พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มีกี่มาตรา

เนื่องจากพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้การประกาศใช้ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2550 ในด้านของการศึกษา โดยเฉพาะการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก ในฐานะผู้ออกแบบและพัฒนานั้นจะต้องคำนึงถึงความถูกต้องเป็นสำคัญ จึงจำเป็นต้องรู้กฎหมาย และมีความรอบคอบในการทำงานและระวังให้มากขึ้น

1. เจ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่อนุญาตให้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเขา ถ้าเราแอบเข้าไป … จำคุก 6 เดือน

2. เจาะเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของคนอื่น แล้วเผยแพร่ให้คนอื่นรู้   จำคุกไม่เกินปี

3. แอบเข้าไปล้วงข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บเอาไว้ในระบบคอมพิวเตอร์   จำคุกไม่เกิน 2 ปี

4. ข้อมูลที่ถูกส่งหากันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แล้วไปดักจับข้อมูลของเขา จำคุกไม่เกิน 3 ปี

5. ข้อมูลที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ ถ้ามีไปตัดต่อ ดัดแปลง … จำคุกไม่เกิน 5 ปี (ดังนั้นอย่าไปแก้ไขงานเอกสารที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์คนอื่น)

6. ปล่อย Multiware เช่น virus, Trojan, worm เข้าระบบคอมพิวเตอร์คนอื่นแล้วระบบเข้าเสียหาย … จำคุกไม่เกิน 5 ปี

7. ถ้าเราทำผิดข้อ 5. กับ ข้อ 6. และสร้างความเสียหายใหญ่โต เช่น เข้าไปดัดแปลงแก้ไข ทำลาย ก่อกวน ระบบสาธารณูปโภค หรือระบบจราจร ที่ควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ ……..จำคุกสิบปีขึ้น

8. ถ้ารบกวนโดยการส่ง email โฆษณาต่างๆไปสร้างความรำคาญให้ผู้อื่น  … ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

9. ถ้าเราสร้างโปรแกรม หรือซอฟต์แวร์เพื่อเพื่อสนับสนุนผู้กระทำความผิด … จำคุกไม่เกินปีนึง

10. ส่งภาพโป๊ , ประเด็นที่ไม่มีมูลความจริง, ท้าทายอำนาจรัฐ … จำคุกไม่เกิน 5 ปี

11. เจ้าของเว็บไซด์โหรือเครือข่ายที่ยอมให้เกิดข้อ 10. โดนลงโทษด้วย … จำคุกไม่เกิน 5 ปี

12. ชอบเอารูปคนอื่นมาตัดต่อ … จำคุกไม่เกิน 3 ปี

 ขอบคุณข้อมูลดี : //www.site.rmutt.ac.th/

พระราชบัญญัติว่าด้วย
การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ศ. 2550ข้อมูลทั่วไปผู้ตราผู้ลงนามวันลงนามผู้ลงนามรับรองวันประกาศวันเริ่มใช้ท้องที่ใช้ผู้รักษาการเว็บไซต์

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา: เล่ม 124/ตอนที่ 27 ก/หน้า 4/18 มิถุนายน 2550

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช, พระมหากษัตริย์
10 มิถุนายน 2550
พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์, นายกรัฐมนตรี
18 มิถุนายน 2550
(ราชกิจจานุเบกษา: เล่ม 124/ตอนที่ 27 ก/หน้า 4/18 มิถุนายน 2550)
17 กรกฎาคม 2550
(สามสิบวันหลังจากวันประกาศ)
ทั่วประเทศไทย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
บทบัญญัติ
ภาษาไทย • ภาษาอังกฤษ

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เป็นกฎหมายไทย ประเภท พระราชบัญญัติ ตราโดย สภานิติบัญญัติแห่งชาติ, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ ลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2550, ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2550 และมีผลใช้บังคับในอีกสามสิบวันให้หลัง คือ ตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม 2550

ประวัติ[แก้]

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

โครงสร้าง[แก้]

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

การตรวจชำระ[แก้]

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

การนำไปปฏิบัติ[แก้]

ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2550 ถึงธันวาคม 2554 มีการเปิดเว็บไซต์ทั้งสิ้น 81,213 ยูอาร์แอล ประมาณร้อยละ 75 เป็นเนื้อหาและภาพดูหมิ่น หมิ่นประมาท พระมหากษัตริย์ พระราชินี และรัชทายาท แม้กฎหมายกำหนดให้ศาลเป็นองค์กรผู้กลั่นกรองคำร้องให้ปิดกั้นเว็บไซต์ แต่พบว่าจากคำสั่งศาลทั้งสิ้น 156 ฉบับ มีถึง 142 ฉบับที่ศาลออกคำสั่งในวันเดียวกันกับที่กระทรวงไอทีซียื่นคำร้อง โดยในปี 2552 และ2553 ศาลมีคำสั่งปิดกั้นโดยเฉลี่ยถึง 326 ยูอาร์แอลต่อวัน และ 986 ยูอาร์แอลต่อวันตามลำดับ[1]

คดีความตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พบว่า มีคดีความทั้งสิ้น 325 คดี ซึ่งพบว่าคดีที่ขึ้นสู่ชั้นศาลเป็นคดีที่เกี่ยวกับการเผยแพร่เนื้อหาร้อยละ 66.15 ขณะที่คดีที่กระทำต่อตัวระบบหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกว่า อาชญากรรมคอมพิวเตอร์โดยแท้ คิดเป็นร้อยละ 19 เท่านั้น[1]

วันที่ 12 เมษายน 2560 รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมลงนามประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมให้ประชาชนงดการติดตาม ติดต่อหรือเผยแพร่เนื้อหาข้อมูลของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ และแอนดรูว์ แม็กเกรเกอร์ มาร์แชลล์ โดยอ้างคำสั่งศาลอาญาให้ระงับการแพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันไม่เหมาะสมตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550[2]

ตั้งแต่ปี 2561 ทางการฟ้องความผิดเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 แทน[3] เช่น จากโพสต์ #ขบวนเสด็จ ที่พูดถึงการปิดถนนให้ขบวนเสด็จของพระบรมวงศานุวงศ์ผ่านในปี 2562 ถูกดำเนินคดีตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์[4]

การวิพากษ์วิจารณ์[แก้]

การบัญญัติฐานความผิดที่ไม่ชัดเจน ทำให้มีการใช้มาตรา 14 (2) “ความเสียหายต่อความมั่นคง” ควบคู่กับคดีความมั่นคง และมาตรา 14 (3) “ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน” ร่วมกับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112[1]

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

อ้างอิง[แก้]

  1. ↑ 1.0 1.1 1.2 งานวิจัยเผย พ.ร.บ.คอมฯไทย มุ่งเอาผิดเนื้อหามากเกินไป เสนอแก้กฎหมาย ตั้งศาลคอมพิวเตอร์
  2. ก.ดิจิทัลฯประกาศให้ปชช.งดติดตาม-ติดต่อ บุคคล3ราย ไม่ว่าเจตนาหรือไม่เจตนา
  3. Changes in Thailand’s lèse majesté prosecutions in 2018
  4. ศาลนัดสอบคำให้การคดีนักกิจกรรมโพสต์ประวัติศาสตร์กษัตริย์ต่าง ปท. และ #ขบวนเสด็จ ก.ย.นี้

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • บทวิเคราะห์พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์[ลิงก์เสีย] โดย ศิลป์ฟ้า ตันศราวุธ และ โทบี้ เมนเดล, พฤษภาคม 2553
  • สรุปสถานการณ์การควบคุมและปิดกั้นสื่อออนไลน์ พ.ศ. 2550-2553 สถิติการใช้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ในการดำเนินคดีและการปิดกั้นเว็บไซต์
  • The Analysis of the Computer Crime Act in Thailand
วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ:

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ:

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560

บทความเกี่ยวกับกฎหมายนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง