การฟังอย่างตั้งใจ active listening

 ทักษะการฟังเชิงรุกสำหรับโค้ช (Active Listening Skill for Coach) เป็นทักษะที่สำคัญมาก เพราะในกระบวนการโค้ชนั้น โค้ชจะใช้เวลาในการฟัง 70% - 80% (อีก 20 % สำหรับการถาม,feedback ฯ) การฟังแบบโค้ชจะแตกต่างจากการฟังแบบทั่วไป การฟังแบบทั่วไปจะได้ยินสิ่งที่แสดงออกมา สิ่งที่เขาต้องการให้รู้ในเนื้อหา (Content)

แต่การฟังแบบโค้ช (Active Listening Skill)  ต้องฟังให้ลึกถึงความรู้สึก ความเชื่อ ความคิด สามารถจับประเด็นและได้ยินในสิ่งที่ผู้รับการโค้ชไม่ได้พูดและทวนออกมาได้ (Context) เหมือนกับเป็นกระจกสะท้อนผู้รับการโค้ชได้  

 .

ทักษะการฟังอย่างลึกซึ้ง นั้นต้องฝึกสติ (Mindfulness) เพื่ออยู่กับโค้ชชี่ในทุกขณะปัจจุบัน  การฝึกสติ ต้องฝึกฝนและทำอย่างต่อเนื่อง เพราะ เวลาเราเป็นโค้ช บางครั้งเราจะเผลอ เข้าไปอยู่กับเรื่องราวของโค้ชชี่จนมีอารมณ์ร่วมไปด้วย หรือบางทีเผลอคิดว่าจะถามอะไรต่อไปดี หรือไม่อยู่กับโค้ชชี่ ณ ขณะนั้น เพราะการฟังอย่างลึกซึ้งนั้น เราไม่ได้ฟังแค่เสียงของโค้ชชี่เท่านั้น แต่เรายังฟังภาษาร่างกาย และเสียงที่ไม่ได้พูดอีกด้วย

  (หมายเหตุ : ท่านสามารถอ่านบทความด้านการโค้ชและพี่เลี้ยงอื่นๆได้ที่ www.HCDcoaching.com ที่เป็นเวปไซต์แบ่งปันประสบการณ์ ความรู้ด้านการโค้ชและพี่เลี้ยงโดยตรงของอ.ศศิมา สุขสว่างค่ะ)

ทักษะการฟังเชิงรุก (Active Listening Skill) จึงเป็นทักษะที่มีความสำคัญมากๆพอๆกับทักษะการตั้งคำถามทรงพลัง (Powerful Question) เพราะคำถามที่ดีมาจากการฟังที่มีคุณภาพ  

เราสามารถแบ่งระดับของการฟังได้ เป็น 5 ระดับดังนี้ 

ระดับ 1 ไม่สนใจฟัง (Non-Listening) 

ผู้พูดจะพูดอะไรก็แล้วแต่ คนตรงหน้าไม่สนใจฟัง หรือฟังหูซ้าย ทะลุหูขวา  ยิ่งเวลานี้ที่หลายคนใช้สื่อโซเชียลมีเดียเยอะ แทบจะปิดตัวเองลงไปอยู่บนหน้าจอเลย  ทั้งๆที่นั่งคุยกันอยู่เป็นกลุ่ม หรือในการประชุมคนพูดๆก็พูดไป คนฟังพอไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวข้องคนฟังก็สไลด์หน้าจอไป ไม่มีการฟังเกิดขึ้น หมือนคนพูด พูดอยู่คนเดียวหน้ากระจกนั่นเอง

ระดับ 2 แกล้งฟัง (Pseudo listening)

เป็นการทำกริยาท่าทางเหมือนฟัง มีตอบรับ ค่ะ อ้อ พยักหน้า แต่พอให้ทบทวนว่า ได้ยินอะไรบ้าง กลับตอบไม่ได้เพราะไม่ได้ฟังจริงๆ 

ระดับ 3 เลือกฟัง (Defensive Listening)

เป็นการฟังเฉพาะในสิ่งที่ตัวเองสนใจ ใคร่รู้  เรื่องที่ตนเองคิดว่ามีประโยชน์ เรื่องใดไม่สนใจ ไม่ใช่เรื่องของตัวเอง ก็ไม่ใส่ใจ  

ระดับ 4 ตั้งใจฟัง (Appreciative Listening)

เป็นการฟังที่ดีขึ้นมาอย่างมาก รับรู้รับฟัง เรื่องราวเนื้อหาของคนตรงหน้า มีการตอบสนองทางคำพูด หรือตอบรับคำว่า ได้เข้าใจและรับรู้เรื่องราวต่างๆ ฟังเก็บข้อมูลได้ครบเนื้อหาทุกสิ่งอย่าง 

ระดับ 5 ฟังแบบเข้าอกเข้าใจ (Listening with Empathy)

เป็นการฟังแบบเข้าใจองค์รวมทั้งเนื้อหา อารมณ์ ความรู้สึก ความคิด  โดยผู้ฟัง ฟังในกรอบของผู้พูด โดยไม่ใช่ความเป็นตัวตนของตัวเองไปตัดสินหรือประเมินใดๆ เป็นการฟังด้วยหัวใจ (listen with heart) ฟังอย่างเข้าใจในตัวตนของผู้พูดจริงๆ  การฟังระดับนี้นอกจากผู้ฟังจะสามารถเก็บข้อมูลได้ครบถ้วนแล้ว ยังสามารถสะท้อนความรู้สึก ความคิด หรืออารมณ์ของผู้พูดในขณะที่ผู้พูดพูดออกมา แต่ไม่รู้ตัวว่าได้แสดงอารมณ์ หรือความรู้สึกอะไรออกมาบ้าง  

การฟังในระดับ 1-4 ผู้ฟัง ยังฟังอยู่ในกรอบของตัวเองอยู่ - กล่าวคือ ยังมีอารมณ์ ความคิด ความรู้สึกของคนฟังไปเป็นกรอบในการฟังผู้พูดอยู่ 

แต่การฟังระดับ 5 นั้น ผู้ฟังๆในกรอบของผู้พูดและละทิ้งตัวตนของผู้ฟังเอง ไม่ตัดสิน   ซึ่งการฟังระดับ 5 นั้น หากฝึกการฟังอย่างใส่ใจบ่อยๆ ฝึกสติบ่อย สามารถทำได้อย่างแน่นอนค่ะ

ตัวอย่าง

ปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กรในปัจจุบันอย่างหนึ่ง คือ หัวหน้าไม่ฟังลูกน้อง  เพื่อนร่วมงานไม่ฟังกัน และกัน  หรือฟังแล้วนำไปตีความหรือสื่อสารกันผิดๆ  เป็นต้น เช่น

ลูกน้อง : เนี่ยงานเยอะมากเลย จะทำไหวได้อย่างไร

หัวหน้าฟังแล้ว อารมณ์ขึ้น : "ถ้าทำไม่ไหว ก็ลาออกไป" หรือ "ถ้าทำไม่ไหว เดี๋ยวจะหาคนทำไหวมาทำ" ประชดไปอีก

ถ้าหัวหน้าฝึกทักษะการโค้ชมาแล้ว กำลังใช้ทักษะการฟังอย่างโค้ช ด้วยการฟังอย่างลึกซึ้ง ตัดอารมณ์ของตัวเองและอารมณ์ลูกน้องออก จะเห็นว่า" ลูกน้องมีความกังวลในปริมาณงานที่เยอะมาก  แล้วกลัวว่าจะทำไม่เสร็จทันตามเวลาที่กำหนด อาจจะทำให้โดยลงโทษหรือเกิดปัญหากับแผนก"

 สิ่งที่หัวหน้าอาจจะสะท้อนกลับไป คือ " ปัญหาที่เกิดขึ้น เราจะร่วมกันแก้ไขได้อย่างไรบ้าง "  เป็นต้น

 เก๋มีคลิบนึงที่อยากให้ดูกันค่ะ เป็นคลิบที่เก๋มักจะเอาไปประกอบการอบรมเรื่องทักษะการฟังเชิงรุกสำหรับโค้ช (Active Listening Skill for Coach) ค่ะ  กดที่รูป เพื่อดูคลิป 

 //www.youtube.com/watch?v=oD0LwD39_XM

การฟังที่ดีมีประโยชน์อย่างไร

- สร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันระหว่าง คนพูดและคนฟัง ลดความขัดแย้ง ปัญหาในการทำงาน

- ฟังเพื่อเข้าใจ และสามารถสะท้อนมุมมองให้กับโค้ชชี่เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได่

- ได้ช่วยเหลือคนอื่นจากการรับฟัง  บางคนแค่มีคนฟังสักคน เขาก็มีความสุขแล้ว

ฯลฯ

การโค้ชเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งในการบริหารจัดการที่เก๋แนะนำให้เรียนรู้และนำมาใช้กับตัวเอง และสำหรับผู้บริหารในระดับต่างๆ การโค้ชนำมาใช้พัฒนา บริหารจัดการบุคคลากรในยุคนี้ได้เป็นอย่างดีค่ะ  ลองฝึกทักษะการฟังแบบโค้ชนะคะ ผู้นำที่เก่งๆที่เก๋ได้สัมผัสมา ส่วนใหญ่ฟังเก่งกันทั้งนั้นค่ะ ฟังแล้วนำไปคิดต่อ สร้างสรรค์พัฒนางาน พัฒนาคน ต่อยอดให้องค์กรเติบโตได้อย่างดีค่ะ

ลองไปฝึกฟังนะคะ แล้วคุณจะรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงค่ะ เก๋ หวังว่า บทความนี้ "ทักษะการฟังเชิงรุกสำหรับโค้ช (Active Listening Skill for Coach) " จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจนะคะ 

หมายเหตุ : ท่านสามารถอ่านบทความด้านการโค้ชและพี่เลี้ยงอื่นๆได้ที่

www.HCDcoaching.com

ที่เป็นเวปไซต์แบ่งปันประสบการณ์ ความรู้ด้านการโค้ชและพี่เลี้ยงโดยตรงของอ.ศศิมา สุขสว่างค่ะ

 ดูบรรยาการสัมมนา หลักสูตร "ผู้นำในบทบาทของโค้ชและพี่เลี้ยงเพื่อประสิทธิภาพการทำงาน" วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง    กดที่นี่  

.....................................................

ศศิมา สุขสว่าง จบการศึกษาปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์จาก Dresden University of Technology (//tu-dresden.de) ประเทศเยอรมนี  ทำงานด้าน  Research & Development Engineer มาโดยตลอด และเป็นผู้ก่อตั้งและบริหารศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ขององค์กรอิสระแห่งหนึ่ง  ได้รับการอบรมด้านโค้ชทั้ง Mindfulness Coaching, Life Coach , Talent Coach และ NLP Coaching จากสถาบันสอนการโค้ชที่ได้รับการรับรองระดับสากล ปัจจุบันศศิมาเป็น วิทยากร ที่ปรึกษา และ Innovation Coach ที่มีความสุขและมุ่งมั่นที่แบ่งปันเรื่องพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างคุณค่าให้ผู้คน โดยยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)

...........................................

ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่

ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)

E-mail :

Website : www.sasimasuk.com

line ID : sasimasuk.com 

Facebook : //www.facebook.com/CreativetoInnovation

Tel. : 081-560-9994 (โทรกลับเฉพาะเบอร์มือถือนะคะ)

3A ของ Active Listening มีอะไรบ้าง

ทัศนคติ (Attitude) ... .
ความสนใจ (Attention) ... .
การปรับตัว (Adjustment).

การฟังเชิงรุก มีอะไรบ้าง

1. หาข้อมูลของคนที่จะคุยด้วยให้ได้มากที่สุด ... .
2. ฟังเพื่อทำความเข้าใจ ... .
3. มีความรู้พื้นฐานรอบด้าน ... .
4. ใช้เทคนิคทวนคำพูด (Placement) ... .
5. ใช้เทคนิคแจกแจงให้กระจ่าง (Clarify) ... .
6. ตั้งคำถามที่ถูกต้อง ... .
7. ทำความเข้าอกเข้าใจคนพูดให้ได้มากที่สุด ... .
8. มีเป้าหมายว่าอยากจะรู้อะไรจากคนพูด.

การฟังแบบแอคทีฟคืออะไร?

Active Listening คือ การมีสติตลอดเวลาที่ฟัง ไม่เพียงรู้ว่าข้อความที่ได้ยินคืออะไร แต่ยังรวมไปถึงการเข้าใจประเด็นของสิ่งที่ได้ยินอีกด้วย หลักการเบื้องต้น คือ การมีสมาธิ กับ สติ ไม่ถูกสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศรอบตัวทำให้ไขว้เขว ไม่คิดฟุ้งหรือตอบโต้สิ่งที่ได้ยิน

ข้อใดแสดงถึงการฟังที่มีประสิทธิภาพ (active listening)

การฟังแบบ Active Listening คือการฟังโดยทำความเข้าใจสิ่งที่อีกฝ่ายต้องการนำเสนอออกมาจริงๆ ประกอบไปด้วยหลัก 3A. Attitude (ทัศนคติ) การยอมเปิดใจรับฟังโดยปราศจากอคติ เพราะจะทำให้สามารถรับฟังเรื่องราวทั้งหมดจนจบได้อย่างเข้าใจจริงๆ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง