การศึกษาไทยในปัจจุบัน 2565

กระทรวงศึกษาธิการ เตรียมความพร้อมให้การศึกษา เพื่อมุ่งลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา สร้างโอกาสทางการศึกษา และยกระดับคุณภาพทางการศึกษา

ผ่านความพร้อมใน 3 ด้าน

#นักเรียนพร้อม

1. พาน้องกลับมาเรียน – ติดตามตัวเด็กตกหล่นและหลุดออกกลางคัน ให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาอีกครั้ง โดยสามารถพาเด็กกลับมาเรียนได้สำเร็จกว่า 95% และเดินหน้าพาน้องกลับมาเรียนให้ได้ครบทุกคน ในปี 2565

2. MOE Safety Center – ความปลอดภัยในสถานศึกษา เป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอันดับแรก เราต้องทำให้โรงเรียนเป็นเหมือนบ้านหลังที่ 2 ที่มีความปลอดภัยอย่างแท้จริง โดยมีช่องทางแจ้งปัญหาความไม่ปลอดภัยที่สามารถสั่งการแก้ไขและติดตามได้ตลอด 24 ชั่วโมง

3. ศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) และ ศูนย์ CVM – ยกระดับหลักสูตรอาชีวะให้มีความเป็นเลิศ ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด ทันต่อการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ และอาชีพใหม่ ๆ โดยดึงภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อให้เด็กอาชีวะเรียนจบมาแล้วพร้อมทำงานมากที่สุด

#ครูพร้อม

4. แก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา – ปลดหนี้ปลดภาระให้ครูมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นผ่านการเจรจาไกล่เกลี่ยหนี้และช่วยปรับโครงสร้างหนี้ ทำให้ครูมีเวลาดูแลนักเรียนมากขึ้น พร้อมติดอาวุธความรู้วินัยทางการเงินให้กับครูทั่วประเทศ

#โรงเรียนพร้อม

5. โรงเรียนคุณภาพ – ปรับรูปแบบการสอนแบบ Active Learning ให้นักเรียนมีส่วนร่วมกับห้องเรียนมากขึ้น และ Sharing Resources ผนึกกำลังโรงเรียนแบ่งปันทรัพยากรร่วมกัน เพื่อดึงศักยภาพแต่ละด้านที่โดดเด่น มาร่วมสร้างการศึกษาที่มี ‘คุณภาพ’ ให้กับเด็กไทยทั่วประเทศ

เปิดฉากการศึกษาในรอบปี 2565 ภายใต้การนำของสตรีหมายเลขหนึ่งแห่งวังจันทรเกษม “เสมา1” น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่นั่งเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ครบ 1 ขวบปีเต็ม พร้อมประกาศนโยบายเดินหน้าการบริหารจัดการศึกษาขจัดความเหลื่อมล้ำสร้างโอกาสให้แก่ผู้เรียนครบทุกมิติ เริ่มตั้งแต่นโยบาย “สถานศึกษาปลอดภัย” หรือ MOE Safety Center สถานศึกษาปลอดภัย โดยมีการนำแอพพลิเคชั่นเข้ามาช่วยให้นักเรียนและผู้ปกครองสามารถสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว หรือแจ้งมาที่ส่วนกลาง หรือ ศูนย์ความปลอดภัยกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกและทำให้สามารถแก้ปัญหาได้เร็วขึ้น “SAFE สถานศึกษาปลอดภัย” ได้มีการเปิดตัวไปแล้วที่ส่วนกลาง ตอนนี้ก็เป็นการขยายผลไปยังส่วนภูมิภาค เพื่อสร้างความตระหนักและให้เกิดการรับรู้อย่างทั่วถึงมากขึ้น

นอกจากนี้ยังมีนโยบาย “อาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ” ในสถานศึกษาของรัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) 88 แห่งทั่วประเทศ รองรับนักเรียนที่ตกหล่นจากระบบการศึกษา และเยาวชนที่ขาดโอกาสทางการศึกษา หรืออยู่ในพื้นที่ห่างไกล เพื่อสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาทุกช่วงวัย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งปลูกฝังค่านิยมด้านคุณธรรมจริยธรรมให้แก่นักเรียนสายอาชีพที่มีฐานะยากจน ขาดโอกาสทางการศึกษาให้มีทักษะวิชาชีพ สามารถทำงานประกอบอาชีพได้

มาต่อที่โครงการ “พาน้องกลับมาเรียน” ที่เป็นความร่วมมือระหว่าง 3 หน่วยงานหลักของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) พร้อมกับ 11 พันธมิตรหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งถือเป็นความร่วมมือครั้งยิ่งใหญ่ และนับเป็นครั้งแรกที่จะบูรณการทำงานร่วมกัน เพื่อให้ทราบถึงจำนวนเด็กในปัจจุบัน เด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษา และจะมีการลงพื้นที่ติดตามถึงบ้าน เพื่อตามเด็กเหล่านี้กลับสู่ระบบการศึกษาอีกครั้ง โดยจากสถิติจำนวนนักเรียนที่หลุดออกจากระบบการศึกษาในปี 2564 รวมแล้วมีจำนวนมากถึง 238,707 คน ซึ่งหลังจากดำเนินการเชิงรุกสามารถตามเด็กกลับมาเรียนได้แล้ว 127,952 คน ยังเหลือเด็กที่หลุดจากระบบการศึกษา รวมจำนวน 110,755 คน

รวมถึงนโยบาย “โรงเรียนคุณภาพ” ซึ่ง “ตรีนุช” ให้ความสำคัญการยกระดับสถานศึกษาเดิมให้เป็นโรงเรียนคุณภาพ ซึ่งขณะนี้มีกลุ่มเป้าหมายเป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 10,480 แห่ง ระดับมัธยมศึกษา จำนวน 1,155 แห่ง และโรงเรียนพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร หรือโรงเรียน Stand Alone จำนวน 1,303 แห่ง รวมทั้งสิ้น 12,938 แห่ง เน้นขับเคลื่อนยกระดับเรื่องสำคัญ เช่น การเพิ่มจำนวนครูให้ครบชั้นครบวิชาเอก อาคารสถานที่เรียนปลอดภัยมีครุภัณฑ์อุปกรณ์อินเทอร์เน็ต ที่เอื้อต่อการเรียนรู้และทันสมัย เป็นต้น โดยขณะนี้ได้โรงเรียนคุณภาพที่เป็นโรงเรียนหลักแล้ว จำนวน 183 แห่งทั่วประเทศ โดยโรงเรียนแต่ละแห่งจะมีโรงเรียนระดับประถมศึกษา และโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา เป็นโรงเรียนเครือข่ายครอบคลุมโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด

สำหรับนโยบาย “การแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา” นั้น กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวใน 7 ประเด็น ได้แก่ 1.ลดดอกเบี้ยเงินกู้ 2.ควบคุมยอดหนี้ 3.จัดตั้งสถานีแก้หนี้ครูทั่วประเทศ 4.ชะลอการดำเนินการทางกฎหมาย 5.ปรับโครงสร้างหนี้ 6.กําหนดให้สามารถหักเงินสวัสดิการช.พ.ค และ 7.ติดอาวุธให้ความรู้และทักษะด้านการเงินแก่ครู

ทั้งนี้ น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ ยังได้เปิดเผยถึงทิศทางการศึกษาไทยในปีการศึกษา 2566 ว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาการศึกษาไทยได้เจอกับพายุโควิดอย่างหนัก เนื่องจากเราพบเด็กหลุดจากระบบการศึกษา และภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของนักเรียน ดังนั้นในปี 2566 จะเป็นปีแห่งการสร้างโอกาสทางการศึกษาของเด็กทุกคน และเติมทักษะความรู้ของผู้เรียนทุกช่วงวัย รวมถึงการเดินหน้าสร้างเครือข่ายโรงเรียนคุณภาพ นอกจากนี้ยังต้องขับเคลื่อนนโยบายสถานศึกษาปลอดภัย โดยเฉพาะการเพิ่ม 1 โรงเรียน 1 ครูอนามัย และในปีการศึกษา 2566 เด็กนักเรียนจะต้องรู้จักการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน หรือ การทำซีพีอาร์ให้ได้ ขณะนี้ครูจะมุ่งการอบรมพัฒนาปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนสู่การเรียนแบบ Active learning เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ของโลกในศตวรรษที่ 21 ขณะที่อาชีวศึกษาจะต้องเดินหน้าเพิ่มความร่วมมือทวิภาคีกับสถานศึกษาให้มากขึ้นเป็น 50% รวมถึงการฟื้นการเรียนทวิศึกษา ซึ่งเป็นการเรียนที่จบการศึกษาแล้วได้สองวุฒิ คือ วิชาชีพ และการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้แม้แต่ละนโยบายจะมีการขับเคลื่อนมาแล้วในปีที่ผ่านมาแต่ตนต้องการให้ปีหน้ามีการขับเคลื่อนอย่างเข้มข้นและเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามในปีการศึกษา 2565 ถือเป็นวาระสำคัญที่รัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศชูธงลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและสร้างโอกาสการเรียนรู้ของเด็กทุกคนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง