เช็คกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ scb

อยากทราบวิธีตรวจสอบยอดเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ของธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) มีวิธีไหนบ้างคะที่เราสามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเอง เพื่อให้ทราบยอดเงินที่เราจัดส่งให้กับกองทุนทุกเดือน เช่น การตรวจสอบแบบออนไลน์ เป็นต้นคะ

ภาพหน้าจอ iPhone

SCB MyProvident แอปพลิเคชันใหม่ จากธนาคารไทยพาณิชย์ ที่อำนวยความสะดวกให้สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ธนาคารไทยพาณิชย์เป็นนายทะเบียน สามารถเรียกดูข้อมูลกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของตัวเองได้ทุกที่ ทุกเวลา อีกทั้งยังสามารถสับเปลี่ยนกองทุนผ่านทาง SCB MyProvident ได้ ตามเงื่อนไขที่กองทุนและนายจ้างกำหนด

มีอะไรใหม่

18 พ.ย. 2021

เวอร์ชัน 2.3.1

- Pre-populate information on registration page to make it easier to create new accounts
- Minor enhancements

การจัดอันดับและความเห็น

1.7 จาก 5

138 รายการจัดอันดับ

แอปเด้ง

หลังจากอัพเดดเวอร์ชั่นล่าสุดทำให้ไม่สามารถเช้าใช้งานแอปได้อีกก่อนหน้าที่จะอัพเดดใช้งานได้ปกติ ถ้าอัพแล้วห่วยแบบนี้ก็ใช้แบบเดิมไปเรื่อยๆก็ได้มั้งเด้งออกตลอด

ผู้ใช้ถูกล็อค

ต้องทำยังไงค่ะ ขอรหัสใหม่เองก็ไม่ได้ด้วย

โปรแกรมมีปัญหา

ตอนนี้เข้าแอพแล้วดูอะไรไม่ได้เลย กดดูแล้วเด้งออกตลอดเลยค่ะ

ความเป็นส่วนตัวของแอป

นักพัฒนาแอป The Siam Commercial Bank PCL ได้ระบุว่าแนวปฏิบัติด้านความเป็นส่วนตัวของแอปอาจรวมถึงการจัดการข้อมูลตามที่อธิบายไว้ด้านล่างสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ให้ดูที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวของนักพัฒนา

ไม่ได้เก็บข้อมูล

นักพัฒนาไม่ได้เก็บข้อมูลใดๆ จากแอปนี้

แนวทางปฏิบัติด้านความเป็นส่วนตัวอาจแตกต่างกันไป เช่น ตามคุณสมบัติที่คุณใช้หรือตามอายุของคุณ เรียนรู้เพิ่มเติม

ข้อมูล

ผู้เผยแพร่

The Siam Commercial Bank PCL

ขนาด

44.6 MB

ประเภท

การเงิน

ใช้ได้กับ iPhone ต้องมี iOS 10.0 หรือใหม่กว่า iPod touch ต้องมี iOS 10.0 หรือใหม่กว่า

ภาษา

เหมาะสำหรับอายุ

4+

ลิขสิทธิ์

© Siam Commercial Bank PCL. 2015. All rights reserved.

ราคา

ฟรี

  • เว็บไซต์ของนักพัฒนา
  • บริการช่วยเหลือเกี่ยวกับแอป
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว

  • เว็บไซต์ของนักพัฒนา
  • บริการช่วยเหลือเกี่ยวกับแอป
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว

เพิ่มเติมโดยนักพัฒนารายนี้

คุณอาจจะชอบ

กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ คืออะไร ลงทุนอย่างไรให้ตอบโจทย์วัยทำงาน

กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ คือ กองทุนที่นายจ้าง และลูกจ้าง ร่วมกันจัดตั้งขึ้นด้วยความสมัครใจ เพื่อให้ลูกจ้างมีเงินออมไว้ใช้จ่ายยามเกษียณอายุ ออกจากงาน ทุพพลภาพ หรือเป็นหลักประกันให้แก่ครอบครัวในกรณีที่ลูกจ้างเสียชีวิต  โดยเงินกองทุนจะมาจากเงินที่ลูกจ้างจ่ายเข้ากองทุนเพื่อตนเองส่วนหนึ่งเรียกว่า "เงินสะสม" ซึ่งกฎหมายกําหนดให้สะสมได้ตั้งแต่ 2 - 15% ของเงินเดือน และเงินที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุนให้อีกส่วนหนึ่งเรียกว่า "เงินสมทบ" โดยในปัจจุบันลูกจ้างสามารถเลือกที่จะสะสมเงินได้เท่าไหร่ก็ได้แต่สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินเดือน


อย่างไรก็ตามลูกจ้างหรือสมาชิกกองทุนส่วนใหญ่ยังไม่มีความรู้ด้านการลงทุน ทำให้เลือกนโยบายการลงทุนที่ไม่เหมาะสม จึงมีความเสี่ยงที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีจะไม่พอใช้ในวัยเกษียณ นอกจากนี้ข้อมูลจากเว็บไซต์กองทุนสำรองเลี้ยงชีพไทย (www.thaipvd.com) พบว่าสถานการณ์การออมเพื่อวัยเกษียณในปัจจุบันยังไม่เพียงพอและไม่ครอบคลุมกับประชากรวัยแรงงาน โดยพบว่าการออมเงินผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งเป็นการออมภาคสมัครใจระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ตัวเลข ณ สิ้นปี 2560 มีนายจ้างตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้พนักงานเพียง 17,561 บริษัท คิดเป็นประมาณ 2.7% ของจำนวนบริษัทที่จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ทั้งหมด 659,766 บริษัท และจากนายจ้าง 17,561 รายที่จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มีสมาชิกที่เป็นพนักงานรวมกันเพียง 3 ล้านคน มีเงินสะสมทั้งหมดในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเฉลี่ยคนละ 300,000 บาทเท่านั้น

การจัดสรรเงินลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดย 3 อันดับแรกของสินทรัพย์ที่มีการลงทุนมากที่สุดในปี 2560 ได้แก่ ตราสารหนี้ (54.5%) ตราสารทุน (18.5%) และเงินฝาก (14.7%) โดยการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นสามัญยังมีสัดส่วนที่น้อยอยู่ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่พนักงานที่ไม่เข้าใจการลงทุน ทำให้เลือกลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้สูงถึง 90-100% ซึ่งเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ต่ำ ทำให้โดยเฉลี่ยแล้วตลอดการลงทุนจะมีผลตอบแทนจากการลงทุนต่ำเพียง 2-3% ต่อปีเท่านั้น เงินที่ได้รับหลังเกษียณไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพแน่นอน แต่หากลงทุนในกองทุนที่จัดสัดส่วนการลงทุนในแต่ละสินทรัพย์ให้มีความเสี่ยงและผลตอบแทนเหมาะกับแต่ละช่วงอายุ จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยตลอดอายุการลงทุนที่สูงขึ้น


สำหรับบางบริษัทที่มีนโยบายการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่เปิดโอกาสให้พนักงานสามารถเลือกลงทุนในหุ้นได้ด้วย (Employee’s Choices) ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะทำให้เรามีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น แล้วควรจะแบ่งไปลงทุนในหุ้นสักกี่เปอร์เซ็นต์ดี คําตอบคือ ขึ้นอยู่กับอัตราผลตอบแทนที่คุณคาดหวังว่าจะได้จากเงินกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเพื่อให้บรรลุเป้าหมายวัยเกษียณ  นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงของตัวคุณเอง รวมไปถึงทางเลือกในนโยบายการลงทุนที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพของคุณมีให้เลือกอีกด้วย


อย่างไรก็ตามการตัดสินใจเลือกนโยบายการลงทุนควรพิจารณาจากระยะเวลาการลงทุนประกอบด้วย หากมีระยะเวลาการลงทุนที่ยาวนานก็ควรพิจารณาการลงทุนในหุ้นในสัดส่วนที่สูงขึ้นได้ แม้ว่าหุ้นจะมีความเสี่ยงสูงแต่ก็สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ในระยะยาว เพราะระยะเวลาการลงทุนที่ยาวนานจะลดความผันผวนของการลงทุนในตราสารทุนลงได้ การที่เรากังวลในความเสี่ยงจนมากเกินไป อาจทำให้เงินไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ และอาจมีไม่เพียงพอที่จะใช้จ่ายยามเกษียณอายุ

คำแนะนำสำหรับการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามช่วงอายุต่าง ๆ

  • ช่วงอายุ 22 – 30 ปี เป็นช่วงเริ่มต้นการทำงาน และยังไม่มีภาระมากเท่าไหร่ อีกทั้งมีระยะเวลาการลงทุนที่นาน รับความเสี่ยงได้สูง สามารถเลือกลงทุนในหุ้นได้ถึง 80 – 90% และอีก 10 – 20% ก็เลือกลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัย
  • ช่วงอายุ 31 – 45 ปี เป็นช่วงของการสร้างครอบครัว หน้าที่การงานเริ่มมั่นคง รายได้สูงขึ้น ในขณะที่ค่าใช้จ่ายก็สูงตามไปด้วย อีกทั้งยังมีภาระต่างๆ ให้รับผิดชอบมากขึ้น ทำให้ความสามารถในการรับความเสี่ยงน้อยลง ดังนั้นแนะนำให้ลงทุนหุ้นประมาณ 50% ส่วนอีก 50% ให้นำไปลงทุนในตราสารหนี้หรือเงินฝากประจำเพื่อเป็นการลดระดับความเสี่ยงของพอร์ตลง
  • ช่วงอายุ 46 – 55 ปี เป็นช่วงของการเตรียมเงินเพื่อการเกษียณอายุ ด้วยอายุที่เพิ่มขึ้นและระยะเวลาการลงทุนที่เหลือสั้นลง ทำให้ช่วงนี้ต้องทยอยลดการลงทุนในหุ้นให้เหลือประมาณ 30 – 40% 
  • อายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป เป็นช่วงอายุที่เข้าสู่วัยเกษียณ ต้องระมัดระวังการลงทุนให้มากที่สุด เพราะไม่สามารถลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงได้มากเหมือนวัยอื่นๆ แนะนำปรับพอร์ตการลงทุนให้เหลือการลงทุนในหุ้นประมาณ    10 – 15%


แล้วเราควรจะสะสมเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเท่าไหร่ดี?

ในเบื้องต้น หากไม่มีวินัยในการออม ไม่สามารถเก็บเงินด้วยตัวเอง หรือไม่มีความเชี่ยวชาญในการลงทุน แนะนำสะสมเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างน้อย 10% ของเงินเดือน แต่ถ้าเป็นไปได้ขอให้ลงทุนเต็มสิทธิ์ 15% ของเงินเดือน เพราะข้อดีของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพคือ บริษัทจะหักเงินสะสมออกจากบัญชีเงินเดือนเลยทันที ทำให้เราได้ “Pay Yourself First” หรือ ได้จ่ายตัวเองก่อนนั่นเอง


เราควรเลือกสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพียงขั้นต่ำ แล้วเอาไปลงทุนที่อื่นแทนได้หรือไม่?

คำตอบคือ หากคิดว่าสามารถหาการลงทุนที่ได้อัตราผลตอบแทนคาดหวังสูงกว่าที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพทำได้ และมีวินัยในการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ เช่น ลงทุนได้อย่างเป็นประจำและต่อเนื่อง ก็อาจเลือกเอาไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นแทนได้ แต่อย่าลืมว่าเงินสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ และการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงใดๆ เราต้องมีวินัยในการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ และควรเป็นการลงทุนระยะยาว


กล่าวโดยสรุป กองทุนสำรองเลี้ยงชีพนับได้ว่าเป็นแหล่งเงินออมเพื่อการเกษียณอายุที่สำคัญมากสำหรับพนักงานบริษัทเลยก็ว่าได้ เราจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในการลงทุน สนใจติดตามผลการดำเนินงานของกองทุนอยู่เสมอ รวมไปถึงเลือกแนวทางการลงทุนที่เหมาะสม เพื่อให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพนี้ตอบโจทย์เป้าหมายการเกษียณอายุของเราได้นั่นเอง


บทความโดย: นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์ CFP® นักวางแผนการเงินอิสระ นักเขียนและวิทยากร

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง