พร บ สหกรณ์ (ฉบับที่ 3 พ ศ 2562)

สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานธนาคารออมสิน จำกัดThrif and Credit Cooperative of GSB Employees Ltd, Co.ที่ตั้ง เลขที่ 470 ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ อาคาร 5 ชั้น 1ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

ติดต่อเรา

ตู้ ป.ณ.12 สามเสนใน พญาไท กทม. 10400
(เลขบัญชี สหกรณ์ออมสิน : 050011283574)

สายด่วนโทร : 02-2998267 ภายใน 998267
โทรสาร :

Email :
facebook : สหกรณ์ออมสิน

ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น

Line@

สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานธนาคารออมสิน จำกัด

พัฒนาโดย บริษัท อัพบีน จำกัด

สรุป....สาระสำคัญ/ประเด็นการแก้ไข ของพ.ร.บ.สหกรณ์ฉบับแก้ไขปี 2562 เทียบกับฉบับก่อน

พระราชบัญญัติสหกรณ์ฉบับใหม่ ปี 2562 (รวมฉบับที่ 1 พ.ศ. ๒๕๔๒ ฉบับที่ 2 พ.ศ. ๒๕๕๓ และฉบับที่ 3 พ.ศ. ๒๕๖๒) มีบทบัญญัติที่เป็นสาระสำคัญ และประเด็นที่มีการแก้ไข ดังนี้

1. ประกาศในราชกิจจาเมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๒

2. มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป นั่นคือมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นต้นไป

3. บทนิยามคำว่า “สหกรณ์” เพิ่มข้อกำหนดคุณสมบัติสมาชิกต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย

4. การได้มาของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาตินั้นกำหนด ให้กรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ ซึ่งเป็นกรรมการโดยตำแหน่งคัดเลือกผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการเงิน การตลาด การเกษตร กฎหมาย หรือดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อเสนอให้รัฐมนตรีแต่งตั้ง

5. กำหนดกรอบการประชุมคณะกรรมการการพัฒนาสหกรณ์แห่งชาติ คือ ให้มีการประชุมคณะกรรมการไม่น้อยกว่าปีละสี่ครั้ง

6. เพิ่มบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ คือ ให้คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาบุคลากรสหกรณ์ คณะอนุกรรมการการลงทุน และอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการอื่นตามความจำเป็น โดยคำนึงถึงความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน เพื่อพิจารณาหรือกระทำการใด ๆ ตามที่คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติมอบหมาย

7. ปรับปรุงในรายละเอียดของบทบาท และอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนสหกรณ์ เกี่ยวกับการดำเนินกิจการของสหกรณ์ในด้านระบบบัญชี การตรวจสอบกิจการ การดำเนินการเมื่อสหกรณ์มีข้อบกพร่องอันเกิดจากการปฏิบัติงานของคณะกรรมการดำเนินงานสหกรณ์หรือผู้เกี่ยวข้อง

8. ยกเลิกมาตรา ๒๖ เดิม มีผลทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการถูกลงโทษที่ทำให้สหกรณ์มีข้อบกพร่อง ไม่สามารถอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติได้

9. สามารถเพิ่มประเภทของสหกรณ์ได้(ประเภทที่ ๘) จากเดิมที่มี ๗ ประเภท คือ (๘) สหกรณ์อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

10 ในกรณีที่นายทะเบียนสหกรณ์มีคำสั่งไม่รับจดทะเบียน ได้ยกเลิกสิทธิการอุทธรณ์ของคณะผู้จัดตั้งสหกรณ์

11. ปรับปรุงข้อกำหนดของสมาชิกสมทบ คือ สมาชิกสมทบต้องเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งบรรลุนิติภาวะ เว้นแต่สหกรณ์ที่ตั้งอยู่ในสถานศึกษาอาจรับผู้ศึกษาในสถานศึกษานั้นซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะให้เป็นสมาชิกสมทบได้ โดยที่ สมาชิกสมทบต้องมีความสัมพันธ์กับสหกรณ์หรือสมาชิกสหกรณ์ตามหลักเกณฑ์ที่นายทะเบียนสหกรณ์ประกาศกำหนด และมิให้สมาชิกสมทบกู้ยืมเงินเกินกว่าเงินฝากและทุนเรือนหุ้นของตนเองจากสหกรณ์

12. เปิดโอกาสให้สหกรณ์ออกระเบียบที่เกี่ยวกับการรับฝากเงิน คือ สามารถรับฝากเงินประเภทออมทรัพย์หรือประเภทประจำจากนิติบุคคลซึ่งมีบุคลากรหรือลูกจ้างไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของนิติบุคคลนั้น เป็นสมาชิกของสหกรณ์ผู้รับฝากเงิน (รับฝากจากนิติบุคคลผู้ก่อตั้งหรือต้นสังกัดของสมาชิกสหกรณ์)

13. เพิ่มความเข้มงวดในกรณีที่สหกรณ์ดำเนินกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก โดยเพิ่มบทบัญญัติขึ้นมา ๓ มาตรา ดังนี้

มาตรา ๕๑/๑ ในการดำเนินกิจการของสหกรณ์ คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ กรรมการ หรือผู้จัดการ ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ขอบเขตแห่งการดำเนินกิจการที่จะพึงดำเนินการได้ของสหกรณ์ ข้อบังคับของสหกรณ์ และมติที่ประชุมใหญ่ ทั้งนี้ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของสหกรณ์หรือสมาชิก มาตรา ๕๑/๒ คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ กรรมการ หรือผู้จัดการ ต้องรับผิดร่วมกันในความเสียหายต่อสหกรณ์ในกรณีดังต่อไปนี้

(๑) แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ

(๒) ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของนายทะเบียนสหกรณ์ (๓) ดำเนินกิจการนอกขอบวัตถุประสงค์ หรือขอบเขตแห่งการดำเนินกิจการ ที่จะพึงดำเนินการได้ของสหกรณ์

เจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ผู้ใดมีส่วนร่วมในการกระทำของคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ กรรมการ หรือผู้จัดการ อันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่สหกรณ์ เจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ผู้นั้นต้องรับผิดร่วมกันกับคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ กรรมการ หรือผู้จัดการ ในความเสียหายต่อสหกรณ์

มาตรา ๕๑/๓ คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ กรรมการ หรือผู้จัดการ ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา ๕๑/๒ ในกรณีดังต่อไปนี้

(๑) พิสูจน์ได้ว่าตนมิได้ร่วมกระทำการอันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่สหกรณ์

(๒) ได้คัดค้านในที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์โดยปรากฏในรายงานการประชุมหรือได้ทำคำคัดค้านเป็นหนังสือยื่นต่อประธานที่ประชุมภายในสามวันนับแต่สิ้นสุดการประชุม

14. ปรับปรุงเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นกรรมการ ผู้จัดการ และผู้ตรวจกิจการของสหกรณ์ ตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๒ และมาตรา ๕๓

15. แก้ไขมาตรา ๖๖ เกี่ยวกับการจัดทำงบการเงินประจำปี ใช้ข้อความใหม่แทน ดังนี้

มาตรา ๖๖ ให้สหกรณ์จัดทำงบการเงินประจำปีทุกรอบปีทางบัญชีของสหกรณ์

งบการเงินประจำปีต้องเป็นไปตามแบบที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด

งบการเงินประจำปีนั้นต้องทำให้แล้วเสร็จและให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วนำเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ของสหกรณ์ภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี

16. แก้ไขมาตรา ๖๙ เกี่ยวกับการสอบบัญชี ใช้ข้อความใหม่แทน ดังนี้

มาตรา ๖๙ ให้กรมตรวจบัญชีสหกรณ์เป็นผู้สอบบัญชีของสหกรณ์ ในการนี้ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์อาจแต่งตั้งผู้สอบบัญชีรับอนุญาต หรือบุคคลอื่นเป็นผู้สอบบัญชีของสหกรณ์ ตามขนาดของสหกรณ์ก็ได้ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์กำหนด

การสอบบัญชีนั้น ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานการสอบบัญชีและตามระเบียบที่อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์กำหนด

17. เพิ่มเงื่อนไขในมาตรา ๗๑ เกี่ยวกับการเลิกสหกรณ์อีก ๑ ข้อ คือ

(๒) สหกรณ์ไม่ส่งสำเนารายงานประจำปีกับงบการเงินประจำปีต่อนายทะเบียนสหกรณ์เป็นเวลาสามปีติดต่อกัน

18. ยกเลิกมาตรา ๗๒ เดิม มีผลทำให้สหกรณ์ที่ถูกสั่งเลิกไม่สามารถอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติได้

19. เพิ่มหมวด ๔/๑ เรื่อง การดำเนินงานและการกำกับดูแลสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน เพื่อให้การกำกับดูแลสหกรณ์ประเภทออมทรัพย์และเครดิตยูเนี่ยนมีความเข้มงวด รัดกุมมากขึ้น เพราะเป็นประภทสหกรณ์ที่มีปริมาณเงินทุนหมุนเวียนสูง

      ในตัวพระราชบัญญัติระบุกรอบกว้างๆ ไม่มีรายละเอียดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ซึ่งจะปรากฏอยู่ในกฎกระทรวงที่จะออกมารองรับอีกทอดหนึ่ง ทั้งนี้ได้บัญญัติกรอบไว้ว่า ในการออกกฎกระทรวง ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์หารือร่วมกับกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย

ในกรณีที่คณะกรรมการดำเนินงานสหกรณ์ กรรมการ หรือผู้จัดการไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ ให้นายทะเบียนสหกรณ์มีอำนาจสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่อง หรือระงับการดำเนินการ หรือให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ กรรมการ หรือผู้จัดการนั้น พ้นจากตำแหน่ง หรือสั่งให้เลิกสหกรณ์ดังกล่าวได้ แล้วแต่กรณี

เพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการที่ปรึกษาการกำกับดูแลสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน” ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ได้รับมอบหมายเป็นประธานกรรมการ ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย และผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นกรรมการ

ให้อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์แต่งตั้งข้าราชการในสังกัดกรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นเลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ

ให้คณะกรรมการที่ปรึกษาการกำกับดูแลสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน มีอำนาจหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำ เสนอมาตรการแก้ไขปัญหา และเสนอให้ปรับปรุงระเบียบหรือคำสั่ง เกี่ยวกับการกำกับดูแลสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแก่นายทะเบียนสหกรณ์

20. ในหมวด ๗ ชุมนุมสหกรณ์ ได้เพิ่มบทบัญญัติ มาตรา ๑๐๕/๑ เพื่อรองรับการดำเนินการของชุมนุมสหกรณ์ในการจัดสวัสดิการแก่สมาชิก ดังนี้

มาตรา ๑๐๕/๑ เพื่อส่งเสริมระบบสวัสดิการและคุณภาพชีวิตของสมาชิกสหกรณ์ ให้ชุมนุมสหกรณ์ระดับประเทศมีอำนาจร่วมกับสหกรณ์สมาชิกของตน จัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ของสมาชิกสหกรณ์และครอบครัวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด

21. ในหมวด ๙ กลุ่มเกษตรกร ได้กำหนดผู้ที่จะเป็นนายทะเบียนเกษตรประจำจังหวัด คือ

ห้สหกรณ์จังหวัดเป็นนายทะเบียนกลุ่มเกษตรกรประจำจังหวัดที่กลุ่มเกษตรกรตั้งอยู่ และมีอำนาจหน้าที่ตามระเบียบที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด

สำหรับกรุงเทพมหานครให้ผู้อำนวยการส่งเสริมสหกรณ์กรุงเทพมหานคร พื้นที่ ๑ และผู้อำนวยการส่งเสริมสหกรณ์กรุงเทพมหานคร พื้นที่ ๒ เป็นนายทะเบียนกลุ่มเกษตรกรกรุงเทพมหานคร

22. เพิ่มหมวด ๙/๑ เรื่อง การพิจารณาอุทธรณ์ โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ขึ้นมาใหม่แทนกำหนดเดิมที่ให้คณะกรรมการการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติเป็นผู้พิจารณาอุทธรณ์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ประกอบด้วย รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มอบหมาย เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคนหนึ่งในคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติที่คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติมอบหมาย เป็นกรรมการ

ให้อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์แต่งตั้งข้าราชการในสังกัดกรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นเลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ

23. ในหมวด ๑๐ บทกำหนดโทษ ได้บัญญัติบทลงโทษในกรณีต่างๆละเอียดขึ้น ซึ่งโดยรวมได้กำหนดบทลงโทษที่สูงขึ้น

24. พ.ร.บ ฉบับแก้ไขนี้ได้กำหนดกรอบเวลาการดำเนินการให้รองรับการบังคับใช้ของ พ.ร.บ ที่สำคัญ มีดังนี้

ในกรณีที่ข้อบังคับของสหกรณ์ใดไม่เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้สหกรณ์นั้นแก้ไขข้อบังคับของสหกรณ์ให้เป็นไปตามกฎกระทรวงดังกล่าวภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่กฎกระทรวงใช้บังคับ

ให้สหกรณ์แก้ไขข้อบังคับของสหกรณ์ที่เกี่ยวกับสมาชิกสมทบให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

สหกรณ์ที่มีสมาชิกซึ่งมิได้มีสัญชาติไทยอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้สหกรณ์ดำเนินการปรับปรุง แก้ไข ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

ในการดำเนินการให้ออกจากการเป็นสมาชิกเพราะขาดคุณสมบัติตามพ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ หากสมาชิกผู้ใดมีนิติกรรมกับสหกรณ์ แต่ได้พ้นจากสมาชิก โดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมิได้บอกเลิกนิติกรรมนั้น ให้นิติกรรมนั้นยังคงมีอยู่ต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดไปตามเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาที่ตกลงกัน แต่จะทำการใดก่อผลผูกพันขึ้นใหม่มิได้

บรรดาคำอุทธรณ์ที่ได้ยื่นและยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คณะกรรมการดังกล่าวมีอำนาจพิจารณาต่อไปตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะแล้วเสร็จ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

บรรดากฎหรือคำสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะมีกฎหรือคำสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขโดยพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

ในการดำเนินการออกกฎกระทรวงและระเบียบ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัติใช้บังคับ(ภายในวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ฑ.ศ. ๒๕๖๔) หากไม่สามารถดำเนินการได้ ให้รัฐมนตรีรายงานเหตุผลที่ไม่อาจดำเนินการได้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ

------------------------------------------------

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง