พระ ราช กรณียกิจ รัชกาลที่ 2

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย”

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่ ๒ แห่งราชวงศ์จักรี  ทรงประสูติเมื่อ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๑๐ ตรงกับวันพุธ ขึ้น ๗ คํ่า เดือน ๓ ปีกุน มีพระนามเดิมว่า "ฉิม" พระองค์ทรงเป็นพระบรมราชโอรสองค์ที่ ๔ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประสูติ ณ บ้านอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี พระบิดาได้ให้เข้าศึกษากับสมเด็จพระวันรัต (ทองอยู่) ณ วัดบางหว้าใหญ่ พระองค์ทรงมีพระชายาเท่าที่ปรากฏ

   ๑. กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระอัครมเหสี

   ๒. กรมสมเด็จพระศรีสุราลัย พระสนมเอก ขณะขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. ๒๓๕๒ มีพระชนมายุได้ ๔๒ พรรษา พระราชกรณียกิจที่สําคัญ

  • พ.ศ. ๒๓๑๗ ขณะที่เพิ่งมีพระชนมายุได้ ๘ พรรษา ได้ติดตามไปสงครามเชียงใหม่ อยู่ในเหตุการณ์ครั้งที่บิดามีราชการไปปราบปรามเมืองนางรอง นครจําปาศักดิ์ และบางแก้ว ราชบุรี จนถึงอายุ ๑๑ พรรษา
  • พ.ศ. ๒๓๒๒ พระราชบิดาไปราชการสงครามกรุงศรีสัตนาคนหุต ก็ติดตามไป
  • พ.ศ. ๒๓๒๓ พระชนมายุ ๑๓ พรรษา ได้เข้าเป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัต (ทองอยู่ )
  • พ.ศ. ๒๓๒๔ พระราชบิดาได้เลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ ไปร่วมปราบปรามเขมรกับพระบิดา
  • พ.ศ. ๒๓๒๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ปราบดาภิเษกแล้วได้ทรงสถาปนาขึ้นเป็น "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร"
  • พ.ศ. ๒๓๒๙ พระชนมายุ ๑๙ พรรษา ได้โดยเสด็จสมเด็จพระบรมชนกนาถ ไปสงครามตําบลลาดหญ้า และทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ
  • พ.ศ. ๒๓๓๐ ได้โดยเสด็จพระบรมชนกนาถ ไปสงครามที่ตําบลท่าดินแดง และตีเมืองทวาย
  • พ.ศ. ๒๓๓๑ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นพระองค์แรกที่อุปสมบทในวัดนี้ เสด็จไปจําพรรษา เมื่อครบสามเดือน ณ วัดสมอราย ปัจจุบันคือวัดราชาธิราช ครั้นทรงลาผนวชในปีนั้น ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จเจ้าหญิงบุญรอด พระธิดาในพระพี่นางเธอ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรมพระศรีสุดารักษ์
  • พ.ศ. ๒๓๓๖ โดยเสด็จพระราชบิดาไปตีเมืองทวาย ครั้งที่ ๒
  • พ.ศ. ๒๓๔๙ ( วันอาทิตย์ เดือน ๘ ขึ้น ๗ คํ่า ปีขาล ) ทรงพระชนมายุได้ ๔๐ พรรษาได้รับสถาปนาเป็น  "กรมพระราชวังบวรสถานมงคล"  ซึ่งดํารงตําแหน่งพระมหาอุปราชขึ้นแทน กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท ที่ได้สวรรคตแล้วเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๖

เหตุการณ์สำคัญ

พระราชกรณียกิจด้านการทำนุบำรุงประเทศ และป้อมปราการ

ระยะแรกของการก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ พม่าก็ยังคงรุกรานประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองและป้อมปราการต่าง ๆ ขึ้นเพื่อให้เป็นเมืองหน้าด่านคอยป้อมป้องกันข้าศึกที่จะยกเข้ามาทางทะเลที่เมืองสมุทรปราการ และที่เมือง ปากลัด ปัจจุบันคือ (อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ) โดยมีพระราชบัญชาให้กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ เป็นแม่กองก่อสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ขึ้นที่ปากลัด พร้อมป้อมปีศาจผีสิง ป้อมราหู และป้อมศัตรูพินาศแล้วโปรดเกล้าฯ ให้อพยพครอบครัวชาวมอญจากปทุมธานีมาอยู่ที่นครเขื่อนขันธ์

นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงให้กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เป็นแม่กองจัดสร้างป้อมผีเสื้อสมุทร ป้อมประโคนชัย ป้อมนารายณ์ปราบศึก ป้อมปราการ ป้อมกายสิทธ์ ขึ้นที่เมืองสมุทรปราการ และโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นศักดิพลเสพย์ไปคุมงานก่อสร้างป้อมเพชรหึงส์เพิ่มเติมที่เมือง นครเขื่อนขันธ์ การสร้างเมืองหน้าด่านและป้อมปราการต่าง ๆ ขึ้นมามากมาย เพื่อป้องกันไม่ให้ข้าศึกเข้ามาถึงพระนครได้โดยง่าย ถือว่าพระองค์มีสายพระเนตรที่ยาวไกลยิ่งนัก

พระราชกรณียกิจด้านการป้องกันประเทศ

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พม่าได้ยกทัพเข้ามาตีไทยอยู่หลายครั้งด้วยกันตั้งแต่พระองค์ครองราชย์ได้ เพียง ๒ เดือน พระเจ้าปดุง กษัตริย์พม่าก็ได้ทรงแต่งตั้งแม่ทัพพม่า ๒ นาย คือ อะเติ้งหงุ่นและสุเรียงสาระกะยอ โดยให้แม่ทัพอะเติ้งหงุ่นยกทัพเรือเข้ามาตีทางหัวเมืองชายทะเลตะวันตก และสามารถตีเมืองตะกั่วทุ่งตะกั่วป่า รวมถึงล้อมเมืองถลางไว้ ก่อนที่กอง ทัพไทยจะยกลงไปช่วยและตีทัพพม่าจนแตกพ่ายไป ส่วนแม่ทัพสุเรียงสาระกะยอได้ยกกำลังมาทางบกเพื่อเข้าตีหัวเมืองด้านทิศใต้ ของไทย และสามารถตีได้เมืองมะลิวัน ระนอง และกระบี่ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงทรงส่งกองทัพลงไปช่วยเหลือทหารพม่าสู้กำลังฝ่ายไทยไม่ได้ก็ถอยทัพหนีกลับไป

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๖๓ พระเจ้าปดุงเสด็จสวรรคต พระ เจ้าจักกายแมงได้สืบราชสมบัติต่อจากพระเจ้าปดุง และคิดจะยกทัพมาตีไทยอีก โดยสมคบกับพระยาไทรบุรีซึ่งเปลี่ยนใจไปเข้ากับฝ่ายพม่า แต่เมื่อทราบว่าฝ่ายไทย จัดกำลังทัพเตรียมรับศึกอย่างเข้มแข็ง พม่าก็เกิดเกรงกลัวว่าจะรบแพ้ไทยอีก จึงยุติไม่ยกทัพเข้ามา จนอีก ๓ ปีต่อมา พระเจ้าจักกายแมงก็ทรงชักชวนพระเจ้าเวียดนาม มินมางกษัตริย์ญวนให้มาช่วยตีไทย แต่ฝ่ายญวนไม่ยอมร่วมด้วย พอดีกับที่ขณะนั้นเกิดสงครามกับอังกฤษจึงหมดโอกาสที่จะมาตีไทยอีกต่อไป

พระราชกรณียกิจด้านการปกครอง

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงบริหารบ้านเมืองโดยให้เจ้านายรับหน้าที่ในการบริหารงานราชการในกรมกองต่างๆ เท่ากับเป็นการให้เสนาบดีได้มีการปรึกษาข้อราชการก่อนจะนำความขึ้นกราบบังคมทูล ทั้งยังโปรดเกล้าฯ ให้ผ่อนผันการเข้ารับราชการของพลเมืองชายเหลือเพียงปีละ ๓ เดือน (เข้ารับราชการ ๑ เดือน แล้วไปพักประกอบอาชีพส่วนตัวอีก ๓ เดือน สลับกันไป) นอกจากนี้ยังทรงรวบรวมพลเมืองให้เป็นปึกแผ่น มีหน่วยราชการสังกัดแน่นอน โดยพระราชทานโอกาสให้ประชาชนสามารถเลือกหน่วยราชการที่สังกัดได้

พระองค์ได้ทรงส่งเสริมข้าราชการที่มีความรู้ความสามารถให้มีโอกาสปฏิบัติหน้าที่ตนถนัด ในรัชกาลนี้ จึงปรากฏพระนามและนามข้าราชการที่มีชื่อเสียงหลายท่าน เช่น สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช (น้อย ณ นคร) ขุนสุนทรโวหาร (ภู่) เป็นต้น และด้วยความที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระราชประสงค์ให้พลเรือนของพระองค์เป็นคนดี จึงได้ทรงออกพระราชบัญญัติเรื่อง ห้ามเลี้ยงไก่ นก ปลากัด ไว้ชน กัด หรือทำการอื่น ๆ เพื่อการพนัน และออกพระราชกำหนดห้ามสูบฝิ่น ขายฝิ่น ซื้อฝิ่น พร้อมทรงกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืน ทำให้ประเทศไทยไม่เกิดสงครามฝิ่นแบบต่างชาติ

พระราชกรณียกิจด้านการทำนุบำรุงพระศาสนา

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ ทรงฟื้นฟู พระพุทธศาสนาอย่างมากมายหลายด้าน โดยเฉพาะด้านการก่อสร้างศาสนสถาน ทรงโปรดฯให้สร้างวัดขึ้นใหม่หลายวัด ได้แก่ วัดสุทัศนเทพวราราม วัดชัยพฤกษมาลา วัดโมลีโลกยาราม วัดหงสาราม และวัดพระพุทธบาทที่ สระบุรี ซึ่งสร้างค้างไว้ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รวมทั้งโปรดเกล้าฯให้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชวราราม โดยสร้างพระอุโบสถพระปรางค์ พร้อมทั้งพระวิหารขึ้นใหม่ เพื่อเป็นพระอารามประจำรัชกาล

การศึกษาพระปริยัติธรรมของพระสงฆ์ในยุคนี้ก็รุ่งเรืองเป็นอย่างมาก โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงโปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขหลักสูตรจากปริญญาตรี โท เอก มาเป็นเปรียญธรรม ๓ ประโยคถึง ๙ ประโยค ทำให้พระภิกษุ สามเณร มีความรู้ภาษาบาลีแตกฉานยิ่งขึ้น นอกจากนี้พระองค์ยังทรงออกพระราชกำหนดให้ประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา โดยห้ามล่าสัตว์ ๓วัน และรักษาศีล ถวายอาหารบิณฑบาต ทำทาน ปล่อยสัตว์ สดับฟังพระธรรมเทศนาเป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา

พระราชกรณียกิจด้านศิลปวัฒนธรรม

ในด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีพระอัจฉริยภาพในงานศิลปะหลายสาขา ทั้งทางด้านประติมากรรม ด้านการดนตรี แต่ที่โดด เด่นที่สุดเห็นจะเป็นในด้านวรรณคดี จนอาจเรียกได้ว่ายุคนี้เป็นยุคทองของวรรณคดีไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ละครรำรุ่งเรืองถึงขีดสุด ด้วยพระองค์ทรงเป็นกวีเอก และทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีไว้หลายเล่มด้วยกัน เช่น รามเกียรติ์ตอนลักสีดา วานรถวายพล พิเภกสวามิภักดิ์ สีดาลุยไฟ นอกจากนี้ยังมีพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่ ๖ ว่าเป็นยอดกลอนบทละครรำ

ส่วนบทละครนอก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นมา ๕ เรื่องด้วยกัน ได้แก่ ไชยเชษฐ์ สังข์ทอง มณีพิชัย ไกรทอง และคาวี พระองค์ยังได้ทรงพระราชนิพนธ์บทเห่เรือ เรื่องกาพย์เห่ชมเครื่องคาว หวาน ซึ่งมีความไพเราะและแปลกใหม่ไม่ซ้ำแบบกวีท่านใด เนื้อเรื่องแบ่งออกเป็น ๕ ตอน คือ เห่ชมเครื่องคาว เห่ชมผลไม้ เห่ชมเครื่องคาวหวาน เห่ครวญเข้ากับนักขัตฤกษ์ และบทเจ้าเซ็น ซึ่งบทเห่นี้เข้าใจกันว่าเป็นการชมฝีพระหัตถ์ ในด้านการทำอาหารของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีนั่นเอง นอกจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่ทรงเป็นยอดกวีเอกแล้วในยุคสมัยนี้ ยังมียอดกวีที่มีชื่อเสียงอีกลายคน เช่น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร นายนริทร์ธิเบศ, และสุนทรภู่ เป็นต้น

องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ได้ยกย่องพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยว่า ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก เนื่องด้วยทรงสร้างสรรค์วรรณคดี ที่ทรงคุณค่าทางวัฒนธรรมไว้เป็นมรดกของชาติจำนวนมาก รวมถึงทรงปกครองบ้านเมืองให้ ราษฎรได้อยู่เย็นเป็นสุขภายใต้พระบรมโพธิสมภาร และ  เนื่องด้วยในรัชกาลนี้มีละครนอกช้างเผือกคู่พระบารมีถึง ๓ เชือก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงมีพระราชดำริให้แก้ไขธงชาติไทย จากที่เคยใช้ธงแดงมาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มาเป็นรูปช้างเผือกอยู่ในวงจักรติดในธงพื้นแดง และใช้เป็นธงชาติสืบต่อกันมาจนถึงรัชกาลที่ ๖

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ครองราชย์สมบัติถึงปี พ.ศ. ๒๓๖๗ รวมอยู่ในสิริราชสมบัตินาน ๑๕ ปี ก็ทรงพระประชวรด้วยพิษไข้ มิได้รู้สึกพระองค์ จึงไม่ได้พระราชทานราชสมบัติให้แก่ผู้ใด และทรงพระประชวรด้วยพิษไข้อยู่ ๓ วันก็เสด็จสวรรคต ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ถือว่าเป็นแผ่นดินทองแห่งวรรณกรรม ด้วยพระองค์มีพระปรีชาสามารถอย่างยิ่งในด้านศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสถาปัตยกรรม วรรณกรรม รวมถึงนาฏกรรม เห็นได้จากมรดกทางวัฒนธรรมที่พระองค์ทรงเป็นผู้สร้างไว้ให้กับอนุชนรุ่นหลัง อุทยานพระบรมราชานุสรณ์รัชกาลที่ ๒ ที่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ถือเป็นสถานที่ที่แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้อย่าง ชัดเจนที่สุดและในอุทยานแห่งนี้  ก็ได้ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์เพื่อให้ประชาชนได้เคารพสักการะด้วย

เกร็ดความรู้

อุทยานรัชกาลที่ ๒

อุทยานพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยของมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเป็นองค์ประธาน เพื่อเป็นการ  สนองพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นทั้งนักรบ นักปกครอง ศิลปิน กวีและช่าง ซึ่งได้พระราชทานศิลปวัฒนธรรมอันงดงามประณีตไว้เป็นมงคลแก่ชาติ และปรากฏพระเกียรติคุณแพร่หลายไปในนานาประเทศ จนได้รับการยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) ให้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก และได้ส่งเสริมให้มีการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฉลองพระบรมราชสมภพครบรอบ ๒๐๐ ปี เมื่อพ.ศ. ๒๕๑๑ พร้อมจัดสร้างอุทยาน พระบรมราชานุสรณ์ฯ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยมีจุดประสงค์ให้เป็นศูนย์กลางศิลปวัฒนธรรมไทยในรัชสมัยของพระองค์ และเพื่อให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนในท้องถิ่นและจังหวัดใกล้เคียงนั้นด้วย

ถานที่ตั้งของอุทยานร.๒ อยู่ที่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ติดกับวัดอัมพวันเจติยาราม ที่เชื่อกันว่าเคยเป็นที่ตั้ง นิวาสถานดั้งเดิมของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เนื้อที่ ๑๑ ไร่ของอุทยาน ร.๒ แห่งนี้ พระราชสมุทรเมธี อดีตเจ้าอาวาสวัดอัมพวันเจติยาราม เป็นผู้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินของบริเวณพระอารามให้ (เดิมเป็นนิวาสถานของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชชนนี ภายหลังพระราชทานให้เป็นสมบัติของวัด) โดยที่ดินดังกล่าวอยู่ติดกับวัดอัมพวันเจติยาราม ด้านหนึ่งติดกับถนนแม่กลอง-บางนกแขวก ส่วนอีกด้านหนึ่งติดริมแม่น้ำแม่กลอง

สุนทรภู่ กวีเอกในสมัยรัชกาลที่ ๒

               สุนทรภู่ เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน ๘ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๔๘ ตรงกับวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๓๒๙ ในรัชกาลที่ ๑ บิดามารดาชื่อใดไม่ปรากฏ ทราบเพียงว่ามารดามีเชื้อสายผู้ดี และทำหน้าที่แม่นมของพระธิดาในกรมพระราชวังหลัง ส่วนบิดานั้นบวชเป็นพระอยู่ที่วัดบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เรียนหนังสือ           ที่วัดชีปะขาวหรือวัดศรีสุดารามในปัจจุบัน ครั้นมีความรู้ดีแล้ว มารดานำไปฝากเป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง      แต่อยู่ได้ไม่นานก็ลาออกไปเป็นเสมียน สุนทรภู่รับราชการไม่ก้าวหน้านัก เพราะติดนิสัยรักกาพย์กลอน กระทั่ง     ในสมัยรัชกาลที่ ๒ จึงเป็นที่โปรดปรานให้เป็น “ขุนสุนทรโวหาร” (ภู่) เรียกสั้นๆ ว่า “สุนทรภู่” ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น “พระสุนทรโวหาร” ถึงแก่กรรมเมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๙๘ อายุได้ ๗๐ ปี

หนังสือบทกลอน ที่สุนทรภู่แต่งมีมากมาย ที่ได้ยินแต่ชื่อเรื่องยังหาฉบับไม่พบก็มี ที่หายสาบสูญไปแล้วไม่ได้ยินชื่อเรื่องก็มี แต่เรื่องที่ยังมีต้นฉบับอยู่ในปัจจุบันมี ๒๔ เรื่องคือ

        - นิราศ ๙ เรื่อง ได้แก่ นิราศเมืองแกลง นิราศพระบาท นิราศภูเขาทอง นิราศเมืองสุพรรณ นิราศวัดเจ้าฟ้า นิราศอิเหนา นิราศพระแท่นดงรัง นิราศพระปฐม และนิราศเมืองเพชรบุรี

        - นิทาน ๕ เรื่อง ได้แก่ โคบุตร พระอภัยมณี พระไชยสุริยา ลักษณวงศ์ และ สิงหไกรภพ

        - สุภาษิต ๓ เรื่อง ได้แก่ สวัสดิรักษา เพลงยาวถวายโอวาท และสุภาษิตสอนหญิง

        - บทละคร ๑ เรื่อง คือ เรื่องอภัยนุราช

        - บทเสภา ๒ เรื่อง ได้แก่ ขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม และเรื่องพระราชพงศาวดาร

        - บทเห่กล่อม ๔ เรื่อง ได้แก่ เห่เรื่องจับระบำ เห่เรื่องกากี เห่เรื่องพระอภัยมณี และเห่เรื่องโคบุตร

แหล่งที่มา //sites.google.com/site/konozuba1123/bthna/rach-kal-thi2-phrabath-smdec-phraphuthth-leis-hla-nphalay

ข้อใดคือพระราชกรณียกิจที่สำคัญของรัชกาลที่ 2

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงประกอบพระราชกรณียกิจด้านเศรษฐกิจ ที่สำคัญคือการรวบรวมรายได้จาการค้ากับต่างประเทศ ซึ่งในสมัยนี้ได้มีการเรียกเก็บภาษีอากรแบบใหม่คือ การเดินสวนและการเดินนา การเดินสวนเป็นการแต่งตั้งเจ้าพนักงานไปสำรวจพื้นที่เพาะปลูกของราษฎร เพื่อคิดอัตราเสียภาษีอากรที่ถูกต้อง ทำให้เกิดความยุติธรรมแก่ ...

รัชกาลที่2มีผลงานอะไรบ้าง

พระราชนิพนธ์ ร.๒.
เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนตอน ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างแล้วเข้าห้องนางแก้วกิริยากับตอนขุนแผนพานางวันทองหนี.
บทละครเรื่องอิเหนา.
บทละครเรื่องไชยเชษฐ์ สังข์ทอง คาววี ไกรทอง มณีพิชัย.
กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน.
บทพากย์โขน ตอน พรหมาพัตร์ นากบาส นางลอย และเอราวัณ.

รัชกาลที่2ทรงทำอะไรบ้าง

ขยายเขตพระบรมมหาราชวังจนจรดวัดพระเชตุพนฯ โดยสร้างถนนท้ายวังคั่น โปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการออกแบบและสร้างสวนขวาขึ้นในพระบรมมหาราชวัง คณะสมณทูตที่พระองค์ทรงส่งไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาที่ ประเทศลังกาเดินทางกลับ เจ้าเมืองมาเก๊า ส่งทูตเข้ามาถวายพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการเพื่อเจริญทางพระราชไมตรี

บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 มีอะไรบ้าง

ด้านพระปรีชาสามารถ พระองค์ทรงมีพระอัจฉริยภาพด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านวรรณศิลป์ ได้แก่ พระราชนิพนธ์วรรณคดีที่มีชื่อเสียงมาถึงปัจจุบัน วรรณคดีในสมัยของพระองค์ถือเป็นแบบฉบับอันยอดเยี่ยมไม่ว่าจะเป็นคำกลอน ละครนอก ละครใน เสภา นิราศ กาพย์ ฉันท์ ลิลิต โครงสี่สุภาพ อาทิ บทละครเรื่องอิเหนา เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน บทพากย์โขน บทละคร ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง