มาตรการ สินเชื่อ บ้าน กสิกร 2565

     ลูกค้าธุรกิจ และลูกค้าบุคคลที่สนใจ  เข้าร่วมมาตรการ สามารถลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์ธนาคารกสิกรไทยได้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน – 30 ธันวาคม 2565 หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับลูกค้าธุรกิจติดต่อได้ที่ K-BIZ Contact Center 02-888-8822 สำหรับลูกค้าบุคคลติดต่อได้ที่ K-Contact Center 02-888-8888

ทางธนาคารไม่ได้มีข้อบังคับในการให้ผู้กู้ทำประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อบ้าน และการทำประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อบ้านไม่เกี่ยวข้องต่อการอนุมัติสินเชื่อใดๆ โดยแนะนำว่าผู้ขอสินเชื่อบ้านควรทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อบ้านเพื่อจะได้รับความคุ้มครองกรณีเสียชีวิต และกรณีทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร อีกทั้งยังได้รับสิทธิ์ส่วนลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านในกรณีที่กู้สินเชื่อบ้านกับทางธนาคาร

เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ รักษาการจ้างงาน และฟื้นฟูธุรกิจ ทั้งนี้ ไม่ให้นำเงินสินเชื่อดังกล่าว มาชำระหนี้เดิมที่มีอยู่กับสถาบันการเงินเดิม หรือ Refinance จากสถาบันการเงิน

 

 

ลูกค้าปัจจุบัน
กู้ได้ 30% ของวงเงินสินเชื่อธุรกิจ
ที่มีกับธนาคาร
แต่ไม่เกิน 150 ลบ. หรือสูงสุดไม่เกิน 50 ลบ.

สำหรับลูกค้าที่ 30% ของวงเงิน
สินเชื่อธุรกิจ
ที่มีกับธนาคาร
ไม่ถึง 50 ล้านบาท

ลูกค้าใหม่
กู้ได้ไม่เกิน 50 ล้านบาท
รวมทุกสถาบันการเงิน

 

อัตราดอกเบี้ย 2% ใน 2 ปีแรก
โดยอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 5 ปี
ไม่เกิน 5% ต่อปี

 

ฟรี ดอกเบี้ย 6 เดือนแรก*

คุณสมบัติของลูกค้าที่จะขอกู้

  • บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย มีสถานประกอบการและประกอบธุรกิจ ในประเทศไทย
  • เป็นลูกค้าธุรกิจของธนาคาร ที่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ไม่เกิน 500 ล้านบาท หรือไม่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจกับสถาบันการเงินทุกแห่ง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 (ไม่รวมวงเงินสินเชื่อ เพื่อการอุปโภคบริโภค)
  • ไม่เป็นบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET)
  • ไม่เป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน
  • ไม่มีสถานะเป็นหนี้ NPL ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562

รายละเอียดมาตรการ

  • วงเงินลูกค้าปัจจุบัน :วงเงินกู้ไม่เกิน 30% ของวงเงินสินเชื่อธุรกิจที่มีอยู่กับธนาคารกสิกรไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 หรือ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 แล้วแต่จำนวนใดสูงกว่า ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 150 ล้านบาท หรือ สูงสุดไม่เกิน 50 ล้านบาท สำหรับลูกค้าที่ 30% ของวงเงินสินเชื่อธุรกิจที่มีอยู่กับธนาคารกสิกรไทยมีจำนวนไม่ถึง 50 ล้านบาท (หากเคยได้รับสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่อง (สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ BOT Soft Loan) เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 และ สินเชื่อฟื้นฟู เดิม ให้นับรวมด้วย)ลูกค้าใหม่ :วงเงินกู้ไม่เกิน 50 ล้านบาท นับรวมทุกสถาบันการเงิน สำหรับลูกค้าที่ไม่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจกับสถาบันการเงินทุกแห่ง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564
  • ระยะเวลากู้สูงสุด 7 ปี พักชำระเงินต้นสูงสุด 24 เดือน (ไม่ต้องชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือนแรก)
  • อัตราดอกเบี้ย
    • อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี ใน 2 ปีแรก ไม่ต้องชำระดอกเบี้ย 6 เดือนแรก
    • โดยอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 5 ปี ไม่เกิน 5% ต่อปี
    • ปีที่ 6 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด

     

    กดที่รูปเพื่อขยายตาราง

  • *ฟรีค่าธรรมเนียมการจัดการให้กู้ และค่าธรรมเนียมอื่นๆ ทุกประเภท (ยกเว้นค่าอากรแสตมป์)
  • ต้องค้ำประกันโดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อย (บสย.) โดยมีค่าธรรมเนียมไม่เกิน 1.75% ต่อปี
    **สำหรับลูกค้าที่ ธปท.จัดให้อยู่ในกลุ่ม Micro และ SME ค่าธรรมเนียมไม่เกิน 1.25% ต่อปี**
  • การอนุมัติสินชื่อและเบิกวงเงินกู้ เป็นไปตามเงื่อนไขที่ธนาคารกสิกรไทยและธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด

ช่องทางการติดต่อ

  • ลูกค้าธุรกิจที่สนใจ สามารถติดต่อได้ที่ผู้ดูแลความสัมพันธ์ลูกค้า หรือ K-BIZ Contact Center
    02-8888822

คำถามที่พบบ่อย สำหรับมาตรการสินเชื่อฟื้นฟู

คุณสมบัติของลูกค้าที่จะสมัครผลิตภัณฑ์สินเชื่อฟื้นฟู มีอะไรบ้าง

  1. เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย ที่มีสถานประกอบการและประกอบธุรกิจในประเทศไทย โดยไม่ต้องพิจารณาสัดส่วนการถือหุ้น
  2. เป็นลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจ*กับธนาคารกสิกรไทยไม่เกิน 500 ล้านบาท ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 หรือไม่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจกับสถาบันการเงินทุกแห่ง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ทั้งนี้ ไม่รวมถึงวงเงินตามภาระผูกพัน (เช่น หนังสือค้ำประกัน, เลตเตอร์ออฟเครดิต) และวงเงินสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค ได้แก่ วงเงินสินเชื่อส่วนบุคคล (Xpress Cash), วงเงินสินเชื่อเงินด่วน (Xpress Loan),วงเงินสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย, และวงเงินสินเชื่อบัตรเครดิต
  3. ต้องไม่เป็นลูกหนี้ NPL ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562
  4. ไม่เป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน
  5. ไม่เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)

*วงเงินสินเชื่อธุรกิจนับรวม Loan, OD, PN, Trade, Factoring วงเงินสินเชื่อเงินด่วนแบบผ่อนระยะยาวเพื่อธุรกิจ (Xpress Loan-Long term loan) วงเงินเพื่อธุรกิจสำหรับบุคคลธรรมดาที่ไม่มีทรัพย์เป็นหลักประกัน, วงเงินสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้กำกับ (ให้นับวงเงินกู้เดี่ยว รวมกับ วงเงินกู้ร่วมตามสัดส่วนความรับผิดในหนี้)

วัตถุประสงค์สำหรับการขอผลิตภัณฑ์สินเชื่อฟื้นฟู

เพื่อเสริมสภาพคล่องในการประกอบธุรกิจ ลดผลกระทบต่อการจ้างงาน และฟื้นฟูการประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ ไม่ให้นำเงินสินเชื่อดังกล่าวมาชำระหนี้เดิมที่มีอยู่กับสถาบันการเงินเดิม หรือ Refinance จากสถาบันการเงินอื่นๆ

ผู้ประกอบธุรกิจสามารถยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูได้ในวงเงินเท่าใด

ลูกค้าปัจจุบัน : ไม่เกิน 30% ของวงเงินสินเชื่อธุรกิจที่มีอยู่กับธนาคารกสิกรไทย* ณ วันที่ 31/12/2562 หรือ ณ วันที่ 28/2/2564 แล้วแต่จำนวนใดสูงกว่า ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 150 ล้านบาท หรือ สูงสุดไม่เกิน 50 ล้านบาท สำหรับลูกค้าที่ 30% ของวงเงินสินเชื่อธุรกิจที่มีอยู่กับธนาคารกสิกรไทย* มีจำนวนไม่ถึง 50 ล้านบาท (หักด้วย วงเงินสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่อง (สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ BOT Soft Loan) เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 และสินเชื่อฟื้นฟู ที่เคยได้รับอนุมัติ บวก วงเงินสินเชื่อดังกล่าวที่ลูกค้าเคยได้รับอนุมัติแต่ไม่ประสงค์ใช้และธนาคารได้คืนเงินแก่ ธปท.แล้ว)
ลูกค้าใหม่ : ไม่เกิน 50 ล้านบาท นับรวมทุกสถาบัน
การเงิน


*นับเฉพาะLoan, OD, PN, Trade, Factoring วงเงินสินเชื่อเงินด่วนแบบผ่อนระยะยาวเพื่อธุรกิจ (Xpress Loan-Long term loan) วงเงินเพื่อธุรกิจสำหรับบุคคลธรรมดาที่ไม่มีทรัพย์เป็นหลักประกัน, วงเงินสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้กำกับ ของตัวผู้กู้เอง จะไม่นับรวมวงเงินตามภาระผูกพัน และไม่รวมวงเงินสินเชื่อส่วนบุคคล (Xpress Cash), วงเงินสินเชื่อเงินด่วน (Xpress Loan) วงเงินสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย, และวงเงินสินเชื่อบัตรเครดิต

ประเภทของวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูที่อนุมัติให้กับผู้ประกอบธุรกิจ ครอบคลุมวงเงินประเภทใดบ้าง

วงเงินกู้ (Loan) ระยะเวลากู้สูงสุด 7 ปี พักชำระเงินต้นสูงสุด 24 เดือน (ไม่ต้องชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือนแรก)

อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมของสินเชื่อฟื้นฟูภายใต้ พ.ร.ก. มีรายละเอียดอย่างไร

  • อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี 2 ปีแรก โดยอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 5 ปี <= 5% ต่อปี (ยกเว้นการชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือนแรก) โดยอัตราดอกเบี้ยปีที่ 6-7 เป็นไปตามอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกำหนด
  • ไม่จัดเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการให้กู้ หรือค่าธรรมเนียมอื่นๆ ทุกประเภท (ยกเว้นค่าอากรแสตมป์)

ลูกค้าสามารถขอสินเชื่อภายใต้สินเชื่อฟื้นฟู ได้กี่ครั้ง

ขอได้ 6 ครั้ง โดยเงื่อนไขการเบิกเงินกู้แต่ละครั้งต้องเป็นการเบิกเงินกู้ครั้งเดียวทั้งจำนวน

สำหรับลูกค้าปัจจุบัน : รวม 6 ครั้ง จะต้องไม่เกิน 30% ของวงเงินสินเชื่อธุรกิจที่มีอยู่กับธนาคารกสิกรไทย ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 150 ล้านบาท หรือ ไม่เกิน 50 ล้านบาท สำหรับลูกค้าที่ 30% ของวงเงินสินเชื่อธุรกิจที่มีอยู่กับธนาคารกสิกรไทยมีจำนวนไม่ถึง 50 ล้านบาท
สำหรับลูกค้าใหม่ : รวม 6 ครั้ง จะต้​องไม่เกิน 50 ล้านบาท รวมทุกสถาบันการเงิน

ผู้ประกอบธุรกิจต่างชาติที่จดทะเบียนในประเทศไทยหรือบริษัทที่ถือหุ้นโดยต่างชาติ สามารถเข้ามาตรการสินเชื่อฟื้นฟู ได้หรือไม่

ได้ เนื่องจากคุณสมบัติของผู้ที่ขอกู้ได้ คือ บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยที่มีสถานประกอบการและประกอบธุรกิจในประเทศไทยโดยไม่ต้องพิจารณาสัดส่วนการถือหุ้น

ประเภทหลักประกันที่ต้องนำเสนอภายสินเชื่อฟื้นฟู

ต้องค้ำประกันโดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อย (บสย.) โดยมีค่าธรรมเนียม ดังนี้

  • สำหรับลูกค้าที่ ธปท.จัดให้อยู่ในกลุ่ม Corporate : ค่าธรรมเนียมสูงสุดไม่เกิน 1.75% ต่อปี
  • สำหรับลูกค้าที่ ธปท.จัดให้อยู่ในกลุ่ม Micro และ SME ค่าธรรมเนียมสูงสุดไม่เกิน 1.25% ต่อปี

กรณีลูกค้าเคยได้รับเงินกู้ผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่อง (สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ BOT Soft Loan) เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 ไปแล้ว สามารถขอเพิ่มได้อีกหรือไม่

สามารถขอกู้ได้ ทั้งนี้ เมื่อนับรวมวงเงินสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่อง (สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ BOT Soft Loan) เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 และวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูที่ขอทั้งหมด จะต้องไม่เกิน 30% ของวงเงินสินเชื่อธุรกิจที่มีอยู่กับธนาคารกสิกรไทย ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 150 ล้านบาท หรือ ไม่เกิน 50 ล้านบาท สำหรับลูกค้าที่ 30% ของวงเงินสินเชื่อธุรกิจที่มีอยู่กับธนาคารกสิกรไทยมีจำนวนไม่ถึง 50 ล้านบาท

กรณีลูกค้าเข้ามาตรการช่วยเหลือของธนาคาร สามารถขอสินเชื่อฟื้นฟูได้หรือไม่

สามารถขอได้ ทั้งนี้ลูกค้าต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์สินเชื่อฟื้นฟู

กรณีลูกค้าไม่มีสินเชื่อเพื่อธุรกิจ สามารถขอสินเชื่อฟื้นฟูได้หรือไม่

กรณีไม่มีสินเชื่อธุรกิจกับทุกสถาบันการเงิน ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ลูกค้าสามารถขอสินเชื่อฟื้นฟูกับธนาคารกสิกรไทยได้ เว้นแต่ ลูกค้าไม่มีสินเชื่อธุรกิจกับธนาคารกสิกรไทยแต่มีสินเชื่อธุรกิจกับธนาคารอื่น ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 จะไม่สามารถขอสินเชื่อฟื้นฟูกับธนาคารกสิกรไทยได้

มาตรการที่ 2 พักทรัพย์ พักหนี้ (Asset Warehousing)

เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ ด้วยการลดภาระเงินต้นและดอกเบี้ย ประคับประคองให้ยังสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้

 

 

ธนาคารจะไม่ขายหลัก
ประกันให้บุคคลอื่นภายใน 3-5 ปี

 

สามารถเช่าหลักประกัน
เพื่อดำเนินธุรกิจต่อได้

 

ฟรี ค่าธรรมเนียมทุกประเภท

คุณสมบัติของลูกค้าที่เข้าร่วมมาตรการ

  • เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย มีสถานประกอบการและประกอบธุรกิจ ในประเทศไทย
  • เป็นลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจกับธนาคารก่อนวันที่ 1 มีนาคม 2564
  • ไม่มีสถานะเป็น NPL ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562
  • ไม่เป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน
  • มีความประสงค์โอนทรัพย์สินนั้นเพื่อชำระหนี้เงินกู้สินเชื่อเพื่อธุรกิจ
  • ต้องเป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบทางตรง หรือทางอ้อมจาก COVID-19

รายละเอียดมาตรการ

  • เป็นทรัพย์ที่ใช้เป็นหลักประกันสินเชื่อกับธนาคาร ก่อนวันที่ 1 มีนาคม 2564
  • ลูกค้าหรือเจ้าของทรัพย์ มีสิทธิซื้อคืนได้ภายในระยะเวลา 3-5 ปีนับจากวันที่โอน โดยธนาคาร จะไม่ขายหลักประกันให้บุคคลอื่น ยกเว้นได้รับหนังสือแจ้งจากลูกค้าว่าไม่ประสงค์ใช้สิทธิ์ซื้อทรัพย์นั้นคืน
  • ลูกค้าสามารถเช่าหลักประกันเพื่อดำเนินธุรกิจต่อได้ ในอัตราค่าเช่าที่ตกลงกัน โดยต้องแจ้งความประสงค์ เช่าทรัพย์สินภายใน 15 วันนับจากวันที่โอน
  • ลูกค้าได้รับยกเว้นภาษีและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องทุกประเภท ทั้งขารับโอน และขาโอนกลับให้ลูกค้า หรือเจ้าของทรัพย์เดิม
  • ราคารับโอน ตามการพิจารณาของธนาคาร ซึ่งขึ้นอยู่กับทรัพย์ ภาระหนี้ โดยจะต้องไม่เกินกว่าเงินต้นในบัญชีสินเชื่อเพื่อธุรกิจที่มีกับธนาคาร
  • ราคาซื้อคืน =

     

    กดที่รูปเพื่อขยายตาราง

  • การอนุมัติเป็นไปตามเงื่อนไขของธนาคาร

ช่องทางการติดต่อ

  • ลูกค้าธุรกิจที่สนใจ สามารถติดต่อได้ที่ผู้ดูแลความสัมพันธ์ลูกค้า หรือ K-BIZ Contact Center
    02-8888822

คำถามที่พบบ่อย สำหรับมาตรการพักทรัพย์ พักหนี้ (Asset Warehousing)

ลูกค้าต้องมีคุณสมบัติอย่างไรที่สามารถเข้าร่วมโครงการ

  • เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย มีสถานประกอบการและประกอบธุรกิจในประเทศไทย
  • เป็นลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจกับธนาคารก่อนวันที่ 1 มีนาคม 2564
  • ไม่มีสถานะเป็น NPL ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562
  • ไม่เป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน
  • มีความประสงค์โอนทรัพย์สินนั้นเพื่อชำระหนี้เงินกู้สินเชื่อเพื่อธุรกิจ

ลูกค้าที่สนใจเข้าร่วมโครงการสามารถลงทะเบียนได้ผ่านช่องทางใดบ้าง

ติตด่อผู้ดูแลความสัมพันธ์ หรือ K-BIZ Contact Center 02-888-8822

ระยะเวลาที่ลูกค้าสามารถแจ้งความจำนงในการขอเข้าร่วมโครงการ

2 ปีนับแต่วันที่ พรก. มีผลบังคับใช้ (10 เม.ย.2564) หรือ เต็มวงเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดทุกสถาบันการเงินรวมกัน 1 แสนล้านบาท

หลักประกันใดที่สามารถเข้าร่วมโครงการ

ต้องเป็นทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันกับธนาคารก่อนวันที่ 1 มีนาคม 2564 ทั้งนี้การพิจารณาเรื่องหลักประกันที่สามารถรับได้ จะเป็นไปตามเงื่อนไขการพิจารณาของธนาคาร

ประเภทธุรกิจใดที่สามารถเข้าร่วมโครงการ

ต้องเป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบทางตรง หรือทางอ้อมจาก COVID-19

ลูกค้าต้องประกอบธุรกิจอยู่ในพื้นที่ใดบ้างที่สามารถเข้าร่วมโครงการได้

พื้นที่ได้รับผลกระทบทางตรง หรือทางอ้อมจาก COVID-19

ข้อดีของการเข้าร่วมโครงการ

ลูกค้าสามารถลดภาระหนี้ที่มีอยู่กับธนาคาร และได้รับสิทธิในการเช่าและซื้อทรัพย์คืน รวมถึงได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีค่าธรรมเนียมในการตีโอนทรัพย์

ลูกค้าสามารถเช่าทรัพย์ที่โอนให้กับธนาคารเพื่อดำเนินธุรกิจต่อได้หรือไม่

สามารถเช่าทรัพย์ได้ แต่ต้องแจ้งความจำนงต่อธนาคารภายใน 15 วันหลังจากวันที่ธนาคารรับโอนทรัพย์

ราคาค่าเช่าทรัพย์ที่ตีโอนไป ธนาคารมีวิธีการคิดค่าเช่าอย่างไรบ้าง

ขึ้นอยู่กับการตกลงระหว่างลูกค้ากับธนาคาร

ลูกค้าสามารถซื้อทรัพย์คืนได้หรือไม่

ธนาคารจะให้สิทธิกับลูกค้าที่เป็นเจ้าของทรัพย์ในการซื้อทรัพย์คืนเป็นรายแรกในระยะเวลา 3-5 ปี นับจากวันรับโอนทรัพย์ โดยธนาคารไม่สามารถขายทรัพย์ให้กับลูกค้ารายอื่นได้ เว้นแต่ได้รับแจ้งว่าจะไม่ใช้สิทธิซื้อทรัพย์คืนเป็นหนังสือจากลูกค้า

มูลค่าการตีโอนทรัพย์ของธนาคารคิดอย่างไร

ตามการพิจารณาของธนาคาร ซึ่งขึ้นอยู่กับทรัพย์และ ภาระหนี้ โดยจะต้องไม่เกินกว่าเงินต้นในบัญชีสินเชื่อเพื่อธุรกิจที่มีกับธนาคาร

ราคาการซื้อทรัพย์คืน ธนาคารมีวิธีคิดอย่างไร

ต้นทุนรับโอน +ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาทรัพย์ที่ไว้กับธนาคาร โดยคิด 1% ของราคาที่รับโอน + ค่าใช้จ่ายในการดูแลทรัพย์ตามจริงตามระยะเวลาในการซื้อคืนไม่เกิน 3-5 ปี – ค่าเช่าที่ลูกหนี้จ่ายให้กับธนาคารตลอดสัญญา

ลูกค้าขอเข้าร่วมโครงการพักทรัพย์ พักหนี้ (Asset Warehousing) กับธนาคารกสิกรไทยแล้ว สามารถเข้าร่วมกับธนาคารอื่นได้อีกหรือไม่

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง