แผนการ จัดการ เรียน รู้ในศตวรรษที่ 21 ภาษาไทย

กระบวนการเรียนแบบบูรณาการ  ( Integrated Learning )
จากแนวทางการจัดการศึกษาและการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ปรากฏในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาตินั้น  จะเห็นได้ว่าเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญแก่ผู้เรียนมากขึ้น  เน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติและสามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตได้    การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อสนองตอบให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะดังกล่าวมีมากมายหลายกระบวนการ กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการเป็นวิธีการหนึ่งที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และเป็นการเรียนรู้ที่อาศัยความเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ เพื่อจะได้นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ทั้งในด้านความรู้  ทักษะ / กระบวนการเรียนรู้   และคุณธรรม  ตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา

การบูรณาการเป็นการผสมผสานประสบการณ์การเรียนรู้และอาจจะเป็นการผสมผสานเนื้อหาวิชา  วิชาต่างๆในหมวดวิชาเดียวกันหรือต่างหมวดวิชาให้มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ตลอดจนสามารถนำประสบการณ์ต่างๆที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงมีรายละเอียดโดยสังเขป   ดังนี้

  1. ทฤษฎีการเรียนรู้ในด้าน Cognitive ที่ใช้  Constructivism Approach  หลักสำคัญของ  Constructivism คือ  ผู้เรียนต้องสร้างความรู้เองโดยครูเป็นผู้ช่วย โดยจัดหาข้อมูลข่าวสารให้แก่ผู้เรียนหรือให้โอกาสผู้เรียนได้ค้นพบด้วยตนเอง  และเป็นผู้ลงมือกระทำและปฏิบัติการเรียนด้วยตนเอง
  2. ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของ Ausubel ทฤษฎีการเรียนรู้ของ  Ausubel  เน้นความสำคัญของการเรียนรู้อย่างมีความเข้าใจ  และมีความหมาย   การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้เชื่อมโยงสิ่งที่ได้เรียนรู้ใหม่เข้ากับความรู้เดิมที่อยู่ในสมอง
  3. การถ่ายโยงการเรียนรู้ ( Transfer of Learning ) การถ่ายโยงการเรียนรู้     หมายถึง  การนำสิ่งที่เรียนรู้แล้วไปใช้ในสถานการณ์ใหม่  การถ่ายโยงการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่สำคัญเพราะวัตถุประสงค์ของการศึกษาประการหนึ่งก็คือ การเตรียมผู้เรียนให้สามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ประโยชน์ในอนาคตทั้งในด้านการประกอบอาชีพ  และการแก้ปัญหารูปแบบต่างๆในชีวิตประจำวัน   จะช่วยให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของวิชาต่างๆ กับชีวิตจริงมากขึ้นตลอดจนมองเห็นประโยชน์ในสิ่งที่เรียนว่าสามารถนำไปใช้ได้

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ( Learning Integration ) อาจจัดได้  2  ลักษณะ  คือ

  1. การบูรณาการภายในวิชา ( Intradisciplinary Instruction ) เป็นการบูรณาการที่เกิด ขึ้น ภายในขอบเขตของเนื้อหาเดียวกัน  วิชาที่ใช้หลักการบูรณาการภายในวิชาเดียวกันมากที่สุด  คือวิชาภาษา  หรือกระบวนการทางภาษาซึ่งประกอบด้วยการฟัง  การพูด  การอ่าน  และการเขียน เนื่องจากมีความเกี่ยวพันกันหลายแบบนอกจากวิชาภาษาแล้วยังมีวิชาสังคมศึกษา วิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์  ก็ใช้หลักการเชื่อมโยงภายในวิชาได้
  2. การบูรณาการระหว่างวิชา ( Interdisciplinary Instruction ) เป็นการเชื่อมโยงหรือรวมศาสตร์ต่างๆตั้งแต่  2  สาขาวิชาขึ้นไปภายใต้หัวเรื่อง      (Theme )  เดียวกัน  เป็นการเรียนรู้โดยใช้ความรู้ความเข้าใจและทักษะในศาสตร์หรือความรู้ในวิชาต่างๆมากกว่า  1  วิชาขึ้นไป  เพื่อการแก้ปัญหาหรือการแสวงหาความรู้ความเข้าใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การเชื่อมโยงความรู้และทักษะระหว่างวิชาต่างๆ  จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้ง  ไม่ใช่เพียงผิวเผินและมีลักษณะใกล้เคียงกับชีวิตจริงมากที่สุด

ซึ่งการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการทั้ง  2  ลักษณะนั้น   สามารถจัดเป็นรูปแบบของการบูรณาการ           (Models of  Integration)  ได้  4  รูปแบบ  คือ

  1. บูรณาการแบบสอดแทรก (Infusion Instruction ) การจัดการเรียนการสอนตาม รูปแบบนี้ผู้สอนในวิชาหนึ่งสอดแทรกเนื้อหาของวิชาอื่นๆเข้าในการเรียนการสอนของตน เป็นการสอนตามแผนการสอนและประเมินผลโดยผู้สอนคนเดียว วิธีนี้ถึงแม้ว่าผู้เรียนจะเรียนจากผู้สอนคนเดียวแต่ก็สามารถมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างวิชาหรือกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆได้
  2. บูรณาการแบบขนาน ( Parallel Instruction )   การจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบ นี้  ผู้สอนตั้งแต่  2  คนขึ้นไปสอนต่างวิชากัน  ต่างคนต่างสอน แต่ต้องวางแผนเพื่อสอนร่วมกัน  โดยมุ่งสอนหัวเรื่อง /  ความคิดรวบยอด /  ปัญหาเดียวกัน ระบุสิ่งที่ทำร่วมกันและตัดสินใจร่วมกันว่าจะสอนหัวเรื่อง / ความคิดรวบยอด / ปัญหานั้นๆอย่างไร ในวิชาของแต่ละคนใครควรสอนก่อนหลังงานหรือการบ้านที่มอบหมายให้ผู้เรียนทำจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละวิชา แต่ทั้งหมดจะต้องมีหัวเรื่อง/ ความคิดรวบยอด / ปัญหาร่วมกัน การสอนแต่ละวิชาจะเสริมซึ่งกันและกันทำให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันระหว่างวิชาหรือกลุ่มสาระการเรียนรู้
  3. บูรณาการแบบสหวิทยาการ ( Multidisciplinary Instruction )    การจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบนี้คล้ายกับบูรณาการแบบขนานกล่าวคือ  ผู้สอนตั้งแต่  2  คนขึ้นไป  สอนต่างวิชากันมาวางแผนเพื่อสอนร่วมกัน  โดยกำหนดว่าจะสอนหัวเรื่อง /ความคิดรวบยอด / ปัญหาเดียวกัน  ต่างคนต่างแยกกันสอนตามแผนการสอนของตน  แต่มอบหมายให้ผู้เรียนทำงานหรือโครงงานร่วมกัน  ซึ่งจะช่วยเชื่อมโยงความรู้สาขาวิชาต่างๆเข้าด้วยกันจนสร้างชิ้นงานได้ ผู้สอนในแต่ละวิชาจะกำหนดเกณฑ์เพื่อประเมินผลชิ้นงานของผู้เรียนในส่วนวิชาที่ตนสอน
  4. บูรณาการแบบข้ามวิชา ( Transdisciplinary Instruction ) การจัดการเรียนการสอนรูปแบบนี้ผู้สอนที่สอนวิชาต่างๆร่วมกันวางแผน ปรึกษาหารือกำหนดหัวเรื่อง / ความคิดรวบยอด / ปัญหาเดียวกัน  จัดทำแผนการสอนร่วมกัน  แล้วร่วมกันสอนเป็นคณะ ( Team ) โดยดำเนินการสอนผู้เรียนกลุ่มเดียวกันมอบหมายงาน / โครงงานให้ผู้เรียนเรียนทำร่วมกัน  ผู้สอนทุกวิชากำหนดเกณฑ์เพื่อประเมินผลชิ้นงานของผู้เรียนร่วมกัน การเรียนการสอนแบบบูรณาการ   เป็นการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาศักยภาพของผู้เรียนได้อย่างหลากหลาย

อย่างไรก็ตามการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการสามารถสรุปได้ดังนี้

  1. สามารถตรวจสอบได้จากตัวชี้วัด คือ ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่ได้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างวิชาสามารถนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาได้  สามารถนำความรู้ไปใช้ในการสร้างชิ้นงาน  และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้\
  2. เกิดการถ่ายโยงการเรียนรู้ ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาในลักษณะองค์รวมมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างวิชาและลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหาในแต่ละวิชา
  3. ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง โดยใช้วิธีการผสมผสานกันระหว่างสาระความรู้ กระบวนการ คุณธรรม  และลักษณะอันพึงประสงค์  เป็นการเพิ่มศักยภาพของผู้เรียนอย่างไม่จำกัด  เพราะผู้เรียนได้  เรียนรู้วิธีการเรียนตลอดชีวิต
  4. ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายรูปแบบ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมกระบวนการคิด  การจัดการ   การเผชิญสถานการณ์   และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
  5. ส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับการปกครองระบอบประชาธิปไตย รู้จักการเคารพในสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่นโดยคำนึงถึงความคิดเห็นและผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง