วิธี คํา น วณ เงินกองทุน สํา รอง เลี้ยงชีพ

“เคยคิดมั้ย... ที่เราถูกหักเงินเดือนเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพทุกเดือน เราได้อะไร แล้วจริงๆ ควรหักเท่าไหร่”


มนุษย์เงินเดือนหลายคนคงเคยมีประสบการณ์ถูกหักเงินเดือนเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จนรู้สึกเหมือนเหลือเงินไว้ใช้จ่ายน้อยลง อยากเอาเงินไปทำอย่างอื่นบ้าง ทั้งที่จริงแล้วเงินก้อนนี้เป็นหนึ่งในหัวใจของความมั่งคั่งยามเกษียณของมนุษย์เงินเดือน ซึ่งจะช่วยให้ดำรงชีวิตหลังเกษียณได้อย่างมีความสุขและไม่ต้องเป็นภาระกับลูกหลานด้วย


นอกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะเป็นแหล่งเงินออมชั้นดีเพื่อวัยเกษียณแล้ว ยังมีสิทธิประโยชน์เจ๋งๆ อีก 2 ต่อ ได้แก่


ต่อที่ 1 เมื่อจ่ายเงินสะสมเข้าไปในกองทุนฯ แล้ว ยังได้รับ “เงินสมทบจากนายจ้าง” ตามเงื่อนไขของบริษัท เหมือนเราได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้นทุกๆ เดือนโดยปริยาย


ต่อที่ 2 เงินสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15% ของรายได้ แต่เมื่อรวมกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) หรือเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท


ทีนี้รู้แล้วใช่มั้ยว่า... ทำไมบริษัทถึงอยากให้เราสมัครเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แต่จริงๆ แล้วยังมีอีก “3 เคล็ดลับ เพิ่มเงินออมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” ที่จะช่วยให้เราได้ประโยชน์สูงสุด ดังนี้


ออมผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้เต็มสิทธิ


ลองเปลี่ยนมุมมองซักนิดว่า... หากให้เราเก็บเงินเอง ก็อาจจะเก็บไม่อยู่ แต่ถ้าเปลี่ยนมาใช้วิธีหักเงินออมจากเงินเดือนมาสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเลย ก็รับประกันได้ว่าเราจะมีเงินไว้ใช้ในยามเกษียณแน่นอน ดังนั้น เราควรเลือกหักเงินสะสมในอัตราสูงสุด พูดง่ายๆ คือ นายจ้างให้สิทธิออมได้สูงสุดเท่าไหร่ ก็เลือกใช้สิทธิเท่านั้น ซึ่งบางบริษัทให้เราสะสมได้ถึง 15% ของเงินเดือน และนายจ้างจะจ่ายเงินสมทบให้อีกตามข้อกำหนดของบริษัท

ยิ่งเก็บเยอะ ยิ่งสบายในยามเกษียณ

ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันเราอายุ 30 ปี เงินเดือนอยู่ที่ 30,000 บาทต่อเดือน อัตราการขึ้นเงินเดือน 4% ต่อปี เลือกลงทุนในนโยบายตราสารหนี้ 100% ได้ผลตอบแทน 5.40% ต่อปี


หากเราเลือกสะสม 3% นายจ้างสมทบให้เท่ากันที่ 3% รวมเป็น 6% เราก็จะมีเงินออม ณ ปีที่เกษียณอายุ 3,860,437 บาทแต่หากเราเลือกสะสม 15% นายจ้างสมทบให้อีก 3% รวมเป็น 18% เราก็จะมีเงินออม 9,455,924 บาท จะเห็นว่า... เพียงแค่เราลดการใช้จ่ายในปัจจุบัน และเปลี่ยนไปออมต่อเดือนให้มากขึ้น เราก็จะมีเงินออมเพิ่มขึ้นถึง 5,595,487 บาทเลย

จะหักเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างไรให้คุ้มค่าที่สุด?

หลายคนอาจเคยสงสัยว่า เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ต้องหักกี่เปอร์เซ็นต์ ในการหักเงินสมทบนั้น กฎหมายได้กำหนดให้ลูกจ้างสะสมได้ตั้งแต่ 2-15% ของเงินเดือน และนายจ้างสมทบเข้าเป็นประจำทุกครั้งที่จ่ายเงินเดือนให้อีกในอัตราตั้งแต่ 2-15% ตามข้อบังคับของแต่ละบริษัท เพราะฉะนั้นถ้ามองในแง่ของการลงทุนแล้ว ยิ่งเราสะสมมากเท่าไหร่ เรายิ่งมีโอกาสได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น และที่สำคัญเราสามารถนำ “เงินสะสม” ที่เราสะสมในแต่ละปี ไปหักลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย

จะได้รับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพคืนเมื่อไหร่?

โดยปกติแล้วสมาชิกกองทุนมีสิทธิได้รับเงินคืนจากกองทุนเมื่อความเป็นสมาชิกสิ้นสุดลง ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม ทั้งลาออกจากงาน เกษียณอายุ โอนย้ายกองทุน หรือแม้กระทั่งเสียชีวิต โดยจะได้รับเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสะสมทั้งจำนวน ส่วนเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบจะได้รับตามเงื่อนไขที่บริษัทกำหนดไว้ในข้อบังคับกองทุน

จะจัดการกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างไรดี เมื่อลาออกจากงาน?

เป็นธรรมดาสำหรับมนุษย์เงินเดือนหน้าใหม่อย่างเราที่เมื่อทำงานมาสักพักหนึ่งแล้ว ก็เริ่มที่จะมองหาความก้าวหน้าในชีวิต รวมถึงการเติบโตในหน้าที่การงานด้วย เพราะฉะนั้นการตัดสินใจลาออกจากงาน เพื่อมองหาความท้าทายใหม่ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร แต่ก่อนที่จะเปลี่ยนงาน อย่าลืมที่จะรักษาสิทธิต่าง ๆ ที่เราควรได้รับจากที่ทำงานเดิม โดยเฉพาะการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หากบริษัทไหนมีกองทุนนี้ให้กับพนักงาน ไม่อย่างนั้นตัวเราเองนี่แหละที่อาจจะเสียประโยชน์ได้ ซึ่งวันนี้เราได้สรุปมาให้ทุกคนทั้งหมด 3 ทางเลือกด้วยกัน

วิธีแรก ฝากไว้กับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของที่ทำงานเดิมได้

โดยจะได้รับผลประโยชน์จากการลงทุนต่อไป แต่จะไม่มีเงินสมทบ เพื่อรอให้เราพร้อมสำหรับการโอนย้ายไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของที่ทำงานใหม่ หรือกองทุนรวม RMF ก็ได้ แต่มีค่าธรรมเนียมการคงเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่ที่ 500 บาทต่อปี

วิธีที่สอง โอนย้ายไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของที่ทำงานใหม่ หรือกองทุนรวม RMF

ทั้งสองกรณีนี้ไม่ต้องเสียภาษีหรือค่าธรรมเนียมใด ๆ แต่ถ้าหากที่ทำงานใหม่ ไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็จะต้องนำเงินก้อนนี้ไปไว้ที่กองทุนรวม RMF for PVD แทน ซึ่งตรงนี้ก็ต้องมาศึกษากันว่ามี บลจ. ที่ไหนเปิดรับโอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพบ้าง

เมื่อโอนย้ายกองทุน PVD เข้า RMF for PVD ก็สามารถสับเปลี่ยนกองทุนได้แต่ต้องเป็นกองทุน RMF for PVD ด้วยกันเท่านั้น

วิธีที่สาม นำเงินออกมาลงทุนต่อเอง หรือนำไปใช้จ่ายอย่างอื่น

หากมนุษย์เงินเดือนคนไหนลาออกจากงานแล้ว และอยากจะสร้างความท้าทายด้วยการนำเงินไปเริ่มต้นลงทุน หรือนำไปใช้จ่ายในเรื่องที่ต้องการ ก็ต้องมาคำนวณดูว่าเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้มาจะยื่นภาษีอย่างไร และเท่าไหร่ ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้

  • ถ้าอายุงานน้อยกว่า 5 ปี หรือลาออกจากกองทุน แต่ไม่ได้ลาออกจากงาน : ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี โดยจะต้องนำเงินที่ได้ทั้ง 3 ส่วน (เงินสมทบ ผลประโยชน์ของเงินสะสม และผลประโยชน์ของเงินสมทบ) มารวมเป็นเงินได้เพื่อคำนวณภาษี

    สมมติว่า ณ ตอนนี้เราเป็นสมาชิก PVD โดยมียอดเงินสะสมอยู่ที่ 500,000 บาท เงินสมทบ 500,000 บาท ผลประโยชน์เงินสะสม 50,000 บาท และผลประโยชน์เงินสมทบ 50,000 บาท หากเราลาออกจากงานในตอนนี้ เราจะต้องนำเงินได้ทั้ง 3 ส่วน คือ เงินสมทบ ผลประโยชน์เงินสะสม และผลประโยชน์เงินสมทบ >> 500,000 + 50,000 + 50,000 = 600,000 บาท มารวมกับรายได้ของเราในปีนั้น เพื่อยื่นภาษีด้วย

  • ถ้าอายุงาน 5 ปีขึ้นไป แต่อายุไม่เกิน 55 ปี : สามารถเลือกได้ว่าจะนำไปคำนวณรวมกับเงินได้ทั้งปี หรือแยกคำนวณภาษีต่างหาก โดยไม่ต้องไปรวมกับเงินได้ประจำปีก็ได้

    ในกรณีที่แยกคำนวณภาษี เราสามารถนำรายได้ส่วนนี้ไปหักค่าใช้จ่ายแบบพิเศษได้ 7,000 บาทต่ออายุงาน 1 ปี ส่วนที่เหลือสามารถหักออกได้อีกครึ่งหนึ่ง ก่อนที่จะนำไปรวมเป็นรายได้สุทธิ

    สมมติว่า ณ ตอนนี้เราเป็นสมาชิก PVD โดยทำงานมาแล้ว 5 ปี และมียอดเงินสะสมอยู่ที่ 500,000 บาท เงินสมทบ 500,000 บาท ผลประโยชน์เงินสะสม 50,000 บาท และผลประโยชน์เงินสมทบ 50,000 บาท หากเราลาออกจากงานในปีนี้ จะต้องนำเงินได้ทั้งหมดมาคำนวณภาษีดังต่อไปนี้

    • นำเงินที่ได้จากกองทุน (เงินสมทบ + เงินผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบ) หักค่าใช้จ่ายพิเศษ จำนวน 7,000 บาท คูณด้วยจำนวนปีที่ทำงาน >> 600,000 – (7,000 x 5) = 565,000 บาท
    • เหลือเงินได้เท่าไหร่ ให้นำไปหักออกอีกครึ่งหนึ่ง >> 565,000 – 282,500 = 282,500 บาท
    • สุดท้ายจึงนำเงินได้ที่เหลือ 282,500 บาท ไปเป็นรายได้สุทธิ เพื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามปกติ โดยจะไม่ได้สิทธิยกเว้นภาษีสุทธิขั้นแรก 150,000 บาท

  • ถ้าอายุสมาชิกกองทุน 5 ปีขึ้นไป และอายุ 55 ปีขึ้นไป : ไม่ต้องเสียภาษี

สุดท้ายแล้วทางเลือกสำหรับการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อเราต้องเปลี่ยนงานนั้นก็มีหลากหลายวิธี แตกต่างกันไป และการวางแผนเกษียณผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก็มีความสำคัญและมีหลากหลายตัวเลือกให้ตัดสินใจเช่นกัน หากเราจะเลือกวิธีใดก็ควรศึกษาและวางแผนการลงทุน รวมถึงสิทธิประโยชน์ของแต่ละวิธีนั้นให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ และเพื่อให้เราสามารถรักษาผลประโยชน์ของเราได้อย่างสูงที่สุด

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง