นักวิชาการแรงงานปฏิบัติการ Pantip

#สะพานส่งน้ำของโรมัน
.
ชาวโรมันได้ให้อะไรกับพวกเราบ้างจนถึงทุกวันนี้
ข้อเท็จจริงจำนวนมากยังคงค้างคาอยู่ในใจ
แต่มีรูปแบบวิศวกรรมอย่างหนึ่งที่ค่อนข้างยิ่งใหญ่
และเป็นตัวอย่างของการปฏิวัติทางวิศวกรรม คือ สะพานส่งน้ำโรมัน

ถ้าเดินทางไปทั่วยุโรปและเขตตะวันออกกลาง
จะสามารถพบเห็นตัวอย่างสะพานส่งน้ำ
บางแห่งยังสามารถใช้งานได้เป็นอย่างดี
น้าพุ Trevi Fountain ในโรม
ก็ยังคงได้รับน้ำจากสะพานส่งน้ำโบราณ
(แม้ว่าปัจจุบันจะใช้ปั้มน้ำแรงดันสูงแทน)
สะพานส่งน้ำตามที่คนทั่วไปคิดและเห็นภาพส่วนใหญ่
คือ สะพานหินขนาดใหญ่ มีส่วนโค้งไว้รับน้ำหนักในบางจุด
ใช้ประโยชน์ในการส่งน้ำในอดีต

สะพานส่งน้ำเป็นเครือข่ายของการทำงานภาคพื้นดิน
โดยท่อน้ำและโครงสร้างอื่น ๆ ถูกออกแบบ
ให้มีการนำน้ำมาจากแหล่งน้ำที่คัดเลือกไว้แล้ว
ไม่ใช่มีแค่เพียงก้อนอิฐก้อนหินในรูปสะพานอย่างที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้
เพราะสะพานส่งน้ำระยะไกลนั้นใช้หลักแรงโน้มถ่วง
หลักการเรียบง่ายแต่สร้างสรรค์

สะพานส่งน้ำวิธีการสร้างที่ง่ายที่สุด คือ การขุดพื้นดินขึ้นมาใช้งาน
บางครั้งก็ส่งน้ำวิ่งผ่านอุโมงค์ที่ก่อสร้างไว้ใต้ดิน
เหมือนระบบส่งน้ำประปาในยุคปัจจุบัน
.
สะพานส่งน้ำแห่งแรก

สะพานส่งน้ำแห่งแรกไม่ได้เริ่มต้นที่โรมันยุคโบราณ
มีหลายวัฒนธรรมโบราณที่มีอารยะธรรม
ต่างได้พัฒนาระบบวิศวกรรมแบบเดียวกัน

Crete ก็มีระบบส่งน้ำที่เรียบง่ายในยุค Minoan

อียิปต์ และจีน ทั้งสองชาติก็มี Quanats/Qanats ที่ส่งน้ำใต้ดิน

แม้แต่วัฒระบบคลองส่งน้ำแห่งแรก มีในยุคอาณาจักร Assyrians ในช่วงศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตศักราช
ต่อมา ในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตศักราช Sennacherib ราชันย์ Assyrian
ได้สร้างคลองขนาดยาว 920 ฟุต (280 เมตร )
บนก้อนหินขาว เพื่อนำน้ำมาใช้ในเมือง Nineveh ผ่านสะพานส่งน้ำ Jerwan
ซึ่งเป็นสะพานส่งน้ำขนาดใหญ่แห่งแรกเหนือพื้นดินนธรรม Aztec โบราณก็มีเทคโนโลยีดังกล่าว
ก่อนที่กรุงโรมจะมีสะพานส่งน้ำ
ชาวโรมันใช้แหล่งน้ำจากท้องถิ่น เช่น น้ำพุและลำธาร
หรือจากแหล่งน้ำใต้ดินที่เป็นบ่อน้ำส่วนตัวหรือบ่อน้ำของรัฐ
ในช่วงฤดูฝนก็จะมีการเก็บกักน้ำฝนที่ระบายจากหลังคา
ไว้ในขวด/อ่าง/หรือภาชนะเก็บน้ำเหมือนปัจจุบัน
แต่ชุมชนชาวโรมมีปัญหาในเรื่องน้ำเป็นอุปสรรค
ที่ขัดขวางความก้าวหน้าและการพัฒนาคุณภาพชีวิต

ในยุคต้นของจักรวรรดิ์โรม
สะพานส่งน้ำของโรมันได้ให้บริการน้ำประชากรกว่า 1 ล้านคน
เพื่อใช้สำหรับการอาบน้ำ น้ำพุ และสุขาภิบาล
ก่อนการสร้างสะพานส่งน้ำ
วิศวกรชาวโรมันจะค้นหาแหล่งน้ำดิบ
ที่มีคุณภาพเป็นการเบื้องต้นก่อน
ความสะอาด ความใส อัตราการไหล และรสชาติของน้ำ
และจะบันทึกตรวจสอบเงื่อนไขทางกายภาพ
จากคนท้องถิ่นที่ดื่มกินน้ำดังกล่าวเป็นการเบื้องต้นก่อน
เมื่อสรุปได้ว่าจะใช้แหล่งต้นน้ำที่ใดแล้ว
นักสำรวจจะสำรวจ/คำนวณหาเส้นทางที่เหมาะสม
และการไล่ระดับของการส่งน้ำ
เช่นเดียวกันขนาดท่อและความยาว

แหล่งน้ำพุตามธรรมชาติมักจะใช้กับสะพานส่งน้ำ
แต่มีบางแห่งที่ใช้อ่างเก็บน้ำเป็นแหล่งน้ำในการนี้
เช่น อ่างเก็บน้ำ 2 แห่งที่ยังใช้ในสเปน
ที่Emerita Augusta //goo.gl/XJNQm2

วิศวกรชาวโรมันใช้ Chorobates
เครื่องมือวัดระดับน้ำและความลาดเอียงของพื้นที่
ด้วยอุปกรณ์ที่ทำมาจากไม้เหมือนโต๊ะที่มีหลุมตรงกลาง
เพื่อใช้เป็นตัววัดระดับน้ำและความลาดเอียงของพื้นที่
โดยใช้ร่วมกับตัว Groma ที่ใช้ในการสำรวจวัดระดับเส้นทาง
สะพานส่งน้ำมักจะขุดลึกลงไปจากระดับพื้นดินราว 0.5-1 เมตร
ในระยะแรกมักจะปูด้วยก้อนหินสี่เหลี่ยมที่ตัดเป็นก้อน ๆ ปูไว้
ในยุคจักรวรรดิ์โรมันเริ่มใช้อิฐเผาที่เคลือบคอนกรีตไว้แทน
เฉพาะช่วงที่ต้องยกระดับการลาดเทจึงจะสร้างสะพาน

Vitruvius สถาปนิก/วิศวกรโรมันได้เสนอ Julius Caesazar ว่า
ความลาดชันของคลองไม่ควรน้อยกว่า 1/4,800
เพื่อป้องกันความเสียหายของโครงสร้าง
Vitruvius ชอบท่อน้ำดินเผามากกว่าท่อน้ำตะกั่ว
ชาวโรมันรู้ถึงอันตรายสารพิษจากตะกั่ว
แต่รู้ว่าในน้ำไหลตลอดเวลาจะมีอันตรายน้อยกว่า
.
หลังจากการก่อสร้างแล้วต้องมีการบำรุงรักษาและซ่อมแซม
กรุงโรมต้องจ้างคนงานกว่า 700 คนสำหรับงานนี้โดยเฉพาะ
ด้วยการออกแบบช่องทางการบำรุงรักษาและซ่อมแซมไว้ในครั้งแรกเลย
ทางส่งน้ำใต้ดินจะสามารถเข้าไปซ่อมแซมได้ด้วยทางเดินและบ่อพักน้ำ
ทำให้วิศวกรสามารถระบายน้ำออกไปจากส่วนที่เสียหายได้เป็นการชั่วคราว
เพื่อเข้าไปซ่อมแซมและบำรุงรักษาให้เหมือนเดิม

ความยาวของสะพานส่งน้ำ(ประปา)รวมทุกเส้นในกรุงโรม
ประมาณการว่า 490-500 ไมล์อย่างต่ำ
มีระยะทางราว 29 ไมล์ (47 กิโลเมตร)
ที่อยู่เหนือระดับพื้นดินเพื่อการส่งน้ำ
ประมาณการว่าส่งน้ำให้พลเมืองในกรุงโรม 1 ล้านคน
ได้ถึงวันละ 1 ล้านลูกบาศก์เมตร (300 ล้านแกลลอน)
มีประสิทธิภาพเป็น 1.26 เท่าของระบบประปา
ใน Bangalore ที่มีประชากร 6 ล้านคน

ระบบสะพานส่งน้ำโรมันที่ยาวที่สุด
เชื่อว่าอยู่ใน Constantinople (ตุรกีในปัจจุบัน)
มีความยาวเป็น 2.5 เท่าของที่พบใน Carthage และ Cologne
นักวิชาการหลายคนเชื่อว่าสะพานส่งน้ำคือ
ความสำเร็จที่โดดเด่นมากในสังคมก่อนยุคอุตสาหกรรม
หลังการล่มสลายของจักรวรรดิ์โรมัน
สะพานส่งน้ำมีทั้งที่ถูกทำลายลงด้วยความจงใจ
หรือพังทะลายเพราะธรรมชาติ/ขาดการดูแลซ่อมแซม

ทำให้ประชากรในกรุงโรงลดลงจาก 1 ล้านคน
เหลือเพียง 1-2 แสนคนในช่วงคริสตศักราช 537
นักประวัติศาสตร์และนักเขียนชาวสเปน
Pedro Tafur //goo.gl/Y9zzAW
ที่ได้เดินทางไปเยี่ยมกรุงโรมในปี 1436
ได้วิเคราะห์และเข้าใจผิดเกี่ยวกับสะพานส่งน้ำของโรมันว่า

“ ใจกลางเมืองมีแม่น้ำสายหนึ่ง
ที่ชาวโรมันทำมันขึ้นมาจากแรงงานจำนวนมากและผ่ากลางเมือง
และมันคือแม่น้ำ Tiber ที่พวกเขาทำเป็นที่พักน้ำจากแม่น้ำ
มีคำกล่าวว่า เป็นการชักน้ำเข้าเมือง
และเป็นหนึ่งในลำคลองหลายสาย
ที่เป็นทางเข้าออกของน้ำในเมือง
น้ำทั้งสองสายนี้ใช้สำหรับให้ม้าดื่มน้ำ
และการใช้งานอย่างอื่น ๆ สำหรับพลเมืองที่ใกล้กับแหล่งน้ำ
และใครก็ตามที่หล่นลงไปบางจุดของแม่น้ำอาจจะจมน้ำตาย ”

นี่คือบทพิสูจน์ที่แท้จริงของวิศวกรโรมัน
แม้ว่าบางส่วนระบบประปายังมีการใช้งานถึง 2,000 ปีต่อมา
มันได้กลายเป็นโครงสร้างที่โดดเด่นในตัวของมันเอง
และระบบประปาที่ทันสมัยส่วนใหญ่ในปัจจุบัน
ก็พัฒนาลอกเลียนแบบตามโรมัน

.
เรียบเรียง/ที่มา

.
//goo.gl/kNj7VT
//goo.gl/3JSHW2
เครดิต พี่ ravio maครับ
//pantip.com/topic/35888319
_________________________
#เพจภาพและเรื่องราวต่างๆที่น่าสนใจ

 

Dec 2, 2022 ไม่เอื้อแน่นะ! “อาคม” ยืนยันเก็บภาษีขายหุ้นไม่กระทบภาพรวมตลาด รายย่อย ไม่เอื้อนักลงทุนรายใหญ่
.
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่าการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายหลักทรัพย์ (FTT) ตามที่คณะรัฐมนตรี มีมติอนุมัติหลักการยกเลิกการยกเว้นภาษีธุรกิจ เมื่อวันที่ 29 พ.ย. ที่ผ่านมา เฉพาะสำหรับการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อเพิ่มความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีและลดความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ในตลาดหลักทรัพย์ฯ และการออมเพื่อเกษียณอายุ โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ของเดือนที่ 4 ถัดจากเดือนที่พระราชกฤษฎีกาประกาศในราชกิจจานุเบกษา (Grace Period ประมาณ 90 วัน)
.
นายลวรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่ากระทรวงการคลังโดยกรมสรรพากรตระหนักถึงความสำคัญของความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษี และต้องการลดความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้ ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะ และกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ยกเลิกการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการยกเว้นการจัดเก็บมาเป็นเวลากว่า 30 ปี โดยแบ่งการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะเป็น 2 ช่วง ในอัตรา ดังนี้
- ช่วงที่ 1 จัดเก็บในอัตราร้อยละ 0.05 (ร้อยละ 0.055 เมื่อรวมกับภาษีท้องถิ่น) ตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
- ช่วงที่ 2 จัดเก็บในอัตราร้อยละ 0.1 (ร้อยละ 0.11 เมื่อรวมกับภาษีท้องถิ่น) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป
.
ทั้งนี้ ยังคงการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้แก่
1. ผู้ดูแลสภาพคล่อง (Market Maker) ที่ได้ขึ้นทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ฯ เฉพาะการขายหลักทรัพย์ที่บุคคลนั้นได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ดูแลสภาพคล่องของหลักทรัพย์นั้น
2. สำนักงานประกันสังคม
3. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
4. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
5. กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
6. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
7. กองทุนการออมแห่งชาติ
8. กองทุนรวมที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมแก่สำนักงานประกันสังคมหรือกองทุนตามข้อ 3 - 7 เท่านั้น
.
ในการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะกรณีนี้กฎหมายได้กำหนดให้สมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ฯ (Broker) ที่เป็นตัวแทนของผู้ขายมีหน้าที่หักภาษีธุรกิจเฉพาะจากเงินที่ขายและยื่นแบบแสดงรายการภาษี และชำระภาษีในนามตนเองแทนผู้ขาย โดยผู้ขายไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีอีก
.
โดยการยกเลิกการยกเว้นภาษีดังกล่าวอาจส่งผลให้ต้นทุนการทำธุรกรรมในตลาดหลักทรัพย์ของไทยสูงขึ้นจากร้อยละ 0.17 เป็นร้อยละ 0.22 แต่ยังอยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันได้ โดยต่ำกว่าของมาเลเซียซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.29 และของฮ่องกงซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.38 แต่อาจสูงกว่าของสิงคโปร์ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.20 เล็กน้อย
.
ทั้งนี้ในปีแรกของการจัดเก็บภาษีที่มีการลดอัตราภาษีเหลือ ร้อยละ 0.055 ต้นทุนดังกล่าวจะอยู่ที่ร้อยละ 0.195 ซึ่งใกล้เคียงกับของสิงคโปร์ อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บภาษีดังกล่าวนั้น จะไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของตลาดหลักทรัพย์ฯ ในระยะยาว
.
จากที่ได้มีการนำเสนอข่าวการเก็บภาษีหุ้น ว่าจะมีการยกเว้นภาษีให้นักลงทุนรายใหญ่ เป็นการนำเสนอข่าวที่คลาดเคลื่อน ข้อเท็จจริง คือ มิได้ยกเว้นภาษีให้แก่นักลงทุนรายใหญ่ แต่ยกเว้นภาษีให้แก่ผู้ดูแลสภาพคล่อง (Market Maker) กับกองทุนบำนาญ โดย Market Maker คือ บริษัทหลักทรัพย์ (Broker) ที่ขึ้นทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ฯ มีหน้าที่ทําการเสนอซื้อขายหลักทรัพย์ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ดูแลสภาพคล่องอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์การลงทุนใหม่ ๆ ในตลาดหลักทรัพย์ฯ และ Market Maker ไม่ใช่นักลงทุนรายใหญ่ตามที่ข่าวได้นำเสนอ ซึ่งการยกเว้นดังกล่าวเพื่อไม่ให้กระทบการพัฒนาผลิตภัณฑ์การลงทุนใหม่ ๆ ในตลาดหลักทรัพย์ฯ เช่นเดียวกับต่างประเทศ อาทิ อังกฤษ ฮ่องกง ฝรั่งเศส และอิตาลี
.
สำหรับนักลงทุนรายใหญ่ ไม่ว่าบุคคลธรรมดา นักลงทุนสถาบันที่ไม่ใช่กองทุนบำนาญ หรือบริษัทหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เอง (ไม่ใช่บัญชี Market Maker) จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีแต่อย่างใด
.
อ่านเพิ่มเติม คลิก //bit.ly/3VNNZOG
.
ติดตาม BTimes ได้ทุกช่องทาง ดังนี้
เฟซบุ๊ก: //m.facebook.com/btimesch3/
ยูทูป: //m.youtube.com/c/MisterBan
ทวิตเตอร์: //mobile.twitter.com/btimes_ch3
เว็บไซต์: //btimes.biz
พ็อดคาสท์: //btimes.podbean.com/
.
#ภาษีขายหุ้น #หุ้น #ภาษีหุ้น #คลัง #BTimes

 

ทำไมถึงทำกับแมงเม่าขนาดนี้! ซื้อหุ้นก็ติดสารพัดดอย ไม่ขายก็เงินจม พอจะขายแมงเม่าต้องจ่ายภาษีหุ้น แต่ทำไมรายใหญ่ได้ยกเว้น?
.
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา กระแสมติคณะรัฐมนตรี ที่อนุมัติกฎหมายเก็บภาษีขายหุ้นเป็นที่ฮือฮาและเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ไม่น้อย เพราะสร้างเซอร์ไพรส์ให้กับบรรดานักลงทุน โดยเฉพาะนักลงทุนรายย่อยในตลาดบ้านเรา
.
ซึ่งเป็นที่แน่นอนแล้วว่าไทยจะมีการเก็บภาษีขายหุ้นจากนักลงทุน โดยการเก็บภาษีขายหุ้น หรือ Financial Transaction Tax ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบให้กระทรวงการคลังดำเนินการจัดเก็บนั้น รัฐประเมินแล้วว่าในปีแรกจะเก็บได้ประมาณ 8,000 ล้านบาท (จากการจัดเก็บที่อัตรา 0.055%) และ ในปีต่อๆ ไปคาดว่าจะจัดเก็บได้ประมาณปีละ 16,000 ล้านบาท (จากการจัดเก็บที่อัตรา 0.11%)
.
<<ทำไมถึงต้องเก็บภาษีขายหุ้น>>
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (2 ธ.ค.)ได้มีการชี้แจงเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีขายหุ้นโดยละเอียด ซึ่งนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ครม. ได้เห็นชอบให้มีการยกเลิกการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อเพิ่มความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีและลดความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ในตลาดหลักทรัพย์ฯ และการออมเพื่อเกษียณอายุ
.
<<การจัดเก็บ เริ่มเก็บตั้งแต่บาทแรก>>
การเก็บภาษีขายหุ้นจะเก็บจากธุรกรรมการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ นับตั้งแต่บาทแรก ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เคยให้สัมภาษณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าเพียงแต่ช่วงแรกจนถึงสิ้นปี 2566 จะจัดเก็บที่อัตรา 0.055% เท่ากับว่า หากนักลงทุนขายหุ้น 100 บาท ก็จะเสียภาษี 0.055 บาท หรือขายหุ้น 1,000 บาท ก็จะเสียภาษี 0.55 บาท หรือขายหุ้น 10,000 บาท ก็จะเสียภาษี 5.5 บาท หรือขายหุ้น 100,000 บาท ก็จะเสียภาษี 55 บาท หรือขายหุ้น 1 ล้านบาท ก็จะเสียภาษี 550 บาทนั่นเอง ส่วนปีต่อๆ ไปก็จะจัดเก็บที่ "ล้านละ 1,000 บาท"
.
<<จะเริ่มเก็บเมื่อไร??>>
ตามร่างพระราชกฤษฎีกาตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะและกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ ฉบับที่… พ.ศ. …. ที่กระทรวงการคลังเสนอ มีการกำหนดช่วงระยะเวลาผ่อนผัน (Grace period) เพื่อให้เวลาบริษัทหลักทรัพย์ หรือโบรกเกอร์ต่างๆ ในการทำระบบข้อมูล และเตรียมพร้อมเรื่องการนำส่งภาษีให้กับกรมสรรพากรเป็นเวลา 90 วัน นับตั้งแต่กฎหมายมีผลบังคับใช้ หรือถ้านับก็จะเริ่มเก็บในวันที่ 1 ของเดือนที่ 4 หลังจากที่กฎหมายมีผลบังคับใช้นั่นเอง
.
ดังนั้น หากกฎหมายมีผลบังคับใช้ได้ อย่างเร็วที่สุดคือตั้งแต่เดือน ธ.ค.2565 นี้ การเก็บภาษีขายหุ้นก็จะเริ่มได้ในเดือน มี.ค.2566 ลักษณะการเก็บภาษีประเภทนี้จะจัดเก็บเหมือนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่ผู้จัดเก็บจะต้องนำส่งกรมสรรพากรทุกเดือน ดังนั้น จึงคาดว่าน่าจะเริ่มได้ในเดือน เม.ย.2566 หรือตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปี 2566 เป็นต้นไป
.
<<คลังแจงรายละเอียดชัดๆ>>
นายลวรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพากร ชี้แจงว่า ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะ และกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ยกเลิกการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการยกเว้นการจัดเก็บมาเป็นเวลากว่า 30 ปี โดยแบ่งการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะเป็น 2 ช่วง ในอัตรา ดังนี้
* ช่วงที่ 1 จัดเก็บในอัตราร้อยละ 0.05 (ร้อยละ 0.055 เมื่อรวมกับภาษีท้องถิ่น) ตั้งแต่วันที่ พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
* ช่วงที่ 2 จัดเก็บในอัตราร้อยละ 0.1 (ร้อยละ 0.11 เมื่อรวมกับภาษีท้องถิ่น) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป
.
ทั้งนี้ ยังคงการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้แก่
1. ผู้ดูแลสภาพคล่อง (Market Maker) ที่ได้ขึ้นทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ฯ เฉพาะการขายหลักทรัพย์ที่บุคคลนั้นได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ดูแลสภาพคล่องของหลักทรัพย์นั้น
2. สำนักงานประกันสังคม
3. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
4. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
5. กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
6. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
7. กองทุนการออมแห่งชาติ
8. กองทุนรวมที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมแก่สำนักงานประกันสังคมหรือกองทุนตามข้อ 3–7 เท่านั้น
.
ขณะที่ในการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะกรณีนี้ กฎหมายได้กำหนดให้สมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ฯ (Broker) ที่เป็นตัวแทนของผู้ขายมีหน้าที่หักภาษีธุรกิจเฉพาะจากเงินที่ขายและยื่นแบบแสดงรายการภาษี และชำระภาษีในนามตนเองแทนผู้ขาย โดยผู้ขายไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีอีกให้ยุ่งยาก
.
<<เก็บภาษีขายหุ้นจะยิ่งทำให้สภาพคล่องในตลาดหายไปหรือไม่?>>
ก่อนหน้านี้นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) และกรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพได้เคยส่งจดหมาย เปิดผนึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เบรกการจัดเก็บภาษีขายหุ้นออกไปในช่วงที่ตลาดผันผวนปั่นป่วน เพราะมองว่าจะส่งผลกระทบต่อนักลงทุน
.
ส่วนนายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท หลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด และอดีตประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) ก็ได้ออกมาแสดงความเห็นผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า ไม่เห็นด้วยเพราะจะทำให้สภาพคล่องในตลาดหลักทรัพย์ฯ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยรวมต่อนักลงทุนทั่วไป ทำให้การซื้อขายหลักทรัพย์มีความคล่องตัวน้อยลง ส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังภาคธุรกิจ ทำให้การระดมทุนในตลาดหุ้นทำได้ยากขึ้น และทำให้ต้นทุนทางการเงินของการระดมทุนสูงขึ้น
.
<<ยอมรับต้นทุนการทำธุรกรรมเพิ่มขึ้น>>
อธิบดีกรมสรรพากร ยอมรับว่าการยกเลิกการยกเว้นภาษีดังกล่าวอาจส่งผลให้ต้นทุนการทำธุรกรรมในตลาดหลักทรัพย์ ของไทยสูงขึ้นจากร้อยละ 0.17 เป็นร้อยละ 0.22 แต่ยังอยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันได้ โดยต่ำกว่าของมาเลเซีย ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.29 และของฮ่องกงซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.38 แต่อาจสูงกว่าของสิงคโปร์ ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.20 เล็กน้อย ซึ่งในปีแรกของการจัดเก็บภาษีที่มีการลดอัตราภาษีเหลือร้อยละ 0.055 ต้นทุนดังกล่าวจะอยู่ที่ร้อยละ 0.195 ซึ่งใกล้เคียงกับของสิงคโปร์ แค่คาดว่าการจัดเก็บภาษีดังกล่าวนั้นจะไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของตลาดหลักทรัพย์ฯ ในระยะยาว

ส่วนเรื่องข้อกังวลว่าหลังจากเก็บภาษีขายหุ้นแล้ว จะทำให้ไทยไม่สามารถเป็นศูนย์กลางการเงินในภูมิภาคได้นั้น หากไปดูประเทศที่เป็นศูนย์ทางการเงินในปัจจุบัน ต่างก็จัดเก็บภาษีดังกล่าวเช่นกัน โดยฮ่องกง จัดเก็บในอัตรา 0.13% เกาหลีใต้ จัดเก็บที่ 0.23% และยังจัดเก็บภาษีจากกำไรการซื้อขายหุ้น (Capital gain) ด้วย
.
“คลังมั่นใจว่าวันนี้เป็นเวลาที่เหมาะสมแล้ว และนับเป็นความกล้าหาญของรัฐบาล และมั่นใจว่าตลาดทุนไทยมีความเข้มแข็ง พิจารณาจากวันที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับหลักการเรื่องนี้ ดัชนี SET Index ยังยืนบวกอยู่ได้สะท้อนว่านักลงทุนไม่ได้เพนิกมาก ดังนั้นการจัดเก็บภาษี FTT ควรจะนำกลับมาบังคับใช้ให้เป็นสากล”
.
<<คลังยืนยัน ไม่ได้เอื้อรายใหญ่>>
ก่อนหน้าวันแถลงข่าวต่างก็มีการวิพากษ์วิจารณ์กันว่า จะมีการยกเว้นภาษีขายหุ้นให้กับนักลงทุนรายใหญ่เพราะมีส่วนสำคัญในการหนุนสภาพคล่องให้ตลาดนั้น อธิบดีกรมสรรพากร ได้ปฏิเสธว่า เป็นการนำเสนอข่าวที่คลาดเคลื่อน ข้อเท็จจริงคือมิได้ยกเว้นภาษีให้แก่นักลงทุนรายใหญ่ แต่ยกเว้นภาษีให้แก่ผู้ดูแลสภาพคล่อง (Market Maker) กับกองทุนบำนาญ โดย Market Maker คือ บริษัทหลักทรัพย์ (Broker) ที่ขึ้นทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ฯ มีหน้าที่ทําการเสนอซื้อขายหลักทรัพย์ ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ดูแลสภาพคล่องอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์การลงทุนใหม่ๆ ในตลาดหลักทรัพย์ฯ และ Market Maker ไม่ใช่นักลงทุนรายใหญ่ตามที่ข่าวได้นำเสนอ
.
“วันนี้บัญชีซื้อขายหุ้นไทยมีประมาณ 5 ล้านบัญชี แอ็กทีฟอยู่ราว 1 ล้านบัญชี หรือประมาณ 11% ราว 1 แสนคนที่เทรดหุ้นอยู่ 95% ส่วนหุ้นอีก 5% เทรดอยู่ครอบคลุมคนอีก 89% เพราะฉะนั้นกระทบต่อนักลงทุนไม่มาก แต่กลุ่มคนเหล่านี้อาจจะเสียงดังหน่อยจึงเกิดประเด็นขึ้นมาบ้าง แต่หากได้ทำความเข้าใจกันแล้ว ผู้เสียภาษีก็น่าจะมีความเข้าใจที่ถูกต้องมากขึ้น" นายลวรณ กล่าว
.
หากมองในแง่ดีก็คือ ภาษีขายหุ้นจะช่วยลดความผันผวนของตลาดได้ และทำให้นักลงทุนระยะยาวมีโอกาสประสบความสำเร็จได้ดีขึ้น จากการเก็งกำไรจะลดลง เพราะต้นทุนของนักลงทุนจะเพิ่มขึ้น ซึ่งมูลค่าในส่วนของนักลงทุนเก็งกำไรจะลดลงอย่างน้อย 10–15% แน่นอนว่าย่อมมีผลต่อมูลค่าการซื้อในอนาคตที่มีโอกาสจะลดลงตามมา ความคึกคักก็น้อยลง ดังนั้นบรรดานักลงทุนก็ต้องดูให้ยาวๆ ว่าจะส่งผลกระทบต่อตลาดมากน้อยแค่ไหน
.
อ่านเพิ่มเติม คลิก //bit.ly/3Fjjpa6
.
ติดตาม BTimes ได้ทุกช่องทาง ดังนี้
เฟซบุ๊ก: //m.facebook.com/btimesch3/
ยูทูป: //m.youtube.com/c/MisterBan
ทวิตเตอร์: //mobile.twitter.com/btimes_ch3
เว็บไซต์: //btimes.biz
พ็อดคาสท์: //btimes.podbean.com/
.
#ภาษีหุ้น #ภาษี #ลงทุน #ซื้อขาย #หุ้น #เล่นหุ้น #การคลัง #การเงิน #ภาษีขายหุ้น #เศรษฐกิจ #ประเทศไทย #BTimes

 

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง