สั่งของจากต่างประเทศในShopeeเสียภาษีไหม

จากประเด็นระอุใน Twitter เมื่อร้านจีนมาเปิดขายใน Shoppee เอง จนทำให้พ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ในไทยที่รับสินค้านำเข้าจากจีนมาขายได้รับผลกระทบหนัก อะไรเป็นต้นเหตุที่ทำให้ร้านจีนต่างเข้ามาบุกจับจองชิงพื้นที่ขายของออนไลน์ในไทย โดยเฉพาะ Shoppee Lazada ? พิมเพลินมีข้อสรุปและการวิเคราะห์เหตุการณ์นี้มาฝากค่ะ


อะไรที่ทำให้จีนต่างพากันบุกเข้ามาช่วงชิงพื้นที่ขายของออนไลน์ในไทย

คำถามนี้ตอบได้ไม่ยาก เพราะความเป็นมาอยู่ที่ตรงนี้ค่ะ เนื่องจาก Alibaba Group ของ Jack Ma ได้เข้ามาเจรจากับผู้นำของไทย โดยมีการจับจองพื้นที่พิเศษ ศูนย์กระจายสินค้า ECC (Eastern Economic Corridor ) และได้รับการ “ยกเว้นภาษีศุลกากร” ในการนำเข้าอีคอมเมิร์ซ สามารถคืน - เคลม สินค้า ได้ภายใน 14 วัน

หมายความว่าอย่างไร?

คิดง่าย ๆ ว่าศูนย์กระจายสินค้า ECC นี้เป็นพื้นที่ประเทศจีน เพียงแค่ตั้งอยู่ในไทย การซื้อ - ขาย บนอีคอมเมิร์ซต่าง ๆ จะส่งสินค้าออกจากศูนย์กระจายสินค้า ECC คนซื้อสามารถ คืน - เคลมสินค้าได้ภายใน 14 วัน คนขายไม่ต้องเสียภาษีศุลกากร สำหรับออเดอร์นั้น ต่อไปนี้ ไม่ว่าคุณจะซื้ออะไรบนอีคอมเมิร์ซ ก็ตัดสินใจไม่ยากเลย เพราะส่งกลับไปเคลมได้ง่าย ฝั่งคนขายก็ไม่ต้องเสียภาษีศุลกากร Win - Win ทั้งคนซื้อและคนขาย

ผลกระทบกับคนขายออนไลน์

  • อวสานแม่ค้าคนกลาง แม่ค้าพรีออเดอร์

    แม่ค้าที่ขายแบบ ซื้อมา - ขายไป งานนี้มีหนาว ลองคิดดูว่าสินค้าเหมือนกันมีขายอยู่ทั่วไป แล้วทำไมลูกค้าต้องเลือกซื้อที่ร้านคุณ?

    ลูกค้าสั่งของใน Lazada ฐานส่งอยู่ไทย ไม่ต้องรอ 2 - 3 สัปดาห์แล้ว จะลดเวลาขนส่งเหลือแค่ 1 สัปดาห์ก็ได้ค่ะ ราคาก็ถูกกว่าแน่ ๆ อยู่แล้ว นอกจากถูกแล้วยังเคลมสินค้าได้ง่ายอีกด้วย ร้านคุณล่ะ...เคลมสินค้าได้ไหม?

  • สงครามราคากำลังปะทุ

    เจอมาหลายปีกันแล้ว แต่ครั้งนี้จะทวีความรุนแรงขึ้นไปอีก เพราะคนเข้าถึงสินค้าได้ง่ายขึ้น แล้วทีนี้จะเกิดอะไร?

    คำตอบคือ แม่ค้าออนไลน์ก็จะเพิ่มขึ้น ตัดราคาแย่งลูกค้ากันแน่นอน!!  นอกจากนั้นการสั่งสินค้าราคาไม่เกิน 1500 บาท จะได้รับการยกเว้นภาษี (ถ้าเคยสั่งสินค้าจาก Aliexpress ราคาไม่เกิน 1500 บาท จะรู้ว่าไม่ต้องเสียภาษี หากราคาสินค้าเกิน 1500 บาท ก็ต้องเสียภาษีตามปกติค่ะ) แล้วคุณคิดว่าลูกค้าจะไปสั่งสินค้าที่ไหนล่ะ?

  • SME ที่ผลิตสินค้าคล้ายจีน

    มองไปทางไหนสินค้าเกือบทุกอย่างก็ผลิตจากจีนทั้งนั้น SME ที่รับผลิตสินค้าคล้ายสินค้าของจีนก็จะต้องหาทางรับมือให้ได้กันแล้ว บางทีอาจจะเกิดคำถามขึ้นมาแล้วว่างานนี้จะสู้หรือจะหมอบดี? 

คนค้าออนไลน์ปรับตัวยังไง?

  • ต้องเพิ่มมูลค่าให้สินค้า หมดยุคซื้อมา - ขายไป

    สินค้าที่ขายอยู่ มีคุณค่าอย่างไร? ช่วยเหลือลูกค้าได้อย่างไรบ้าง เอาไปเสริมเติมแต่งจับคู่กับสินค้าอื่น ๆ ได้ไหม? หรือว่าสามารถเอาไปแปรรูปต่อจากเดิมได้ไหม?

  • เลือกซื้อสินค้า Aliexpress แล้วส่งจากเลือกโกดังไทย

    ในเมื่อไหน ๆ ก็มาตั้งศูนย์กระจายสินค้าแล้ว ลองสั่งเลยสิ ถูกกว่า ไวกว่า ไม่ต้องผ่านชิปปิ้ง เชื่อเถอะว่ามีหลายคนที่สั่งของจาก Aliexpress Lazada Shopee มาขายใน Facebook จริง ๆ

  • ตีแบรนด์สินค้า

    ถ้าพอมีทุนก็ทำแบรนด์ของตัวเอง ผลิตเองหรือซื้อมาตีแบรนด์ก็ได้ค่ะ จะได้เป็นเจ้าของเองตั้งแต่ต้นน้ำไปเลย (เพราะยังไงลูกค้าก็จำแบรนด์ได้มากกว่าจำร้านนะจ๊ะ)

  • ส่งออกสินค้าไทยไปให้ทั่วโลก

    โจทย์ง่าย ๆ คือสินค้าอะไรที่จีนผลิตไม่ได้? ด้วยความร่วมมือที่ Alibaba จะสนับสนุนสินค้าเกษตร และสินค้า OTOP เพราะฉะนั้น! ลองค้นหาสินค้าใกล้ตัวที่ผลิตโดยคนไทย แล้วพาสินค้าเหล่านี้ไปแจ้งเกิดสิคะ

การมาครั้งนี้ของ Alibaba Group ไม่ได้มีแต่ข้อเสียซะทีเดียว โอกาสใหม่ๆก็มีมาด้วย งานนี้ก็อยู่ที่คุณแล้วล่ะค่ะ ว่ากำลังมองมุมไหนอยู่?

กรมศุลกากรจะส่งใบแจ้งสีเขียว ๆ มาตามที่อยู่ของเรา โดยปกติสามารถเช็คตามเลข Tracking พัสดุที่ส่งมาได้เลย อย่างเช่นของไปรษณีย์ไทย เราจะเจอสถานะของพัสดุคือนำจ่ายไม่สำเร็จ และเจ้าหน้าที่จะเขียนเหตุผลว่า ออกใบแจ้ง ซึ่งก็หมายถึงใบแจ้งสีเขียวค่าภาษีนำเข้านั่นเอง รอมาส่งถึงที่บ้านได้เลย ก่อนจ่ายสามารถตรวจสอบความถูกต้องของภาษีได้ หากเราคิดว่ากรมศุลกากคิดภาษีมาแพงเกินจริง สามารถส่งคำร้องโต้แย้งได้ แต่ต้องอ้างอิงจากอัตราเสียภาษีนำเข้าจากกรมศุลกากรเท่านั้น

การช้อปสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศในยุคนี้ค่อนข้างสะดวกสบาย เพราะสามารถเลือกซื้อได้จากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นทางแพลตฟอร์ม Marketplace ในไทย อย่าง Shopee, Lazada, Taobao, Amazon และอีกมากมาย ที่สามารถซื้อสินค้าจากต่างประเทศได้ง่าย ๆ  แต่ทุกครั้งที่สั่งของมาจากต่างประเทศ ควรจะต้องคำนึงถึงการชำระภาษีนำเข้าด้วยเสมอ 

ภาษีนำเข้าคืออะไร?

ภาษีนำเข้า คือ ภาษีที่รัฐเรียกเก็บจากผู้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ โดยสินค้าแต่ละประเภทก็จะมีอัตราการชำระภาษีที่แตกต่างกัน ส่วนนี้ก็เพื่อปรับปรุงการค้าภายในประเทศ และเพื่อเป็นการส่งเสริมบางอุตสาหกรรมให้ดำเนินการต่อไปได้ อย่างเช่น รัฐยกเว้นภาษีให้กับเครื่องจักรการผลิต เพื่อส่งเสริมให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ เป็นต้น (อ่านเพิ่มเติม > 5 ข้อควรรู้ ส่งของไปต่างประเทศง่าย ๆ ฉบับประหยัดงบน้อย!)

สั่งของจากต่างประเทศเสียภาษีอย่างไร?

ภาษีนำเข้าจะเกิดขึ้น เมื่อมีการซื้อของจากต่างประเทศกลับมายังไทยหรือสั่งซื้อของออนไลน์ที่ส่งมาจากต่างประเทศ ถ้าของที่นำเข้าไทยมานั้นมีมูลค่าสูงเกินที่กำหนดไว้เราจะต้องจ่ายภาษีเพื่อนำของชิ้นนั้นเข้าประเทศ โดยจะเสียให้กับกรมศุลกากร ทุกครั้งที่มีพัสดุเข้ามาจากต่างประเทศจะต้องผ่านการตรวจประเมินราคา จากนั้นจะส่งใบเรียกเก็บภาษีไปยังผู้รับ เพื่อมาชำระและรับของที่ไปรษณีย์ 

สินค้าราคาเท่าไหร่จึงจะเสียภาษี?

หากราคาสินค้าที่นำเข้ามา มีมูลค่าเกิน 1,500 บาท จะต้องเสียภาษีตามอัตราประเภทสินค้าแต่ละชนิด โดยมี เทคนิคการสั่งของจากต่างประเทศโดยไม่ต้องเสียภาษีแบบถูกต้อง คือ

1. สั่งของไม่เกิน 1,500 บาท สั่งของจากต่างประเทศจะต้องคำนวณให้ดีเสมอ  กรมศุลกากรกำหนดราคาสินค้าทุกชนิด มูลค่าไม่เกิน 1,500 บาท จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่ายภาษีอากรนำเข้า 

2.สั่งของจากต่างประเทศ ผ่านบริการ  Shipping สำหรับผู้ที่สั่งสินค้าราคาเกิน 1,500 บาท ควรใช้บริการ Shipping ระหว่างประเทศ จ่ายแค่ค่าขนส่งอย่างเดียว โดยให้ Shipping เคลียร์เรื่องภาษีนำเข้าให้ได้เลย (อ่านเพิ่มเติม > อยากส่งของไปต่างประเทศ เลือกบริษัทขนส่งไหนดี?)

อัตราภาษีนำเข้าสินค้าละประเภท

สินค้าแต่ละประเภทจะเสียภาษีไม่เท่ากัน  ยกตัวอย่างสินค้าที่คนไทยนิยมสั่งของจากต่างประเทศ อัตราเสียภาษีนำเข้า คิดตามเปอร์เซ็นต์ดังนี้..

  • ภาษีนำเข้า 30% : เครื่องสำอาง หมวก น้ำหอม รองเท้า ผ้าห่ม ร่ม
  • ภาษีนำเข้า 20% : กระเป๋า
  • ภาษีนำเข้า 10% : CD DVD อัลบั้ม คอนเสิร์ต Power Bank หูฟัง Headphone Earphones ตุ๊กตา
  • ภาษีนำเข้า 5% : นาฬิกา แว่นตา แว่นกันแดด
  • ยกเว้นภาษีนำเข้า แต่เสีย VAT 7% : นิตยสาร Photobook คีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ เมาส์ (อ่านเพิ่มเติม > 4 ทริค ส่งของไปต่างประเทศให้ราบรื่น)

วิธีคำนวณภาษี

จำนวนเงินที่จะนำมาคิดภาษีนั้นจะมาจาก ราคาสินค้า+ค่าจัดส่ง+ค่าประกันภัย โดยมีเกณฑ์ง่าย ๆ ตามนี้

  • รวมกันไม่เกิน 1,500 บาท ไม่ต้องจ่ายภาษี
  • รวมกันแล้วเกิน 1,500 บาทขึ้นไป ต้องจ่ายภาษี

ถ้ามีการจ่ายภาษี จะมีภาษีที่ต้องจ่าย 2 รายการด้วยกัน คือ

  • ภาษีนำเข้า = ขึ้นอยู่กับประเภทของสิ่งของ
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (vat) = 7%

โดยสามารถคำนวณภาษีได้ด้วยตัวเอง ดังนี้

  • ค่าสินค้ารวมค่าส่ง x อัตราภาษีนำเข้า (%) = ภาษีนำเข้า
  • ค่าสินค้ารวมค่าส่ง + ภาษีนำเข้าที่ต้องจ่าย x vat 7% = ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: //article.redprice.co, //www.you.co

ปรึกษาหรือสนใจส่งสินค้าไปต่างประเทศ

ติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง เพื่อขอรับรายละเอียดเพิ่มเติมโทร 02-026-3165 หรือ > ขอรับใบเสนอราคา < กดที่นี่

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง