การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เกิดขึ้นในรัชกาลใด

101 ชวนอ่านทัศนะจาก ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี ‘ธรรมศาสตร์’ ในฐานะนักประวัติศาสตร์ ถึงเหรียญสองด้านของ ‘2475’ หมุดหมายสำคัญของประวัติศาสตร์การเมืองไทย หัวเชื้อที่ทำให้ทั้งคนที่นิยมประชาธิปไตยและไม่นิยมประชาธิปไตย ได้แอ่นอกปะทะกันทั้งทางความคิดและร่างกายมาต่อเนื่องยาวนาน

“คณะราษฎรไม่ได้ล้มเจ้า เพราะตอนยึดอำนาจได้แล้ว รัชกาลที่ 7 ก็ยังอยู่ ตอนร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาคมก็เป็นไปด้วยดี ทั้งสองฝ่ายตกลงกันได้ แล้วเมื่อไปถึงการสละราชสมบัติแล้ว คณะราษฎรก็กราบบังคมทูลในหลวงรัชกาล 8 ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน จะไปบอกว่าเขาล้มเจ้าได้อย่างไร”

“ผมตีประเด็นแบบประวัติศาสตร์ว่าเหรียญมันมีสองด้าน ถ้าเราบอกว่าใจร้อน มันอยู่ที่ว่าใจร้อนในทัศนะของใคร แต่เอาเข้าจริงแล้ว ความคิดเรื่องประชาธิปไตยมันมีมานานมาก ไม่ใช่เพิ่งมามีตอนพระยาพหลพลพยุหเสนาไปเรียนที่เยอรมันแล้วกลับมา”

“ในวันปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 สมาชิกคณะราษฎร มีเพียง 4 ท่านที่ถือว่าอาวุโส มีอายุระหว่าง 38-45 ปี สมาชิกส่วนใหญ่อายุตั้งแต่ 20 ปี จนถึง 35 ปีเพียงเท่านั้น

คณะราษฎรคือกลุ่มไทยใหม่ เป็น The Young Thai ที่มุ่งสร้างชาติไทยขึ้นมาใหม่ เข้าแทนที่กลุ่มสยามเก่า The Old Siam ที่ไม่สอดรับกับกระแสโลกสมัยใหม่อีกต่อไป …

เป็นอีกครั้งหนึ่งที่กลุ่มคนอายุน้อยและกลุ่มไทยใหม่ ได้ร่วมกันพลิกแผ่นดินเพื่อปลูกความเจริญมั่งคั่งศิวิไลซ์ครั้งสำคัญ เหมือนยุคสิ้นระบอบเก่าราชอาณาจักรอยุธยา ที่กลุ่มคนอายุน้อยรุ่นใหม่ได้สร้างสรรค์ยุคสมัยกรุงธนบุรี ภายใต้การนำของพระเจ้าตากสินมหาราช หรือในการปฏิวัติตุลาคม 2516”

ชวนอ่านบทปาฐกถา “2475 : อดีต ปัจจุบัน อนาคต” ของ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์

“ช่วงเวลาที่คณะราษฎรไปควบคุมตัวเจ้านายเพื่อเปลี่ยนระบอบนั้นมันเข้มข้นมาก แต่เรื่องพวกนี้เพียงบอกผ่านๆ ในหลักสูตรการเรียนการสอนภาคปกติได้อย่างไร”

“การย้อนกลับไปอ่านเรื่องราวต่างๆ หรือหนังสือยุคเปลี่ยนแปลงการปกครองมันเหมือนเป็นถ้ำ เวลาผมเบื่อๆ สังคมการเมืองปัจจุบัน ผมจะกลับเข้าไปในถ้ำนี้สำรวจดูว่าคณะราษฎรเขามีเหตุผลอย่างไรที่ต้องลุกขึ้นเปลี่ยนแปลงบ้านเมือง เป็นมณฑลแห่งพลัง มันชาร์จพลังชีวิตให้เรา”

ธิติ มีแต้ม สัมภาษณ์ นริศ จรัสจรรยาวงศ์ นักวิชาการอิสระด้านพุทธศาสนาที่ผันตัวมาขุดค้นและลงลึกกับชีวิตของคณะราษฎร และ ‘2475’ จากกองหนังสือเก่าและเอกสารฝุ่นจับหลายหมื่นชิ้น ที่เรียกกันว่าหนังสืออนุสรณ์งานศพ

มันออกจะดูนามธรรมหน่อยๆ เพื่อนก็มี หมาแมวก็มีอยู่เคียงข้าง ทำไมต้องถามว่า “หากว่ามีหมุดฯ เคียงข้าง” มีไปทำไม มีแล้วเกะกะรกหูรกตาไหม

กล่าวอย่างรวบรัดที่สุด ถึงตอนนี้ตั้งแต่การอภิวัฒน์ 2475 ก็ครบ 85 ปีแล้ว แต่ลองใคร่ครวญกันสักหน่อยว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนั้นสัมพันธ์อย่างไรกับชีวิตเราๆ ยิ่งพิจารณาจากภาวะที่บ้านเมืองมีทหารต้องการคืนความสุขปกครองอยู่ ยิ่งพิจารณาจากหมุดคณะราษฎรที่หายไป กลายมาเป็นหมุดสุขสันต์หน้าใสแทน ยิ่งน่าคิดเชื่อมสัมพันธ์ด้วย

ธิติ มีแต้ม รีวิวคนธรรมดาสามัญที่พยายามเชื่อมตัวเองกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนั้นว่าคุณภาพชีวิตปัจจุบันเป็นอย่างไร ตามด้วยลองเปรียบหลัก 6 ประการแบบฉบับหมุดสุขสันต์หน้าใสว่าแตกต่างจากฉบับคณะราษฎรอย่างไร

“ศิลปะเป็นการเมืองมาโดยตลอด ไม่ว่าตัวเนื้อหาของมันจะพูดเรื่องการเมืองหรือไม่ก็ตาม” ธนาวิ โชติประดิษฐ ตอบคำถามนี้ในฐานะของคนที่คลุกคลีกับทั้งสองแวดวง

ในแวดวงวิชาการ เธอเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เชี่ยวชาญเรื่องศิลปะร่วมสมัย สนใจประวัติศาสตร์ศิลป์ทั้งไทยและเทศ โดยเฉพาะแง่มุมทางการเมือง

ในแวดวงศิลปะ เธอเป็นนักวิจารณ์อิสระ ออกตัวชัดเจนว่าอยู่ฝั่งประชาธิปไตย ไม่เอารัฐประหาร

พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล กองบรรณาธิการ 101 ชวน ธนาวิ โชติประดิษฐ มานั่งคุยเรื่องศิลปะร่วมสมัยกับการเมืองไทย พร้อมวิเคราะห์-วิพากษ์เรื่องหมุดเจ้าปัญหา จากหมุดคณะราษฎร ถึงหมุดหน้าใส

“ขณะที่โลกก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 วิทยาศาสตร์ท้าทายพระเจ้าครั้งแล้วครั้งเล่า ปัญญาลบล้างคติความเชื่อมากมายที่อยู่บนพื้นฐานของศรัทธาแต่โดยลำพัง มนุษย์กำลังไปดาวอังคาร แต่บ้านนี้เมืองนี้กลับยังเต็มไปด้วยเรื่องราวอันเหลือเชื่อเหนือเหตุผล

“อยู่กันด้วยอภินิหารของกฎหมายโดยไม่แยแสสนใจอารยธรรมและความเป็นไปของโลก!”

อ่านต่อบทความของ อายุษ ประทีป ณ ถลาง เรื่อง “หลักหมุดคณะราษฎร: ประเทศไทยภายใต้ระบอบปกครองประชาธิปไตย” ได้ที่นี่!

วจนา วรรลยางกูร คุยกับ เวฬุรีย์ เมธาวีวินิจ ผู้อำนวยการหลักสูตร BMCI วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงภาพของคณะราษฎรที่ปรากฏผ่านละครในฐานะ ‘ตัวร้าย’ การเมืองในละครหลังข่าว และทิศทางความเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมละครไทยที่อาจนำไปสู่พื้นที่ของเนื้อหาที่หลากหลายมากขึ้น

“เมื่อคนพูดถึงคณะราษฎรในฐานะที่ไม่ได้เป็นแค่คณะราษฎรในประวัติศาสตร์ แต่เป็นตัวแทนของคนบางกลุ่มที่อาจจะรู้สึกว่าอยากเปลี่ยนแปลงประเทศไทยแบบถอนรากถอนโคน เลยทำให้คณะราษฎรถูกนำเสนอในด้านลบ”

“เป้าหมายของละครส่วนใหญ่คือเพื่อธุรกิจ เขาจะทำให้มันเข้มข้นขึ้นเพื่อให้คนดูสนุก แต่ความสนุกนั้นมาด้วยการทำให้เกิดตัวร้ายที่เห็นชัด บทบาทสำคัญกลายไปตกอยู่ที่คณะราษฎร

“กระแสการเมืองและกระแสสังคมในช่วงหลังมีคนส่วนหนึ่งมองว่าคณะราษฎรเป็นสัญลักษณ์แห่งความชั่วร้ายที่ทำให้ตกหลุมอยู่ในประชาธิปไตยจอมปลอมอยู่นาน สิ่งเหล่านี้ผสมรวมกันจนทำให้ภาพของคณะราษฎรเป็นแบบนี้”

“นิทรรศการนี้รวบรวมข้าวของยุค 2475 จากหลายๆ ที่ และแทบหาดูไม่ได้แล้วมาจัดแสดง ปัจจุบันแทบไม่มีพิพิธภัณฑ์ไหนในประเทศไทยให้ความสำคัญต่อยุคสมัยทางศิลปะของศิลปะคณะราษฎร น่าจะเป็นไม่กี่ครั้งที่เราจะได้ดูของเหล่านี้” กิตติมา จารีประสิทธิ์ หนึ่งในภัณฑารักษ์ของนิทรรศการ และอาจารย์ภาควิชาทัศนศิลป์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวถึงภาพรวมของ ‘Revolution Things’

101 ชวนเจาะลึกเบื้องหลังนิทรรศการ สนทนาเรื่องศิลปะ ค้นหาสปิริตแห่งการปฏิวัติ 2475 ฟังคำขานรับที่ประชาชนมีต่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองผ่านข้าวของต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และฟังทัศนะของชาตรี กิตติมา ร่วมด้วย ประชา สุวีรานนท์

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ทางวัฒนธรรม (cultural genocide) เป็นข้อเสนอของนักกฎหมายชาวโปแลนด์ที่ต้องการให้เป็นคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อเอาผิดการทำลายสิ่งก่อสร้างและศิลปวัตถุที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมระหว่างสงคราม

สิ่งก่อสร้างที่ถูกทำลายไม่ใช่อิฐปูน แต่ยังเป็น ‘อัตลักษณ์’ ของกลุ่มคน ทำให้ตกเป็นเป้าหมายการโจมตีเพื่อทำลายหลักฐานทางกายภาพ ลบประวัติศาสตร์ ทำลายความเป็นมาของกลุ่มชน

วจนา วรรลยางกูร พาไปสำรวจประเด็นการทำลายอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมผ่านสารคดี The Destruction of Memory และสะท้อนสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับมรดกคณะราษฎรในมุมมองของ ชาตรี ประกิตนนทการ ซึ่งในกรณีของไทยควรเรียกว่า ‘การทำลายล้างทางอุดมการณ์’ (ideological cleansing)

ข้อมูลของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ที่ปรากฏบนวิกิพีเดียบอกอะไรเราบ้าง?

วรรษกร สาระกุล ชวนมอง 2475 ผ่านโลกของข้อมูล เมื่อสถิติผู้ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้สะท้อนความสนใจของผู้คนอย่างมีนัยสำคัญ

ธนาพล อิ๋วสกุล เขียนถึงการกลับมาเกิดใหม่ของอุดมการณ์คณะราษฎร หลังจากที่ความทรงจำเรื่องคณะราษฎรกับการอภิวัฒน์สยาม 2475 ถูกทำให้ลบเลือนหายไปจากสังคมไทย ตั้งแต่ครั้งรัฐประหาร 2490

In this essay, first written in Thai in July 2017, Thanapol Eawsakul, public intellectual and editor of Fa Diew Kan journal, reflects on the actions of the People’s Party in 1932 and the changing meaning of their actions over the past 75 years.

Thanapol posits that the memory of the People’s Party has risen and fallen across different periods of Thai politics. The People’s Party has emerged and come to be seen as significant by citizens three times: during the first 15 years after the 1932 transformation, during the student movement between 1973 and 1976, and most recently, after the 19 September 2006 coup.

In each of these periods, the actions of the People’s Party were highlighted and commemorated, and the values of democracy, constitutionalism, and peoples’ participation guided social and political action. The disappearance of the plaque, perhaps intended as an attempt to erase the memory of the People’s Party, only served to indicate its heightened significance after the 22 May 2014 coup and the 13 October 2016 death of King Bhumipol Adulyadej.

“ถ้ามองในประวัติศาสตร์ยาวๆ ผมกลับเห็น ‘ปรีดี’ เต็มไปหมดในกลุ่มคนรุ่นใหม่ เราอาจจะไม่จำเป็นต้องโยงไปถึงศัพท์แบบปรีดี แต่สิ่งที่คนรุ่นใหม่กำลังแสดงออกมา ผมว่าหลายอย่างคือการพัฒนาต่อยอดมาจากปรีดี”

เนื่องในวาระ 120 ปีชาตกาล ‘ปรีดี พนมยงค์’ 101 ชวนหาคำตอบเรื่องมรดกทางความคิดของ ‘ปรีดี พนมยงค์’ ในสังคมไทยสมัยใหม่ กับ ดร.ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้สนใจศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมาย ปรัชญากฎหมาย และความคิดทางการเมืองและสังคมของปรีดี พนมยงค์

“ผมมองว่า ความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมของปรีดี นอกจากจะหมายรวมถึงทุกเรื่องที่ท่านทำสำเร็จแล้ว ยังต้องรวมเอาความล้มเหลวเข้าไปด้วย เพราะมันยังมีมุมที่ทำให้เราเห็นว่า อย่างน้อย ก็มีสามัญชนคนไทยคนหนึ่งกล้าลุกขึ้นมาบอกกับเราว่า พวกเราสามารถรับผิดชอบอนาคตของตัวเองได้”

24 มิถุนายน 2563 ครบรอบ 88 ปี ‘การอภิวัฒน์สยาม 2475’ ท่ามกลางบรรยากาศครึกครื้นจากการรวมตัวกันของประชาชนเพื่อร่วมรำลึกถึงเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองตั้งแต่เวลาย่ำรุ่ง จุดเริ่มต้นของระบอบประชาธิปไตยจากกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า ‘คณะราษฎร’ ซึ่งครั้งหนึ่งเกือบเลือนหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ไทย มาในวันนี้กลับมีแนวโน้มได้รับความสนใจจากสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ หากแต่เรื่องราวภายหลังการยึดอำนาจมิได้จบลงแต่เพียงเท่านั้น ยังมีการต่อสู้ทางการเมืองอีกมากมายที่รอคอยให้ยุวชนคนรุ่นหลังเข้าไปค้นหา

คุยกับ ผศ.ศรัญญู เทพสงเคราะห์ ผู้เขียนหนังสือ ‘ราษฎรธิปไตย การเมือง อำนาจ และทรงจำของ (คณะ) ราษฎร’ ว่าด้วยการต่อสู้เพื่อสถาปนาความหมายของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

อนุสาวรีย์แห่งนี้อยู่นิ่งคล้ายไม่รู้หนาวร้อน นิ่งท่ามกลางการยื้อยุดช่วงชิงความหมายของผู้คนที่หลากหลาย ไม่ว่าจากชนชั้นปกครองหรือสามัญชน จนขับเน้นให้ความเป็นประชาธิปไตยในอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเด่นชัดขึ้น

หากนับตั้งแต่วันก่ออิฐ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยวันนี้ดำรงอยู่เป็นปีที่ 81 ยืนหยัดท่ามกลางการต่อสู้ทางการเมืองในไทยครั้งแล้วครั้งเล่า เป็นฉากหลังของเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ พฤษภาฯ 35 พันธมิตรฯ นปช. และ กปปส. ฯลฯ เป็นพื้นที่เรียกร้องความเป็นธรรมของประชาชนจากทั่วทุกหย่อมหญ้า และเป็นวงเวียนที่นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเคยสัญจรผ่าน

พานรัฐธรรมนูญบนแท่น ผ่านร้อนผ่านฝน ผ่านลมผ่านหนาว ตั้งมั่นอยู่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง และเปิดพื้นที่โดยไม่ขวางกั้นว่าคุณอยู่สีไหน มาวันนี้ นาทีนี้ ความเป็นประชาธิปไตยของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยดำเนินมาอย่างไรในห้วงยามที่ประชาธิปไตยไหวเอน

ชวนรับฟังมุมมองผ่านสายตาของ ศรัญญู เทพสงเคราะห์, ธิดา ถาวรเศรษฐ และสุริยะใส กตะศิลา พร้อมฉากและเหตุการณ์ทางการเมืองที่ดำเนินมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา

คณะราษฎร ที่เกิดขึ้นใน พ ศ 2475 คือ อะไร

คณะราษฎร ([–ราดสะดอน]; มักสะกดผิดเป็น คณะราษฎร์) หรือ สมาคมคณะราษฎร หรือต่อมาใช้ว่า สโมสรราษฎร์สราญรมย์ เป็นกลุ่มบุคคลที่ดำเนินการการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 บ้างยกให้เป็นพรรคการเมืองพรรคแรกของไทย แม้ไม่ได้จดทะเบียนอย่างเป็นทางการ

เหตุการณ์ใดเกิดขึ้นหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

เหตุการณ์ปฏิวัติสยามเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ไทย และทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ที่เคยเป็นผู้ปกครองสูงสุดของประเทศมาช้านานเสียอำนาจส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงดังกล่าวใน พ.ศ. 2475 การต่อสู้ทางการเมืองก็ยังมิได้จบลงไปอย่างสิ้นเชิง ยังคงมีการต่อสู้กันระหว่างผู้นำใน ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง