แบบฟอร์มการหักภาษี ณ ที่จ่ายของส่วนราชการ

การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ เป็นการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อ (ผู้เอาประกันภัย) และผู้ขาย (บริษัทประกันภัย) โดยเป็นการเลือกซื้อความคุ้มครองประกันภัยตามความพึงพอใจของผู้ซื้อ ซึ่งผู้ซื้อทำด้วยความสมัครใจ ไม่ได้ถูกบังคับโดยกฎหมาย

ประเภทความคุ้มครอง

  1. ความคุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก (Third Party Bodily Injury: TPBI) ให้ความคุ้มครองความรับผิดต่อการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตของบุคคลภายนอก และความรับผิดต่อการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตของผู้โดยสารในรถคันเอาประกันภัย โดยมีจํานวนเงินขั้นต่ำที่บริษัทต้องรับประกันภัยจํานวน 100,000 บาทต่อคน และ 10,000 บาทต่อครั้ง ทั้งนี้จํานวนเงินจํากัดความรับผิดนี้ถือเป็นส่วนเกินจากความคุ้มครองตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
  2. ความคุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก (Third Party Property Damage: TPPD) ให้ความคุ้มครองความรับผิดต่อความเสียหายใดๆ อันเกิดแก่ทรัพย์สินของบุคคลภายนอก โดยมีจํานวนเงินขั้นต่ำที่บริษัทต้องรับประกันภัยจํานวน 200,000 บาทต่อครั้ง
  3. ความคุ้มครองความรับผิดต่อความเสียหายของตัวรถยนต์ (Own Damage: OD) ให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างเวลาประกันภัยต่อรถยนต์ รวมถึงอุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง และส่วนควบที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์ แต่ไม่รวมความเสียหายที่เกิดจากไฟไหม้ โดยมีจํานวนเงินขั้นต่ำที่บริษัทต้องรับประกันภัยจํานวน 50,000 บาท (รถจักรยานยนต์ 5,000 บาท) ทั้งนี้การรับประกันภัยตัวรถยนต์ไม่ควรรับประกันภัยในจํานวนเงินจํากัดความรับผิดต่ำกว่า 80% ของราคารถยนต์ในวันเริ่มการประกันภัย เว้นแต้รถยนต์ที่ไม่มีการเสียภาษีขาเข้า
  4. ความคุ้มครองความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์ (Fire and Theft: F&T) ให้ความคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของรถยนต์ รวมทั้งอุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง และส่วนควบที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์ ที่ถูกไฟไหม้ หรือสูญหายไป

    ไฟไหม้ในที่นี้ หมายถึง ความเสียหายต่อรถยนต์ที่เป็นผลมาจากไฟไหม้ ไม่ว่าจะเป็นการไหม้โดยตัวของมันเองหรือเป็นการไหม้ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากสาเหตุอื่น

    การสูญหายในที่นี้ รวมถึงความเสียหายต่อรถยนต์ รวมทั้งอุปกรณ์เครื่องตกแต่ง หรือสิ่งที่ติดประจําอยู่กับตัวรถยนต์ ที่เป็นผลมาจากการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ หรือเป็นผลมาจากการพยายามกระทำดังกล่าวนั้น

  5. ความคุ้มครองเพิ่มเติม แบ่งออกเป็น 3 ความคุ้มครองหลักๆ ดังนี้

    - การประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (Personal Accident)
    บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ต่อความสูญเสียอันเกิดจากความบาดเจ็บของผู้ขับขี่และ/หรือผู้โดยสาร ซึ่งอยู่ในรถหรือกำลังขับขี่ หรือกำลังขึ้น หรือกำลังลงจากรถยนต์ โดยอุบัติเหตุ

    - การประกันภัยค่ารักษาพยาบาล (Medical Expense)
    บริษัทจะชดใช้ค่ารักษาพยาบาล ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าผ่าตัด และค่าบริการอื่นๆ ตามที่จ่ายจริง ซึ่งเกิดขึ้นภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันเกิดอุบัติเหตุ เพื่อผู้ขับขี่และ/หรือผู้โดยสารในรถคันเอาประกันภัย ซึ่งได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย เนื่องจากอุบัติเหตุในขณะอยู่ในรถ หรือกำลังขึ้น หรือกำลังลงจากรถยนต์ แต่ทั้งนี้ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัย

    - การประกันตัวผู้ขับขี่ (Bail Bond)
    บริษัทจะประกันตัวผู้เอาประกันภัย หรือบุคคลใดซึ่งขับรถยนต์ โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย ในกรณีรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้เกิดอุบัติเหตุ เป็นเหตุให้บุคคลดังกล่าวถูกควบคุมตัวในคดีอาญา

ประเภทกรมธรรม์ประกันภัย

-

  1. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 (Comprehensive)

    กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองมากกว่าการประกันภัยรถยนต์ประเภทอื่นๆ โดยมีความคุ้มครองหลักครบทั้ง 4 ประเภท ดังนี้
    1.1 คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกันภัย
    1.2 คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
    1.3 คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์
    1.4 คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์

  2. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2 (Third Party Liability, Fire and Theft)

    กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2 เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองใกล้เคียงกับการประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 แตกต่างเพียงไม่มีความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวรถยนต์ โดยมีความคุ้มครองหลัก ดังนี้
    2.1 คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกันภัย
    2.2 คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
    2.3 คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์

  3. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 3 (Third Party Liability)

    กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 3 เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองน้อยกว่าการประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 และประเภท 2 โดยบริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก ดังนี้
    3.1 คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกันภัย
    3.2 คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก

  4. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 4 (Third Party Property Damage Only)

    กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 4 ให้ความคุ้มครองต่อบุคคลภายนอกเท่านั้น โดยคุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก 100,000 บาทต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง

  5. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 5

    กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 5 เป็นแบบคุ้มครองภัยเฉพาะที่พัฒนาใช้งานขึ้นมาในภายหลัง แบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้

    แบบประกัน 2 พลัส (2+) ให้ความคุ้มครองรับผิดชอบต่อความเสียหายแบบประกันภัยชั้น 2 แต่เพิ่มความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัยกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และต้องมีคู่กรณี โดยให้ความคุ้มครอง ดังนี้
    - คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
    - คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
    - คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีชนกับยานพาหนะทางบก
    - คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย

    แบบประกัน 3 พลัส (3+) ให้ความคุ้มครองรับผิดชอบต่อความเสียหายแบบประกันภัยชั้น 3 แต่เพิ่มความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัยกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และต้องมีคู่กรณี โดยให้ความคุ้มครอง ดังนี้
    - คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
    - คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
    - คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีชนกับยานพาหนะทางบก

    ของกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 5 ทั้งประกัน 2 พลัส และประกัน 3 พลัส คือ
    1. ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น
    2. ต้องมีคู่กรณี ถ้าชนแล้วหนี หาพยานหลักฐานไม่ได้ จะไม่ได้รับความคุ้มครอง

ความเสียหายส่วนแรก (Excess / Deductible)

+

ความเสียหายส่วนแรก (Excess / Deductible) คือ ส่วนแรกของความรับผิดที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเอง ตามที่ระบุในข้อสัญญาหรือเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งสำนักงาน คปภ. ได้กำหนดหลักเกณฑ์การเรียกเก็บเงินค่าเสียหายส่วนแรกขึ้น เพื่อให้บริษัทประกันภัยทุกแห่งยึดถือปฏิบัติเป็นบรรทัดฐานเดียวกัน

วัตถุประสงค์ในการกำหนด “ค่าเสียหายส่วนแรก” เพื่อป้องกันการแจ้งเคลมซ่อมรถทั้งที่ไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจริง และเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ขับขี่ประมาท เพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่มากขึ้น เนื่องจากบางคนคิดว่าได้ทำประกันภัยรถยนต์ไว้แล้ว หากเกิดความเสียหายก็สามารถแจ้งเคลมกับบริษัทประกันเมื่อใดก็ได้ ซึ่งเป็นการเข้าใจที่ผิดสำหรับผู้เอาประกันภัย เพราะการกระทำแบบนี้จะส่งผลให้ยอดค่าสินไหมของประกันภัยรถยนต์ทั้งระบบสูงขึ้น จนบริษัทประกันภัยต้องปรับอัตราเบี้ยให้สูงขึ้นตามไปด้วย ทำให้ผู้เอาประกันภัยส่วนใหญ่ต้องแบกรับภาระเบี้ยประกันภัยที่สูงขึ้น ซึ่งจะไม่เป็นธรรมกับผู้เอาประกันภัยรายอื่น

ค่าเสียหายส่วนแรกทั้ง Excess และ Deductible จะมีผลก็ต่อเมื่อการเกิดเหตุนั้น ผู้เอาประกันภัยหรือผู้ขับขี่รถคันที่เอาประกันภัยเป็นฝ่ายผิด หรือ ผิดสัญญาเท่านั้น โดยแบ่งเป็น 2 แบบ

  1. ค่าเสียหายส่วนแรกตามข้อกำหนด (Excess)

    ค่าเสียหายส่วนแรกตามข้อกำหนด (Excess) หรือที่เรียกกันว่า ค่าเอ็กเซส หมายถึง ค่าเสียหายส่วนแรกที่ผู้เอาประกันภัยต้องจ่ายตามข้อกำหนดของสำนักงาน คปภ. เมื่อเกิดอุบัติเหตุกับรถยนต์คันที่เอาประกันภัย แบ่งเป็น 2 กรณี

    (1) กรณีที่ไม่สามารถหาคู่กรณีได้ หรือแจ้งสาเหตุไม่ชัดเจน ต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกเองเป็นเงิน 1,000 บาท ต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง เช่น รถถูกขีดข่วน หิน หรือวัสดุอื่นๆ กระเด็นใส่ - อุบัติเหตุจากการเฉี่ยวกิ่งไม้ สายไฟ หรือลวดหนาม เหยียบตะปู วัสดุมีคม หรือยางฉีก
    - รถถูกละอองสี หรือมีวัสดุใดหล่นมาโดน กระจกรถแตก
    - ไถลตกข้างทางแต่ไม่พลิกคว่ำ
    - ภัยธรรมชาติ/ น้ำท่วม
    - รถถูกสัตว์กัดแทะหรือขีดข่วน
    - รถตกหลุม/ครูดพื้นถนน
    - รถตกหลุม/ครูดพื้นถนน

    การเคลมที่ไม่ต้องจ่ายค่า Excess นั้น ต้องเกิดจากการชนที่เห็นร่องรอยชัดเจน เช่น บุบ แตกหัก รอยร้าว เป็นต้น ไม่ใช่การครูด การเฉี่ยว หรือถลอก

    (2) กรณีซื้อกรมธรรม์แบบระบุชื่อผู้ขับขี่ไว้ แต่ให้บุคคลอื่นนำรถไปใช้ โดยที่ไม่ใช่ชื่อผู้ขับที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ เมื่อเกิดอุบัติเหตุและเป็นฝ่ายผิด ผู้เอาประกันจะต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกทันที (ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดในกรมธรรม์ ซึ่งมีทั้งแบบระบุและไม่ระบุชื่อผู้ขับ)
    ตัวอย่าง

    นายดำขับรถแล้วถูกหินกระเด็นใส่กระจกหน้าแตก นายดำจึงพยายามขับรถต่อไปเพื่อหาปั๊มน้ำมันจอดรถตรวจสอบความเสียหาย ระหว่างขับไปอยู่นั้นได้ชนสุนัข ทำให้กันชนหน้าและหน้ากระจังแตก นายดำจึงจอดรถข้างทางลงไปดูความเสียหาย ระหว่างนั้นได้มีกิ่งไม้ลอยมาจากไหนไม่รู้มาโดนรถ ทำให้หลังคาบุบ เหตุดังกล่าวเมื่อแจ้งเคลมประกันจะเรียกเก็บค่าความเสียหายส่วนแรกจำนวน 2,000 บาท แยกเป็นหินกระเด็นใส่ 1,000 บาท และโดนกิ่งไม้ 1,000 บาท เนื่องจากความเสียหายเกิดจาก 2 เหตุการณ์และไม่เกี่ยวกับการชน แต่สำหรับแผลที่ชนสุนัขไม่ต้องเสียค่าความเสียหายส่วนแรก เพราะเกิดจากการชน

  2. ค่าเสียหายส่วนแรกโดยสมัครใจ (Deductible)

    ค่าเสียหายส่วนแรกโดยสมัครใจ (Deductible) หมายถึง ผู้เอาประกันภัยยอมรับจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกเอง เป็นข้อตกลงระหว่างผู้เอาประกันกับบริษัทประกันภัยรถยนต์ ซึ่งจะปรากฏในตัวกรมธรรม์ประกันภัย อาจจะมีหรืออาจจะไม่มีก็ได้ ส่วนใหญ่จะมีในรถยนต์สาธารณะ รถยนต์เช่า หรือรถยนต์ที่มีความเสี่ยงสูง โดยจะมีการกำหนดจำนวนเงินที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเอาไว้ในกรมธรรม์เลย เช่น 1,000, 2,000, 3,000, 5,000 บาท แล้วแต่จะตกลงกันระหว่างผู้เอาประกันภัยกับบริษัทประกันภัย ซึ่งจำนวนเงินที่กำหนดนี้สามารถนำไปลดเบี้ยประกันได้อีกด้วย

    ตัวอย่าง

    เอาประกันภัยได้ทำประกันภัยกับบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่งโดยมีการกำหนดค่าเบี้ยประกันอยู่ที่ 18,000 บาท โดยตกลงกำหนดค่าเสียหายส่วนแรกไว้ในกรมธรรม์ 3,000 บาท ผู้เอาประกันภัยก็จะได้ส่วนลดค่าเบี้ยประกันภัย 3,000 บาท (จ่ายค่าเบี้ยทำประกันรถยนต์แค่ 15,000 บาท) ต่อมาหากเกิดอุบัติเหตุและผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายผิด แล้วบริษัทประเมินค่าเสียหายเป็นจำนวนเงิน 10,000 บาท ดังนั้น ผู้เอาประกันภัยจะต้องจ่าย "ค่าเสียหายส่วนแรก" ก่อน 3,000 บาท ตามที่ได้ทำข้อตกลงไว้ในกรมธรรม์ ส่วนค่าเสียหายที่เหลืออีก 7,000 บาท บริษัทประกันภัยจะเป็นฝ่ายรับผิดชอบ แต่ถ้าหากความเสียหายไม่เกิน 3,000 บาท ผู้เอาประกันภัยก็จ่ายให้คู่กรณีตามค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริง

คำแนะนำการเลือกซื้อประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ

+

  1. เลือกบริษัทประกันจากหลายๆ แห่ง

    ก่อนตัดสินใจซื้อประกันภัยรถยนต์ ควรพิจารณาเปรียบเทียบบริษัทประกันจากหลายๆ แห่ง โดยในเบื้องต้นควรพิจารณาจากปัจจัยต่อไปนี้

    - ฐานะทางการเงินของบริษัทที่มั่นคง
    - มีสถานที่ตั้งชัดเจน น่าเชื่อถือ
    - มีสาขา หรือศูนย์บริการทั่วประเทศ เพื่อสะดวกในการติดต่อรับค่าสินไหมทดแทน
    - มีการบริการหลังการขายที่ดี
    - มีความรวดเร็วในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
    - มีตัวแทนหรือนายหน้าที่มีความรู้และให้คำปรึกษาได้ดี
    - ความสะดวกในการติดต่อ และความยากง่ายในการร้องเรียนเรื่องต่างๆ
    - มีระบบเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย
    - มีข้อเสนอหรือของสมนาคุณอื่นๆ เพิ่มเติม

  2. เลือกแบบประกันภัยรถยนต์ที่ต้องการ

    ก่อนที่จะเลือกแบบประกันภัยรถยนต์ ควรพิจารณาก่อนว่าการขับขี่รถในชีวิตประจำวันนั้นมีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด จากนั้นจึงเลือกแบบประกันภัยรถยนต์ประเภทที่ให้ความคุ้มครองและราคาเบี้ยประกันที่เหมาะสมกับตนเอง ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายได้มาก โดยพิจารณาจาก

    - ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1
    เหมาะสำหรับรถใหม่ รถที่ใช้งานหนักเป็นประจำ และผู้ขับขี่มือใหม่ยังไม่คล่องในการขับรถยนต์ ควรเลือกทำประกันภัยชั้น 1 เพราะครอบคลุมเรื่องความคุ้มครองทุกกรณี โดยจะให้ความคุ้มครองต่อรถยนต์คันเอาประกันและคันคู่กรณี คุ้มครองทั้งบุคคลภายในรถและบุคคลภายนอก รวมถึงให้ความคุ้มครองความเสียหายเนื่องจากไฟไหม้ น้ำท่วม และรถถูกโจรกรรม

    - ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2
    เหมาะสำหรับผู้ที่ใช้รถยนต์ไม่บ่อยมาก เป็นผู้ขับขี่ที่มีประสบการณ์ ไม่ขับรถเร็ว มีความระมัดระวังในการขับขี่ เพราะประกันภัยชั้น 2 ไม่คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกัน ส่วนความคุ้มครองด้านอื่นๆ ยังคงเหมือนกับประกันภัยชั้น 1

    - ประกันภัยรถยนต์ประเภท 3
    เหมาะสำหรับผู้ขับขี่ที่ใช้รถน้อยและขับอย่างระมัดระวัง ไม่เฉี่ยวชนใครบ่อยๆ หรือรถเก่าอายุมากกว่า 7 ปีขึ้นไป และรถยนต์ที่ไม่ได้จอดในพื้นที่เสี่ยงต่อการโจรกรรม เพราะประกันภัยชั้น 3 ให้ความคุ้มครองเฉพาะรถยนต์คันคู่กรณีเท่านั้น ส่วนรถยนต์คันเอาประกันภัยจะไม่ได้รับความคุ้มครองใดๆ ทั้งสิ้น

    - ประกันภัยรถยนต์ประเภท 4
    เป็นประกันภัยรถยนต์ที่มีความคุ้มครองน้อยที่สุด โดยจะให้ความคุ้มครองเฉพาะทรัพย์สินของบุคคลภายนอก เหมาะสำหรับเจ้าของรถที่ใช้รถน้อยถึงน้อยมากๆ เช่น ใช้รถสำหรับขับไปจ่ายกับข้าว ซื้อของ หรือส่งลูกไปโรงเรียน เป็นต้น หรือเป็นผู้ที่ใช้รถในเส้นทางที่มีการสัญจรน้อยตามชนบทหรือในต่างจังหวัด

    - ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2 พลัส (2+)
    เหมาะสำหรับรถที่ใช้งานเป็นประจำ จำเป็นต้องจอดรถในพื้นที่เสี่ยงต่อการโจรกรรม และรถยนต์ที่ไม่มีที่จอดรถในรั้วรอบขอบชิด เช่น ต้องจอดรถไว้หน้าบ้าน หรือต้องจอดรถไว้ริมถนน เป็นต้น เพราะประกันภัยชั้น 2 พลัส ให้ความคุ้มครองในระดับค่อนข้างสูงเหมือนประกันภัยชั้น 1 แต่จะต่างจากประกันภัยชั้น 1 ตรงที่ไม่มีความคุ้มครองในส่วนของความเสียหายทั่วๆ ไป ที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือไม่มีคู่กรณี

    - ประกันภัยรถยนต์ประเภท 3 พลัส (3+)
    เหมาะสำหรับรถเก่าที่มีอายุเกิน 7 ปีขึ้นไป และรถที่ใช้งานเป็นประจำ แต่มีที่จอดรถที่ปลอดภัยไม่มีความเสี่ยงเรื่องการโจรกรรม ประกันภัยชั้น 3 พลัสให้ความคุ้มครองน้อยกว่าประกันภัยชั้น 2 พลัส โดยไม่คุ้มครองการสูญหายหรือถูกไฟไหม้ และไม่คุ้มครองความเสียหายทั่วๆ ไป ที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือไม่มีคู่กรณี

    เปรียบเทียบความคุ้มครองประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ

    ความคุ้มครองความเสียภายต่อรถผู้เอาประกันภัย กรณีชนกับยานพาหนะทางบก และสามารถแจ้งคู่กรณีได้

  3. เลือกเบี้ยประกันภัยที่เหมาะสมกับการคุ้มครองที่ได้รับ

    เบี้ยประกันภัยรถยนต์ คือจำนวนเงินที่ผู้ทำประกันจะต้องจ่ายให้กับบริษัทประกันภัย เพื่อแลกกับความคุ้มครองที่จะได้รับ ซึ่งเบี้ยประกันภัยรถยนต์นี้จะคิดเป็นรายปี ส่วนจำนวนเบี้ยนั้นจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของประกันภัย ความคุ้มครอง และทุนประกันของตัวรถที่ผู้ทำประกันได้เลือกไว้

    การเลือกเบี้ยประกันให้เหมาะสมกับการคุ้มครอง ควรคำนึงถึงอัตราเงินเดือนและค่าใช้จ่ายของตัวผู้ทำประกันเอง ประกอบกับความต้องการที่จะให้ประกันภัยรถยนต์คุ้มครองในส่วนต่างๆ เมื่อพิจารณาปัจจัยดังกล่าวแล้ว จึงค่อยเลือกดูว่ามีประกันประเภทใดและบริษัทใดบ้างที่สามารถรองรับความต้องการทั้งทางด้านการจ่ายเบี้ยประกันและทางด้านความคุ้มครองตามที่ต้องการได้อย่างครอบคลุมมากที่สุด

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง