อสารสองทาง ไม่ใช่การสื่อสารทางตรงหรือแบบสั่งการอย่างเดียว เพื่อให้พนักงานตั้งคำถามหรือแสดงข้อสงสัย และบ่งบอกว่าความคิดเห็นของพวกเขามีคุณค่า
  • ใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยี:ทุกวันนี้เทคโนโลยีพัฒนาเกินล้ำกว่าจินตนาการไปแล้ว แถมยังอำนวยความสะดวกได้ทุกอย่างเท่าที่ต้องการ เช่น ช่องทางโซเชียลมีเดียที่ทุกคนเข้าถึง วิดีโอคอนเฟอเรนซ์ที่ทำให้การประชุมทางไกลเป็นเรื่องง่าย หรือ HR Tech ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาแทบทุกวัน สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือชั้นดี ที่ HR ควรศึกษาเพื่อใช้ประโยชน์ด้วย
  • ทำให้การเข้าถึงข้อมูล HR เป็นเรื่องง่าย:เป็นวิธีการจัดเก็บเอกสารสำคัญหรือเอกสารที่ใช้งานบ่อยไว้ด้วยกัน และเมื่อพนักงานคนใดต้องการก็สามารถส่งต่อได้ง่ายและพร้อมใช้งานทันที สิ่งนี้จะทำให้การสื่อสารของ HR ง่ายขึ้น
  • ทำให้เอกสาร HR อ่านง่าย: แน่นอนว่า HR จะต้องรู้คำศัพท์ต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมที่ทำงานอยู่ แต่บางครั้งศัพท์แสงเหล่านั้นทำให้พนักงาน (โดยเฉพาะพนักงานใหม่) สับสนหรือตีความผิดได้ ฉะนั้นเพื่อป้องกันข้อผิดพลาด HR จะต้องทำให้เอกสารต่าง ๆ อ่านง่ายที่สุด เข้าใจได้อย่างรวดเร็ว เพื่อทุกคนจะเข้าใจตรงกัน

ประโยชน์ของการสื่อสารที่ดีในองค์กร

ปิดท้ายด้วยประโยชน์ของการสื่อสารที่ดีสำหรับองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารภายในหรือภายนอก แบบทางการหรือไม่ทางการ ถ้าเรามีการวางแผนการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ก็จะนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กรในระยะยาว จากผลประโยชน์ดังนี้

  • ความเข้าใจผิดน้อยลง: การสื่อสารที่ชัดเจนจะทำให้ความเข้าใจผิดหายไป โดยเฉพาะการทำให้พนักงานบรรลุเป้าหมายขององค์กร โดยไม่ได้มองข้ามข้อมูลหรือสิ่งสำคัญ
  • วัฒนธรรมองค์กรดีต่อใจ: การสื่อสารที่ดีจะสร้างความสัมพันธ์ของพนักงานที่ดีตาม เพราะพวกเขาจะไว้ใจซึ่งกันและกัน
  • ไร้ซึ่งบรรยากาศคุกคาม: โดยเฉพาะการสื่อสารสองทางที่ทุกคนจะรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
  • แก้ปัญหาง่ายขึ้น: การสื่อสารจะช่วยให้เข้าใจปัญหาที่แท้จริง และเปลี่ยนความขัดแย้งให้กลายเป็นเรื่องสร้างสรรค์ได้
  • สร้างทีมสปิริต: ถ้าทุกคนเข้าใจตรงกัน ก็จะทำให้พนักงานมีน้ำใจ ความมุ่งมั่น และทำสิ่งนั้นให้ประสบความสำเร็จร่วมกันเป็นหมู่คณะ
  • เป้าหมายชัดเจน: พนักงานจะเข้าใจเป้าหมายขององค์กร และวางแผนการทำงานได้เป็นระบบมากขึ้น
  • สร้างทีมเวิร์ค: เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจกัน และการทำงานด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ความพึงพอใจของพนักงานมากขึ้น: การสื่อสารคือการรับรู้ถึงการมีอยู่ของพนักงาน ซึ่งจะทำให้พวกเขามีคุณค่าและทำงานออกมาอย่างเต็มที่มากขึ้น
  • ธุรกิจประสบความสำเร็จ: ทั้งหมดทั้งมวลนำมาซึ่งการลาออกของพนักงานที่น้อยลง พนักงานมีความสุข และส่งผลไปถึงการประสบความสำเร็จขององค์กร

บทสรุป

เพราะมนุษย์ทุกคนต้องติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน เพื่อการดำรงชีวิต พัฒนาสังคม และพัฒนาองค์กรให้มีความเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น มนุษย์จึงใช้ความพยายามอันยาวนานในการพัฒนาการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน เพื่อทำให้ผู้อื่นเข้าใจตน และให้ตนเข้าใจผู้อื่นมากขึ้น

เหมือนดั่งในโลกของการทำงานที่ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ต้องติดต่อสื่อสารกับพนักงานทุก ๆ แผนกในองค์กรเสมอ การเตรียมความพร้อมทักษะนี้จะช่วยให้องค์กรดำเนินต่อไปอย่างไม่มีสะดุด ไม่เกิดความเข้าใจผิด และนำมาซึ่งประสิทธิภาพขององค์กรต่อไป

HR จึงควรฝึกทักษะการสื่อสารของตัวเองตั้งแต่วันนี้ เพื่อสร้างการสื่อสารสองทาง ไม่สื่อสารตามลำดับขั้น และหาช่องทางการสื่อสารรูปแบบใหม่ที่ส่งตรงถึงพนักงานสั้นและเร็วที่สุดนั่นเอง

คุณก็เป็น Freelance HR ได้นะ!

SourcedOut แพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับ Freelance HR สรรหามืออาชีพ

ที่จะทำให้คุณทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา พร้อมการันตีรายได้เสริมสูง!

คลิกด้านล่างเพื่อสมัครเป็น Freelance HR ได้เลย!

คุณมีปัญหาหรือคำถามที่ต้องการคำตอบใช่หรือเปล่า?

หากคุณรู้สึกว่าได้รับเทคนิคดี ๆ จากบทความนี้และอยากได้รับความช่วยเหลือเพิ่มเติมอีก

สามารถตั้งคำถามได้ในชุมชนของเรา ! แล้วคุณจะได้รับคำตอบมืออาชีพจากผู้เชี่ยวชาญ

ที่มา

  • hrcenter
  • stou
  • stu
  • popticles
  • lib
  • insights.bountixp
  • hrtechnologist

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง