โซ่อาหาร และ สายใย อาหาร ป. 5

          ห่วงโซ่อาหารแบ่งเป็น 4 แบบ คือ

         1. ห่วงโซ่อาหารแบบผู้ล่า (Predator chain or Grazing food chain) เริ่มจากผู้ผลิตคือพืช ตามด้วยผู้บริโภคอันดับต่างๆ การถ่ายทอดพลังงานจึงประกอบด้วย ผู้ล่า (Predator) และเหยื่อ (Prey)
         2. ห่วงโซ่อาหารแบบปรสิต (Parasitic chain) เริ่มจากผู้ถูกอาศัย (Host) ถ่ายทอดพลังงานไปยังปรสิต
         (Parasite) และต่อไปยังปรสิตอันดับสูงกว่า (Hyperparasite) โดยภายในห่วงโซ่นี้จะใช้การเกาะกินซึ่งกันและกัน
         3. ห่วงโซ่อาหารแบบเศษอินทรีย์ (Detritus chain) เริ่มจากซากพืชหรือซากสัตว์ (Detritus) หรือสิ่งที่ไม่มีชีวิตถูกผู้บริโภคซากพืชซากสัตว์กัดกิน และผู้บริโภคซากอาจถูกกินต่อโดยผู้บริโภคสัตว์ อีกทอด
         4. ห่วงโซ่อาหารแบบผสม (Mixed chain) เป็นการถ่ายทอดพลังงานระหว่างสิ่งมีชีวิตหลายๆ ประเภท อาจมีทั้งแบบผู้ล่า และปรสิต เช่น จากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคพืช และไปยังปรสิตเป็นต้น

          ประเภทของห่วงโซ่อาหาร   ห่วงโซ่อาหารที่สำคัญมี 2 ประเภท คือ

            1. Grazing food chainเป็นห่วงโซ่อาหารที่เริ่มจากพืช (ที่ยังมีชีวิต) ผ่านไปยังสัตว์อื่น ๆ ตามลำดับขั้นการถ่ายทอดพลังงานและสารอาหาร มี 2 ลักษณะย่อย  คือ 

                      1.1 ห่วงโซ่อาหารแบบจับกิน  เป็นห่วงโซ่อาหารที่มีลักษณะฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ล่า (predator) ส่วนอีกฝ่ายเป็นผู้ถูกล่าหรือเหยื่อ (prey) เป็นลักษณะะที่พบเห็นได้ง่ายทั่วไป

                          1.2  ห่วงโซ่อาหารแบบปรสิต    เป็นห่วงโซ่ที่ฝ่ายหนึ่งเป็นแหล่งพึ่งพิงและอีกฝ่ายเป็นผู้อาศัย   ซึ่งได้อาหาร+พลังงานจากแหล่งพึ่งพิงนั่นเอง

               2. Detritus  food chain  (ห่วงโซ่อาหารแบบเศษอินทรีย์)  เป็นห่วงโซ่ที่เริ่มต้นสารอินทรีย์ที่ได้จากการย่อยสลายซากของสิ่งมีชีวิตโดยผู้ย่อยสลาย หรือ ใช้เศษอินทรีย์ต่าง ๆ เป็นอาหาร แล้วส่งต่อไปยังสิ่งมีชีวิตอื่นตามลำดับขั้นการบริโภค  มักพบมาก                    ในน้ำ

                 สายใยอาหาร (Food web) หมายถึง การถ่ายทอดพลังงานเคมีในรูปอาหารระหว่างสิ่งมีชีวิตหลายๆ ชนิดมารวมกัน ทำให้เกิดการถ่ายทอดพลังงานที่ซับซ้อน  การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ จะไหลไป
                 ในทิศทางเดียว คือ เริ่มต้นจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค ขณะเดียวกันก็มีการสูญเสียพลังงานออกไปในแต่ละลำดับ ไม่มีการเคลื่อนกลับเป็นวัฏจักร จึงกล่าวได้ว่า การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศไม่เป็นวัฏจักร (Non - cyclic) และเป็นการรวมกันของห่วง                        โซ่อาหารหลายๆ ชุด อย่างซับซ้อน (Complex food chain) เพราะบางครั้งสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งกินจะสามารถกินอาหารได้หลายอย่าง และในเวลาเดียวกันยังเป็นอาหารให้กับสิ่งมีชีวิตอื่นอีกหลายชนิด ห่วงโซ่อาหารจึงเชื่อมโยงเป็นใยแมงมุม และ                                การถ่ายทอดพลังงานระหว่างสิ่งมีชีวิตก็มีความซับซ้อนขึ้นด้วย และมีโอกาสถ่ายทอดได้หลายทิศทาง เช่นสายใยอาหารในน้ำ


ถ้ากลุ่มสิ่งมีชีวิตในสายใยอาหารมีความสมดุลนั่นคือ สิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้ผลิต ได้แก่พืช สาหร่ายสีเขียว และไดอะตอม ควรจะมีปริมาณมากที่สุด ห่วงโซ่อาหารจึงจะสมดุลสิ่งมีชีวิตบางชนิด จัดเป็นผู้บริโภคได้หลายอันดับ เช่น ถ้าปลากินสาหร่ายสีเขียว ปลาจะเป็นผู้บริโภคอันดับแรก แต่ถ้าปลากินไรน้ำ ปลาจะเป็นผู้บริโภคอันดับสอง เพราะไรน้ำกินได้อะตอมมาก่อนถ้าผู้บริโภคชนิดใดชนิดหนึ่งมีปริมาณเปลี่ยนแปลงไปอย่างกระทันหัน ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างมาก จะทำให้สมดุลในสายใยอาหารเปลี่ยนไป และส่งผลต่อสมดุลของระบบนิเวศตามมา

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง