ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในการวางแผน นโยบาย เป็นข้อมูล เสนอ ให้ผู้ ใด

1). สืบค้นความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ(Management  Information  System) และสรุปความหมายด้วยคำพูดของนักศึกษา และบอกคุณลักษณะที่ดีของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

MIS (Management Information System)

MIS (Management Information System) คือ

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System) หรือ MIS คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต นอกจากนี้ระบบเอ็มไอเอสจะต้อง ให้สารสนเทศ ในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง

แม้ว่าผู้บริหารที่จะได้รับประโยชน์จาก ระบบเอ็มไอเอสสูงสุดคือผู้บริหารระดับกลาง แต่โดยพื้นฐานของระบบเอ็มไอเอสแล้ว จะเป็นระบบที่ สามารถสนับสนุนข้อมูลให้ ผู้บริหารทั้งสามระดับ คือทั้งผู้บริหารระดับต้น ผู้บริหารระดับกลาง และผู้บริหารระดับสูง โดยระบบเอ็มไอเอสจะให้รายงาน ที่สรุปสารสนเทศซึ่งรวบรวมจากฐานข้อมูลทั้งหมดของบริษัท จุดประสงค์ ของรายงานจะเน้นให้ผู้บริหารสามารถมองเห็นแนวโน้ม และภาพรวม ขององค์กรในปัจจุบัน รวมทั้งามารถควบคุมและตรวจสอบงานของระดับปฏิบัติการด้วย อย่างไรก็ดี ขอบเขตของรายงาน จะขึ้นอยู่กับ ลักษณะของสารสนเทศ และจุดประสงค์การใช้งาน โดยอาจมีรายงานที่ออกทุกคาบระยะเวลา (เช่น งบกำไรขาดทุนหรืองบดุล) รายงานตามความต้องการ หรือรายงานตามสภาวะการณ์หรือเหตุผิดปกติ

การนำไปใช้งานสามารถแบ่งได้ 4 ระดับดังนี้

1. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในการวางแผนนโยบาย กลยุทธ์ และการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง

2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในส่วนยุทธวิธีในการวางแผนการปฏิบัตและการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง

3. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในระดับปฎิบัติการและการควบคุมในขั้นตอนนี้ผู้บริหารระดับล่างจะเป็นผู้ใช้สารสนเทศเพื่อช่วยในการปฎิบัติงาน

4. ระบบสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผล

MIS ที่ดีควรมีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้

1. MIS ถูกนำไปใช้การตัดสินใจของผู้บริหารทุกระดับ ช่วยให้ผู้บริหารสามารถเรียกค้นข้อมูลได้รวดเร็ว แต่ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับปัญหาแบบมีโครงสร้าง (Structured Problems) เน้นการแก้ปัญหาที่เกิดกับงานประจำ

2. MIS เป็นระบบงาน ซึ่งผสมผสานข้อมูลจากหลาย ๆ แหลางหรือระบบย่อยหลาย ๆ ระบบที่มีความสัมพันธ์กันเพื่อจัดทำสารสนเทศเป็นภาพรวมที่สมบูรณ์ของทั้งระบบ

3. การพัฒนาระบบสารสนเทศ จะเริ่มจากความต้องการและความเห็นชอบของผู้บริหารเพื่อจัดเตรียมสารสนเทศให้แก่ผู้บริหารช่วยในการตัดสินใจและบรรลุจุดมุ่งหมายโดยรวมองค์กร

4. MIS จะใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย เนื่องจากข้อมูลในองค์กรหนึ่ง ๆ มีเป็นจำนวนมากและมีความสลับซับซ้อน คอมพิวเตอร์จึงถูกนำมาใช้เพื่อสร้าง MIS ให้แก่ผู้บริหาร ใช้ในการตัดสินใจได้ในเวลาอันรวดเร็วและเหมาะสม

5. สารสนเทศนั้นจะถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งเช่นเดียวกับพนักงานเครื่องจักร เงินทุนและวัตถุดิบ จุดมุ่งหมายของ MIS คือจัดทำสารสนเทศที่เป็นประโยชน์แก่องค์กรเพื่อใช้ควบคุม การทำงานและการจัดการขององค์กร

6. ทำการจัดเก็บข้อมูลสร้างเป็นฐานข้อมูลเก็บไว้ ซึ่งฐานข้อมูลนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลให้เป็นหนึ่งเดียว วัตถุประสงค์คือต้องการจะหลีกเลี่ยงความซับซ้อนของการเก็บข้อมูล

7. การมีส่วนร่วมของผู้ใช้ MIS จะไม่ประสบความสำเร็จถ้าปราศจากจากความร่วมมือและความพอใจของผู้ใช้งานถึงแม้ว่ามีระบบที่ดีเพียงใดก็ตามถ้าผู้ใช้งานเกิดความรู้สึกต่อต้านและคดว่า MIS จะมาแย่งงานของตนไป

2).เหตุใดผู้บริหารจึงควรศึกษาเรื่องของระบบสารสนเทศ และบอกประโยชน์ที่ผู้บริหารจะได้รับจากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

ระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาองค์กร เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพขององค์กรหรือธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีการแข่งขันทางธุรกิจสูง องค์กรที่มีการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ย่อมทำให้องค์กรสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ดังนั้นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์กร เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ องค์กรสร้างความแข็งแกร่ง เพิ่มประสิทธิในการผลิตสินค้าและบริการนำสู่ธุรกิจยุคใหม่ต่อไป

ระบบสารสนเทศ (Information System) คือ การรวบรวมประมวลผลกลั่นกรองข้อมูลต่าง ๆ ให้น่าเชื่อถือและสามารถนำข้อมูลที่ประมวลผลแล้วไปใช้ประกอบกับการตัดสินใจ เพื่อช่วยในการสรุปผลในเชิงบริหารขององค์กรได้ ระบบสารสนเทศประกอบด้วย

- ข้อมูล คือ ข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ผ่านการประมวลผล

- บุคลากร คือ ผู้ที่จะนำข้อมูลดิบที่ได้ไปประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ

- ขั้นตอนการปฏิบัติงาน คือ ขั้นตอนการนำข้อมูลไปประมวลผลให้เกิดเป็นสารสนเทศที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ

- ฮาร์ดแวร์ คือ อุปกรณ์ที่ช่วยในการจัดการสารสนเทศ

- ซอฟต์แวร์ คือ ชุดคำสั่งที่ช่วยในการประมวลผลสารสนเทศให้ได้ตามความต้องการ

ความจำเป็นของการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์กร

สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อองค์กร

สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อองค์กร (Business Environment Impact) ในบางครั้งประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรมิได้เกิดจากภายในขององค์กรเอง

แต่ยังขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมภายนอกซึ่งส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพขององค์กรอย่างมากมายและไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นองค์กรมีความจำเป็นต้องทราบถึงปัญหา (problems)

และโอกาส (opportunity) ที่เป็นองค์ประกอบหลักของสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อประสิทธิภาพในองค์กร (business environment impact)

ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ช่วยให้องค์กรมีตอบสนองในการแก้ไขปัญหา และมีโอกาสในพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพตามกระบวนการขององค์กร (business process)

โดยองค์กรต้องมีเป้าหมาย (goals) กลยุทธ์ (strategy) และการวางแผนนโยบาย (plan) ที่ชัดเจน

ความกดดันของสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อประสิทธิภาพในองค์กร เมื่อมีการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย

1.ภาพรวมทางด้านเศรษฐกิจมีการแข่งขันสูง

2.คำนึงถึงความรวดเร็วในการทำงาน ไม่ทำงานล่าช้าสามารถแข่งขันกับคู่ค้าได้

3.การให้พนักงานฝึกคิดการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร

4.ความน่าเชื่อถือขององค์กรในติดต่อกับลูกค้า เพื่อรักษาลูกค้า

5.เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัยตลอดเวลา

6.การที่มีสารสนเทศจำนวนมาก ทำให้องค์กรพัฒนาการทำงานได้ยาก

7.คำนึงถึงความรับผิดชอบทางด้านสังคม

8.การควบคุมให้ปฏิบัติตามกฏหมายและกฎระเบียบของสังคม

9.คำนึงถึงจรรยาบรรณ ความถูกผิดของการเทคโนโลยีสารสนเทศ

10.การป้องกันการถูกโจมตีจากผู้ไม่หวังดี โดยเฉพาะการทำธุรกรรมผ่านทางอินเตอร์เน็ต

กระบวนการปรับตัวขององค์กร

การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมมีอยู่ตลอดเวลา เพื่อทำให้องค์กรประสิทธิภาพหรือประสบความสำเร็จได้ องค์กรต้องมีการปรับตัวหรือมีความคล่องตัว (Agile) กระบวนการปรับองค์กรมีดังนี้

1.ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรให้เร็วที่สุดเมื่อมันเกิดขึ้น หรือก่อนเกิดขึ้น เช่น การใช้ software เข้ามาช่วยในการทำนายและวิเคราะห์เกี่ยวกับธุรกิจในด้านต่างๆ และตรวจสอบหาข้อผิดพลาดก่อนจะเกิดวิกฤติขึ้นกับองค์กร

2.เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่ถูกต้องและเหมาะสม เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพของ software ให้สามารถวิเคราะห์ความเป็นไปได้ที่จะเกิดความเสียงกับองค์กรทั้งหมดได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้องค์กรขับเคลื่อนไปในทิศทางที่ถูกต้อง และวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภคเพื่อให้บริษัทมีความสามารถกำหนดราคาของสินค้า และบริการ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

3.เปลี่ยนองค์กรให้เป็น Digital และมีความคล่องตัว เนื่องจากในปัจจุบันเป็นยุคที่การติดต่อสื่อสารและข้อมูลมีความสำคัญมากจึงจะเป็นต้องปรับเปลี่ยนองค์กรให้มีความคล่องตัว วิเคราะห์ข้อมูล และมีการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว เพื่อให้สามารถวิเคระห์ให้ผู้บริหารตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วเพื่อเชิงความได้เปรียบทางธุรกิจ

4.อย่ารอให้คู่แข่งทางการค้าเริ่มทำการเปลี่ยนแปลงก่อน

5.ปรับเปลี่ยนระบบสารสนเทศขององค์กรให้มีความรวดเร็ว เพื่อให้การวิเคราะห์ แลกเปลี่ยนข้อมูล และจัดเก็บข้อมูลทำได้ด้วยความรวดเร็ว ดังนั้นบริษัทต้องมีการจัดการเกี่ยวกับระบบสารสนเทศที่ดีใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ

ประโยชน์ของความคล่องตัวขององค์กร

เมื่อองค์กรมีการปรับตัวเพื่อรองรับกับสถานการณ์หรือความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น แล้วย่อมก่อให้เกิดความคล่องตัวภายในองค์กร ดังนั้นประโยชน์ของความคล่องตัวขององค์กร คือ ช่วยให้องค์กรสามารถแข่งขันกันทางการตลาดได้ และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

3).อธิบายส่วนประกอบของรtบบสารสนเทศมีอะไรบ้าง แต่ละส่วนทำหน้าที่อะไร

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศเป็นงานที่ต้องใช้ส่วนประกอบหลายอย่าง ในการทำให้เกิดเป็นกลไกในการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

นักเรียนลองนึกดูว่า ถ้าต้องการประมวลผลรายงานการเรียนของนักเรียนได้อย่าง ถูกต้อง รวดเร็ว ทันการ ระบบการจัดการสารสนเทศนั้น เกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง ประการแรกคือ บุคลากรหรืออาจารย์ประจำชั้นที่เป็นผู้รับผิดชอบ หรืออาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชา ประการที่สอง คือ หากมีการบันทึก ข้อมูลก็ต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติงานของอาจารย์เป็นขั้นตอนที่กำหนดไว้ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง เมื่อไร อย่างไร ประการที่สาม คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องช่วยให้การทำงานให้ผลรวดเร็ว และคำนวณได้แม่นยำถูกต้อง ประการที่สี่ คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยทำให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ตามที่ต้องการได้ ประการสุดท้ายคือ ตัวข้อมูลที่เป็นเสมือนวัตถุดิบที่จะได้รับการเปลี่ยนแปลงให้เป็นสารสนเทศตามที่ต้องการ

          ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศมี 5 ส่วนคือ

1. ฮาร์ดแวร์(เครื่องจักรอุปกรณ์)

ส่วนประกอบทั้งห้าส่วนนี้ทำให้เกิดสารสนเทศได้ หากขาดส่วนประกอบใด หรือส่วนประกอบใดไม่สมบูรณ์ ก็อาจทำให้ระบบสารสนเทศ ไม่สมบูรณ์ เช่น ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เหมาะสมกับงาน ก็จะทำให้งานล่าช้า ไม่ทันต่อการใช้งาน การดำเนินการระบบสารสนเทศจึงต้องให้ความสำคัญ กับส่วนประกอบทั้งห้านี้

เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผล คัดเลือก คำนวณ หรือพิมพ์รายงาน ผลตามที่ต้องการ คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานได้รวดเร็ว มีความแม่นยำในการทำงาน และทำงานได้ต่อเนื่อง คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ จึงเป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบบสารสนเทศ

ซอฟต์แวร์ คือลำดับขั้นตอนคำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ทำงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ซอฟต์แวร์ จึงหมายถึงชุดคำสั่งที่เรียง เป็นลำดับขั้นตอนสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการ และประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ

ข้อมูล เป็นวัตถุดิบที่ทำให้เกิดสารสนเทศ ข้อมูลที่เป็นวัตถุดิบจะต่างกัน ขึ้นกับสารสนเทศที่ต้องการ เช่น ในสถานศึกษามักจะต้องการ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนักเรียน ข้อมูลผลการเรียน ข้อมูลอาจารย์ ข้อมูลการใช้จ่ายต่าง ๆ ข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญประการหนึ่งที่มีบทบาทต่อการให้เกิด สารสนเทศ

บุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ เพราะบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และเข้าใจวิธีการให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ จะเป็นผู้ดำเนินการ ในการทำงานทั้งหมด บุคลากรจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บุคลากรภายในองค์กรเป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิด ระบบสารสนเทศด้วยกันทุกคน เช่น ร้านขายสินค้าแห่งหนึ่ง บุคลากรที่ดำเนินการในร้านค้าทุกคน ตั้งแต่ผู้จัดการถึงพนักงานขาย เป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิดสารสนเทศได้

ขั้นตอนการปฏิบัติ เป็นระเบียบวิธีการปฏิบัติงานในการจัดเก็บรักษาข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่จะทำให้เป็นสารสนเทศได้ เช่น กำหนดให้ มีการป้อนข้อมูลทุกวัน ป้อนข้อมูลให้ทันตามกำหนดเวลา มีการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ กำหนดเวลาในการประมวลผล การทำรายงาน การดำเนินการ ต่าง ๆ ต้องมีขั้นตอน หากขั้นตอนใดมีปัญหาระบบก็จะมีปัญหาด้วย เพราะทุกขั้นตอนมีผลต่อระบบสารสนเทศ

4).มุมมองของระบบสารสนเทศมีอะไรบ้าง ประกอบมุมมองในด้านใดบ้าง แต่ละด้านมีข้อพิจารณาอย่างไร

ในบริบททางวิชาการ สมาคมคอมพิวเตอร์เอซีเอ็ม (ACM) ได้นิยามเทคโนโลยีสารสนเทศไว้ว่า "หลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาตรีที่ให้ผู้ศึกษามีความรู้ด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์พร้อมรับความต้องการของธุรกิจ รัฐบาล บริการด้านสุขภาพ สถานศึกษา และองค์การอย่างอื่น ... ผู้ชำนาญการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศรับผิดชอบการเลือกสรรผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมสำหรับองค์การ การผสมผสานผลิตภัณฑ์เหล่านั้นให้เข้ากับความต้องการและโครงสร้างพื้นฐานขององค์การ และการติดตั้ง ปรับแต่ง และบำรุงรักษาการใช้งานเหล่านั้นให้แก่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ขององค์การ"

มุมมองด้านการพาณิชย์และการจ้างงาน

ในบริบทของธุรกิจ สมาคมเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งสหรัฐอเมริกา (ITAA) ได้นิยามเทคโนโลยีสารสนเทศว่าเป็น "การเรียน การออกแบบ การพัฒนา การประยุกต์ การทำให้เกิดผล การสนับสนุน และการจัดการระบบสารสนเทศที่อาศัยคอมพิวเตอร์" ความรับผิดชอบของงานเหล่านั้นในขอบข่ายรวมไปถึงการบริหารเครือข่าย การพัฒนาและการติดตั้งซอฟต์แวร์ และการวางแผนและจัดการวัฏจักรชีวิตของเทคโนโลยีขององค์การ อันประกอบด้วยการบำรุงรักษา การยกระดับ และการทดแทนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์

บทความหลัก: แม่แบบ:จริยธรรมข้อมูล (Information ethics)

สาขาจริยธรรมข้อมูลถูกจัดตั้งขึ้นโดยนักคณิตศาสตร์ Norbert Wiener ในปี 1940s บางส่วนของประเด็นด้านจริยธรรมที่---เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึง

-การละเมิดของลิขสิทธิ์โดยการดาวน์โหลดไฟล์ที่จัดเก็บไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ถือลิขสิทธิ์

-นายจ้างทำการตรวจสอบอีเมลของพนักงานและการใช้งานอินเทอร์เน็ตอื่นๆ

-แฮกเกอร์เข้าถึงฐานข้อมูลออนไลน์

-เว็บไซต์ที่ติดตั้งคุกกี้หรือสปายแวร์ในการตรวจสอบกิจกรรมออนไลน์ของผู้ใช้

5).ที่กล่าวว่า “การศึกษาเกี่ยวกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมีเนื้อหาที่กว้างกว่าการศึกษาวิชาคอมพิวเตอร์โดยตรง โดยมีเนื้อหาครอบคลุมถึงแนวทางเทคนิค และแนวทางพฤติกรรมศาสตร์” ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด

เห็นด้วยเพราะปัจจุบัน นี้เทคโนโลยีมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตเพราะวิวัฒนาการเหล่านั้นแทรกซึม อยู่ในทุกตารางการใช้ชีวิตของมนุษย์ เพราะมนุษย์มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำรงชีวิตเป็นอัน มาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี ในปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์ (Computer Mediated Communication - CMC) ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบสองทาง ทำให้ผู้ใช้สามารถติดต่อกันได้ กล่าวถึง อิทธิพลของเครื่องมือการสื่อสารที่มีอิทธิพลต่อวิวัฒนาการของมนุษยชาติ อารยธรรมยุคโลกาภิวัตน์ อารยธรรมของโลก โลกทั้งโลกจะเชื่อมต่อกันด้วย ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาพของสังคมจะเปลี่ยนไปจากยุคอุตสาหกรรมเป็นโลกยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งแตกต่างไปจากเดิมในรูปแบบของการติดต่อระหว่างมนุษย์ด้วยกัน เทคโนโลยีเริ่มเข้ามาช่วยในการพิมพ์ ทำให้การสื่อสารด้วยข้อความและภาษาเพิ่มขึ้นมาก เทคโนโลยีพัฒนาจนถึงการสื่อสารกันโดยส่งข้อความเป็นเสียงทางสายโทรศัพท์ได้ มีการส่งภาพโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ทำให้มีการใช้สารสนเทศในรูปแบบข่าวสารมาก ขึ้น ในปัจจุบันมีสถานีวิทยุ โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อรายงานเหตุการณ์สด เห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง เพื่อให้มีความเสมือนกับโลกของจริงมาที่สุดการติดต่อสื่อสารผ่านโลก Cyber อาจมีผลกระทบกับชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ เพราะมนุษย์เริ่มให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีในด้านนี้มากเกินไปการใช้ เทคโนโลยีด้านนี้ เราควรรู้จักวิธีใช้ และความเหมาะสม เพื่อการใช้งานที่เป็นประโยชน์ และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6).ประเภทของระบบสารสนเทศแบ่งตามระดับการจัดการ ประกอบด้วยอะไรบ้างแต่ละระบบทำหน้าที่อะไร บ้าง และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างระบบต่างๆ

             ปัจจุบันจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร กับระบบสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศชัดเจนมากขึ้น  และเนื่องจากการบริหารงานในองค์กรมีหลายระดับ  กิจกรรมขององค์กรแต่ละประเภทอาจจะแตกต่างกัน  ดังนั้นระบบสารสนเทศของแต่ละองค์กรอาจแบ่งประเภทแตกต่างกันออกไป(สุชาดา กีระนันทน์, 2541)

ถ้าพิจารณาจำแนกระบบสารสนเทศตามการสนับสนุนระดับการทำงานในองค์กร   จะแบ่งระบบสารสนเทศได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้ (Laudon & Laudon, 2001)

1.     ระบบสารสนเทศสำหรับระดับผู้ปฏิบัติงาน (Operational – level systems)   ช่วยสนับสนุนการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในส่วนปฏิบัติงานพื้นฐานและงานทำรายการต่างๆขององค์กร เช่นใบเสร็จรับเงิน  รายการขาย  การควบคุมวัสดุของหน่วยงาน เป็นต้น  วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยการดำเนินงานประจำแต่ละวัน และควบคุมรายการข้อมูลที่เกิดขึ้น

2.     ระบบสารสนเทศสำหรับผู้ชำนาญการ (Knowledge-level systems)  ระบบนี้สนับสนุนผู้ทำงานที่มีความรู้เกี่ยวข้องกับข้อมูล   วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยให้มีการนำความรู้ใหม่มาใช้ และช่วยควบคุมการไหลเวียนของงานเอกสารขององค์กร

3.      ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Management - level systems)  เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตรวจสอบ   การควบคุม การตัดสินใจ และการบริหารงานของผู้บริหารระดับกลางขององค์กร

4.     ระบบสารสนเทศระดับกลยุทธ์ (Strategic-level system)   เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยการบริหารระดับสูง ช่วยในการสนับสนุนการวางแผนระยะยาว  หลักการของระบบคือต้องจัดความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมภายนอกกับความสามารถภายในที่องค์กรมี เช่นในอีก

5 ปีข้างหน้า องค์กรจะผลิตสินค้าใด

สุชาดา กีระนันทน์ (2541)และ Laudon & Laudon (2001) ได้แบ่งประเภทของระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน/ผู้บริหารระดับต่างๆไว้  ดังนี้

ประเภทของระบบสารสนเทศ

(สุชาดา กีระนันทน์, 2541)

ประเภทของระบบสารสนเทศ

(Laudon & Laudon, 2001)

1. ระบบประมวลผลรายการ

(Transaction Processing Systems)

1.  Transaction Processing System - TPS

2. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ

(Office Automation Systems)

2. Knowledge Work -KWS  and office 

    Systems

3. ระบบงานสร้างความรู้ 

(Knowledge Work Systems)

4. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

 (Management Information Systems)

3. Management Information Systems - MIS

5. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

 (Decision Support Systems)

4. Decision Support Systems - DSS

6. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง

 (Executive Information Systems)

5. Executive Support  System - ESS

ความสัมพันธ์ของระบบสารสนเทศแบบต่างๆ

ความสัมพันธ์ของระบบสารสนเทศ

            ความสัมพันธ์ของระบบสารสนเทศแบบต่างๆ ในองค์การ โดยปกติแล้ว TPS จะเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานให้กับระบบสารสนเทศอื่นๆ ในขณะที่ EIS จะเป็นระบบที่รับข้อมูลจากระบบสารสนเทศในระดับที่ต่ำกว่า นอกจากนี้ ในระบบสารสนเทศแต่ละประเภทอาจมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในระบบย่อยๆ กันเอง เช่น ระบบสารสนเทศฝ่ายขายกับระบบสารสนเทศฝ่ายผลิต และระบบสารสนเทศฝ่ายจัดส่งสินค้า เป็นต้น

7).กระบวนการทางธุรกิจคืออะไร และยกตัวอย่างกระบวนการทางธุรกิจในด้านต่างๆ(เช่นด้านการผลิต การขาย การเงิน การบัญชื และบุคคล)

การจัดการกระบวนการทางธุรกิจ (อังกฤษ: Business Process Management - BPM) คือ การจัดการกระบวนการทางธุรกิจ ซึ่งระบบปัจจุบันเป็นระบบที่แยกออกจากกันเป็น Silo การที่จะใช้งานร่วมกันค่อนข้างยากจึงมีแนวคิดในการ Integrate และปรับปรุงกระบวนการทำงานทางธุรกิจ เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงและทำงานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ จึงต้องทำการจัดการกระบวนการทางธุรกิจ (BPM) ซึ่งเกิดแนวคิดในการ share service กันเพื่อให้แต่ละ Business สามารถใช้งาน service ที่ต้องการรวมกันได้ SOA จึงเป็นแนวคิดที่นำมาประยุกต์ใช้งานเพื่อการปรับเปลี่ยนโครงสร้างแบบ Silo มาเป็น SOA ซึ่ง Technology ที่มาตอบโจทย์ในการ Implement แนวคิดนี้คือ Web Service เนื่องจากไม่ขึ้นกับ Platform และสะดวกในการเรียกใช้งาน (Service)

ประเภทของธุรกิจที่พบเห็นได้โดยทั่วไป

ลักษณะทั่วไปของการดำเนินธุรกิจมี 3 ประเภท ได้แก่

1. กิจการให้บริการ (Service Firm) กิจการให้บริการจะมีรายได้หลัก คือ ค่าธรรมเนียม ค่าบริการรับ รายจ่ายหลัก คือ เงินเดือนพนักงาน ค่าวัสดุสิ้นเปลือง ค่าเช่า ค่าสาธารณูปโภค และอื่นๆ รายจ่ายในกิจการให้บริการถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ปัญหาที่เกิดขึ้นในกิจการให้บริการคือการวัดผลการดำเนินงาน ลักษณะของผลิตภัณฑ์จะไม่เห็นเป็นตัวตนที่ชัดเจน ตัวอย่างของธุรกิจประเภทนี้ เช่น โรงพยาบาล สำนักงานกฎหมาย บริษัทที่ปรึกษา เป็นต้น

2. กิจการซื้อมาขายไป (Merchandising Firm) หมายถึง กิจการที่ซื้อขายสินค้าทั้งขายส่ง และขายปลีกโดยไม่ใช่ผู้ผลิต รายได้หลักของกิจการ คือ เงินที่ขายสินค้าได้ ค่าใช้จ่ายจำแนกเป็น 2 ส่วน คือ ต้นทุนสินค้าขาย และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ตัวอย่าง ของธุรกิจประเภทนี้ เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านขายยา ร้านขายของชำ เป็นต้น

3. กิจการผลิต (Manufacturing Firm) กิจการผลิตส่วนใหญ่จะมีโรงงานสำหรับผลิตสินค้า รายได้หลัก คือ เงินที่ได้จากการขายสินค้า ค้าใช้จ่าย คือ ต้นทุนในการซื้อวัตถุดิบ ค่าจ้างคนงาน และค่าใช้จ่ายในขบวนการผลิต ค่าใช้จ่ายทั้งสามส่วนนี้จะรวมเป็นต้นทุนสินค้า ส่วนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในสำนักงานจะถือเป็นค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร

สารสนเทศมีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อการจัดการทุกระดับขององค์การ ทั้งในการปฏิบัติงาน และการบริการ ใช้ช่วยในการตัดสินใจ การวางแผน และการประเมินผลเปรียบเทียบช่วยเพิ่มระดับความรู้ (Knowledge)  ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อเท็จจริง  สารสนเทศจะมีค่าหรือความหมายมากขึ้นเมื่อมีการใช้งานมากขึ้นและสารสนเทศนั้นส่งผลกระทบถึงการตัดสินใจหรือการกระทำที่ดำเนินการ

ข้อมูลและสารสนเทศในความหมายของผู้ใช้

ผู้ใช้ข้อมูลและสารสนเทศแต่ละคน จะมีการรับรู้ต่อข้อมูลและสารสนเทศเดียวกันแตกต่างกันไปตามลักษณะของการใช้งานและหน้าที่ความรับผิดชอบ สารสนเทศสำหรับคนๆหนึ่งอาจเป็นข้อมูลดิบสำหรับคนอื่นก็ได้ เช่น ใบสั่งให้ส่งเอกสาร เป็นสารสนเทศของพนักงานส่งเอกสาร แต่เป็นข้อมูลดิบของงานสารบรรณ   ตัวอย่างการดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารใบสั่งซื้อสินค้า จะมีความหมายและคุณค่าต่อผู้ที่เกี่ยวข้องแตกต่างกันออกไปตามหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ  ดังนี้

1. พนักงานขาย ถือว่าใบสั่งซื้อสินค้าที่ได้จากลูกค้าเป็นสารสนเทศของเขา เพราะเขาจะต้องจัดสินค้าตามรายการนั้น

            2. ผู้จัดการฝ่ายขาย ถือว่าใบสั่งซื้อสินค้าที่ได้จากลูกค้า เป็นข้อมูลของเขา แต่เมื่อนำใบสั่งซื้อทั้งหมดมาประมวลสรุปเป็นรายงานประจำเดือนจึงจัดเป็นสารสนเทศของเขา

            3. พนักงานบัญชี ถือว่าใบสั่งซื้อสินค้าเป็นข้อมูลแต่เมื้อใบสั่งซื้อสินค้านี้ถูกดำเนินการต่อให้เป็นใบส่งของ สำหรับนำไปเก็บเงินลูกค้าและทำบันทึกบัญชีต่อไป จึงจะเป็นสารสนเทศของเขา ซึ่งจะได้เป็นบัญชีลูกหนี้ บัญชีเงินสด และรายได้จากการขายสินค้า  ซึ่งเกิดจากข้อมูลในใบสั่งซื้อนั้น

            4. พนักงานอื่นๆ เช่น  วิศวกร  นักวิจัย  ถือว่าใบสั่งซื้อสินค้าเป็นเพียงข้อมูลที่เขาไม่ต้องเกี่ยวข้องด้วยโดยตรง ค่าแรงของลูกจ้างต่อสัปดาห์  เป็นสารสนเทศของลูกจ้างแต่ละคนที่จะได้รับค่าแรงแต่เป็นข้อมูลของผู้บริหาร  และเมื่อรวมค่าแรงทั้งหมดที่ต้องจ่ายใน1 สัปดาห์แล้ว  จึงจะถือว่าเป็นสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร

8).ระบบสารสนเทศขององค์กรธุรกิจ ประกอบด้วยระบบอะไรบ้าง แต่ละระบบทำหน้าที่อะไร

ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ(Business Information System)

ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (Business Information System) เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานของธุรกิจให้ดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยถูกออกแบบและพัฒนาให้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ทางธุรกิจ ตลอดจนช่วยส่งเสริมให้ทั้งองค์การสามารถประสานงานและใช้ข้อมูลร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในระดับปฏิบัติงานและระดับบริหาร โดยสามารถจำแนกระบบสารสนเทศตามหน้าที่ทางธุรกิจ ตามหน้าที่ดังต่อไปนี้

1. ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี (Accounting Information System)หรือเรียกว่า AIS จะเป็นระบบที่รวบรวม จัดระบบ และนำเสนอสารสนเทศทางการบัญชีที่ช่วยในการตัดสินใจแก่ผู้ใช้สารสนเทศทั้งภายในและภายนอกองค์การ โดยระบบสารสนเทศทางบัญชีจะให้ความสำคัญกับสารสนเทศที่สามารถวัดค่าได้ หรือการประมวลผลเชิงปริมาณมากว่าการแก้ปัญหาเชิงคุณภาพ ระบบสารสนเทศทางด้านการบัญชีจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ

1.1 ระบบบัญชีทางการเงิน (Financial Accounting System) จะเป็นการบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นในรูปตัวเงิน จัดหมวดหมู่รายการต่าง ๆ สรุปผลและตีความหมายในงบการเงิน ได้แก่ งบกำไรขาดทุน งบดุล และงบกระแสเงินสด โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ นำเสนอสารสนเทศแก้ผู้ใช้และผู้ที่สนในข้อมูลทางการเงินขององค์การ เช่น นักลงทุน และเจ้าหนี้

1.2.ระบบบัญชีผู้บริหาร (Managerial Accounting System) เป็นการนำเสนอข้อมูลทางการเงินแก่ผู้บริหาร เพื่อใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจ ระบบบัญชีจะประกอบด้วย บัญชีต้นทุน การงบประมาณ และการศึกษาระบบ

2. ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (Financial Information System)ระบบสารสนเทศด้านการเงิน จะเกี่ยวกับสภาพคล่อง (Liquidity) ในการดำเนินงาน เกี่ยวข้องกับการจัดการเงินสดหมุนเวียน ถ้าธุรกิจขาดเงินทุนอาจก่อให้เกิดปัญหาขึ้นทั้งโดยตรงและอ้อม โดยที่การจัดการทางการเงินจะมีหน้าที่สำคัญ 3 ประการ ดังนี้

                2.1. การพยากรณ์ (Forecast) คือการศึกษาวิเคราะห์ การคาดการณ์ การกำหนดทางเลือก และการวางแผนทางด้านการเงินของธุรกิจ เพื่อใช้ทรัพยากรทางการเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยนักการเงินสามารถใช้หลักการทางสถิติและแบบจำลองทางคณิตศาสตร์มาประยุกต์ การพยากรณ์ทางการเงินจะอาศัยข้อมูลทั้งภายในและภายนอกองค์การ ตลอดจนประสบการณ์ของผู้บริหารในการตัดสินใจ

                2.2. การจัดการด้านการเงิน (Financial Management) คือการบริหารเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น รายรับและรายจ่าย การหาแหล่งเงินทุนจากภายนอก เพื่อที่จะเพิ่มทุนขององค์การ โดยวิธีทางการเงิน เช่น การกู้ยืม การออกหุ้น หรือตราสารทางการเงิน

2.3. การควบคุมทางการเงิน (Financial Control) เป็นการติดตามผล ตรวจสอบ และประเมินความเหมาะสมในการดำเนินงานว่าเป็นไปตามแผนที่กำหนดหรือไม่ ตลอดจนวางแนวทางแก้ไขหรือปรับปรุงให้การดำเนินงานทางการเงินของธุรกิจมีประสิทธิภาพ โดยที่การตรวจสอบและการควบคุมทางการเงินของธุรกิจจะจำแนกได้ 2 ประเภท คือ

2.3.1 การควบคุมภายใน (Internal Control)

2.3.2 การควบคุมภายนอก (External Control)

2.3.3.ระบบสารสนเทศด้านการตลาด (Marketing Information System)

ระบบสารสนเทศทางการตลาด จะประกอบด้วยระบบหน่อย ซึ่งแบ่งตามหน้าที่รับผิดชอบดังนี้

 1. ระบบสารสนเทศสำหรับการขาย จะประกอบด้วย

   1.1 ระบบสารสนเทศสำหรับสนับสนุนการขาย จะรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของฝ่ายข่าย เพื่อให้การขายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลที่ระบบต้องการอาจะเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่จะทำการขาย รูปแบบ ราคา และการโฆษณาต่าง ๆ

   1.2 ระบบสารสนเทศสำหรับวิเคราะห์การขาย จะรวบรวมสารสนเทศในเรื่องของกำไรหรือขาดทุนของผลิตภัณฑ์ ความสามารถของพนักงานขาย ยอดขายของแต่ละเขตการขาย รวมทั้งแนวโน้มการเติมโตของสินค้า

   1.3 ระบบสารสนเทศสำหรับการวิเคราะห์ลูกค้า จะช่วยในการวิเคราะห์ลูกค้าเพื่อให้ทราบถึงรูปแบบของการซื้อและประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ เพื่อธุรกิจจะสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

 2. ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยตลาด จะประกอบด้วย

   2.1 ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยลูกค้า การวิจัยลูกค้าจะต่างกับการวิเคราะห์ลูกค้าตรงที่ว่าการวิจัยลูกค้าจะมีขอบเขตของการใช้สารสนเทสกว้างกว่าการวิเคราะห์ลูกค้า โดยการวิจัยลูกค้าจะต้องทราบสารสนเทศที่เกี่ยวกับลูกค้าในด้านสถานะทางการเงิน การดำเนินธุรกิจ ความพอใจ รสนิยม และพฤติกรรมการบริโภค

   2.2 ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยตลาด การวิจัยตลาดจะให้ความสำคัญกับการหาขนาดของตลาดของแต่ละผลิตภัณฑ์ที่จะนำออกจำหน่วย ซึ่งอาจจะครอบคลุมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว สารสนเทศที่จำเป็นที่ต้องการของการวิจัยตลาดคือ สภาวะและแนวโน้มทางเศรษฐกิจ ยอดขายในอดีตของอุตสาหกรรมหรือผลิตภัณฑ์ชนิดเดี่ยวกันในตลาด รวมทั้งภาวะการแข่งขันของผลิตภัณฑ์

3. ระบบสารสนเทศสำหรับการส่งเสริมการขาย เป็นระบบที่ให้ความสำคัญกับแผนงานทางด้านการโฆษณาและส่งเสริมการขาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการขาย เพิ่มยอดขายสินค้าและเพิ่มส่วนแบ่งตลาดให้สูงขึ้น สารสนเทศที่ต้องการคือ ยอดขายของสินค้าทุกชนิดในบริษัท เพื่อให้รู้ว่าสินค้าตัวใดต้องทำการวางแผนการส่งเสริมการขายอย่างไร

 4. ระบบสารสนเทศสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการเป็นระบบที่วิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ของผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ลักษณะและความต้องการของลูกค้าที่มีต่อผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการของลูกค้าแต่ยังไม่มีตลาด สารสนเทศที่ต้องการคือ ยอดขายของผลิตภัณฑ์ประเภทเดี่ยวกันในอดีต

 5. ระบบสารสนเทศสำหรับการพยากรณ์การขายเป็นระบบที่ใช้ในการวางแผนการขาย แผนการทำไรจากสินค้าหรือบริการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของบริษัท ซึ่งจะส่งผลไปถึงการวางแผนการผลิต การวางกำลังคน และงบประมารที่จะใช้เกี่ยวกับการขาย โดยสารสนเทศที่ต้องการคือ ยอดขายในอดีต สถานะของคู่แข่งขัน สภาวะการณ์ของตลาด และแผนการโฆษณา

6. ระบบสารสนเทศสำหรับการวางแผนกำไร เป็นระบบที่ให้ความสำคัญกับการวางแผนกำไรทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของธุรกิจ โดยสารสนเทศต้องการคือ สารสนเทศจากการวิจัยตลาด ยอดขายในอดีต สารสนเทศของคู่แข่งขัน การพยากรณ์การขาย และการโฆษณา

 7. ระบบสารสนเทศสำหรับการกำหนดราคาการกำหนดราคาทางการตลาด จะต้องคำนึงถึง ความต้องการของลูกค้า คู่แข่งขัน กำลังซื้อของลูกค้า โดยปกติแล้วราคาสินค้าจะตั้งราคาจากต้นทุนรวมกับร้อยละของกำไรที่ต้องการ สารสนเทศที่ต้องการคือ ตัวเลขกำไรของผลิตภัณฑ์ในอดีต เพื่อทำการปรับปรุงให้ได้สัดส่วนของกำไรที่ต้องการ

8. ระบบสารสนเทศสำหรับการควบคุมค่าใช้จ่ายการควบคุมค่าใช้จ่าย สามารถควบคุมได้โดยดูจากรายงานของผลการทำกำไรกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงหรือสาเหตุของการคลาดเคลื่อนของค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการขายรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น เงินเดือน ค่าโฆษณา ค่าส่วนแบ่งการขาย

4. ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงาน (Production and Operations Information System)ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงาน จะมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ ผู้ผลิตสามารถพยากรณ์ปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า โดยไม่ให้มีจำนวนมากหรือน้อยจนเกินไปตลอดจนควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นที่ต้องการของลูกค้า โดยมีต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม

5. ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล (Human Resource Information System)หรือที่เรียกว่า HRIS หรือระบบสารสนเทศสำหรับบริหารงานบุคคล (Personnel Information System) หรือ PIS เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาให้สนับสนุนการดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่การวางแผนการจ้างงาน การพัฒนาและการฝึกอบรม ค่าจ้างเงินเดือน การดำเนินงานการทางวินัย ช่วยให้การบริหารทรัพยากรบุคคลเกดประสิทธิภาพ โดยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรบุคคลจะมีดังนี้

   5.1. ข้อมูลตัวบุคลากร เป็นข้อมูลของสมาชิกแต่ละคนขององค์การ ซึ่งประกอบ ด้วยประวัติ เงินเดือน และสวัสดิการ

   5.2. ผังองค์การ แสดงโครงสร้างองค์การ การจัดหน่วยงาน และแผนกำลังคน ซึ่งแสดงทั้งปริมาณและการจัดสรรทรัพยากรบุคคล

   5.3. ข้อมูลจากภายนอก ระบบบริหารทรัพยากรบุคคลมิใช่ระบบปิด ที่ควบคุมและดูแลสมาชิกภายในองค์การเท่านั้น แต่จะเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ซึ่งต้องการข้อมูลจากภายนอกองค์การ เช่น การสำรวจเงินเดือน อัตราการว่างงาน อัตราเงินเฟ้อ

9).การทำงานร่วมกันและเครือข่ายสังคมธุรกิจคืออะไรมีการจัดแบ่งกลุ่มของเทคโนโลยีที่นำมาใช้บ้าง และธุรกิจได้ประโยชน์อย่างไร

วิวัฒนาการของสังคมออนไลน์และเครือข่ายสังคม (Social Network)

               ในโลกยุคใหม่ที่ไร้พรมแดน ผู้คนสามารถเดินทางข้ามพรมแดน ข้ามกาลเวลาไปพบปะพูดคุยกับใครก็ได้ ที่ไหนก็ได้ เวลาใดก็ย่อมได้เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส โดยเริ่มจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี      สารสนเทศที่มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างรวด เร็ว จะเห็นได้ว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีผลต่อระบบการศึกษาโดยตรง ทั้งนี้ เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับการรวบรวมข้อมูล ข่าวสาร ความรอบรู้ จัดระบบประมวลผล ส่งผ่านและสื่อสารด้วยความเร็วสูงและปริมาณมาก นาเสนอและแสดงผลด้วยระบบสื่อต่าง ๆ ทั้งทางด้านข้อมูล รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และวิดีโอ       อีกทั้งยังสามารถสร้างระบบการมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบทาให้การเรียนรู้ในยุคใหม่ประสบผลสาเร็จด้วยดี (สาระน่ารู้ประจาสัปดาห์. 2553 : ออนไลน์) ซึ่งในช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมานั้น ความเจริญก้าวหน้าและการเติบโตอย่างก้าวกระโดดด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) และเทคโนโลยี การสื่อสารได้เปลี่ยนวิถีทางการดาเนินชีวิต การดาเนินธุรกิจ และการสื่อสารของคนในสังคมไปอย่างมากมาย โดยงานวิจัยด้านเทคโนโลยีการสื่อสารได้บ่งชี้ว่าสื่อหรือเครื่องมือสื่อสาร ที่ได้รับความนิยมในแต่ละช่วงเวลาจะมีอิทธิพลต่อความคิดของคนและจะเป็น ปัจจัยสาคัญที่กาหนดกรอบความคิดและความเข้าใจในการมองโลกรอบ ๆ ตัวเราด้วย (Eid and Ward 2009)

               ปัจจุบันผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกมีจานวนเกือบสองพันล้านคนแล้วในเดือนมิถุนายน ปี 2553 (Internet World Stats, 2010) อิน เทอร์เน็ตได้กลายเป็นแหล่งแห่งการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ใหญ่ที่สุด ในโลก ทาให้เกิดการเปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารจากยุคการสื่อสารแบบดั้งเดิม ในโลกแห่งความเป็นมาสู่การใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในยุคดิจิทัลแห่งโลกเสมือน จริง (Virtual World) ก่อให้เกิดยุคแห่งการสื่อสารไร้พรมแดน ทาให้คนจานวนมากทั่วโลกมีการดาเนินชีวิตทั้งในสังคมของโลกแห่งความเป็นจริง และสังคมแห่งโลกเสมือนจริงผลจากความก้าวหน้าของระบบอินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสารก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ทางสังคม คือ เครือข่ายสังคมใหม่ที่รู้กันอย่างแพร่หลายว่า “สังคมออนไลน์” (Online Community) หรือ “สังคมเสมือน” (Virtual Community) หรือ “เครือข่ายสังคมออนไลน์” (Social Network) โดย เครือข่ายสังคมออนไลน์นี้เป็นพื้นที่สาธารณะที่สมาชิกซึ่งก็คือคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติและศาสนา ทุกระดับการศึกษา ทุกสาขาอาชีพและทุกกลุ่มสังคมย่อยจากทั่วโลกเป็นผู้สื่อสารหรือเขียนเล่า เนื้อหาเรื่องราว ประสบการณ์ บทความ รูปภาพ และวิดีโอ ที่สมาชิกเขียนและทาขึ้นเองหรือพบเจอจากสื่ออื่นๆ แล้วนามาแบ่งปันให้กับผู้อื่นที่อยู่ในเครือข่ายของตนผ่านทางระบบอินเทอร์ เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media)เครือข่ายสังคมออนไลน์เติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ก่อให้เกิดวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีของสื่อสังคมออนไลน์หลากหลายประเภท ได้แก่ เว็บบล็อก (Weblog) หรือเรียกสั้นๆ ว่า บล็อก (Blog เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Networking Sites) เช่น Facebook, Myspace และ hi5 เป็นต้น เว็บไซต์สาหรับแบ่งปันวิดีโอ (Video-sharing Sites) และผลงาน เช่น YouTube เว็บประเภท Micro Blog เช่น Twitter วิกิ (Wikis)และโลกเสมือน เช่น SecondLife และ World WarCraft เป็นต้น จากความก้าวหน้าดังกล่าว จะเห็นว่า ปัจจุบันการสื่อสารบนโลกออนไลน์ได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ เนื่องจากการพัฒนาของเทคโนโลยี Web 2.0และการเกิดขึ้นของสังคมเครือข่ายที่อินเทอร์เน็ตได้เข้ามากำหนดและปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้รับสารและผู้บริโภคเกือบสิ้นเชิง ทาให้เกิดช่องทางการสื่อสารรูปแบบใหม่ ๆ เป็นจานวนมาก

   ในยุคที่อินเทอร์เน็ตกาลังเป็นที่นิยมและได้รับการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่งจากการพัฒนาของโลก เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) จากยุคแรกหรือเรียกว่า Web 1.0 ซึ่งมีลักษณะเป็น Static Web คือมีการนาเสนอข้อมูลทางเดียว ต่อมาเข้าสู่เว็บยุคที่ 2 หรือ Web 2.0 จึงเป็นยุคที่เน้นให้อินเทอร์เน็ตมีศักยภาพในการใช้งานมากขึ้น เน้นให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ลงบนเว็บไซต์ร่วมกัน และสามารถโต้ตอบกับข้อมูลที่อยู่บนเว็บไซต์ได้ และผู้ใช้สามารถสร้างเนื้อหา (Content) แลกเปลี่ยนและกระจายข้อมูลกันได้ทั้งในระดับบุคคลหรือกลุ่มจนกลายเป็นสังคมในโลกอินเทอร์เน็ต หรือเรียกว่า สังคมออนไลน์ (Social Network)นั่นเอง    สังคมออนไลน์ (Social Networking) คือสังคมที่ผู้คนสามารถทาความรู้จัก ร่วมแบ่งปันสิ่งที่สนใจ และสามารถเชื่อมโยงกันได้ในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ในโลกอินเทอร์เน็ต โดยอาศัยรูปแบบการบริการ เรียกว่า “บริการเครือข่ายสังคม หรือ Social Networking Service (SNS)” โดยเป็นรูปแบบของเว็บไซต์ในการ สร้างเครือข่ายสังคม สาหรับผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ตที่ใช้เขียนและอธิบายความสนใจและกิจกรรมที่ ได้ทาและเชื่อมโยงกับความสนใจและกิจกรรมของผู้อื่น รวมทั้งข้อมูลส่วนตัว บทความรูปภาพผลงาน พบปะ แสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ หรือความสนใจร่วมกัน และกิจกรรมอื่น ๆ รวมไปถึงเป็นแหล่งข้อมูลจานวนมหาศาลที่ผู้ใช้สามารถช่วยกันสร้างเนื้อหาขึ้น ได้ตามความสนใจของแต่ละบุคคลหรือกลุ่มบุคคล  ประเทศไทยได้มีการปฏิรูปการศึกษา โดยมุ่งหวังจะยกระดับการศึกษาของชาติให้ได้มาตรฐานและจัดได้อย่างทั่วถึงและ มีคุณภาพ มีการปฏิรูปครู อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา โดยในการปฏิรูประบบบริหารและการจัดการศึกษาได้หลอมรวมหน่วยงานทางการศึกษา และจัดโครงสร้างใหม่ เป็นระดับกระทรวงและระดับเขตพื้นที่การศึกษา ให้สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นหน่วยงานที่มีอานาจหน้าที่ในการบริหารและ การจัดการศึกษาภายเขตพื้นที่การศึกษา ปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการกาหนดให้มีเขตพื้นที่การศึกษา 2 ส่วน คือ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา โดยมีผู้อานวยการสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสานักงานซึ่งอินเทอร์เน็ตเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย มีรูปแบบการให้บริการที่หลากหลาย สามารถใช้งานได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว การใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถแบ่งออกเป็น 2 ยุค ได้แก่ ยุคแรกเรียกว่า Web 1.0 ซึ่งมีลักษณะการนำเสนอข้อมูลทางเดียว เนื่องจาก ผู้จัดทำเว็บไซต์จะทำหน้าที่เป็นผู้ให้ข้อมูลหรือนำเสนอเนื้อหา ให้กับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเพียงอย่างเดียว ผู้ใช้งานไม่สามารถโต้ตอบข้อมูลบนเว็บไซต์ได้ ต่อมาในยุคที่สอง เรียกว่า Web 2.0 เป็น การเน้นให้อินเทอร์เน็ตมีศักยภาพในการใช้งานมากขึ้น ผู้ใช้สามารถมีส่วนร่วมในการโต้ตอบข้อมูลที่อยู่บนเว็บไซต์ สามารถสร้างข้อมูลหรือเนื้อหาเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันได้ทั้ง ระดับ ปัจเจกบุคคล และระดับกลุ่ม การเติบโตของอินเทอร์เน็ต

                 ในยุคนี้ทำให้เกิดครือข่ายสังคมออนไลน์ ซึ่งเป็นสังคม ออนไลน์ที่ช่วยให้คนสามารถทำความรู้จักกัน เปิดเผย ข้อมูลส่วนตัว รูปภาพ วิดีโอ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และความสนใจร่วมกัน (Cheung, Chiu, & Lee, 2010) จากสถิติพบว่าปัจจุบันมีคนกว่า 100 ล้านคนทั่วโลกที่ ติดต่อผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ มีการใช้ Face book, MySpace, LinkedIn และเครือข่ายอื่นๆ ซึ่งแต่ละคน สามารถที่จะสร้าง Profile ของตนเอง และสามารถ เชื่อมต่อกับ Profile ของบุคคลอื่น เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยน ข้อมูลระหว่างกันได้ (Cheung & Lee, 2010) เครือข่าย สังคมออนไลน์ได้รับความนิยมสูงสุดไม่เพียงเฉพาะใน กลุ่มของนักศึกษามหาวิทยาลัยเท่านั้น แม้แต่บรรดา ผู้นำองค์กรชั้นนำของโลก กลุ่มคนทำงานที่มีหลากหลายวัย ต่างก็ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์กันอยู่เป็นประจำ

คำว่าเครือข่ายสังคมออนไลน์มีผู้ให้ความหมาย ไว้หลากหลาย แต่ในบทความนี้จะใช้ความหมายของ อดิเทพ บุตราช (2553) ซึ่งได้ให้นิยามคำว่าเครือข่าย สังคมออนไลน์ หมายถึง กลุ่มคนที่รวมกันเป็นสังคมและ มีการทำกิจกรรมร่วมกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่ง อยู่ในรูปแบบของเว็บไซต์มีการแพร่ขยายออกไปเรื่อยๆ โดยใช้รูปแบบของการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่าย อินเทอร์เน็ต มีการสร้างเครือข่ายชุมชนเสมือนบน เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการ ติดต่อสื่อสาร การทำกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งการใช้ประโยชน์ ทางด้านการศึกษา ธุรกิจ และความบันเทิง คนในสังคม ปัจจุบันส่วนใหญ่จะใช้ชีวิตอยู่กับสังคมออนไลน์เพิ่ม มากขึ้น มีการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อบอกเล่า เรื่องราว ประสบการณ์ รูปภาพ และวิดีโอ ที่ผู้ใช้จัดทำขึ้นเอง หรือพบเจอจากสื่อต่างๆ แล้วนำมาแบ่งปันให้ กับเพื่อนและผู้อื่นที่อยู่ในเครือข่ายของตนได้ทราบผ่าน ทางเว็บไซต์ของเครือข่ายสังคมออนไลน์ นอกจากนั้น เว็บไซต์ที่ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ยังสามารถ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม (สุภาภรณ์ เพชรสุภา, 2554) ได้แก่

1.กลุ่มเว็บไซต์เผยแพร่ “ตัวตน” เป็นเว็บไซต์ที่มีลักษณะใช้นำเสนอตัวตน และเผยแพร่เรื่องราวของ ตนเองผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือผู้ใช้สามารถเขียน Blog สร้างอัลบั้มรูปของตัวเอง สร้างกลุ่มเพื่อนในห้องเรียน และสร้างเครือข่ายเพื่อการเรียนรู้ขึ้นมาได้ ตัวอย่าง เว็บไซต์ประเภทนี้คือ myspace.com, hi5.com และ facebook.com เป็นต้น

2.กลุ่มเว็บไซต์เผยแพร่ “ผลงาน” อาจจะเป็นผลงานของกลุ่มหรือผลงานของตัวเอง โดย สามารถนำเสนอในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวีดีโอ รูปภาพ หรือเสียงอาจารย์สอนที่ได้จากการบันทึกในชั้นเรียน เป็นต้น ตัวอย่างเว็บไซต์ประเภทนี้เช่น YouTube.com, Yahoo VDO, Google VDO, Flickr.com, Multiply.com เป็นต้น

3.กลุ่มเว็บไซต์ที่มีความสนใจเกี่ยวกับ เรื่องเดียวกัน อาจเป็นลักษณะ Online Bookmarking หรือ Social Bookmarking โดยมีแนวคิดที่ว่า แทนที่ เราจะทำ Bookmark เว็บไซต์ที่เราชอบ หรือบทความ รายงานที่เกี่ยวข้องกับการเรียน เก็บไว้ในเครื่องของเรา คนเดียว เราก็สามารถทำ Bookmark เก็บไว้บนเว็บไซต์ แทน เพื่อเป็นการแบ่งให้เพื่อนๆ คนอื่นเข้ามาดูได้ด้วย และเราก็สามารถดูได้ว่าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมาก หรือเป็นที่น่าสนใจ โดยดูจากจำนวนตัวเลขที่เว็บไซต์ นั้นถูก Bookmark เอาไว้จากสมาชิกคนอื่นๆ ตัวอย่าง เว็บไซต์นี้ ได้แก่ Delicious, Digg, Zickr, Duocore.tv เป็นต้น

4.กลุ่มเว็บไซต์ที่ใช้สำหรับการทำงานร่วมกัน เป็นกลุ่ม การทำงานเครือข่ายสังคมออนไลน์ ที่เปิด โอกาสให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มสามารถเข้ามานำเสนอ ข้อมูล ความคิดหรือต่อยอด เรื่องราวต่างๆ ได้ ตัวอย่าง เว็บไซต์นี้ ได้แก่ WikiPedia ซึ่งเป็นสารานุกรมต่อยอด ที่อนุญาตให้ใครก็ได้เข้ามาช่วยกันเขียน และแก้ไข บทความต่างๆ ได้ตลอดเวลา ทำให้เกิดเป็นสารานุกรม ออนไลน์ขนาดใหญ่ที่รวบรวมความรู้ ข่าวสาร และ เหตุการณ์ต่างๆ ไว้มากมาย จากที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้เว็บไซต์ที่ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ มีการพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่องเพื่อประโยชน์ใน การใช้งานในด้านต่างๆและสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ ร่วมกันได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

5.ในขณะนี้ Facebook จัดเป็นเว็บไซต์เครือข่าย สังคมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกและมีรายงานผลตัวเลขที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Facebook พบว่า ผู้ที่ใช้งาน Facebook มากกว่า 50% ไม่ได้เป็นนักศึกษา กลุ่มอายุที่มีการใช้งานที่เติบโตรวดเร็วมากที่สุดคือ กลุ่ม คนอายุ 30 ปีขึ้นไป เฉลี่ยเวลาในการใช้งาน 20 นาที ต่อครั้ง มีผู้ใช้งานมากกว่า 15 ล้านคนที่อัพเดทสถานะ อย่างน้อยวันละหนึ่งครั้ง และในแต่ละเดือนมีการอัพโหลด คลิปวิดีโอมากกว่า 5 ล้านคลิปวิดีโอ (ตัวเลขน่าสนใจจาก Facebook, 2554) ซึ่งจากสถิติที่กล่าวมาแสดงให้เห็นถึง พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของคนในสังคม ปัจจุบันที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเริ่มเข้ามามีบทบาท หรือเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคนวัยทำงานที่ใช้เครือข่าย อินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะในปัจจุบันสามารถใช้งาน ผ่านโทรศัพท์มือถือได้ จึงทำให้สถิติการใช้เครือข่าย สังคมออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

6.ดังนั้นในการศึกษาเรื่องพฤติกรรมการใช้ เครือข่ายสังคมออนไลน์ จึงสามารถกล่าวได้ว่า เครือข่าย สังคมออนไลน์ เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของ คนในทุกระดับ ทุกเพศและทุกวัย นอกจากนั้นการใช้ เครือข่ายสังคมออนไลน์ยังมีผลกระทบในหลายๆ ด้าน บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดพฤติกรรม การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ และผลกระทบจากการใช้ เครือข่ายสังคมออนไลน์ของคนในสังคมปัจจุบัน

ประโยชน์ของความคล่องตัวขององค์กร

เมื่อองค์กรมีการปรับตัวเพื่อรองรับกับสถานการณ์หรือความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น แล้วย่อมก่อให้เกิดความคล่องตัวภายในองค์กร ดังนั้นประโยชน์ของความคล่องตัวขององค์กร คือ ช่วยให้องค์กรสามารถแข่งขันกันทางการตลาดได้ และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง