วิธี คิดภาษีหัก ณ ที่จ่าย 7 เปอร์เซ็นต์

นั้นจะมียอดภาษีที่ต้องหักจากผู้รับเท่าไหร่ เจ้าของธุรกิจจะต้องทำความเข้าใจว่า จ่ายเงินให้ใคร เป็นค่าอะไร และจ่ายเมื่อไหร่
  • การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เงินเดือนพนักงานจะคิดตามอัตราก้าวหน้า โดยระบบ FlowAccount จะช่วยคำนวณให้อัตโนมัติ
  • เอกสารที่เจ้าของธุรกิจต้องทำคู่กับการนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายเงินเดือนพนักงาน คือแบบ ภ.ง.ด.1 ภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจากเดือนที่จ่ายเงินได้ 
  • หนึ่งในภาษีธุรกิจที่สำคัญ และเจ้าของธุรกิจควรรู้คือ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เนื่องจากเป็นภาษีที่ใกล้ตัว และเบสิกที่สุดจากการจ่ายเงินซึ่งเกิดขึ้นได้ในทุกๆ วันแต่หลายคนอาจจะเข้าใจเพียงว่า จะต้องออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย หรือใบ 50 ทวิ เพื่อเป็นหลักฐานประกอบเท่านั้น หรืออาจจะพยายามทำความเข้าใจภาษีนี้อย่างละเอียด จนกลายเป็นไม่เข้าใจยิ่งกว่าเดิม อันที่จริง เจ้าของธุรกิจอย่างเราๆ เป็นคนที่รู้ดีที่สุดว่า เงินเข้า-เงินออก คือรายการอะไร ประเภทไหน จ่ายให้ใคร  รู้ไหมคะว่าการรู้พื้นฐานเพียงเท่านี้ คุณก็พอจะเข้าใจหลักการของการหัก ณ ที่จ่ายแล้ว โดยเฉพาะถ้าเป็นเรื่องภาษีที่หักออกจากเงินเดือนพนักงานนั้น พื้นฐานดังกล่าวก็สามารถนำมาใช้ได้เหมือนกัน 

     

    วันนี้ FlowAccount จะชวนเจ้าของธุรกิจอย่างคุณมาลองทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เงินเดือนพนักงาน เมื่อต้องจ่ายเงินเดือนให้พนักงาน ควรจะต้องรู้อะไรบ้าง

     

     

    เลือกอ่านได้เลย!

    • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร 
    • องค์ประกอบของภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย 
      • การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามอัตราก้าวหน้า 
    • วิธีคำนวณ หัก ณ ที่จ่าย พนักงาน
    • แบบฟอร์มที่ใช้นำส่งภาษี หัก ณ ที่จ่าย พนักงาน ต่อกรมสรรพากร
    • เมนูเงินเดือนบนโปรแกรม FlowPayroll
      • ประโยชน์ของเมนูเงินเดือน FlowPayroll ช่วยเจ้าของธุรกิจอย่างไร
      • About Author

    ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร 

     

    ก่อนเข้าเรื่อง FlowAccount ขอเล่าแนวคิดภาษีหัก ณ ที่จ่ายเพื่อให้เจ้าของธุรกิจทำความเข้าใจมากขึ้น

     

    แนวคิดของภาษีหัก ณ ที่จ่าย นั้นง่ายมากๆ คือ ภาษีที่หักไว้เมื่อคุณมีการจ่ายเงิน นั่นหมายความว่า พอมีเงินออกจากกระเป๋าของคุณปุ๊บ ธุรกิจจะต้องหักภาษีไว้ส่วนหนึ่งทันทีเพื่อรอส่งให้กรมสรรพากร นั้นเพราะว่า

    1. ในมุมของภาษีมองว่า พอมีการจ่ายเงินเกิดขึ้นแล้ว ฝั่งคนที่รับเงินถือว่ามีรายได้ 
    2. ฝั่งคนที่มีรายได้ตามเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนดจะต้องส่งภาษีสิ้นปี (ภ.ง.ด. 90, 91 กรณีเป็นบุคคลธรรมดา หรือ ภ.ง.ด. 50 กรณีเป็นนิติบุคคล)

     

    ดังนั้น แทนที่กรมสรรพากรจะรอให้ทุกคนยื่นแบบส่งภาษีตอนสิ้นปี ผู้จ่ายเงินจึงเป็นตัวแทนของรัฐบาลทำหน้าที่เก็บเงินส่งในทุกๆเดือนไปเสียเลย รัฐบาลก็ได้สภาพคล่องจากภาษีที่เข้ารัฐบาลอย่างต่อเนื่อง และยังเป็นประโยชน์กับคนที่เสียภาษีด้วยคือ ไม่ต้องรอจ่ายทีเดียวตอนสิ้นปี หากมีส่วนที่จ่ายเกินไปก็สามารถมาขอคืนทีหลังได้

     

    จะเห็นว่า “เงินเดือน” นอกจากเป็นข้อผูกพันที่เจ้าของธุรกิจให้เป็นค่าตอบแทนกับพนักงานแล้ว ก็ยังเป็นหนึ่งในหน้าที่ที่จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อส่งกรมสรรพากรตามเหตุผลนี้ด้วยนะคะ

     

    องค์ประกอบของภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย 

     

    โดยทั่วไปแล้ว ในทุกๆ การจ่ายเงินจะประกอบไปด้วย 4 ส่วนคือ

     

    ส่วนที่ 1 คนที่จ่ายเงิน

    ส่วนที่ 2 คนที่รับเงิน

    ส่วนที่ 3 ประเภทของค่าใช้จ่าย

    ส่วนที่ 4 ยอดเงินได้ และภาษีที่ต้องหักจากผู้รับ

     

    โดยปกติ ถ้าธุรกิจของคุณเป็นรูปแบบนิติบุคคล เช่น บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด ก็จะมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายในฐานะผู้จ่ายเงินอยู่แล้ว แต่การจะรู้ว่าจะต้องหักด้วยจำนวนเงินเท่าไหร่ หักกี่เปอร์เซ็นต์ จะต้องมาทำความเข้าใจมากขึ้นว่า ธุรกิจจ่ายเงินให้ใคร เป็นค่าอะไร และจ่ายเมื่อไหร่

     

    1. จ่ายให้ใคร

     

    หากดูว่า เงินได้นี้จะต้องถูกหักภาษีหรือไม่ ให้ดูจากผู้รับก่อนว่าเป็นใคร 

     

    จ่ายให้ใคร มีความสำคัญมากพอที่จะทำให้เจ้าของธุรกิจอย่างคุณรู้ว่า ถ้าจะต้องออกใบหัก ณ ที่จ่ายให้ และส่งภาษีให้กรมสรรพากรจะต้องใช้แบบฟอร์มใด

     

    โดยทั่วไปการจ่ายเงินแต่ละครั้งของธุรกิจ ถ้าแบ่งตามประเภทคนที่รับเงินก็จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ คนที่เป็นพนักงาน ส่วนที่เหลือคือดูว่าธุรกิจจ่ายให้บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล

     

    ซึ่งธุรกิจแต่ละประเภทก็อาจมีการจ้างพนักงานที่ไม่เหมือนกัน บางธุรกิจมีการจ้างแต่พนักงานประจำ บางธุรกิจไม่มีพนักงานประจำ แต่จ้างฟรีแลนซ์เป็นครั้งคราว หรือบางทีก็อาจเป็น Outsource จ้างอีกบริษัทให้ทำงานให้แทน 

     

    เพื่อความง่ายในการทำความเข้าใจตามประเด็นหลักของบทความนี้ FlowAccount จะขอโฟกัสไปที่พนักงานประจำค่ะ

     

    2. จ่ายค่าอะไร

     

    พอรู้แล้วว่าจ่ายเงินให้กับพนักงาน จากนั้นดูว่า ค่าใช้จ่ายนั้นเป็นเงินประเภทไหน 

     

    โดยปกติ ค่าใช้จ่ายเพื่อการซื้อสินค้า/บริการ จะถูกหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย อยู่แล้ว เงินเดือนก็ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่เข้าในความหมายนี้เช่นกัน

     

    แต่อาจจะต้องมาดูในรายละเอียดเพิ่มเติมว่า เจ้าของธุรกิจมีการจ่ายเงินในส่วนที่นอกเหนือจากเงินเดือน และสวัสดิการให้พนักงานหรือเปล่า ถ้ามีก็ต้องเอามาคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายด้วยเช่นกัน

     

     

    3. จ่ายเมื่อไหร่ 

     

    เมื่อเจ้าของธุรกิจรู้แล้วว่า จะต้องหักภาษีจากเงินที่จ่ายให้พนักงาน ทีนี้อาจจะต้องมาดูว่า พนักงานที่เราดูแลเข้าอยู่ในกลุ่มไหน ตามรูปแบบของการจ้างและจ่ายเงิน

     

    1. แบบการจ้างครั้งเดียวหรือชั่วคราว เช่น การจ้างฟรีแลนซ์ให้ทำงานให้ การจ้างและจ่ายเงินรูปแบบนี้ เป็นการหักเป็นรายครั้ง ณ การจ่ายเงินค่าจ้าง 
    2. แบบการจ้างและจ่ายเงินต่อเนื่อง เช่น เงินเดือน หรือการจ้างรายวัน การจ้างและจ่ายเงินรูปแบบนี้จะต้องคิดภาษีในรูปแบบอัตราก้าวหน้า 

     

     

    การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามอัตราก้าวหน้า 

     

    เจ้าของธุรกิจอย่างคุณ คุ้นเคยกับการยื่นภาษีของตัวเองตอนสิ้นปีหรือเปล่า ถ้าคุ้นเคย FlowAccount มั่นใจว่าคุณสามารถเข้าใจการหัก ณ ที่จ่ายของพนักงานได้ไม่ยาก แต่ถ้าไม่คุ้นเคย ลองมาทำความเข้าใจกันนิดนึง

     

    โดยทั่วไป ถ้าจะยื่นภาษีสิ้นปี ข้อมูลที่ต้องรู้ก็คือ รายได้ทั้งปี จากนั้นจึงค่อยหักค่าใช้จ่ายตามที่กรมสรรพากรกำหนด และหักค่าลดหย่อน

     

    ก่อนเข้าสู่ขั้นบันไดภาษีอัตราก้าวหน้า คิดจากสมการ

     

     

    รายได้ทั้งปี - ค่าใช้จ่าย  - ค่าลดหย่อนส่วนตัว - เงินประกันสังคม  = รายได้สุทธิ

     

     

    1. ค่าใช้จ่าย ปกติบุคคลธรรมดาถ้ามีรายได้เป็นเงินเดือน สรรพากรกำหนดให้หักค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเงิน 50% ของรายได้ แต่สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
      สำหรับค่าลดหย่อน ปกติแล้วถ้าไม่ได้มีการหักลดหย่อนเพิ่มเติมด้านสุขภาพ ครอบครัว ที่อยู่อาศัย และอื่นๆ ตามนโยบายของรัฐบาล คนทั่วไปจะมีลดหย่อนอยู่ 2 รายการ
    2. ค่าลดหย่อนส่วนตัว จำนวน 60,000 บาท ตามที่กรมสรรพากรกำหนด
    3. เงินประกันสังคม ถ้าอยู่ในระบบประกันสังคม ก็จะลดหย่อนได้ทั้งจำนวนที่จ่ายสมทบเข้าประกันสังคม แต่ไม่เกิน 9,000 บาท เช่น ถ้าสมทบประกันสังคมอยู่ที่ 5% และฐานค่าจ้างเกิน 15,000 บาท ก็จะหักค่าลดหย่อนประกันสังคมที่จ่ายทั้งปีเท่ากับ 9,000 บาท (750 x 12 เดือน) เป็นต้น

     

     

    เพียงเท่านี้ก็ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการคำนวณหัก ณ ที่จ่ายให้พนักงานทั่วไปได้แล้ว 

     

    วิธีคำนวณ หัก ณ ที่จ่าย พนักงาน

     

    พนักงานคนนี้มีเงินเดือน 40,000 บาทต่อเดือน เป็นคนโสด และไม่มีลดหย่อนประเภทอื่นค่ะ

     

    รายการจำนวนเงินเงินเดือน480,000 บาท/ปีหัก ค่าใช้จ่าย 100,000 บาทคงเหลือ380,000 บาทหัก ค่าลดหย่อนส่วนตัว60,000 บาทหัก ประกันสังคม9,000 บาทยอดสุทธิ311,000 บาท

     

    เงินได้สุทธิสำหรับคำนวณภาษีตามบันไดภาษีอัตราก้าวหน้าคือ 311,000 บาท 

     

    เงินได้สุทธิต่อปี

    อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

    ภาษีที่ต้องจ่าย

    0-150,000 บาทได้รับการยกเว้น-150,001-300,000 บาท5%150,000 x 5% = 7,500300,001-500,000 บาท10%11,000 x 10% = 1,100500,001-750,000 บาท15%-750,001-1,000,000 บาท20%-1,000,001-2,000,000 บาท25%-2,000,001-5,000,000 บาท30%-5,000,001 บาทขึ้นไป35%-

    เมื่อนำมาคิดตามรูปแบบอัตราก้าวหน้าจะต้องจ่ายภาษีทั้งปีอยู่ที่ 8,600 บาท 

     

    เท่ากับว่าจะต้องจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายต่อเดือนคือ 716.67 บาท

     

    คำถามยอดฮิต จำเป็นต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้พนักงานทุกเดือนมั้ย

    สำหรับพนักงานประจำ เจ้าของธุรกิจ "ไม่จำเป็น" ต้องออกหนังสือรับรอง ณ ที่จ่าย ทุกเดือน เนื่องจากเจ้าของธุรกิจมีหลักฐานอื่นให้พนักงานอยู่แล้ว นั่นก็คือ สลิปเงินเดือน ซึ่งมีข้อมูลเงินเดือนที่จ่าย และเงินที่จ่ายหลังจากหัก ภาษี ณ ที่จ่าย และประกันสังคมแล้ว ประกอบกับรายงานการจ่ายเงินเดือน

    • ถ้าพนักงานอยู่ทำงานจนถึงสิ้นปี ออกเอกสารให้ภายในวันที่ 15 ก.พ. ของปีถัดไป
    • ถ้าพนักงานออกจากงานระหว่างปี ออกเอกสารให้ภายใน 1 เดือนนับตั้งแต่วันที่ออกจากงาน

    ส่วนพนักงานฟรีแลนซ์ ที่มีการจ้างเป็นครั้งคราวและจ่ายครั้งเดียว เพื่อที่จะนำค่าจ้างมาลงบันทึกบัญชีได้อย่างถูกต้อง ควรมีหลักฐานการจ่ายเงินที่สามารถพิสูจน์ผู้รับเงินได้ เช่น ใบสำคัญรับโดยให้มีลายเซ็นของผู้รับเงิน และเก็บหลักฐานสำเนาบัตรประชาชนผู้รับเงินไว้ พร้อมออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายให้ทุกครั้ง

     

    ดังนั้น ธุรกิจจะออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือใบ 50 ทวิ ครั้งเดียว เพื่อเป็นหลักฐานให้พนักงานเงินเดือนใช้ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตอนสิ้นปี (ภ.ง.ด. 90/91) 

     

     

    แบบฟอร์มที่ใช้นำส่งภาษี หัก ณ ที่จ่าย พนักงาน ต่อกรมสรรพากร

     

    ตามที่กรมสรรพากรกำหนดคือ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายจะถูกแบ่งตามประเภทเงินได้บุคคลธรรมดา แบ่งออกเป็น 8 ประเภท โดยแต่ละประเภทนั้นจะถูกหักภาษีในอัตราที่ต่างกัน

     

    ถ้าจะสรุปแบบง่ายๆ โดยแยกตามประเภทของค่าใช้จ่ายที่สอดคล้องกับแบบฟอร์มเอกสารที่จะยื่นต่อกรมสรรพากรแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ 

     

     

    1. แบบ ภ.ง.ด.1 และ แบบ ภ.ง.ด.1ก

     

    คือค่าใช้จ่ายในกลุ่มของพนักงานที่จ่ายแบบต่อเนื่อง นั่นคือ เงินเดือน/ค่าจ้าง เจ้าของธุรกิจควรนำส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจากเดือนที่จ่ายเงินได้ นอกจากนี้ยังต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.1ก เป็นการสรุปภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายทั้งปี นำส่งก่อนเดือนกุมภาพันธ์ในปีถัดไป 

     

     

     

     

    2. แบบ ภ.ง.ด.3 

     

    ภ.ง.ด.3 คือค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่กลุ่มของพนักงานเป็นรายครั้ง เช่น จ้างฟรีแลนซ์ผลิตโปรแกรมซอฟต์แวร์แบบเป็นครั้ง กรมสรรพากรจะมีกำหนดอัตราเป็นเปอร์เซ็นต์เฉพาะตามประเภทของค่าใช้จ่าย สามารถดูตารางสรุปภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายได้ที่นี่

     

     

     

    โดยเจ้าของธุรกิจสามารถใช้โปรแกรม FlowAccount สร้างหลักฐานหัก ณ ที่จ่ายทั้งแบบ ภ.ง.ด.1ก และแบบ ภ.ง.ด.3 ได้จากเมนูค่าใช้จ่าย

     

    แบบฟอร์มหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่กำหนดโดยกรมสรรพากร สามารถออกแบบฟอร์มนี้ได้ผ่านเมนูค่าใช้จ่ายจากโปรแกรม FlowAccount

     

     

    หลังจากนั้น ก็สามารถยื่นแบบภ.ง.ด.1 หรือ ภ.ง.ด.3-ชำระภาษีกับกรมสรรพากรทางออนไลน์ ได้ง่ายๆ

     

     

    เมนูเงินเดือนบนโปรแกรม FlowPayroll

     

    หากย้อนไปในอดีตที่เราไม่มีโปรแกรมบัญชี ทั้งนักบัญชี และเจ้าของธุรกิจก็จะคำนวณโดยใส่สูตรผ่านการใช้โปรแกรม Excel หรือเขียนด้วยมือบนแบบฟอร์มกระดาษ อาจจะมีการคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายแบบหักผิดหักถูก สุดท้ายก็อาจจะไม่รู้ตัวเลขที่ถูกต้อง 

     

    แต่เมื่อพอเข้าใจความสำคัญของการหัก ณ ที่จ่ายแล้ว คุณก็เริ่มรู้บทบาทหน้าที่ของตัวเองชัดเจนในฐานะเจ้าของและผู้จ่ายเงิน 

     

    ประกอบกับปัจจุบันเริ่มมีเครื่องมือที่ช่วยในการคำนวณ ลดเวลาการเตรียมข้อมูลลง Excel หรือเขียนด้วยมือเอง  ก็ยิ่งทำให้คุณสามารถเรียนรู้การหัก ณ ที่จ่าย และเตรียมเอกสารได้ด้วยตนเอง 

     

    เพราะคนที่รู้ข้อมูลดีที่สุดก็คือเจ้าของธุรกิจ ดีกว่าการละเลยไม่หักหรือไม่ส่งภาษี หรือให้นักบัญชีจัดการทุกอย่าง ซึ่งอาจจะมีข้อมูลบางจุดที่หัก หรือส่งไม่ครบ ส่งผลให้พนักงานที่คุณดูแลต้องเสียภาษีเป็นจำนวนเงินมากๆ ตอนสิ้นปี 

     

    ประโยชน์ของเมนูเงินเดือน FlowPayroll ช่วยเจ้าของธุรกิจอย่างไร

    1. ช่วยจัดการและจัดเก็บฐานข้อมูลเงินเดือนของพนักงานแต่ละคน พร้อมออกสลิปเงินเดือน
    2. ช่วยในการคำนวณเงินเดือนพนักงาน ประกันสังคม และภาษีหัก ณ ที่จ่ายเงินเดือนให้โดยอัตโนมัติ
    3. ช่วยสรุปข้อมูลรายงานเงินเดือนเป็น Excel สำหรับกรอกในเอกสาร ภ.ง.ด. 1 แต่ละเดือน รวมถึงข้อมูลเงินเดือนประจำปีเพื่อกรอกในเอกสาร ภ.ง.ด.1ก อีกด้วย
    4. ช่วยทำจ่ายเงินเดือนสำหรับเจ้าของธุรกิจที่มีพนักงานหลายคนด้วยบริการ K-Cash Connect Plus ที่เชื่อมต่อระบบบัญชีกับระบบจ่ายเงินเดือนของธนาคารโดยตรง ทำให้อนุมัติจ่ายเงินเดือนสะดวกมากยิ่งขึ้น

     

    เจ้าของธุรกิจสามารถดาวน์โหลดข้อมูลจากในรายงานเงินเดือน และยอดสะสมใน FlowPayroll ออกมาเป็นไฟล์ Excel ได้

     

    โดยสรุป ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เงินเดือนพนักงาน ยังคงเป็นอีกหนึ่งภาษีธุรกิจที่มีหลักการง่ายๆ คือ จ่ายเป็นเงินเดือนให้กับพนักงานอย่างต่อเนื่องทุกเดือน คำนวณเหมือนภาษีบุคคลธรรมดาตามบันไดภาษีอัตราก้าวหน้า เข้าใจเพียงเท่านี้ พร้อมรู้แบบฟอร์มนำส่งกรมสรรพากร เจ้าของธุรกิจก็จะสามารถจัดการเรื่องภาษีนี้ในแต่ละเดือนได้อย่างง่ายดาย 

     

    ข้อมูล:

    • วิธีการคำนวณ ภาษีหัก ณ ที่จ่ายเงินเดือนพนักงาน
    • คู่มือ การหัก ณ ที่จ่าย เฉพาะกรณีนำส่งด้วยแบบ ภ.ง.ด.3 และแบบ ภ.ง.ด.53
    • โปรแกรมเงินเดือน Flow Playroll

     

     

     

     

    About Author

    Panwadee D.

    คนขี้สงสัย ชอบค้นหาคำตอบ ด้วยการสืบค้นจากแหล่งที่มาต่างๆ และโจทย์ต่อจากนี้คือ ทำบัญชีให้เป็นเรื่องเข้าใจง่ายได้อย่างไร

    ภาษี 7% คิดยังไง

    ราคาสินค้าหรือบริการ + [(ราคาสินค้าหรือบริการ x 7) / 100] = ราคาสินค้าหรือบริการที่รวม VAT แล้ว ยกตัวอย่างเช่น จ่ายค่าบริการอินเทอร์เน็ตรายเดือน 590 บาท สามารถคิดหาราคาแบบรวม VAT ได้เป็น 590 + [(590x7) / 100] = 631.3 บาท เท่ากับว่าจะต้องเสีย VAT เพิ่มอีก 41.3 บาท

    ภาษี 7 เปอร์เซ็นต์ กี่บาท

    เช่น สินค้าตั้งราคาขาย ฿100 ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอัตรา 7% จะคำนวณค่าภาษีมูลค่าเพิ่มได้ดังนี้ มูลค่าสินค้า/บริการ ฿100 x อัตราภาษี 7% = ค่าภาษี VAT ฿7.

    คำนวณหักภาษี ณ ที่จ่าย กี่เปอร์เซ็นต์

    ภาษีหัก ณ ที่จ่ายกี่เปอร์เซ็นต์.
    บริการขนส่ง หัก 1 เปอร์เซ็นต์ ... .
    ค่าโฆษณา หัก ณ ที่จ่าย 2 เปอร์เซ็นต์ ... .
    ค่าบริการหัก ณ ที่จ่าย 3 เปอร์เซ็นต์ ... .
    ค่าจ้างทำของ หัก 3 เปอร์เซ็นต์ ... .
    ค่าเช่า หัก ณ ที่จ่าย 5 เปอร์เซ็นต์.

    หักภาษีจากเงินเดือน คิดยังไง

    วิธีการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามอัตราก้าวหน้า.

    Toplist

    โพสต์ล่าสุด

    แท็ก

    แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง