วิธีกินยาแก้อักเสบ amoxicillin

Amoxicillin (อ่านว่า อะ-ม็อก-ซี่-ซิล-ลิน) เป็นยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) ในกลุ่มเพนิซิลลิน (Penicillins) มีฤทธิ์ในการยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อแบคทีเรีย เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในชื่อ ‘อะม็อกซี่’ หรือ ‘ยา Amoxy’

อะม็อกซีซิลลินมักถูกใช้ในการรักษาโรคและอาการต่างๆ ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น ทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ บาดทะยัก รวมถึงการติดเชื้อที่หู คอ จมูก ผิวหนัง และการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ

บางครั้งแพทย์จะสั่งจ่ายยา Amoxicillin ควบคู่กับยา Clarithromycin (คลาริโทรมัยซิน) ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มแมคโครไลด์ (Macrolide) เพื่อรักษาแผลในกระเพาะอาหารจากการติดเชื้อเอชไพโลไร (Helicobacter Pylori; H. Pylori) และอาจจะให้ยา Lansoprazole (แลนโซพราโซล) ซึ่งมีฤทธิ์ในการลดกรดในกระเพาะอาหารร่วมด้วย

ชื่อทางการค้าของยา Amoxicillin ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในประเทศไทย

อาม็อกซี่ ที.โอ (Amoxi T.O.), อะม็อกซิคลาฟ (Amoksiklav), อะม็อกซิล (Amoxil), โคอะมอกซ์ (Coamox), คิวแรม (Curam), ไดม็อกซิน (Dymoxin), จีพีโอ มอกซ์ (GPO Mox), ไอบีอาม็อกซ์ (Ibiamox), เมซิล (Meixil), ม๊อกซิน (Moxcin), ม็อกซิเมด (Moximed), ม็อกซีแพค (Moxypac), ราน็อกซิล (Ranoxyl), ไซอะม็อกซ์ (Sia-Mox), ที.โอ. ซิลลิน (T.O. Cillin), ยูนิม็อกซ์ (Unimox)

*เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนเท่านั้น

ประเภทของยา

Amoxicillin เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มเพนิซิลิน และเป็นยาตามใบสั่งแพทย์

รูปแบบของยา

แบบแคปซูล แบบเม็ด แบบน้ำ แบบผง และแบบฉีด

ยา Amoxicillin ราคาเท่าไหร่?

ราคากลางของยาอะม็อกซีซิลลินต่างกันตามรูปแบบของยา ความแรง และขนาดบรรจุ สามารถตรวจสอบราคาได้ที่นี่

Amoxicillin เป็น ✅‘ยาฆ่าเชื้อ’ ไม่ใช่ ❌‘ยาแก้อักเสบ’

ความสับสนของคนไทยเรื่องยาฆ่าเชื้อกับยาแก้อักเสบนั้นถือเป็นเรื่องน่าปวดเศียรเวียนเกล้าไม่น้อยสำหรับเภสัชกร จริงๆ แล้วยาทั้ง 2 ชนิดนี้มีฤทธิ์ต่างกันและเป็นยาคนละกลุ่มกัน โดยยาฆ่าเชื้อหรือยาปฏิชีวนะนั้นจะมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ปรสิต และเชื้อรา ตัวอย่างยาฆ่าเชื้อที่เป็นที่รู้จักมากก็คือยาเพนิซิลลิน (Penicillin) และยาอะม็อกซีซิลลินนั่นเอง

ส่วนยาแก้อักเสบ (Anti-inflammatory) นั้นจะออกฤทธิ์ช่วยลดอาการอักเสบ แก้ปวด และลดไข้ ตัวอย่างยาที่เป็นที่รู้จักก็คือยาในกลุ่ม NSAIDs เช่น แอสไพริน (Aspirin), ไดโคลฟิแนค (Diclofenac) และไอบูโพเพน (Ibuprofen) เป็นต้น

Amoxicillin ใช้รักษาไข้หวัดไม่ได้

ยาอะม็อกซีซิลลินสามารถรักษาอาการเจ็บคอที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียอย่างทอนซิลอักเสบหรือคออักเสบได้เป็นอย่างดี แต่ไม่สามารถรักษาอาการเจ็บคอที่เกิดจากไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และโรคอื่นๆ ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสได้ เนื่องจากยาปฏิชีวนะไม่มีผลต่อเชื้อไวรัส นอกจากนี้ การใช้ยาอะม็อกซีซิลลินอย่างไม่ถูกต้อง เช่น ใช้พร่ำเพรื่อ รับประทานไม่ครบโดส ฯลฯ ก็อาจทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลง หรือที่เรียกว่า ‘เชื้อดื้อยา’ ได้

ข้อควรระวังก่อนใช้ยา

  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ที่เคยมีประวัติแพ้ยาในกลุ่มเพนิซิลิน
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ที่เคยมีประวัติแพ้ยาในกลุ่มเซฟาโลสปอริน (Cephalosporins) อย่างรุนแรง
  • ผู้ที่ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคไต โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ ไข้ละอองฟาง โรคลมพิษ โรคโมโนนิวคลิโอสิส (Mononucleosis) ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา เนื่องจากมีโอกาสแพ้ยาได้ง่ายขึ้น และอาจเกิดอาการแพ้รุนแรงได้
  • ผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา
  • ยาปฏิชีวนะเป็นยาที่ต้องรับประทานตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัดและต้องรับประทานให้ครบโดส ควรรับประทานยาเวลาเดิมทุกวันจนกว่ายาจะหมด แม้ว่าอาการจะดีขึ้นแล้วก็ไม่ควรหยุดรับประทานยากลางคัน เพราะอาจส่งผลให้เกิดการดื้อยาได้

วิธีใช้ยา

แพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยว่าผู้ป่วยควรได้รับยาในปริมาณเท่าใด เนื่องจากยานี้ใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียหลากหลายโรคที่มีระดับความรุนแรงของเชื้อแตกต่างกัน ส่วนในเด็กจะพิจารณาจากน้ำหนักตัวเป็นหลัก

การใช้ยา Amoxicillin ในผู้ใหญ่

โดยทั่วไปแพทย์มักให้รับประทานยาขนาด 250-500 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง สามารถรับประทานได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงมื้ออาหาร และรับประทานติดต่อกัน 5-10 วันตามความรุนแรงของเชื้อ โดยแพทย์อาจพิจารณาให้ยาเพิ่มเป็น 2 เท่าหากคาดว่าเชื้อดื้อยา แต่จะให้ในปริมาณสูงสุดไม่เกิน 2-3 กรัมต่อวัน

การใช้ยา Amoxicillin ในเด็ก

  • เด็กอายุมากกว่า 3 เดือนและน้ำหนักตัวไม่เกิน 40 กิโลกรัม: ให้ยาครั้งละ 15-90 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยแบ่งให้วันละ 2-3 ครั้ง
  • เด็กน้ำหนักตัวมากกว่า 40 กิโลกรัม: ให้ยา 500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง หรือ 250 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง

ทั้งนี้ ปริมาณการให้ยาและระยะเวลาที่ต้องรับประทานยาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์/เภสัชกร หากลืมว่าควรรับประทานยาอย่างไรควรตรวจสอบบนซองยาหรือโทรติดต่อโรงพยาบาล/สถานพยาบาล/ร้านขายยาเพื่อสอบถามจากเภสัชกรที่ทำหน้าที่จ่ายยาให้

ยาที่ไม่ควรใช้ร่วมกัน

ปัจจุบันยังไม่พบยาที่ทำปฏิกิริยารุนแรงระดับอันตรายมากเมื่อใช้ร่วมกับ Amoxicillin แต่ก็มียาบางชนิดที่เมื่อใช้ร่วมกันแล้วอาจเกิดอาการไม่พึงประสงค์บางอย่าง ควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณกำลังใช้ยา/อาหารเสริม/สมุนไพร ที่มีส่วนประกอบของตัวยาต่อไปนี้ก่อนใช้ยาอะม็อกซีซิลลิน

  • ยาเมโธเทรกเซท (Methotrexate)
    กรณีที่ต้องใช้ยาอะม็อกซีซิลลินในขนาดสูงเพื่อรักษาอาการติดเชื้อที่ค่อนข้างรุนแรง ยาอาจจะไปเพิ่มผลข้างเคียงของยา Methotrexate ให้แรงขึ้น ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน จำนวนเซลล์เม็ดเลือดต่ำ และอาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง มีเลือดออก เกิดการติดเชื้อ และอาการรุนแรงอื่นๆ ตามมา ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยา 2 ชนิดนี้ร่วมกัน หรือหากจำเป็นต้องใช้ แพทย์อาจจะให้ปรับลดขนาดของยา Methotrexate ลง และติดตามระดับยาอย่างใกล้ชิด
  • ยาอัลโลพูรินอล (Allopurinol)
    พบว่าการใช้ยา Allopurinol ร่วมกับยา Amoxicillin อาจเพิ่มโอกาสเสี่ยงให้เกิดผื่นภูมิแพ้ผิวหนังมากขึ้น
  • ยาโพรเบนีซิด (Probenecid)
    Probenecid กับ Amoxicillin เมื่อใช้ร่วมกันแล้วจะช่วยให้ฤทธิ์ของอะม็อกซีซิลลินแรงขึ้น ทำให้การกำจัดเชื้อแบคทีเรียมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ก็อาจทำให้เกิดอาการท้องไส้ปั่นป่วน ท้องเสีย มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน หรือมีผื่นขึ้น นอกจากนี้ยาโพรเบนีซิดยังลดประสิทธิภาพของไตในการกำจัดยาปฏิชีวนะ จึงเลี่ยงใช้ยานี้ร่วมกันในผู้ป่วยที่มีภาวะไตเสื่อม
  • ยาคุมกำเนิด
    Amoxicillin อาจลดประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิด จึงควรใช้วิธีคุมกำเนิดแบบอื่นๆ ด้วยในระหว่างที่ใช้ยานี้
  • ยาปฏิชีวนะอื่นๆ

ผลข้างเคียงและอาการแพ้ยา Amoxicillin

ผลข้างเคียงทั่วไป

  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ปวดท้อง
  • ท้องเสีย
  • ปวดหัว
  • เบื่ออาหาร

ทั้งนี้ หากมีอาการรุนแรงควรไปพบแพทย์ทันที

อาการแพ้ยาที่เป็นอันตราย ควรหยุดใช้ยาและไปพบแพทย์ทันที

  • มีอาการบวมที่ใบหน้า เปลือกตา และริมฝีปาก
  • มีผื่นลมพิษ ผื่นแดง ตุ่มพอง หรือผิวหนังหลุดลอก
  • หน้ามืด เป็นลม
  • แน่นหน้าอก หายใจลำบาก
  • ผิวหนังมีรอยจ้ำ หรือมีเลือดออกผิดปกติ
  • ตัวเหลือง ตาเหลือง หรือปัสสาวะมีสีเหลืองเข้มผิดปกติ
  • ปวดเกร็งท้อง ท้องร่วง ถ่ายเป็นน้ำ หรือถ่ายเป็นเลือด
  • มีไข้สูงหรือเจ็บคอหลังจากกินยานี้ติดต่อกันเป็นเวลา 10 วันขึ้นไป
  • มีฝ้าขาวในปาก
  • มีอาการตกขาวผิดปกติและคันช่องคลอด

หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?

ควรรับประทานยาทันทีที่นึกได้ แต่ถ้าใกล้เวลาของมื้อต่อไปแล้ว ให้รอกินยาของมื้อต่อไป และห้ามรับประทานยาเพิ่มเป็น 2 เท่า

หากรับประทานยาเกินขนาดควรทำอย่างไร?

ควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หากมีอาการผิดปกติที่รุนแรง ให้รีบไปโรงพยาบาลทันที

การเก็บรักษา

  • ยาชนิดเม็ดควรเก็บในบรรจุภัณฑ์เดิม
  • ยาชนิดน้ำแขวนตะกอน หลังผสมน้ำแล้ว เก็บที่อุณหภูมิห้องได้ 7 วัน เก็บในตู้เย็นได้นาน 2 สัปดาห์ (ห้ามเก็บในช่องแช่แข็ง)
  • เก็บยาในที่แห้ง อย่าให้โดนแสงโดยตรง
  • เก็บที่อุณหภูมิไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส
  • ไม่เก็บยาในที่ร้อนหรือชื้น เช่น ในรถ ในห้องน้ำ ห้องครัว
  • เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
  • ห้ามทิ้งยาที่หมดอายุแล้วลงในชักโครกหรือท่อระบายน้ำโดยเด็ดขาด หากต้องการทิ้งยา ให้นำยาใส่ถุงซิปล็อคหรือภาชนะอื่นๆ ที่ปิดสนิท จากนั้นทิ้งลงไปในถังขยะตามปกติ

ตอบคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับยา Amoxicillin

1. Amoxicillin 500 mg คือยาอะไร?

ยา Amoxicillin เป็นยาปฏิชีวนะ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียจึงใช้ในการรักษาอาการต่างๆ ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยตัวยามีหลายขนาด ปริมาณยาและระยะเวลาที่ควรใช้ยาขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ สำหรับขนาด 500 mg นั้นเป็นขนาดยาที่ใช้รักษาโดยทั่วไป อาจเป็นยาแคปซูลหรือยาเม็ดก็ได้

2. Amoxicillin 500 mg แก้อะไร?

Amoxicillin 500 mg ใช้รักษาโรคและอาการต่างๆ ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น ทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ บาดทะยัก รวมถึงการติดเชื้อที่หู คอ จมูก ผิวหนัง และการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ

3. Amoxicillin กินยังไง?

สำหรับอาการติดเชื้อที่พบได้บ่อยๆ อย่างอาการคออักเสบหรือทอนซิลอักเสบ ผู้ใหญ่ควรรับประทานยาขนาด 250-500 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง ไม่จำเป็นต้องรับประทานตามมื้ออาหาร และรับประทานต่อเนื่อง 5 – 10 วันจนกระทั่งยาหมด ห้ามหยุดยาเอง สำหรับเด็กเล็ก ควรได้รับยา 50 มก./กก./วัน (ไม่เกิน 1,000 มก./วัน) วันละ 1 ครั้ง หรือแบ่งให้วันละ 2-3 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 500 มก.

ทั้งนี้แพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยว่าผู้ป่วยควรได้รับยาในปริมาณเท่าใด และควรรับประทานยานานต่อเนื่องกี่วันโดยพิจารณาจากความรุนแรงของการติดเชื้อและน้ำหนักตัวของผู้ป่วย

4. Amoxicillin เป็นยาแก้อักเสบใช่หรือไม่?

แม้จะถูกเรียกติดปากว่ายาแก้อักเสบ แต่ความจริงแล้วยาอะม็อกซีซิลลินเป็นยาปฏิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อ ซึ่งเป็นยาคนละกลุ่มกับยาแก้อักเสบ

5. Amoxicillin 500 mg แก้เจ็บคอได้หรือไม่?

ยา Amoxy สามารถรักษาอาการเจ็บคอซึ่งมีต้นตอมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียได้ เช่น ทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ เป็นต้น แต่ไม่สามารถรักษาอาการเจ็บคอที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ได้

6. Amoxicillin ห้ามกินกับอะไร?

ไม่ควรรับประทานยา Amoxicillin ร่วมกับยา อาหารเสริม หรือสมุนไพรที่มีส่วนผสมของ เมโธเทรกเซท (Methotrexate) อัลโลพูรินอล (Allopurinol) โพรเบนีซิด (Probenecid) ยาที่มีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด รวมถึงยาปฏิชีวนะอื่นๆ เพื่อป้องกันการกินยาซ้ำซ้อนกัน

7. Amoxicillin กินต่อเนื่องกี่วัน?

ปริมาณและระยะเวลาที่ควรรับประทานยา Amoxicillin ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ โดยทั่วไปจะให้รับประทานต่อเนื่อง 5-10 วัน หรืออาจให้รับประทานติดต่อกัน 14 วันในบางกรณี

8. แพ้ยา Tetracycline กิน Amoxy ได้ไหม?

อาการแพ้ยาในกลุ่ม Tetracycline ตรงๆ นั้นหาได้ยากมาก แต่หากมีอาการแพ้ สามารถรับประทานยาปฏิชีวนะในกลุ่ม Penicillin แทนได้ ซึ่งรวมถึงยา Amoxy ด้วย นอกจากนี้ยังมีตัวเลือกอื่นๆ เช่น ยา Bactrim (ชื่อทางการค้าของยา Sulfamethoxazole ผสมกับ Trimethoprim) ยาแวนโคมัยซิน (Vancomycin) หรือยาซิโปรฟลอกซาซิน (Ciprofloxacin) ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา

9. แพ้ Amoxicillin ใช้ยาอะไรแทน?

หากแพ้ยา Amoxicillin ยาปฏิชีวนะที่น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดและไม่ทำให้เกิดอาการแพ้คือยาคลาริโทรมัยซิน (Clarithromycin), ยาด็อกซีไซคลิน (Doxycycline), และยาอิริโทรมัยซิน (Erythromycin)

ในขณะเดียวกันก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะอื่นๆ ในกลุ่มเพนิซิลลิน และกลุ่มเซฟาโลสปอริน (Cephalosporins) เพราะจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้เช่นกัน

10. แพ้ Amoxicillin ใช้ Dicloxacillin ได้ไหม?

หากมีอาการแพ้ยาอะม็อกซีซิลลิน ควรเลี่ยงการใช้ยาที่อยู่ในกลุ่มเพนิซิลลินทั้งหมด ซึ่งรวมถึงไดคลอกซาซิลลิน (Dicloxacillin) ด้วย

11. Dicloxacillin กับ Amoxicillin ต่างกันอย่างไร?

ยาทั้ง 2 ชนิดเป็นยาที่มีข้อบ่งใช้คล้ายกันและเป็นยาในกลุ่มเพนิซิลลินเช่นเดียวกัน

ยาอะม็อกซีซิลลิน (Amoxicillin) เป็นยาที่ออกฤทธิ์กว้าง มักใช้รักษาอาการต่างๆ ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น การติดเชื้อในทางเดินหายใจ หู คอ จมูก ผิวหนัง และทางเดินปัสสาวะ

ยาไดคลอกซาซิลลิน (Dicloxacillin) ใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียเช่นเดียวกัน แต่จะค่อนข้างจำเพาะต่อเชื้อโรคมากกว่า มักใช้รักษาแผลที่มีตุ่มหนอง ในบางกรณีก็สามารถใช้รักษาอาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจได้เช่นกัน

12. ยา Amoxicillin กินตอนไหน?

ยาอะม็อกซีซิลลินสามารถกินก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ ไม่มีผลต่อประสิทธิภาพของยา

13. กินยา Amoxicillin แล้วท้องเสีย ผิดปกติหรือไม่?

อาการท้องเสียเป็นหนึ่งในผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยจากการใช้ยาอะม็อกซีซิลลินและยาปฏิชีวนะอื่นๆ เนื่องจากยาออกฤทธิ์รบกวนการทำงานของแบคทีเรียปกติในลำไส้ของเรา จึงทำให้เกิดอาการท้องเสีย

14. Amoxicillin+Clavulanic Acid คืออะไร?

คือสูตรยาที่มีการผสมยา Amoxicillin กับ Clavulanic Acid (อ่านว่า คลาวูลาเนต แอซิด) ซึ่งมักใช้รักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรียที่หู ปอด ไซนัส ผิวหนัง และระบบทางเดินปัสสาวะ โดย Clavulanic Acid เป็นยาในกลุ่ม Beta-Lactamase Inhibitors ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยป้องกันไม่ให้ยาอะม็อกซีซิลลินถูกทำลายโดยเชื้อแบคทีเรีย และป้องกันไม่ให้เกิดเชื้อดื้อยา ชื่อทางการค้าที่เป็นที่รู้จักได้แก่ อะม็อกซิคลาฟ (Amoksiklav), อ็อกเมนทิน (Augmentin), คิวแรม (Curam) เป็นต้น

15. Amoxicillin 500 mg กิน 2 เม็ด วันละ 2 ครั้งได้ไหม?

สำหรับการติดเชื้อทั่วไปอย่างอาการคออักเสบหรือทอนซิลอักเสบซึ่งเชื้อไม่ดื้อยา ไม่แนะนำให้กิน amoxicillin 500 มก. วันละ 2 เม็ด 2 ครั้ง เนื่องจากขนาดยาสูงเกินกว่าที่แนะนำ และไม่ได้รับประโยชน์ใดๆ เพิ่มเติม ทั้งนี้ แพทย์อาจมีการพิจารณาจ่ายยาในขนาดที่สูงกว่านี้ได้เมื่อพบว่าผู้ป่วยติดเชื้อที่ค่อนข้างดื้อยา จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม

ยาอะม็อกซี่ กินยังไง

วิธีใช้ยา Amoxicillin.
รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง โดยสามารถรับประทานก่อน หรือหลังอาหารก็ได้ โดยทั่วไปจะรับประทานยานี้ทุก 8 หรือ 12 ชั่วโมง.
ขนาดยาที่ผู้ป่วยได้รับจะขึ้นกับสภาวะโรคที่เป็น และการตอบสนองต่อการรักษาของผู้ป่วย.
แนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ ระหว่างการใช้ยานี้ ยกเว้นแพทย์สั่งเป็นอย่างอื่น.

ยาแก้อักเสบ อะม็อกซี่ กินตอนไหน

ยาอะม็อกซีซิลลินสามารถรับประทานก่อนอาหารหรือหลังอาหารก็ได้ ซึ่งถือเป็นข้อดีและความสะดวกในการใช้ยาตัวนี้ ถ้าเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ให้รับประทานยานี้พร้อมอาหาร

Amoxicillin 500 mg กินครั้งละกี่เม็ด

ระบบทางเดินหายใจส่วนบน (หู คอ จมูก) เมื่ออาการรุนแรงน้อยถึงปานกลาง หรือผู้ป่วยที่ติดเชื้อ Steptococcal group A รับประทานครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง ทุก 12 ชั่วโมง เมื่ออาการรุนแรงมาก รับประทานครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง ทุก 8 ชั่วโมง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง