ตัวอย่างความขัดแย้งระหว่างบุคคล

คือ ความไม่ลงรอยกัน หรือสภาวะที่ไม่เห็นพ้องต้องกัน หรือความเป็นปฏิปักษ์กัน ระหว่างบุคคล หรือกลุ่มบุคคล ตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป โดยมีสาเหตุมาจากวัตถุประสงค์ ที่ไม่สามารถเข้ากันได้ ความไม่ลงรอยกัน ทางด้านความต้องการ ความปรารถนา ค่านิยม ความเชื่อ และหรือทัศนคติ ( Catherine Morris , 2004:12)

ประเภทของความขัดแย้ง

1. ความขัดแย้งในตัวเอง

2. ความขัดแย้งด้านสัมพันธภาพกับเพื่อน

3. ความขัดแย้งในการทำงาน

ซึ่งมีทั้งขัดแย้งทางความคิดความรู้สึกหรือการกระทำ

ความขัดแย้งในตนเอง

-รักพี่เสียดายน้อง (Approach-Approach Conflict) เป็นความต้องการหรือพอใจทั้งสองอย่าง แต่เลือกได้เพียงอย่างเดียว เช่น ต้องเลือกงานเพียงงานเดียว ทั้งๆ ที่ผ่านสัมภาษณ์งานทั้ง 2 แห่ง

-หนีเสือปะจระเข้ (Avoidance-Avoidance Conflict) เป็นความรู้สึกที่ไม่ต้องการไม่ปรารถนาทั้ง 2 อย่าง แต่ต้องเลือก 1 อย่าง เช่น ไม่อยากนั่งรถตู้เพราะอันตราย และก็ไม่อยากนั่งรถเมล์เพราะแน่นและช้า

-เกลียดตัวกินไข่ (Approach-Avoidance Conflict) คือมีทั้งสิ่งที่พอใจไม่พอใจอยู่ร่วมกัน จำเป็นต้องเผชิญหน้าทั้ง 2 อย่างในเวลาเดียวกัน เช่น ไม่อยากใช้สินค้าจีนเพราะไม่ได้คุณภาพแต่ราคาถูกดี

ตัวอย่างความขัดแย้งในที่ทำงาน (1)

-การโต้เถียงกันอย่างรุนแรงในหน่วยงาน

-การไม่ช่วยทำงานที่หัวหน้ามอบหมายให้

-การเพิกเฉยต่อคำสั่งของหัวหน้างาน การไม่ปฏิบัติตามระเบียบองค์กร

-หัวหน้ามอบหมายงานที่ไม่ชอบให้ทำ หลีกเลี่ยงไม่ได้

-รุ่นพี่ในที่ทำงานพูดจาไม่ดีกับเรา มีการพูดจาแซวกันแรงๆ

-รุ่นพี่ขายเวรให้ เราไม่อยากรับเพราะเหนื่อย อยากพัก

-พี่ๆ เพื่อนๆ ในห้องไปดูหนังหรือกินข้าว แล้วไม่ชวนเรา เรามารู้ทีหลัง

-การไม่สื่อสารกันโดยตรง (เช่น พูดคุยกันเฉพาะงาน เรื่องอื่นไม่คุยด้วย หรือพูดผ่านคนกลาง)

-มีพี่เจ้าหน้าที่มาขอยืมเงิน อ้างว่ามีเรื่องเดือดร้อน เราไม่อยากให้

-เพื่อนชวนไปเที่ยวผับแห่งหนึ่ง ไม่อยากไป แต่ไม่อยากขัดใจเพื่อน

-เพื่อนมายืมหนังสือ แล้วยังไม่ยอมคืน พอทวงบอกว่าคืนแล้ว

-เพื่อนขอมาค้างสักระยะ บอกว่ารอเข้าหอใหม่อยู่ เราอึดอัด

-มีคนมาชวนไปทำงานที่ใหม่ ต้องเลือกระหว่างงานใหม่กับงานเก่า

สาเหตุของความขัดแย้ง

-บุคลิกภาพ อารมณ์ ทัศนคติ

-การมองโลกในแง่ลบ ไม่ยืดหยุ่น ตั้งความหวังไว้สูง(ผิดหวัง)

-การช่างจดช่างจำ ไม่ให้อภัยผู้อื่น

-การรับรู้ที่ผิดพลาด การสื่อสารผิดพลาด

-มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม เช่น คุยโทรศัพท์กับเพื่อนนาน 2 ชม. เล่น internet จนดึกดื่น

-มีการแข่งขัน

                © การเปลี่ยนความขัดแย้งเป็นความสร้างสรรค์นั้น

                สิ่งสำคัญคืออยู่ที่การลดความยึดมั่นในตนเอง

                พร้อมกับเปิดใจยอมรับว่าทุกคนมีความแตกต่างทางความคิดและประสบการณ์©

                ©ปัญหาความขัดแย้งจะกลายเป็นความคิดสร้างสรรค์

                ความขุ่นข้องหมองใจจะกลายเป็นการยอมรับและความแตกต่างจะกลายเป็นครูสอนให้เราทุกคนได้เรียนรู้   และเติบโตไปพร้อมๆ กัน©

หลักการสร้างและรักษาสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนที่สำคัญดังนี้

-หลีกเลี่ยงความขัดแย้ง และพยายามยุติความขัดแย้งนั้นด้วยสันติวิธี

-มีความรู้สึกที่ดีต่อตัวเองและผู้อื่น

-ยอมรับความแตกต่างทางความคิดเห็นของเพื่อน

-สนใจดูแลเอาใจใส่ความรู้สึกและความต้องการของเพื่อน

-รับฟังความคิดเห็นของเพื่อน

-มีความเป็นตัวของตัวเองที่แตกต่างจากกลุ่มเพื่อน

กลยุทธการบริหารความขัดแย้ง

            1. การเผชิญหน้ากับความขัดแย้ง
               - เลือกเวลาและสถานที่ ในการพูดคุย

                   2. เข้าใจสภาพแวดล้อมแต่ละฝ่าย

              - การหาสาเหตุของความขัดแย้งให้ได้
                   - การศึกษาถึงอารมณ์ และความรู้สึกแต่ละฝ่าย

              3. ระบุปัญหา

               - สร้างความชัดเจนของปัญหาให้ถูกต้อง
               - เคารพในความคิดตนและผู้อื่น

            4. แสวงหาและประเมินทางเลือก
            - ทั้งสองฝ่ายหาทางเลือกที่หลากหลาย
            - แสวงหาแนวทางขจัดความขัดแย้งในแต่ละทาง

                - ประเมินทางเลือกที่ทุกฝ่ายได้ชัยชนะร่วมกัน

            5. สรุปแนวทาง และนำทางเลือกที่เหมาะสมไปใช้

              1.         การหลีกเลี่ยง (Avoidance)

               การหลีกเลี่ยงเป็นวิธีการที่ให้ประสิทธิภาพผลน้อยที่สุดใน 5 วิธีการบริหารความขัดแย้งทั้งหมด เพราะเนื่องจากการหลีกเลี่ยงมิได้ทำให้ความขัดแย้งนั้นหมดไป แต่เป็นเพียงการหลบเลี่ยงจากปัญหาที่ไม่ได้เกิดการแก้ไข และพร้อมที่จะกลับมาเจอกับปัญหาได้อีกตลอดเวลา รวมทั้งยังอาจเป็นการก่อให้คู่กรณีเกิดโทสะได้ เช่น ฝ่ายตรงข้ามอาจจะคิดว่า เราไม่ให้ความสำคัญหรือสนใจเพียงพอในการรับฟัง จึงกลับกลายเป็นการเพิ่มความขัดแย้งมากขึ้นไปอีก ผู้ที่ใช้วิธีการนี้มักจะพยายามให้ตนเองหนีไปจากเหตุการณ์ที่เป็นปัญหาขัดแย้ง โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับฝ่ายตรงข้ามที่จะนำข้อโต้แย้งเข้ามาหาตน หรือโดยวิธีการเปลี่ยนประเด็นการสนทนา (Changing Issues) ดังนั้น วิธีการหลีกเลี่ยงจึงเป็นการหนีปัญหา ผู้ที่ใช้วิธีการหลีกเลี่ยงอาจต้องคอยหวาดระแวงว่าวันใดวันหนึ่งจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงนิยมใช้สำหรับผู้อ่อนแอ ไม่มีความสามารถในการเผชิญหน้า แต่อาจจะใช้ได้ดีสำหรับประเด็นปัญหาที่ไม่ค่อยจะสำคัญนัก  

                 ข้อดี     ทำได้ง่าย

                 ข้อเสีย   ปัญหายังคงมีอยู่ ต้องหวาดผวา

            2.         การแข่งขัน (Competition)

           เป็นการใช้วิธีเอาแพ้เอาชนะ เพื่อให้ตนเองสามารถบรรลุความต้องการ อาจจะต้องใช้อำนาจหรือการแสดงความก้าวร้าวรุนแรง อันอาจจะเกิดมาจากเมื่อมีอุปสรรคหรือสิ่งขัดขวางมิให้บรรลุเป้าหมาย จึงใช้วิธีการที่อาจจะต้องทำลายอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตนหวังไว้

           ผู้ที่อยู่ในลักษณะของการแข่งขัน มักจะแสวงหาข้อโต้แย้งอยู่เสมอและจะคำนึงถึงจุดหมายเฉพาะของตนโดยใช้การบีบบังคับให้มีการยอมรับ เพื่ออำนาจที่เหนือกว่า และจะรับรู้เฉพาะจุดดีของตน มองหาจุดบกพร่องของฝ่ายตรงข้าม

           วิธีการนี้เป็นการสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ที่เป็นฝ่ายชนะ แต่ในทางตรงกันข้ามผู้ที่เป็นฝ่ายแพ้อาจจะเก็บความคับแค้นใจไว้ในขณะหนึ่ง เพื่อรอเวลาที่จะหาทางแก้แค้นในที่สุด อย่างไรก็ดี วิธีการแข่งขันถือได้ว่าเป็นวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งวิธีหนึ่งที่ใช้ได้ผล

           เมื่อทั้ง 2 ฝ่าย มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันเพียงช่วงระยะเวลาอันสั้น และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรักษาสัมพันธภาพในระยะยาว การแข่งขันจึงเป็นวิธีที่รวดเร็วของการแก้ไขข้อขัดแย้งในกรณีนี้

3.         การประนีประนอม (Compromise)

       เป็นวิธีที่บุคคลทั้งสองฝ่ายที่มีความขัดแย้ง สามารถตกลงกันได้โดยวิธี “พบกันครึ่งทาง” ต่างฝ่ายต่างต้องยอมลดความต้องการของตนบางส่วน ดังนั้น วิธีการนั้นจึงเป็นการที่แต่ละฝ่ายต้องเสียสละบางส่วน เพื่อให้ได้ข้อตกลงที่สามารถยุติปัญหาความขัดแย้ง มักจะพบได้ว่าบุคคลทั้งสองฝ่ายจะไม่ค่อยเห็นด้วยอย่างเต็มที่นักในระยะยาว เพราะต่างฝ่ายต่างก็ต้องยอมเสียบางส่วนของตน อาจจะด้วยความไม่เต็มใจ

       อย่างไรก็ดี การใช้วิธีประนีประนอมเพื่อลดข้อขัดแย้งอาจจะใช้ได้ผลกับความขัดแย้งในผลประโยชน์อันเกิดจากความจำกัดของทรัพยากร (Scarce Resources) ที่จะมีผลสนองต่อความต้องการของแต่ละฝ่ายได้

           ข้อดี    ต่างฝ่ายต่างได้เท่าที่ตกลงรอมชอมกัน

           ข้อเสีย   ฝ่ายเสียเปรียบจะยังขุ่นเคืองใจ

4.         การปรองดอง (Accommodation)

           เป็นวิธีการแก้ปัญหาด้วยการยอมเสียสละความต้องการของตนเอง เพื่อที่จะให้ฝ่ายตรงข้ามบรรลุความต้องการของตน เป็นการสร้างความพึงพอใจให้แก่อีกฝ่าย เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง แต่วิธีนี้มักจะไม่ก่อให้เกิดความพึงพอใจแก่ผู้ยินยอมให้ เพราะตนต้องยอมสละความต้องการและเป้าประสงค์ของตนให้แก่ผู้อื่น จึงเป็นการสร้างความคับแค้นใจที่ติดอยู่ในใจ วิธีการนี้จึงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนักในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง

                         ข้อดี ทำให้บรรเทาความขัดแย้งได้ในเวลาอันรวดเร็วเพราะคู่กรณีได้รับประโยชน์จึงเกิดความพึงพอใจและยุติข้อขัดแย้ง

                           ข้อเสีย     ผู้ได้ประโยชน์ย่ามใจ ผู้เสียประโยชน์รอวันแก้แค้น

5.         การร่วมมือ (Collaboration)

           โดยทั่วไปการแก้ไขความขัดแย้งด้วยการเผชิญหน้า เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด จากวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด คู่กรณีทั้งสองฝ่ายยินยอมที่จะหันหน้าเข้าหารือกันเพื่อหาวิธีที่ดีที่สุดในการช่วยกันบริหารความขัดแย้ง การร่วมมือกันเป็นการทำความตกลงกันในลักษณะของการบรรลุถึงข้อยุติโดยวิธีการซึ่งคู่กรณีทั้งสองฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจ และยินยอมพร้อมใจ รวมทั้งยอมที่จะปฏิบัติตามผลของข้อยุตินั้น อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้จำเป็นจะต้องใช้ระยะเวลามากในการจัดการแก้ไขปัญหา แต่ก็เป็นวิธีที่ดีที่สุด สำหรับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับข้อขัดแย้งทุกฝ่ายที่มีสัมพันธภาพในการทำงานอยู่ร่วมกันในระยะยาว           

             ข้อดี     เป็นการยุติข้อขัดแย้งที่บรรลุข้อตกลงด้วยดีมีผลยาวนาน

             ข้อเสีย เป็นการยากที่จะทำให้ทั้งสองฝ่ายมีความพอใจ และพร้อมใจร่วมมือกัน

แนวทางแก้ไขความขัดแย้งด้านสัมพันธภาพ

1.ประวัติสัมพันธภาพ ที่ไม่สร้างสรรค์ในอดีตแต่เอามาใช้ในปัจจุบัน         การแก้ไข อย่านำไปปฏิบัติหรือจดจำในปัจจุบัน

2. อารมณ์ที่รุนแรง

   ความโกรธ ความไม่พอใจ ความกังวล ความสิ้นหวัง

การแก้ไข ออกกำลังกาย ขอเวลานอก/ เตือนสติ ใช้อารมณ์ขัน

3. การรับรู้ที่ผิดพลาด

   มองแบบตายตัวหรือ มองแบบผิวเผิน

   การแก้ไข เอามุมมองและอคติเหล่านั้นออกไป

4. การสื่อสารไม่ดี หรือ บกพร่อง การแก้ไข เพิ่มพลังความสามารถการสื่อสาร

   -ไม่มีสัมพันธภาพใดๆ เกิดขึ้น ถ้าไม่มีการสื่อสาร

   -คุณภาพการสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญ ช่วยเพิ่มพลังความสามารถจัดการความขัดแย้ง

5. พฤติกรรมไม่สร้างสรรค์ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว ทำให้ฝ่ายอื่นรำคาญ จนกลายเป็นความขัดแย้ง

                การแก้ไข บอกกล่าวอย่างสุภาพ ตัดการรับรู้พฤติกรรมดังกล่าว

แนวปฏิบัติที่สำคัญเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อผู้อื่น

-ให้ความสนใจเพื่อร่วมงาน

-ยิ้มแย้ม

-แสดงการจำได้

-เป็นคู่สนทนาที่ดี

-รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น--lแสดงการยอมรับนับถือผู้อื่นตามสถานภาพ

-แสดงความมีน้ำใจ ซึ่งการมีน้ำใจต่อผู้อื่น

-แสดงความชื่นชมยินดี

          การวางตนในการทำงานกับเพื่อนร่วมงาน

-มองเพื่อร่วมงานในแง่ดี ให้ความจริงใจ ให้ความช่วยเหลือ

-หลีกเลี่ยงการผลักภาระรับผิดชอบของตนไปให้เพื่อนร่วมงาน

-เมื่อมีปัญหาต้องพูดคุยกัน ควรพยายามเข้าหาเพื่อนร่วมงานก่อนเพื่อให้เกียรติ ให้ความสำคัญ

-หาโอกาสพบปะสังสรรค์กับเพื่อนร่วมงานตามสมควร อย่าปลีกตัวตลอดเวลา

- ให้การยกย่องชมเชยตามโอกาสอันควร แต่อย่าให้มากไปจนดูไม่จริงใจ
 -หลีกเลี่ยงการแสดงอารมณ์เมื่อมีการขัดแย้งเกิดขึ้น และพยายามใช้เหตุใช้ผลในการแก้ปัญหา

-หลีกเลี่ยงการทำตนเหนือเพื่อนร่วมงาน หรือใช้วาจาข่มขู่ ก้าวร้าว ดูหมิ่นเหยียดหยาม

- หลีกเลี่ยงการขอร้องให้ช่วยเหลือในบางเรื่องที่เล็กน้อยและเราทำได้เอง

-หลีกเลี่ยงการนินทาว่าร้าย หรือวิพากษ์วิจารณ์ เพื่อร่วมงานลับหลัง

- ให้อภัย ให้โอกาส เมื่อเพื่อนร่วมงานปฏิบัติผิดพลาด

ข้อพระคัมภีร์เตือนใจเรื่องการใช้คำพูด

-พระธรรมเอเฟซัสบทที่ 4 ข้อ 29

-อย่าให้คำหยาบคายออกมาจากปากท่านเลย แต่จงกล่าวคำที่ดี และเป็นประโยชน์ให้เกิดความจำเริญเพื่อจะได้เป็นคุณแก่คนที่ได้ยินได้ฟัง

ความขัดแย้งระหว่างบุคคล มีอะไรบ้าง

Beebe Beebe, & Redmond (1996) เสนอว่า อาจจัดแบ่งประเภทความขัดแย้งระหว่างบุคคลได้เป็น 3 ประเภทคือ ความขัดแย้งแบบเทียม ความขัดแย้งพื้นฐานทั่วไป และความขัดแย้งที่เกิดจากการถือตนเองเป็นใหญ่ และ ภายใต้บริบทการสื่อสารที่มีการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน งานวิจัยเกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างบุคคลผ่านสื่อออนไลน์ ประเภทต่างๆ ยังพบ ...

ตัวอย่างปัญหาความขัดแย้ง มีอะไรบ้าง

1. ความขัดแย้งภายในตัวบุคคล (Intrapersonal Conflict) เช่น ความรู้สึกรักพี่เสียดายน้อง การตัดสินใจลำบาก 2. ความขัดแย้งระหว่างบุคคล (Interpersonal Conflict) เช่น ความแตกต่างทางความเชื่อ ทัศนคติ บุคคลิกภาพ 3. ความขัดแย้งภายในกลุ่ม (Intragroup Conflict) เช่น การไม่ปฏิบัติตามบรรทัดฐานของกลุ่ม ความไม่สามัคคี

สาเหตุของความขัดแย้งระหว่างบุคคล มีกี่ข้อ อะไรบ้าง

นอกจากนีนักวิชาการแห่งสถาบันAlexander Hamilton Institute (1983 :31 - 38 อ้างถึงใน เสริมศักดิ วิศาลาภรณ์, 2545: 15-16) ได้ชีให้เห็นว่า ความขัดแย้งระหว่างบุคคลเกิดจากสาเหตุสําคัญ 8 ประการ คือ ความแตกต่างของบุคลิกภาพ ความแตกต่างของค่านิยม ความแตกต่างของการรับรู้ ความแตกต่างของเป้าหมาย การแข่งขันเพือจะได้ทรัพยากรทีจํากัด ...

ความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม หมายถึงอะไร

ประเภทที่ 4 ความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม (Intergroup Conflict) หมายถึงความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างกลุ่ม เช่น ความขัดแย้งของแผนกบัญชีและแผนกวิจัย กลุ่มสหภาพแรงงานและคณะกรรมการประนีประนอม ถ้าปรากฏว่าไม่สามารถตกลงแก้ปัญหาได้ ความขัดแย้งชนิดนี้มักจะนำไปสู่การแข่งขัน และเกิดผลในแง่ของการชนะ – แพ้

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง