การเสด็จประพาสยุโรปของรัชกาลที่ 5

นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงริเริ่มการเสด็จเยือนต่างประเทศทั้งในทวีปเอเชียและยุโรปทั้งอย่างเป็นทางการและเป็นการส่วนพระองค์แล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศด้วยพระราชประสงค์เช่นเดียวกับพระราชบิดา คือ เสด็จไปเจริญพระราชไมตรีกับต่างประเทศกับการเสด็จไปรักษาพระวรกายของพระองค์ มิเพียงแต่เท่านั้นยังทรงขยายเส้นทางไปสู่อินโดจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและแคนาดา และทุกครั้งยังมีสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จเคียงคู่เสมอ

ในระยะเวลา 9 ปีแห่งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2468-2477) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ได้เสด็จประพาสต่างประเทศรวม 4 ครั้ง ดังนี้

การประพาสต่างประเทศครั้งที่ 1 ในปีที่ 5 ของการครองราชสมบัติ พ.ศ. 2472 ระหว่างวันที่ 31กรกฎาคม- 11 สิงหาคม พ.ศ.2472 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศสิงคโปร์ ชวา และบาหลี ซึ่งขณะนั้นอยู่ในการปกครองของประเทศอังกฤษ และเนเธอร์แลนด์ ทั้งนี้เพื่อเจริญทางพระราชไมตรีและทอดพระเนตรภูมิสถานบ้านเมืองและความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศเหล่านั้น

การประพาสต่างประเทศครั้งที่ 2 ในปีที่ 6 ของการครองราชสมบัติ ระหว่าง พ.ศ. 2473 ระหว่างวันที่ 6เมษายน –8 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน (เฉพาะส่วนที่เป็นประเทศเวียดนาม และกัมพูชาปัจจุบัน) ซึ่งขณะนั้นอยู่ในการปกครองของประเทศฝรั่งเศส เพื่อเจริญพระราชไมตรีและก้าวข้ามจากความบาดหมางทั้งกับเจ้านายพื้นเมืองเดิมและสร้างสัมพันธภาพที่ดีเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ทางการทูต

-การประพาสต่างประเทศครั้งที่ 3 ในปีที่ 7 ของการครองราชสมบัติ ระหว่างวันที่ 6 เมษายน – 28 กันยายน พ.ศ. 2474 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และแคนาดา การเสด็จฯครั้งนี้นอกจากเพื่อกระชับสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศแล้วยังเพื่อรักษาพระเนตรที่สหรัฐอเมริกาด้วย เป็นเวลานานถึง 3 เดือนเต็ม และในพระราชวโรกาสที่เสด็จฯถึงกรุงวอชิงตัน เมื่อวันที่28 เมษายน พ.ศ. 2474 นั้นเอง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานสัมภาษณ์หนังสือพิมพ์นิวยอร์ค ไทม์ แสดงพระราชประสงค์จะทรงจำกัดพระราชอำนาจของพระองค์ และพระราชทานอำนาจนั้นแก่ราษฎรในการปกครองประเทศในรูปแบบเทศบาลขึ้นก่อนเพื่อเป็นฐานก้าวไปสู่ระบอบประชาธิปไตยในโอกาสต่อไป

4 ในปีที่ 8-9 ของการครองราชสมบัติ และ ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ. 2475 แล้ว ทั้งสองพระองค์เสด็จประพาสยุโรป 9 ประเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศส อิตาลี (นครรัฐวาติกัน) อังกฤษ เดนมาร์ก เยอรมนี เบลเยี่ยม เชคโกสโลวาเกีย ฮังการี และสวิตเซอร์แลนด์ ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2476 เพื่อกระชับสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ และเพื่อทรงรักษาพระเนตรอีกครั้งในประเทศอังกฤษ จนกระทั่งถึงวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2477ซึ่งเป็นวันสละราชสมบัติ ณ ประเทศอังกฤษ

อาจกล่าวได้ว่าการเสด็จประพาสต่างประเทศ ทั้ง 4 ครั้งในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นเป็นไปเพื่อการเจริญสัมพันธไมตรี การทอดพระเนตรความเจริญของต่างประเทศเพื่อนำมาประยุกต์ในการพัฒนาประเทศสยามสืบต่อจากการปฏิรูปในสมัยรัชกาลที่ 5 อนึ่ง การเสด็จไปรักษาพระสุขภาพ โดยการผ่าตัดพระเนตรครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกาในพ.ศ. 2474 และรักษาพระเนตรครั้งที่ 2 และรักษาพระทนต์ในประเทศอังกฤษ พ.ศ.2476

ภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของทั้งสองพระองค์ในต่างประเทศสะท้อนให้เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงเคียงข้างกันทั้งในยามสุขและยามทุกข์ ทั้งการเสด็จประพาสในประเทศ ภูมิภาคต่างๆทั้งในประเทศ และต่างประเทศ จนกระทั่งวาระสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อ วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484

30 ก.ค. 2560 ครบรอบ 120 ปี ของการเสด็จเยือนอังกฤษของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มารู้จักทับโลว์คอร์ท (Taplow Court) คฤหาสน์ใกล้ลอนดอนที่รัชกาลที่ 5 พร้อมด้วยพระราชโอรส 11 พระองค์เสด็จไปประทับ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก โดยเรือพระที่นั่งมหาจักรี เสด็จจากท่าราชวรดิษฐ์เมื่อวันที่ 7 เม.ย. ร.ศ. 116 หรือ พ.ศ. 2440 รวมระยะเวลาเสด็จประพาสทั้งสิ้น 253 วัน การเสด็จประพาสครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่พระองค์ได้เสด็จไปเจริญพระราชไมตรีกับนานาประเทศกว่า 10 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประเทศเหล่านั้นได้รู้ว่าสยามเป็นประเทศกำลังพัฒนา เพื่อส่งเสริมความเป็นเอกราชของสยามท่ามกลางยุคล่าอาณานิคม

หนึ่งในประเทศปลายทางคืออังกฤษ โดยพระองค์เสด็จมาถึงกรุงลอนดอนวันที่ 30 ก.ค. 2440 เพื่อทรงร่วมเฉลิมฉลองพระราชพิธีพัชราภิเษก (ครองราชย์ครบ 60 ปี) ของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียของอังกฤษ และทรงประทับอยู่ที่พระราชวังบักกิงแฮมเป็นเวลา 1 สัปดาห์ก่อนเสด็จพระราชดำเนินต่อไปยังเมืองอื่น ๆ และเสด็จเยี่ยมพระราชโอรสหลายพระองค์ที่ทรงศึกษาอยู่ที่อังกฤษในขณะนั้นด้วย ข้อมูลจากคลังเอกสารระบุว่า พระองค์ตรัสภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้ล่ามแต่อย่างใด

หลังเสร็จสิ้นพระราชกรณียกิจในกรุงลอนดอนและเมืองอื่น ๆ พระองค์พร้อมด้วยพระราชโอรส 11 พระองค์เสด็จไปประทับอยู่ที่คฤหาสน์ทับโลว์คอร์ท (Taplow Court) ของวิลเลียมและเอ็ตตี เกรนเฟลล์ (ภายหลังดำรงยศลอร์ดและเลดี้เดสเบอระห์) ในเมืองเมเดนเฮด ตลอดช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อน และทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีพระราชพิธีฉลองวันคล้ายวันพระราชสมภพในวันที่ 22 กันยายน (วันคล้ายวันพระราชสมภพตรงกับวันที่ 21 กันยายน) ณ บริเวณสวนหน้าคฤหาสน์ โดยมีวงดุริยางค์ทหารเรือบรรเลงดนตรีตลอดงาน

นอกจากนี้พระองค์พระราชทานถ้วยทองให้แก่สโมสรกีฬาของโรงเรียนเซนต์นิโคลัส ซึ่งเป็นโรงเรียนท้องถิ่นในเขตทับโลว์ โดยถ้วยทองพระราชทานดังกล่าวถูกใช้เป็นถ้วยรางวัลสำหรับนักกีฬายอดเยี่ยมประจำปีของโรงเรียนต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้

ทั้งนี้ ชื่อของทับโลว์มีประวัติมายาวนาน โดยช่วงศตวรรษที่ 7 พื้นที่ตรงนี้เป็นสุสานชาวแองโกล-แซกซอน ต่อมาในช่วงศตวรรษที่ 11 มีหลักฐานปรากฏว่าเริ่มมีการสร้างคฤหาสน์หลายหลังบนพื้นที่ดังกล่าว ถัดมาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 มีการขุดสุสานและพบทรัพย์สมบัติจำนวนมาก ส่วนคฤหาสน์ทับโลว์คอร์ทนั้นถูกสร้างขึ้นช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ด้วยสถาปัตยกรรมวิกตอเรีย ต่อมาใน พ.ศ. 2395 (ค.ศ. 1852) ตระกูลเกรนเฟลล์ซื้อคฤหาสน์ทับโลว์คอร์ทไว้เพื่อใช้เป็นสถานที่สังสรรค์ของกลุ่มขุนนางและชนชั้นสูง และภายหลังได้ต่อเติมปรับปรุงโดยการตกแต่งภายนอกเป็นแบบสถาปัตยกรรมทิวดอร์ช่วงต้น ส่วนการตกแต่งภายในเป็นสถาปัตยกรรมโรมัน

คำบรรยายภาพ,

จากซ้ายไปขวา - เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร, พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ, เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย, เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ, พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ, เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์, เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร, พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์, พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์, พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร, พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช และ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

คำบรรยายภาพ,

คฤหาสน์ทับโลว์คอร์ทถูกสร้างขึ้นกลางศตวรรษที่ 19 ปัจจุบันเป็นสำนักงานใหญ่ของเอสจีไอ-ยูเค (SGI-UK) องค์กรด้านพุทธศาสนาของญี่ปุ่น

นับแต่ พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา ทับโลว์คอร์ทเป็นสำนักงานใหญ่ของเอสจีไอ-ยูเค (SGI-UK) องค์กรด้านพุทธศาสนาของญี่ปุ่น คฤหาสน์นี้กลายเป็นศูนย์พุทธศึกษาพร้อมห้องสมุดเกี่ยวกับพุทธศาสนาและปรัชญาเอเชียที่สำคัญแห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักร เมื่อปี 2534 ทับโลว์คอร์ท ถูกใช้เป็นสถานที่จัดงาน The Land of Gentle Smiles ซึ่งเป็นนิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

เนื่องในวาระครบรอบ 120 ปีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จพระราชดำเนินเยือนสถานที่แห่งนี้ สถานเอกอัครราชทูตไทยกรุงลอนดอนร่วมกับเอสจีไอ-ยูเค โดยการประสานงานของตัวแทนจากแองโกลไทยโซไซตี้จัดงานรำลึกความสัมพันธ์ของราชวงศ์ไทยและทับโลว์คอร์ท

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง