ในการเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ 5 ราษฎรส่วนใหญ่เข้าใจว่าคนในขบวนเสด็จเป็นใคร

ตื้นตัน! 114 ปีที่รัชกาลที่ 5 ปลอมตัวเพื่อเยี่ยมเยียนราษฎรของพระองค์

 “…ที่ใช้คำว่าเสด็จอาศัยในที่นี้เพราะเสด็จรถไฟชั้นที่ ๓ ประทับปะปนไปกับราษฎรไม่ให้ใครรู้ว่าใครเป็นใครเพื่อจะใคร่ทรงทราบว่าราษฎรอาศัยไปมากันอย่างไร…”

ข้อความข้างต้นนี้คือพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ทรงเล่าประทานถึงเหตุการณ์ เสด็จประพาสต้น ซึ่งน้อยคนอาจจะยังไม่ทราบว่า ผู้ที่เสด็จประพาสต้น ปลอมพระองค์ปะปนไปกับราษฎรนี้คือ รัชกาลที่ 5

เรื่องของเรื่องการปลอมพระองค์ออกไป “ประพาสต้น” อย่างประชาชนธรรมดาสามัญที่หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบนี้ เกิดขึ้นมาก็ด้วยเหตุที่สมเด็จพระปิยมหาราชไม่ใคร่สบายพระวรกาย เนื่องจากทรงวิตกกังวลในพระราชกิจ จน เสวยไม่ได้และบรรทมไม่หลับทั้งสองอย่าง เหล่าพระราชวงศ์และขุนนางชั้นผู้ใหญ่จึงทูลขอให้ทรงงดพระราชกิจและเสด็จประพาสตามคำแนะนำของแพทย์หลวง

แต่กระนั้น ก็มีพระราชดำริว่า ถ้าเสด็จอย่างกระบวนเรือหลวงนี้ เห็นทีจะไม่ทรงได้พักอีก เพราะราษฎรก็ต้องเข้าใจว่าพระเจ้าแผ่นดินเสด็จฯ มีการเตรียมรับเสด็จ ไม่ต้องพระราชประสงค์ที่จะทรงทราบทุกข์สุขของประชาชน จึงโปรดฯ ให้เสด็จฯอย่างสามัญบ้าง เสด็จฯโดยปลอมพระองค์ให้ราษฎรเข้าใจว่า เป็นข้าราชการในกระบวนเสด็จบ้าง ประทับรถไฟร่วมไปกับราษฎรบ้าง ประทับเรือบ้าง โดยเสด็จแบบค่ำไหนนอนนั่น ที่ประทับแรมจึงมีทั้งศาลาวัดบ้าง ในเรือบ้าง และที่เป็นเหตุของความสนุกสนานที่สุด ก็คือการได้ประทับ ณ บ้านเรือนราษฎร จนเป็นที่มาของการเกิด เพื่อนต้น คือราษฎรที่พระองค์ทรงพบในระหว่างเสด็จประพาสต้น

เพื่อนต้นที่เด่นๆ ก็มี นายฮวด(เจ๊กฮวด) และยายผึ้ง ผู้ที่ได้ต้อนรับพระองค์ด้วยอาหารง่ายๆ ที่ปรุงไว้สำหรับครอบครัวในตอนเย็น เรียกว่าล้อมวงกินข้าวไปดัวยกันทั้งพระราชาและราษฎร บ้านเจ๊กฮวดไม่ใช้ช้อนส้อมพระองค์ก็มิได้รังเกียจ ตรัสว่าทรงใช้มือเปิบข้าวก็ได้ ซ้ำยังเป็นที่มาของ “ช่องสนุก” ของรัชกาลที่ 5 ดังที่ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ผู้ตามเสด็จ ได้ทรงบันทึกไว้ว่า 

“…ถ้ามีช่องสนุกในการที่จะได้ทรงสมาคมกับราษฎรเกิดขึ้นอย่างนี้แล้วที่พระเจ้าอยู่หัวของเราจะเว้นเป็นไม่มีพอยายผึ้งเชิญพวกเราก็เข้าล้อมสำรับกับพระเจ้าอยู่หัวด้วยกันว่ากันคนละคำสองคำเจ้าเจ๊กฮวดลูกยายผึ้งอายุราวสัก๒๐ปีมาช่วยยกสำรับบัคค้อนขณะเมื่อพวกเรากินเลี้ยงเจ๊กฮวดมันนั่งดูๆพระเจ้าอยู่หัวประเดี๋ยวเอ่ยขึ้นว่าคล้ายนักคล้ายนักขอรับถามว่าคล้ายอะไรมันบอกว่าคล้ายรูปที่เขาตั้งไว้ตามเครื่องบูชาพอประเดี๋ยวก็ลุกขึ้นนั่งยองๆเอาผ้าปูกราบพระเจ้าอยู่หัวบอกว่าแน่ละขอรับไม่ผิดละเหมือนนักยายผึ้งเลยรู้ว่าพระเจ้าอยู่หัว…”

แม้ยายผึ้งกับเจ๊กฮวดจะรู้ในคราวเสด็จฯ ครั้งนั้น แต่จะเกิดอะไรขึ้นล่ะ เมื่อรัชกาลที่ 5 ปลอมพระองค์ แต่ราษฎรเจ้าบ้านไม่ทราบ แถมยังโม้กับพระองค์ด้วยว่า เคยเห็นรัชกาลที่ 5 พร้อมขอพระราชทานปืนด้วย !

เรื่องนี้เกิดขึ้น ในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2447 เมื่อกระบวนเรือเสด็จประพาสต้นถึง “บ้านกำนันหลังหนึ่งที่บางอ้ายเอียง อยุธยา”  โดยขบวนเสด็จนั้นกำลังหาที่แวะทำครัวเช้า โดยมีพ่อตาแม่ยายของกำนันนั้น ชื่อ “นายช้างและยายพลับ” ออกมารับเสด็จ โดยเข้าใจว่าเป็นเรือขุนนางตามเสด็จพระเจ้าแผ่นดิน เสด็จฯบางปะอิน สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงรานานุภาพ ได้ทรงเล่าเหตุการณ์ครั้งนั้นไว้ว่า 

“…เชิญให้พวกเราเข้าไปนั่งบนแคร่ในโรงยาวหาน้ำร้อนน้ำชามาตั้งแล้วเข้าไปนั่งเคียงไหล่สนทนากับพระเจ้าอยู่หัวมิได้มีความรู้สึกและสงสัย…

…มีใครสอดถามเข้าไปตรงนี้ว่าแกจำพระเจ้าอยู่หัวได้หรือไม่แกกลับขู่เอาว่าทำไมจะจำไม่ได้เคยเฝ้าแล้วและพระรูปก็ยังมีติดอยู่บนเรือน…

การทำครัวที่บ้านนายช้างวันนี้สนุกยิ่งกว่าที่ได้เคยทำมาในที่อื่นๆด้วยเจ้าของบ้านทั้งผัวเมียรับรองแข็งขอบและมิได้มีความสงสัยว่าผู้ใดเป็นใครเลยเมื่อเลี้ยงดูกันเสร็จแล้วนายช้างได้ปรารภว่าอยากจะได้ปืนเมาเซอร์ซักกระบอกหนึ่งเขาว่าจะสั่งเสียซื้อหาต้องขออนุญาตแกไม่รู้ว่าจะไปขออนุญาตที่ไหนขอให้คุณ(คือพระเจ้าอยู่หัว) ช่วยเป็นธุระซื้อหาให้แกสักทีส่วนเงินทองราคาปืนจะสิ้นยังเท่าใดไม่เป็นไรแกจะคิดให้เต็มราคาอย่าวิตกเลย“คุณ” ก็ยินดีจะรับเป็นพระธุระที่จะให้นายช้างได้ปืนเมาเซอร์ดังประสงค์…”

ก่อนจะเสด็จฯกลับ ได้พระราชทานเงินให้นายช้างไว้ “สักสามหรือสี่ร้อยบาท” และนายช้างกับยายพลับก็ไม่ทราบเลยว่าเป็นพระปิยมหาราช จนกระทั่งเพื่อนบ้านที่มาแอบดูอยู่แจ้งภายหลัง จึงได้รีบเร่งเข้ามากรุงเทพฯ สืบถามหาเจ้านายและข้าราชการที่ได้ตามเสด็จครั้งนั้น เที่ยวขอขมาลาโทษ จนในที่สุดก็ได้เข้าเฝ้าฯ และ…

“…นายช้างได้รับพระราชทานปืนเมาเซอร์ที่ทูลวานให้ซื้อนางพลับได้พระราชทานหีบหมากเงินสลักลายอักษรพระนามแล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯดำรัสสั่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยให้ทำประทวนตั้งนายช้างเป็นที่หมื่นปฏิพัทธภูวนารถแต่นั้นมา…”

อีกเรื่องที่หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบก็คือ “เพื่อนต้น” ที่ได้ทรงพบในครั้งนั้น เมื่อทรงสร้าง เรือนต้น พระตำหนักทรงไทยที่ริมอ่างหยก ตรงข้ามพระที่นั่งวิมานเมฆ ในพระราชวังดุสิต ก็ได้ทรงใช้เรือนต้นนี้ เลี้ยงรับรองแก่เพื่อนต้น ดังที่พระองค์ได้เคยรับเลี้ยงที่บ้านของท่านเหล่านั้น ดังคำสัมภาษณ์ หม่อมเจ้าจงจิตรถนอม ดิศกุล ว่า 

“…งานขึ้นเรือนต้นแหมพิสดารแม้แต่พระเจ้าแผ่นดินก็เสด็จในโรงครัวทรงปรุงแกงอะไรต่ออะไรพวกเพื่อนต้นก็ได้มากินเหมือนกันกินที่เฉลียงอัฒจันทร์เรือนต้นตาช้างยายพลับอะไรนี่ได้มาเหมือนกัน…”

นอกจากนี้ “เพื่อนต้น” ยังสามารถเข้าเฝ้าฯ พระองค์ได้เสมอ อีกทั้งยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณอื่นๆ เช่น เมื่อล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 เสด็จสวรรคต นายฮวดได้รับพระบรมราชานุญาต (ทรงสั่งไว้ก่อนเสด็จสวรรคต) ให้เข้าไปกราบถวายบังคมพระบรมโกศได้เป็นพิเศษอีกด้วย

ทั้งหมดนี้จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า เหตุใด พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเป็นที่รักของราษฎรของพระองค์โดยด้วยไป ดังพระราชนิพนธ์จดหมายเหตุในเรื่องประพาสต้นฉบับสุดท้ายของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ความว่า

 “…เหตุใดสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงจึงเป็นที่รักใคร่ของอาณาประชาราษฎรทั่วหน้าสมกับที่ได้ถวายพระนามจารึกไว้ในฐานพระบรมรูปทรงม้าว่าปิยมหาราชาธิราชที่จริงพระองค์ทรงรักใคร่ในไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินเหมือนกับบิดารักบุตรพอพระราชหฤทัยที่จะคุ้นเคยคบหาและถึงกับเล่นหัวกับอาณาประชาราษฎรได้โดยมิได้ถือพระองค์  ยกตัวอย่างดังจะได้เห็นในเรื่องประพาสต้นนี้เป็นพยานการที่พระองค์ทรงสมาคมกับราษฎรไม่ใช่สักแต่ว่าเพียงจะรู้จักหรือสนทนาปราศรัยให้คุ้นเคยกันเท่านั้นย่อมทรงเป็นพระราชธุระไต่ถามถึงความทุกข์สุขและความเดือดร้อนที่ได้รับจากผู้ปกครองอย่างใดๆบ้างทุกโอกาส…”

ภาพครอบครัวของหมื่นปฏิพัทธภูวนารถ (ช้าง คชาธาร) ภาพทรงถ่ายในคราวเสด็จประพาสต้นบ้านนายช้างอีกครั้ง ใน พ.ศ. 2449

ภาพการกินเลี้ยงที่บ้านนายช้างอีกครั้ง หลังจากที่ได้นำเงินพระราชทานครั้งก่อนหน้า ไปปรับปรุงเรือนใหม่รับเสด็จ ภาพทรงถ่ายในคราวเสด็จประพาสต้น พ.ศ. 2449

เรือหางแมงป่อง หรือเรือ “สุวรรณวิจิก” เรือต้นที่ทรงใช้ในกระบวนเสด็จประพาสต้น

ภาพทรงถ่ายราษฎรที่มาเฝ้ารับเสด็จ 

พระตำหนักเรือนต้น พระราชวังดุสิต

ภาพเจ้านายและข้าราชสำนักสำราญพระอิริยาบทอย่างง่ายๆ เมื่อประทับอยู่ ณ พระตำหนักเรือนต้น

สวนชาวนนทบุรี ทรงถ่ายในคราวเสด็จประพาสต้น

ภาพทรงถ่าย พระพุทธบาท สระบุรี ทรงใช้การเสด็จประพาสต้นตรวจราชการและทำนุบำรุงศาสนสถานไปในคราวเดียวกันด้วย 

**************

อ้างอิง 

  • - หนังสือ เสด็จประพาสต้น โดย บริษัท โกลบอลอินเตอร์คอมมิวนิเคชั่น จำกัด  (2552)
  • - หนังสือจดหมายเหตุเรื่อง เสด็จประพาสต้นในรัชกาลที่ 5 ครั้งแรกและครั้งที่สอง พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ มหาเสวกตรีพระยานิพัทธราชกิจ (อ้น นรพัลลภ) วันที่ 17 มีนาคม 2477
  • - หนังสือสัมภาษณ์ มจ จงจิตรถนอม ดิศกุล ส ศิวรักษ์  ฉบับปรับปรุง พิมพ์ครั้งที่ 2 สำนักพิมพ์ ศยาม (2555)

ที่มาภาพ : สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

ข้อใดคือการเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ 5

การเสด็จประพาสต้นหมายถึงการเสด็จเที่ยวเล่นอย่างสามัญชนธรรมดา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะเสด็จฯ ไปยังสถานที่ต่างๆ อย่างที่สามัญชนเดินทางและประสบกับสภาพอย่างที่สามัญชนประสบ พร้อมกันนั้นก็พยายามทำพระองค์ให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมเพื่อไม่ให้ใครจำพระองค์ได้ โดยไม่โปรดให้มีท้องตราสั่งหัวเมืองจัด ...

เมืองใดที่รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้น ครั้งที่

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จประพาสต้นยังจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นการเสด็จเพื่อพบเห็นและใกล้ชิดกับไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของพระองค์เอง และทรงประสงค์ที่จะได้รับทราบความทุกข์ ความสุขและความเป็นอยู่ของพสกนิกรอย่างแท้จริง

สาเหตุสําคัญของการเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ 5 คืออะไร

สาเหตุของการเสด็จประพาสต้น เกิดจากสถานภาพ และบทบาทของพระเจ้าแผ่นดิน ที่ทรงมีทศพิธราชธรรม รัก เป็นห่วงประชาชน ประชาชน และประเทศชาติประสบกับปัญหา เรื่องพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2508-2525) ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ความยากจน ขาดการคมนาคม การท าลายทรัพยากรธรรมชาติ โดยการเผาป่า ท าไร่เลื่อนลอย ปลูกฝิ่น และความยากจน ...

ผู้มีบทบาทในการจัดเส้นทางการเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ 5 คือใคร

นายทรงอานุภาพ (กรมพระยาดำรงราชานุภาพ)

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง