พระบาท สมเด็จพระ จุลจอมเกล้า เจ้า อยู่ หัว รัชกาลที่ 5 ทรง มุ่ง สร้างทางคมนาคม ด้าน ใด มาก ที่สุด

มติชนฉบับที่แล้ว ผู้เขียนแตะเรื่องการกำเนิด “ธนาคารไทยพาณิชย์” ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกในรัชกาลที่ 5 ฉบับนี้ขอลงรายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับคนที่สนใจ

…เมื่อธนาคารไทยพาณิชย์ดำเนินกิจกรรมไปด้วยดีและได้รับความเชื่อถือจากประชาชน จึงได้มีการเปลี่ยนจาก “บุคคลัภย์” มาเป็น “แบงก์” ใช้ชื่อว่า “แบงก์สยามกัมมาจล” (Siam Commercial Co.) มีนโยบายเช่นเดียวกับธนาคารต่างประเทศ นับเป็นธนาคารแรกของประเทศไทยที่ตั้งขึ้นมาด้วยเงินทุนของคนไทย ต่อมาธนาคารนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด” ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในปัจจุบัน

การส่งเสริมการเกษตรและการผลิตเพื่อการส่งออก

ภายหลังที่ประเทศได้ทำสนธิสัญญาเบาริงกับอังกฤษและชาติตะวันตกอื่นๆ นับตั้งแต่ พ.ศ.2398 เป็นต้นมา ทำให้การผลิตทางการเกษตรซึ่งเคยผลิตเพื่อการยังชีพ ได้เปลี่ยนมาเป็นการผลิตเพื่อการค้า การเกษตรเริ่มมีความสัมพันธ์กับเศรษฐกิจด้านอื่นของประเทศอย่างแยกไม่ออก ด้วยเหตุนี้รัฐบาลไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงได้ดำเนินการส่งเสริมการผลิตทางการเกษตร ดังนี้

(1) ดำเนินการขุดคลอง สร้างทำนบ และประตูน้ำ เพื่อช่วยส่งน้ำให้เข้าถึงพื้นที่ทำการเพาะปลูกข้าวได้ รัฐบาลได้อนุญาตให้บริษัทขุดคลองคูนาสยาม ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนเป็นผู้ได้รับสัมปทานขุดคลองทั่วพระราชอาณาจักร มีกำหนด 25 ปี ระหว่าง พ.ศ.2433 ถึง พ.ศ.2458 นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้มีการใช้เครื่องจักรเครื่องยนต์ช่วยในการทำนา เช่น ใช้เครื่องจักร ใช้แรงไฟสำหรับไถนา นวดข้าว สีข้าวและวิดน้ำนา เป็นต้น ในการนี้รัฐบาลได้ให้การสนับสนุน ด้วยการให้รางวัลแก่บริษัทห้างร้านที่ประดิษฐ์เครื่องจักรที่เหมาะสมกับความต้องการในการทำนา

(2) ในตอนปลายรัชกาลที่ 5 ได้มีการส่งเสริมการปลูกฝ้ายอย่างจริงจังให้กับราษฎร จ้างผู้เชี่ยวชาญเรื่องฝ้ายจากต่างประเทศเข้ามาดำเนินการจัดตั้งสถานีทดลอง และทำไร่ฝ้ายตัวอย่าง ตั้งโรงงานหีบฝ้าย แนะนำพันธุ์ฝ้ายที่เหมาะสมกับภูมิประเทศและภูมิอากาศ เป็นต้น

การปรับปรุงการคมนาคม

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความสำคัญเรื่องการคมนาคมของประเทศ ซึ่งกำลังอยู่ในยุคปรับตัวเข้าสู่ความทันสมัยจึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการปรับปรุงการคมนาคมให้เจริญก้าวหน้าทั้งทางบกและทางน้ำ ที่สำคัญก็ได้แก่ การขุดคลอง การสร้างถนน และการสร้างทางรถไฟ

(1) การขุดคลอง ในสมัยรัชกาลที่ 5 การขุดคลองมุ่งประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดฯ ให้หน่วยราชการและเอกชนขุดคลองขึ้นเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นเส้นทางคมนาคมระหว่างกรุงเทพฯ กับจังหวัดข้างเคียงที่เป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญ และเป็นเส้นทางลำเลียงข้าวออกสู่ตลาดต่างประเทศ เช่น คลองดำเนินสะดวก คลองเปรมประชากร คลองนครเฟื่องเขตร คลองประเวศบุรีรมย์ คลองเปรม คลองทวีวัฒนา และคลองนราภิรมย์ เป็นต้น

(2) การสร้างถนน ทางด้านการสร้างถนน ได้มีการสร้างถนนและสะพานขึ้นในกรุงเทพฯ เป็นจำนวนมาก เพราะรัชกาลที่ 5 ทรงเล็งเห็นประโยชน์ของการสร้างถนนและสะพานว่า จะทำให้การเดินทางไปไหนมาไหนมีระยะสั้นลง และจะช่วยให้เกิดร่มเงาจากต้นไม้สองข้างถนน รวมทั้งทำให้บ้านเมืองงดงามอีกด้วย ด้วยเหตุนี้การสร้างถนนจึงมีจุดประสงค์เพื่อความสะดวกในการติดต่อไปมาค้าขายและเพื่อความสวยงามของบ้านเมือง

การสร้างถนนในสมัยนี้เป็นการสร้างถนนแบบตะวันตก ภายหลังการสร้างถนนแล้วได้มีบรรดาพ่อค้าและชาวกรุงส่วนหนึ่งหันมาก่อสร้างร้านค้าและบ้านเรือนที่อยู่อาศัยตามริมถนนทำให้ที่ดินริมถนนมีราคาแพง ถนนที่สร้างขึ้นในสมัยนี้ ได้แก่ ถนนเยาวราช ถนนจักรวรรดิ ถนนอนุวงศ์ ถนนบูรพา ถนนสามเสนและถนนราชดำเนิน เป็นต้น

(3) การสร้างทางรถไฟ ในด้านการสร้างทางรถไฟตามแบบตะวันตก มีการสร้างทางรถไฟเชื่อมระหว่างกรุงเทพฯ กับหัวเมืองในส่วนภูมิภาคทั้งภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ แม้ว่าจุดมุ่งหมายในเบื้องแรกเพื่อประโยชน์ทางด้านการปกครองและการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของพระราชอาณาจักรก็ตาม แต่การสร้างทางรถไฟก็มีผลต่อการส่งเสริมทางด้านเศรษฐกิจด้วย เพราะเมื่อมีเส้นทางคมนาคมทางรถไฟใช้แล้ว ปรากฏว่าข้าวและพืชผลทางการเกษตรอื่นๆ ที่ส่งเข้ามาขายยังตลาดในกรุงเทพฯ เพื่อใช้บริโภคภายในประเทศ และเพื่อการส่งออกต่างมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ทางรถไฟที่สร้างขึ้น ได้แก่ ทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ทางรถไฟสายเหนือ (ภายหลังระงับการก่อสร้างทางรถไฟสายเหนือเอาไว้ก่อน เพราะประสบปัญหาเรื่องเงินทุน) ทางรถไฟสายใต้ นอกจากนี้ก็มีทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-สมุทรปราการ กรุงเทพฯ-พระพุทธบาท กรุงเทพฯ-มหาชัย-ท่าจีน-แม่กลอง สายบางพระและสายแปดริ้ว เป็นต้น

ผลของการปฏิรูปเศรษฐกิจในสมัยรัชกาลที่ 5

จากการปฏิรูปเศรษฐกิจในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งทางด้านการคลัง ระบบเงินตรา การส่งเสริมการผลิตทางด้านการเกษตรและการคมนาคมขนส่ง ก่อให้เกิดผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยส่วนรวมหลายประการ คือ 1) ทำให้รายได้ของประเทศเพิ่มขึ้นจาก พ.ศ.2435-2447 เช่น รายได้เพิ่มจาก 15 ล้านบาท เป็น 46 ล้านบาท โดยมิได้เพิ่มอัตราภาษีและชนิดของภาษีขึ้นแต่ประการใด ทั้งยังมีการยกเลิกภาษีที่ล้าสมัยบางอย่างไปด้วยทำให้เงินคงคลังของประเทศ ซึ่งเคยมีอยู่ประมาณ 7,500,000 บาท ใน พ.ศ.2437 เพิ่มขึ้นเป็น 32,000,000 บาท ใน พ.ศ.2444 2) ก่อให้เกิดความมั่นคงต่อฐานะการคลังของประเทศ และการจัดระบบงบประมาณรับจ่ายเงินที่ได้มาตรฐานสากล ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น 3) ก่อให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยต่อบูรณภาพเขตแดนของพระราชอาณาจักรมากยิ่งขึ้น เพราะการปรับปรุงทางด้านคมนาคม ซึ่งช่วยอำนวยประโยชน์ในทางเพิ่มพูนรายได้จากการค้าขายและการส่งออกแล้ว ยังช่วยให้รัฐบาลสามารถดูแลพระราชอาณาเขตได้รัดกุมมากยิ่งขึ้น

สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจระหว่าง พ.ศ.2453-2475

การปรับปรุงเศรษฐกิจใน พ.ศ.2453-2475 : ภายหลังการปฏิรูปเศรษฐกิจตั้งแต่รัชกาลที่ 6 เป็นต้นมาจนถึงรัชกาลที่ 7 ได้มีความพยายามที่จะปรับปรุงด้านเศรษฐกิจให้ดีขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็มีปัญหาแทรกซ้อนเกิดขึ้นจนมีผลกระทบต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจโดยส่วนรวม ปัญหาเหล่านั้นเริ่มเกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 จนมาถึงในสมัยรัชกาลที่ 7 ถึงแม้ว่ารัชกาลที่ 7 จะพยายามแก้ไขอย่างเต็มพระสติกำลัง แต่สถานการณ์ก็มิได้กระเตื้องขึ้นจนกลายเป็นเงื่อนไขให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในที่สุด สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจโดยทั่วไป มีดังนี้

1) การร่วมลงทุนในธุรกิจอุตสาหกรรม รัฐบาลในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ให้การช่วยเหลือและสนับสนุนการลงทุนจัดตั้งบริษัททำปูนซีเมนต์ของเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ใน พ.ศ.2456 ทำให้ประเทศไทยลดการสั่งเข้าปูนซีเมนต์จากต่างประเทศให้น้อยลงได้ นอกจากนี้ยังให้การสนับสนุนกิจการโรงไฟฟ้าสามเสน ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ.2454 และเริ่มส่งกระแสไฟฟ้าใน พ.ศ.2457 ใน พ.ศ.2461 ได้มีการจัดตั้งบริษัทพาณิชย์นาวีสยาม ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนทางด้านการเงินเช่นเดียวกัน

2) การส่งเสริมทางด้านการเกษตร ในการส่งเสริมการเกษตรนั้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ดำเนินการหลายประการ เช่น จัดตั้งกรมทดน้ำเพื่อจัดหาน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูก ส่งเสริมให้มีการขุดลอกคูคลอง เช่น ขุดคลองบางระแนะใหญ่ และคลองบางมดใน พ.ศ.2459 ขุดลอกคลองบ้านไทรและคลองวัดโพธนบุรี ใน พ.ศ.2462 เป็นต้น ได้มีการจัดตั้งสถานีทดลองพันธุ์ข้าวขึ้นที่คลอง 6 รังสิต ธัญบุรี และ “จัดตั้งสหกรณ์การเกษตรเป็นแห่งแรก” ชื่อ “สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้” ที่อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ใน พ.ศ.2459 และ “จัดตั้งสหกรณ์แห่งที่ 2” ที่ลพบุรี ใน พ.ศ.2460

3) การจัดตั้งสภาเผยแพร่พาณิชย์และกระทรวงพาณิชย์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีนโยบายแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วยการจัดตั้งกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ขึ้นในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เมื่อ พ.ศ.2457 วัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนทราบเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวทางด้านการค้า ราคาสินค้า ชนิดของสินค้าที่เป็นที่ต้องการของตลาด แหล่งผลิตของสินค้านั้นๆ โดยการออกหนังสือเป็นรายเดือน

ในระยะแรกที่กรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์เริ่มดำเนินการนั้น ได้มีหน้าที่สำคัญ 2 ประการ คือ การควบคุมดูแลบริษัทพาณิชย์นาวีสยามและส่งเสริมด้านการพาณิชย์ของไทยให้แพร่หลายไปยังนานาประเทศ

4) การตั้งสถาบันการเงิน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำริจัดตั้งสถาบันการเงินขึ้นมาเพื่อฝึกฝนประชาชนของชาติให้เห็นถึงความสำคัญของการออมทรัพย์ จึงได้มีกิจการ “ธนาคารออมสิน” เกิดขึ้น การตั้งธนาคารออมสินก็เพื่อป้องกันมิให้ชาวนานำเงินไปเล่นการพนัน และอีกประการหนึ่งก็เพื่อความสะดวกและช่วยเหลือชาวนาให้มีทุนรอนในการทำมาหากิน ดังนั้น เมื่อกิจการธนาคารออมสินดำเนินมา เงินที่ราษฎรนำมาฝากไว้นับเป็นผลดีต่อรัฐบาลที่จะมีเงินทุนในการใช้จ่ายบ้างแต่ก็มีจำนวนไม่มากนัก

5) การเปลี่ยนแปลงมาตราชั่ง ตวง วัด สาเหตุที่ทำให้รัฐบาลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการเปลี่ยนแปลงมาตราชั่ง ตวง วัด นี้เกิดขึ้นเนื่องจากปัญหาที่เกี่ยวข้องโดยตรงต่อผลประโยชน์ของเกษตรกรโดยเฉพาะชาวนา ทั้งนี้ เพราะว่าเครื่องมือที่ใช้ในการชั่ง ตวงข้าว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้าวเปลือกในชนบท โดยทั่วไปใช้สัดและทะนาน ซึ่งมีขนาดไม่เท่ากันในแต่ละท้องถิ่นก่อให้เกิดปัญหาและขาดความแน่นอนในการชั่ง ตวง ที่ชาวนาต้องถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าที่เข้ามารับซื้อข้าว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงประกาศใช้มาตราชั่ง ตวง วัด ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันตามแบบสากล โดยได้นำเอาระบบของฝรั่งเศสมาใช้แทนมาตราชั่ง ตวง วัด แบบเก่าของไทย

6) การสร้างทางรถไฟ ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการสร้างทางรถไฟสายแปดริ้ว ปราจีนบุรี โดยเริ่มลงมือสร้าง ใน พ.ศ.2463 และเสร็จเรียบร้อยใน พ.ศ.2470 การสร้างทางรถไฟในเส้นทางดังกล่าว สามารถอำนวยประโยชน์ต่อประเทศชาติได้อย่างแท้จริง ทั้งในด้านเศรษฐกิจและการเมืองการปกครอง ผลผลิตของภาคตะวันออกโดยเฉพาะข้าว โค กระบือ จะถูกลำเลียงเข้ามากรุงเทพฯ เป็นมูลค่าต่อปีสูงมาก ในขณะเดียวกันฝ่ายบ้านเมืองก็จะได้ประโยชน์ในการปกครองหัวเมืองให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น

• ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจในช่วง พ.ศ.2453-2468 ในรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวต้องเผชิญปัญหาเศรษฐกิจทรุดโทรม ทั้งนี้เพราะเกิดความตกต่ำของรายได้และการขยายตัวของรายจ่ายไม่สมดุลกัน อันเนื่องมากจากมีการเกิดอุทกภัยในประเทศไทย พม่า อินโดจีน ซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวใหญ่ที่สุดในโลก กระทบกระเทือนต่อการผลิตข้าวในประเทศไทย ต่อมา พ.ศ.2462 เกิดฝนแล้งอย่างหนักทำให้เกิดความเสียหายต่อการปลูกข้าวอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน สืบต่อเนื่องจนถึงรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเผชิญความผันผวนทางการเงิน ในขณะขึ้นครองราชย์ดังกล่าวได้สร้างความหนักพระทัยให้แก่พระองค์เป็นอย่างมาก พระองค์จึงมีพระบรมราโชบายที่จะยอมตัดทอนรายจ่ายของรัฐบาลและลดรายได้ที่รัฐบาลถวายพระคลังข้างที่ให้น้อยลงจากเดิม

• มาตรการที่แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำดังที่ได้กล่าวมาแล้ว มิได้ทำให้สถานการณ์ดีขึ้น ทำให้ราษฎรประสบความเดือดร้อนมากขึ้น คนว่างงานมากขึ้น กิจการค้าทั้งหมดตกอยู่ในกำมือต่างชาติเกือบทั้งสิ้น ดังนั้น สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในช่วง พ.ศ.2468-2475 ซึ่งอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 7 จึงเป็นปัญหาสำคัญของประเทศอย่างแท้จริง และกลายเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.2475 ในที่สุดไงเล่าครับ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง