ตัวอย่าง การเขียนภูมิหลัง วิจัย

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
แนวคิด หลักการหรือทฤษฎี
การเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา หรือภูมิหลัง หรือหลักการและเหตุผล เพื่อเล่าให้ผู้อ่านทราบถึง ความเป็นมาของการวิจัย โดยเขียนให้สัมพันธ์กับหลักการและเหตุผลที่ต้องทำการวิจัยเรื่องนั้น ๆ มักอ้างอิงหลักการ แนวคิด และทฤษฎีที่สำคัญ ๆ มาประกอบการบรรยาย ทำให้ผู้อ่านมองเห็นความจำเป็นและสภาพปัญหาของการวิจัย มักจะเขียนเป็นย่อหน้า ๆ ไม่ยืดยาวเกินไป พยายามให้เนื้อความต่อเนื่องกัน มักจะเริ่มจากแนวนโยบาย หลักการ แนวคิด สภาพปัญหา และการแก้ปัญหา
การเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาจะต้องเขียนให้เห็นความสำคัญของปัญหาหรือหัวข้อที่จะทำการวิจัย โดยเน้นให้เห็นประเด็นสำคัญๆ ที่จำเป็นมีส่วนเกี่ยวกับปัญหาที่ทำการวิจัยโดยตรง สิ่งที่ควรคำนึงในการเขียนมี ดังนี้
1. เขียนให้ตรงประเด็น เหตุผลที่นำเสนอควรเป็นเหตุผลที่นำไปสู่จุดเป็นปัญหาที่จะทำการวิจัย และช่วยชี้ให้เห็นความสำคัญของสิ่งที่จะวิจัย
2. ควรใช้ข้อมูลอ้างอิงเพื่อให้เหตุผลนั้นดูมีน้ำหนักสมควรที่จะทำการวิจัย
3. ควรเขียนให้เข้าใจง่ายโดยนำเสนอเป็นประเด็นๆ เป็นลำดับต่อเนื่อง
การเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาอาจมีแนวทางในการเขียนเป็นลำดับขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นปัญหา กล่าวถึงสภาพปัญหาที่พบในการจัดการเรียนการสอน หรือสภาพการจัดการเรียนการสอนที่พึงประสงค์

  1. ขั้นวิเคราะห์ปัญหา ระบุถึงสภาพปัญหาของการจัดการเรียนการสอนโดยการวิเคราะห์ปัญหานั้นๆ อย่างรอบคอบ เพื่อชี้ให้เห็นประเด็นของการวิจัย หากมีตัวเลขประกอบให้นำมาระบุด้วย
    3. ขั้นสรุปแนวทางที่จะแก้ปัญหาหรือพัฒนา ระบุวิธีการหรือนวัตกรรมที่นำมาแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน

ตัวอย่าง
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันนี้ประเทศไทยมีการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในการสื่อสารทางภาษา ……………..การอ่านเป็นการสื่อสารที่สำคัญของมนุษย์ การอ่านภาษาไทยให้ถูกต้องชัดเจน จะทำให้การสื่อสาร………………..ประกอบกับแผนพัฒนาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระยะที่ 8 ได้กำหนดความจำเป็นของการใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร…………..กระทรวงศึกษาธิการมีเป้าหมายในการ………………….กรมวิชาการจึงได้กำหนดให้วิชาภาษาไทยเป็นวิชาบังคับโดย………..ดังคำกล่าวของ…..กล่าวว่า……………………………….ทำให้เห็นว่าภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติและการสื่อสารให้ถูกต้องจึงเป็นการรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมไทยอีกทางหนึ่งด้วย
จากการศึกษาและสำรวจสภาพปัญหาการอ่านของนักเรียน…………โดยวิธีการ…………พบว่า…………………………เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยจึงได้จัดทำ…………………………ขึ้น

การเขียนบทที่ 1 ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการทำวิทยานิพนธ์ มีหลักการว่าวิทยานิพนธ์ที่ทำมีความสำคัญและปัญหาอย่างไรถึงต้องทำเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องนี้ การแสดงให้เห็นถึงปัญหาที่ชัดเจน มีส่วนประกอบที่สำคัญ ดังนี้ ภูมิหลัง จุดมุ่งหมายของการวิจัย ความสำคัญของวิจัย กรอบแนวคิด ขอบเขตของงานวิจัย ท่านจะสามารถนำขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์บทที่ 1 ดังต่อไปนี้

1. การเขียนภูมิหลังที่ดี

ภูมิหลังจะทำหน้าที่แนะนำให้ผู้อ่านงานได้รู้ความเป็นมา หลักเหตุผล ความสำคัญ และปัญหาของวิทยานิพนธ์ เป็นการตอบคำถามที่ว่าทำไมถึงทำเรื่องนี้ขึ้นมา โดยทั่วไปจะเขียนประมาณ 3-5 หน้า และจะมีย่อหน้าไม่เกิน 7 ย่อหน้า ให้มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับชื่อเรื่องที่ทำ ต้องชี้ถึงปัญหาความสำคัญชัดเจน ชี้ถึงแนวโน้มในอนาคต ภูมิหลังที่ดีต้องอยู่ในกรอบของวิจัย ให้ภาษาที่ถูกต้องในการเขียน การเขียนภูมิหลังไม่มีกฏเกณฑ์ที่ตายตัวของแค่ความชัดเจนสั้นได้ใจความที่สำคัญชี้ถึงปัญหา และให้อยู่ในกรอบของการวิจัยที่ตั้งไว้

2. การเขียนวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายของงานวิจัย

การตั้งจุดมุ่งหมายจะตั้งเป็นข้อหรือไม่เป็นข้อก็ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่จะทำการศึกษา จุดมุ่งหมายของงานวิจัยมาจากเรื่อง และตัวแปรของการวิจัยเอามาตั้งเป็นจุดมุ่งหมาย ส่วนให้การตั้งจุดมุ่งหมายจะขึ้นต้นด้วยคำว่า “เพื่อ…” แล้วตามด้วยชื่อวิจัย การตั้งจุดมุ่งหมายต้องมีความชัดเจนเข้าใจง่ายไม่ซ้ำซ้อน เป็นประโยคบอกเล่า สามารถตรวจสอบหรือทดสอบได้ และมีความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นหรือหัวข้อจุดมุ่งหมายของวิจัย

3. การเขียนความสำคัญของการวิจัย

เป็นตัวที่บ่งชี้ว่าหลังจากที่ทำเสร็จแล้วจะได้อะไรจากงานบ้าง ความสำคัญของการวิจัยเป็นผลที่คาดว่าจะได้รับ อยู่ในขอบเขตไม่ควรอ้างความสำคัญของการวิจัยเกินขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษาเขียนความสำคัญให้ชัดเจน และสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการวิจัย

4. กรอบแนวคิดของการวิจัย

ถือว่ามีความสำคัญหรือไม่มีก็ได้ขึ้นอยู่กับเรื่องที่จะศึกษา และประเภทของงานวิจัย กรอบแนวคิดต้องระบุว่ามีตัวแปรอะไรบ้าง และตัวแปรแต่ละอย่างที่เลือกมาศึกษาจะต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร และแต่ละตัวแปรที่เลือกมาศึกษาจะต้องมีพื้นฐานทางทฤษฏีความมีเหตุมีผล หรือเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราจะศึกษา

5. ขอบเขตของการวิจัย

เป็นการระบุว่าวิจัยนั้นจะทำในเรื่องอะไร มีขอบเขตที่กว้างหรือแคบ จะทำการศึกษากับใคร จะมีส่วนประกอบย่อยได้แก่ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ เนื้อหาที่ใช้ส่วนใหญ่จะพบอยู่ในการวิจัยเชิงทดลอง ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยจะแบ่งเป็นตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองว่าตั้งแต่เริ่มต้นจนจบใช้เวลาเท่าไร

6. สมมติฐานของการวิจัย

จะเป็นกล่าวถึงข้อสันนิฐานคาดคะเนผลการวิจัยนั้นว่าค้นพบอย่างไร เขียนอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย กำหนดทิศทางของความสัมพันธ์ที่ชัดเจนไม่ควรเขียนในรูปของสมมติฐานสามารถทดสอบได้เขียนจากหลักการและเหตุผล และยังคงใช้ภาษาที่ชัดเจน เข้าใจง่าย และรัดกุม

7. นิยามศัพท์เฉพาะ

มีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะผู้ที่วิจัยไม่สามารถที่จะอธิบายข้อเท็จจริงทั้งหมดได้ การให้คำอธิบายที่จำเป็นจึงเป็นสิ่งสำคัญ ให้เลือกตัวแปรที่เกี่ยวข้องเน้นให้ผู้อ่านเข้าใจ สามารถเลือกใช้งานที่เหมาะสม ถ้ายกมาจากบุคคลอื่นควรที่จะใส่อ้างอิงถึง และต้องเขียนศัพท์ภาษาอังกฤษกำกับไว้ด้วย

หากทำตามวิธีที่บอกไว้ข้างต้นก็จะเป็นการเริ่มต้นการเขียนวิทยานิพนธ์บทที่ 1ได้อย่างรวดเร็วถูกต้องแม่นยำ สามารถประยุกต์ใช้กับงานวิจัยที่เขียนทำให้เขียนบทที่ 1 เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นมาทันที

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

แอดเพิ่มเพื่อน

Related posts:

“ประชากร” กับ “กลุ่มตัวอย่าง” ต่างกันอย่างไร

การจ้างทำวิทยานิพนธ์ไม่ได้แปลว่า “โง่”

รับคีย์ข้อมูล SPSS หน้าละ 1.50 บาท ไม่จำกัดขั้นต่ำ

4 เทคนิคตั้งหัวข้อ is ตั้งอย่างไรถึงผ่านง่าย

ทำงานวิจัยเรื่องอะไรดี เป็นเรื่องที่ตนเองถนัด และอาจารย์ที่ปรึกษาอนุมัติให้ผ่าน

การทำงานวิจัยของปริญญาโท ใครว่ายาก...

บริการแปลงานวิจัย ด้วยทีมงานมืออาชีพ

5 ข้อสงสัยเกี่ยวกับบริการรับทำวิจัย ที่คุณควรรู้

Post Views: 1,078

  • Facebook iconfacebook
  • Twitter icontwitter
  • LINE iconline

การทำ Thesis (ธีสิส)การทำงานวิจัยการทำงานวิทยานิพนธ์การทำวิจัยการเขียนวิจัยบทที่ 1การเขียนวิทยานิพนธ์บทที่ 1

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง