แพ้ น้ำมัน ยู คา ลิ ป ตั ส

น้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาติ ช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนหลับกันยายน 24, 2018

น้ำมันยูคาลิปตัสและทีทรีออยล์ กำจัดเชื้อโรคร้ายด้วยธรรมชาติกันยายน 26, 2018

Published by activpolar at กันยายน 24, 2018

Categories

  • ข้อมูลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง

Tags

น้ำมันยูคาลิปตัสผสมน้ำมันทีทรีจากธรรมชาติ มีการนำมาใช้ในทางการแพทย์มายาวนานเนื่องจากช่วยบรรเทาอาการคัดจมูก แต่ยังมีสรรพคุณอื่นๆที่น่าสนใจโดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาภูมิแพ้และหอบหืดเป็นประจำน้ำมันยูคาลิปตัสผสมน้ำมันทีทรีจากธรรมชาติ ช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้ หอบหืด

     ► น้ำมันยูคาลิปตัส เป็นนน้ำมันที่สกัดจากพืชท้องถิ่นของประเทศออสเตรเลีย ซึ่งมีความปลอดภัยและนิยมใช้กันมายาวนาน ด้วยกลิ่นหอมเย็นอันเป็นเอกลักษณ์ทำให้น้ำมันยูคาลิปตัสถูกนำมาใช้เพี่อสูดดม ซึ่งพบว่าช่วยให้รู้สึกโล่งจมูก บรรเทาอาการคัดจมูก โดยเฉพาะในช่วงที่เป็นภูมิแพ้ หรือเป็นหวัด สารสำคัญของน้ำมันยูคาลิปตัสธรรมชาติ คือ 1,8-Cineole ที่ออกฤทธิ์บรรเทาอาการแพ้ (Allergic symptoms) ช่วยลดการอักเสบ(Anti-inflammatory) ช่วยขยายหลอดลม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่อาการภูมิแพ้กำเริบหรือติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน

 

► ส่วนน้ำมัน ที ทรีจากธรรมชาติ มีสารสำคัญคือ 4-Terpineol ที่ออกฤทธิ์แอนตี้ฮีสตามีน (antihistamine) ช่วยบรรเทาอาการแพ้ และลดการอักเสบ (Anti-inflammatory) ได้ใกล้เคียงกันกับน้ำมันยูคาลิปตัส  ที่สำคัญยังช่วยกระตุ้นการโบกพัดของขนโบกในทางเดินหายใจ จึงช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้ ช่วยลดอาการคัดจมูกและช่วยให้หายใจโล่งได้ นอกจากนี้ยังพอง ได้ผลดีลดเมือกเหนียวในทางเดินหายใจที่อาจเป็นสาเหตุของการกำเริบของหอบหืด ถุงลมโป่งพอง รวมถึงปัญหาทางเดินหายใจทั้งแบบที่มีการติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ เช่น หลอดลมอักเสบ (bronchitis)

– Lu XQ, Tang FD, Effect of Eucalyptus globulus oil on lipopolysaccharide-induced chronic bronchitis and mucin hypersecretion in rats. Zhongguo Zhong Yao za Zi 2004 Feb;29(2):168-71.
–  Angela E, Sadlon ND, Immune-Modifying and Antimicrobial Effects of Eucalyptus Oil and Simple Inhalation Devices. Alternative Medicine Review 2010;15:33-47.

Related posts

กันยายน 26, 2018

น้ำมันยูคาลิปตัสและทีทรีออยล์ กำจัดเชื้อโรคร้ายด้วยธรรมชาติ

Read more

กันยายน 24, 2018

น้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาติ ช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนหลับ

Read more

กันยายน 24, 2018

ใหม่…นักวิจัยค้นพบน้ำมันยูคาลิปตัสช่วยกำจัดเชื้อราในอากาศต้นเหตุของภูมิแพ้

Read more

          ในส่วนของผู้ให้บริการนั้นก็ควรใช้น้ำมันหอมระเหยในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ควรเกิน 30 มิลลิกรัม และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์น้ำมันหอมละเหยจากบริษัทที่เชื่อได้ และได้รับอนุญาตถูกต้องให้ผลิต สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้หรือโรคประจำตัว เช่น โรคผิวหนัง โรคทางเดินหายใจ ก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้บริการ

ยูคาลิปตัส ชื่อวิทยาศาสตร์ Eucalyptus globulus Labill. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Eucalyptus gigantea Dehnh., Eucalyptus glauca A.Cunn. ex DC., Eucalyptus globulosus St.-Lag., Eucalyptus globulus subsp. globulus, Eucalyptus maidenii subsp. globulus (Labill.) J.B.Kirkp., Eucalyptus perfoliata Desf., Eucalyptus pulverulenta Link) จัดอยู่ในวงศ์ชมพู่ (MYRTACEAE)[1],[2]

สมุนไพรยูคาลิปตัส มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า โกฐจุฬารส น้ำมันเขียว มันเขียว ยูคาลิป (ไทย), อันเยี๊ยะ หนานอัน (จีนกลาง)[1],[2]

หมายเหตุ : ต้นยูคาลิปตัสที่ปลูกกันทั่วไปจะมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Eucalyptus camaldulensis Dehnh. ซึ่งเป็นคนละชนิดกับยูคาลิปตัสที่นำมาใช้ทำยาในบทความนี้ (ชนิดทำยามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Eucalyptus globulus Labill.)[3]

ลักษณะของยูคาลิปตัส

  • ต้นยูคาลิปตัส จัดเป็นไม้ยืนต้น ลำต้นตั้งตรง มีความสูงได้ประมาณ 10-25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มหนาทึบค่อนข้างกลม แตกกิ่งก้านมาก เปลือกต้นบางเรียบเป็นมันและลอกออกง่าย เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อนปนขาว หรือมีสีเทาสลับสีขาวและสีน้ำตาลแดงเป็นบางแห่ง เปลือกนอกจะแตกร่อนเป็นแผ่น ๆ และหลุดออกจากผิวของลำต้น เมื่อแห้งจะลอกได้ง่าย กิ่งก้านเล็กเป็นเหลี่ยม มีจุดตากลม[1],[2]

  • ใบยูคาลิปตัส ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับเป็นคู่ ใบห้อยลง ลักษณะของใบเป็นรูปหอก ปลายใบแหลม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-7 เซนติเมตรและยาวประมาณ 12-30 เซนติเมตร แผ่นใบหนาเป็นสีเขียวอมสีน้ำเงิน มีผงคล้ายแป้งปกคลุม เส้นใบมองเห็นได้ชัดเจน ก้านใบสั้น ก้านใบยาวประมาณ 2 เซนติเมตร[1],[2]

  • ดอกยูคาลิปตัส ออกดอกเดี่ยวหรือออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ มีดอกประมาณ 2-3 ดอก ดอกเป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้หลายก้าน ออกดอกเกือบตลอดทั้งปี[1],[2]

  • ผลยูคาลิปตัส ผลมีลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลมหรือคล้ายรูปถ้วย ปลายผลแหลม ผลอ่อนเป็นสีเขียว และจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.8-2 เซนติเมตร เปลือกผลหนา มีรอยเส้นสี่เหลี่ยม 4 เส้น เมื่อผลแก่ปลายผลจะแยกออก[1],[2]

สรรพคุณของยูคาลิปตัส

  1. ใบและเปลือกรากมีรสขมเผ็ด กลิ่นหอม เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อปอด ลำไส้ และทางเดินปัสสาวะ ใช้ใบเป็นยาแก้ไข้ ไข้หวัดติดเชื้อ ไข้หวัดใหญ่ (ใบ)[1],[3]
  2. ใช้เป็นยาแก้ไอ ด้วยการใช้น้ำมันที่กลั่นได้จากใบสด 0.5 มิลลิเมตร (ประมาณ 8 หยด) นำมารับประทานหรือทำเป็นยาอม (ใบ)[2]
  3. น้ำมันยูคาลิปตัสนำมาใช้ทาคอ จะช่วยแก้ไอ หรือใช้อมแก้หวัดคัดจมูก (น้ำมันยูคาลิปตัส)[3]
  4. ช่วยขับเสมหะ ด้วยการใช้น้ำมันที่กลั่นได้จากใบสด 0.5 มิลลิเมตร (ประมาณ 8 หยด) นำมารับประทานหรือทำเป็นยาอม (ใบ)[2],[3]
  5. ช่วยบรรเทาอาการข้ออักเสบ (ใบ)[2]
  6. ช่วยรักษาลำไส้อักเสบ แก้บิด (ใบ)[1]
  7. ช่วยแก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (ใบ)[1]
  8. ใช้แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ผดผื่นคัน ผิวหนังอักเสบ ติดเชื้อไวรัสบริเวณผิวหนัง (ใบ)[1]
  9. ช่วยแก้ฝีมีหนองอักเสบ ฝีหัวช้าง (ใบ)[1]
  10. ใช้ทาถูนวดตามอวัยวะต่าง ๆ เพื่อแก้อาการฟกช้ำ (น้ำมันยูคาลิปตัส)[3]

หมายเหตุ : การใช้ตาม [1] ให้ใช้ใบยาแห้งครั้งละ 10-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทานหรือใช้เข้ากับตำรับยาอื่น ส่วนการใช้ภายนอกให้กะตามความเหมาะสม ส่วนใบสดให้ใช้ครั้งละ 18-30 กรัม[1]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของยูคาลิปตัส

  • ในใบยูคาลิปตัสพบน้ำมันหอมระเหยประมาณ 0.92-2.89% Oleum Eucalypti ประกอบด้วยสาร เช่น Aromadendrene, Cineole, Pinene, Pinocarvon, Pinocarveol, Cuminaldehyde, 1-Acely 1-4 isopropylide-necyclopentene, Quercitrinm Quercetin Rutin ใบพบ Eucalyptin, Tannin และ Guaiacol Globulol.[1]
  • สาร Oleum Eucalypti ความเข้มข้นอยู่ที่ 6% จะสามารถช่วยยับยั้งเชื้อวัณโรค H37, Rv ได้[1]
  • สารที่สกัดได้จากยูคาลิปตัสมีฤทธิ์ขับพยาธิปากขอได้[1]
  • สารสกัดจากยูคาลิปตัส สามารถยับยั้งเชื้อ Staphylo coccus ได้ โดยฤทธิ์ที่ยับยั้งเชื้อได้ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารสกัด[1]
  • สารสกัดจากยูคาลิปตัส สามารถดับพิษจากเชื้อบาดทะยักและเชื้อคอตีบได้ โดยนำสารที่สกัดได้มาทำเป็นยาฉีดให้กระต่ายที่ติดเชื้อบาดทะยักหรือเชื้อคอตีบ ในอัตราส่วน 0.2 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม พบว่ามีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการติดเชื้อดังกล่าวได้ และไม่มีอาการแสดงพิษของเชื้อที่ติดอยู่ในร่างกายเป็นเวลานานถึง 2 สัปดาห์[1]

ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรยูคาลิปตัส

  • น้ำมันที่สกัดได้จากยูคาลิปตัส ห้ามรับประทานเกิน 3.5 ซีซีต่อ 1 ครั้ง เพราะจะทำให้เกิดอาการเป็นพิษต่อร่างกายได้[1]
  • การใช้เกินขนาดจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร[2]

ประโยชน์ของยูคาลิปตัส

  1. ใช้ทำเป็นยาไล่ยุง ฆ่ายุง และแมลง ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 1 กำมือ นำมาขยี้ กลิ่นของน้ำมันจะออกมา ซึ่งจะช่วยไล่ยุงและแมลงได้[2]
  2. ใบสามารถนำมาสกัดเป็นน้ำมัน น้ำยาหอมระเหย ไอระเหยแก้หวัด[4]
  3. เนื้อไม้ยูคาลิปตัสสามารถนำมาใช้ทำกระดาษ ใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง ทำเสาเข็ม สร้างบ้าน ทำเครื่องเรือน เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้สอยต่าง ๆ ทำรั้ว ทำเสา คอกเลี้ยงสัตว์ นั่งร้านในการก่อสร้าง (แต่ต้องมีการอาบน้ำยาเพื่อรักษาเนื้อไม้ไว้ก่อนถึงจะยืดอายุการใช้งานได้นานยิ่งขึ้น) ฯลฯ[4]
  4. เปลือกไม้นำมาบดให้ละเอียดผสมกับขี้เลื้อยและกาว ใช้ทำเป็นธูป และผสมกำมะถัน ใช้ทำเป็นยากันยุงได้ดี[5]
  5. นำมาใช้เผาถ่าน โดยฟืนจากไม้ยูคาลิปตัสจะให้พลังงานความร้อนสูงถึง 4,800 แคลอรีต่อกรัม ส่วนถ่านไม้ยูคาลิปตัสจะให้พลังงานความร้อน 7,400 แคลอรีต่อกรัม ซึ่งมีความใกล้เคียงกับไม้โกงกางซึ่งเป็นถ่านไม้ชั้นดีที่สุด ฯลฯ[4]

ประโยชน์ของน้ำมันยูคาลิปตัส

ช่วยบรรเทาอาการไอ ภูมิแพ้ หวัด ไข้หวัดใหญ่ บรรเทาอาการคัดจมูก เป็นยาธาตุ แก้อาการปวดศีรษะจากหวัดไซนัส ทำให้หายใจโล่ง ช่วยให้รู้สึกสดชื่น ช่วยแก้อาการเจ็บคอ ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน บรรเทาแผลสด แผลไฟไหม้และแผลติดเชื้อ หรือนำมาใช้ทาถูนวดแก้ปวดกล้ามเนื้อ

วิธีใช้น้ำมันยูคาลิปตัส สามารถนำมาใช้ผสมกับน้ำมันพื้นฐาน น้ำมันนวด และน้ำมันหอมระเหยต่าง ๆ ได้เกือบทุกชนิด เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดมะรุม น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ น้ำมันองุ่น น้ำมันโจโจ้บา น้ำมันสวีทอัลมอนด์หรือน้ำมันพืชอื่นที่เป็น Cosmetic grade เป็นต้น (อัตราส่วนการใช้น้ำมันยูคาลิปตัส หากนำมาใช้กับผิวหน้าไม่ควรใช้เกิน 1% ส่วนผิวกายไม่ควรใช้เกิน 3%) หรือใช้หยดลงในอ่างอาบน้ำอุ่นเพื่อช่วยลดอาการหวัด แก้แพ้อากาศ ไซนัส ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อและเมื่อยล้า ใช้ผสมในครีมหรือโลชันนำมาใช้ทาเพื่อลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อและช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น และใช้ใส่ในโคมไฟฟ้าอโรมาบุหงา หรือผ้าเช็ดหน้า เพื่อไอระเหยจะช่วยลดอาการจามจากการแพ้อากาศหรือเป็นหวัดได้ดี และช่วยทำให้หายใจได้โล่งขึ้น ทำให้เกิดสมาธิที่ดีขึ้น และช่วยขับไล่แมลง เป็นต้น

คำแนะนำในการใช้น้ำมันยูคาลิปตัส ให้ใช้ภายนอก ไม่ควรนำมารับประทาน ห้ามนำมาสูดดมหรือสัมผัสกับผิวหนังโดยตรง แต่ต้องนำมาทำให้เจือจางก่อน เนื่องจากมีความเข้มข้นสูง หากเข้าตาให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้งก่อนไปพบแพทย์ ถ้าหากถูกผิวหนังให้รีบล้างออกด้วยน้ำสบู่ มิฉะนั้นอาจเกิดอาการแพ้ได้ และไม่ควรนำมาใช้ในปริมาณมากเกินไป เพราะจะทำให้ปวดศีรษะ ส่วนผู้ที่เป็นโรคลมบ้าหมู โรคความดันโลหิตสูงหรือต่ำ ผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ต้องพึ่งอินซูลิน (เพราะอาจทำให้ระดับน้ำตาลผิดปกติ) ผู้ป่วยเรื้อรังที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับตับ ไต กระเพาะอาหาร รวมถึงสตรีมีครรภ์หรืออยู่ระหว่างให้นมบุตรอายุต่ำกว่า 5 ปีก็ไม่ควรนำมาใช้ (ข้อมูลส่วนนี้มาจาก : www.aromahub.com, www.thaiherbweb.com)

เอกสารอ้างอิง
  1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย.  “ยูคาลิปตัส”.  (วิทยา บุญวรพัฒน์).  หน้า 468.
  2. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.  “ยูคาลิป”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/.  [22 พ.ค. 2014].
  3. ฐานข้อมูลน้ำมันหอมระเหยไทย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.).  “ยูคาลิป”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.tistr.or.th/essentialoils/.  [22 พ.ค. 2014].
  4. งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, โรงเรียนดาราพิทยาคม ตำบลบ้านดารา อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์.  “ยูคาลิปตัส”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.drpk.ac.th/botany/.  [22 พ.ค. 2014].
  5. โรงเรียนสองแคววิทยาคม.  “ยูคาลิปตัส”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.songkaew.ac.th.  [22 พ.ค. 2014].

ภาพประกอบ : www.flickr.com (by Eric Hunt, Valter Jacinto | Portugal, naturgucker.de / enjoynature.net, abrotarde, Oranjepiet, Ruud de Block, omprod, Rob Mann, Avis Boutell)

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)

เมดไทย

เมดไทย (Medthai) ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นอิสระเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การรักษาโรค การใช้ยา สมุนไพร แม่และเด็ก ฯลฯ เราร่วมมือกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและดีที่สุด

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง