องค์ประกอบของกระบวนการผลิต

          2.3  ค่าใช้จ่ายโรงงานหรือค่าโสหุ้ยในการผลิต (overhead cost) เป็นค่าใช้จ่ายที่นอกเหนือจากจากค่าใช้จ่ายของวัสดุและค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน เช่น ค่าสาธารณูปโภค, ค่าเช่าโรงงาน, ค่าบำรุงรักษาเครื่องจักร, สวัสดิการต่างๆ  เป็นต้น

         3)   ผลผลิต (Output) เป็นผลได้จากระบบการผลิตที่มีมูลค่าสูงกว่าปัจจัยนำเข้าที่รวมกันอันเนื่องมาจากที่ได้ผ่านกระบวนการแปลงสภาพ ผลผลิตแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ สินค้า (Goods) และบริการ (Service) 

ได้แก่ การเตรียมวัตถุดิบต่าง ๆ การนำส่วนประกอบต่าง ๆ เข้าด้วยกันการสร้างรูปทรง การตกแต่ง รูปทรงตลอดทั้งการบรรจุผลิตภัณฑ์เพื่อการจำหน่าย และส่วนที่เป็นผลผลิต (output) ได้แก่ ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป (products) ซึ่งผลผลิตจะออกมาในรูปของสินค้าหรือบริการ ซึ่งรวมเรียกว่า ระบบการผลิต
ระบบการผลิต
                  การผลิตเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดการสร้างสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้นมาจากการใช้ทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ การดำเนินการผลิตจะเป็นไปตามลำดับขั้นตอนของการกระทำก่อนหลัง กล่าวคือ จากวัตถุดิบที่มีอยู่จะถูกแปลงสภาพให้เป็นผลผลิตที่อยู่ในรูปตามต้องการ เพื่อให้การผลิตบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวนั้น จึงจำเป็นต้องมีการจัดการให้อยู่ในรูปของระบบการผลิต ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 3 ส่วน คือ ปัจจัยการผลิต (input) กระบวนการแปลงสภาพ (conversion process) และผลผลิต (output) ที่อาจเป็นสินค้า และบริการ  

          การผลิตที่มีประสิทธิภาพนั้น จะต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านปริมาณ คุณภาพ เวลา และราคา ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องนำมารวมไว้ในระบบการผลิต โดยมีการวางแผนและควบคุมการผลิตเป็นแกนกลาง กิจกรรมต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบการผลิตนั้นสามารถจำแนกได้เป็น 3 ขั้นตอน คือ การวางแผน (planning) การดำเนินงาน (operation) และการควบคุม (control)
          1. การวางแผน เป็นขั้นตอนของการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ และวางแผนการใช้ทรัพยากรให้ตรงตามเป้าหมายที่ต้องการ และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในแผนการผลิตจะกำหนดเป้าหมายย่อยไว้ในแผนกต่าง ๆ ในเทอมของเวลาที่กำหนดไว้ก่อนล่วงหน้า และจากเป้าหมายย่อย ๆ ที่ถูกกำหนดขึ้นเหล่านี้ ถ้าประสบผลสำเร็จก็จะส่งผลไปยังเป้าหมายที่ต้องการ
          2. การดำเนินงาน เป็นขั้นตอนของการดำเนินการ จะเริ่มต้นได้ก็ต่อเมื่อรายละเอียดต่าง ๆ ในขั้นตอนการวางแผนได้ถูกกำหนดไว้ในแผนการผลิตเรียบร้อยแล้ว
          3. การควบคุม เป็นขั้นตอนของการตรวจตราให้คำแนะนำและติดตามผลเกี่ยวกับการดำเนินงาน โดยใช้การป้อนกลับของข้อมูล (feed back information) ในทุก ๆ ขณะที่งานก้าวหน้าไป ผ่านกลไกการควบคุม (control mechanism) โดยที่กลไกนี้จะทำหน้าที่ปรับปรุงแผนงาน และเป้าหมายเพื่อให้เป็นที่เชื่อแน่ได้ว่าจะบรรลุเป้าหมายหลัก

ระบบการผลิตและการปฏิบัติการ
          ระบบการผลิตและการปฏิบัติการ ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ  5 ส่วน ซึ่งได้แก่ ปัจจัยนำเข้า (input) กระบวนการผลิตและแปลงสภาพ (production or conversion process) ผลได้ (output) ส่วนป้อนกลับ (feedback) และผลกระทบจากภายนอกที่เปลี่ยนแปลงโดยไม่ได้คาดหมาย  (random  fluctuations)

          ปัจจัยนำเข้า คือส่วนของทรัพยากรหรือสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการ ซึ่งโดยทั่วไปประกอบด้วย เงินทุน แรงงาน เครื่องจักร ที่ดิน วัตถุดิบ และความรู้ความสามารถในด้านการจัดการกระบวนการผลิตและแปลงสภาพ คือส่วนที่ทำหน้าที่นำเอาปัจจัยนำเข้ามาผลิต และแปลงสภาพเพื่อให้ได้เป็นสินค้าหรือบริการตามที่ต้องการ กระบวนการผลิตหรือแปลงสภาพประกอบด้วย วิธีการในการผลิตสินค้า วิธีการจัดลำดับการผลิต การวางแผนการผลิต การจัดสรรกำลังคนเพื่อการผลิต และอื่น ๆ ส่วนป้อนกลับ คือส่วนที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของกระบวนการ เพื่อให้การทำงานของระบบการผลิตบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ส่วนป้อนกลับนี้จะทำหน้าที่ประเมินผลได้ เช่น ปริมาณและคุณภาพของสินค้าที่ผลิตได้ นำมาเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่วางแผนไว้ จากผลการเปรียบเทียบจะนำไปสู่การปรับปัจจัยนำเข้าหรือกระบวนการผลิตหรือแปลงสภาพ  เพื่อสร้างผลได้ตามที่ต้องการออกมา

          การเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้คาดหมาย ระบบการผลิตและการปฏิบัติการใด ๆ เมื่อดำเนินการอยู่อาจมีการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้คาดหมายแต่มีผลกระทบต่อการดำเนินการ โดยทั่วไปการเปลี่ยนแปลงนี้จะมาจากภายนอกระบบหรือนอกองค์การ และอยู่นอกเหนืออำนาจการควบคุมของผู้บริหาร ตัวอย่างเช่น สภาพการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ อุบัติเหตุและภัยธรรมชาติ การขัดข้องเสียหายของเครื่องจักร เหล่านี้เป็นต้น


ประเภทของระบบการผลิต (division of production system) 

ระบบการผลิตอุตสาหกรรม แบ่งออกเป็นระบบใหญ่ ๆ ได้ 2 ระบบ คือ

          1. ระบบการผลิตแบบช่วงตอน (intermittent production system)  
          2. ระบบการผลิตแบบต่อเนื่อง (continuous production system)

ระบบการผลิตแบบช่วงตอน (intermittent production system)  
 ระบบการผลิตแบบช่วงตอน เป็นการผลิตแบบไม่สม่ำเสมอ หรือผลิตตามคำสั่งของลูกค้า (order manufacturing) เป็นการผลิตที่วัตถุดิบไม่เลื่อนไหลไปตามสายการผลิต การผลิตจะผลิตเป็นช่วง ๆ หรือเป็นตอน  เมื่อดำเนินการผลิตครบทุกกิจกรรมการผลิต ก็จะได้ชิ้นงานหรือผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปขึ้นมา เช่น การกลึงชิ้นงาน งานผลิตงานก่อสร้าง การผลิตโต๊ะเกาอี้ เป็นต้น การผลิตแบบช่วงตอนนี้ ระบบการผลิตเป็นไปตามความเหมาะสมของผู้ดำเนินงานการติดตั้งเครื่องจักร ก็จะติดตั้งตามกรรมวิธีการผลิต จึงเป็นผลทำให้มีความต้องการการใช้พื้นที่ในการเก็บวัสดุในการผลิตมากขึ้น ทั้งนี้เพราะการผลิตระบบนี้มีจุดพักงานหลายจุดและในการผลิตแบบนี้ผู้ผลิตจะต้องกำหนดวิธีการขนย้ายวัสดุให้เหมาะสมจึงจะทำให้การผลิตมีประสิทธิภาพและในการวางระบบการผลิตแบบช่วงตอนนี้จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพนี้ผู้ผลิตจะต้องกำหนดแนวทางการผังโรงงาน ให้สอดคล้องกับระบบการผลิตด้วย  การวางผังโรงงานที่เหมาะสมกับระบบการผลิตแบบช่วงตอนนี้ คือ การวางผังโรงงานแบบตามกระบวนการผลิต (process layout)

ลักษณะการผลิตแบบช่วงตอน มีลักษณะดังนี้
          1. มีอุปกรณ์และกระบวนการผลิตที่ยืดหยุ่น (flexible) ได้สามารถผลิตสินค้าได้หลายแบบ
          2. ลักษณะของปัจจัยการผลิตจะเปลี่ยนแปลงไปเสมอตามลักษณะงานแต่ละชิ้น
          3. ลักษณะการผลิต จะเปลี่ยนแปลงไปเสมอตามลักษณะงานแต่ละชิ้น  
          4. การไหลหรือการเคลื่อนย้ายของงานจะไม่ติดต่อกัน มักจะมีการพักวัตถุดิบหรือรอคอยวัตถุดิบการผลิตทุกจุดปฏิบัติงาน
          5. คนงานที่ปฏิบัติงาน จะต้องมีความสามารถในระดับปานกลางไปจนถึงระดับสูง

ระบบการผลิตแบบต่อเนื่อง (continuous production system)
          ระบบการผลิตแบบต่อเนื่อง เป็นระบบที่มีการไหลของวัตถุดิบต่อเนื่องตามสายการผลิต (line production) เช่น โรงพิมพ์ พิมพ์หนังสือ โรงงานผลิตอาหารกระป๋อง การผลิตแก้วของโรงงานผลิตแก้ว  บุหรี่ ไม้อัด น้ำตาล เป็นต้น  ลักษณะที่ดีของระบบการผลิตต่อเนื่องก็คือใช้พื้นที่ในโรงงานได้ประโยชน์คุ้มค่าเต็มประสิทธิภาพ เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่ใช้เป็นพื้นที่ในกระบวนการผลิตของสายการผลิตเหลือพื้นที่ในการเก็บวุตถุดิบเล็กน้อย และการขนย้ายวัตถุดิบในสายการผลิต ก็จะใช้การขนย้ายแบบตายตัว เช่น ใช้สายพาน (conveyers) ขนย้ายวัตถุดิบในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในระบบการผลิตแบบต่อเนื่อง ผู้ผลิตจะต้องวางผังโรงงานให้สอดคล้องกับระบบการผลิต ผังของโรงงานอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับระบบการผลิตแบบต่อเนื่องที่ใช้กันมากก็คือ การวางผังโรงงานแบบชนิดของผลิตภัณฑ์ (product layout)

ลักษณะการผลิตแบบต่อเนื่อง มีลักษณะการผลิตดังนี้
          1. มีอุปกรณ์และกระบวนการผลิตมาตรฐาน
          2. ลักษณะของปัจจัยการผลิต จะมีมาตรฐานแน่นอนไม่เปลี่ยนแปลงชนิดหรือส่วนประกอบ
          3. ลำดับการผลิตแน่นอน
          4. การไหลหรือการเคลื่อนย้ายของงานมักจะใช้สายพาน (conveyor belts)
          5. การป้อนงานเข้าหน่วยผลิตแต่ละหน่วย จะใช้กฎเกณฑ์ตามลำดับมาก่อนเข้าก่อน
          6. ผลิตสินค้ามาตรฐานได้ทีละมาก ๆ (mass production)



สรุป

           ระบบการผลิตโดยทั่วไปจะประกอบด้วย องค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ คือ (1) ปัจจัยการผลิต (input) ซึ่งได้แก่ คน วัตถุดิบ เครื่องมือ เครื่องจักร หลังงานและอื่น ๆ (2) กระบวนการผลิต (process) คือการนำวัตถุดิบมาเปลี่ยนรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น การประกอบรถยนต์ การขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ การตกแต่ง เป็นต้น ก่อนที่จะออกมาเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ถือว่าเป็นกระบวนการผลิตทั้งหมด และ (3) ผลผลิต (output) ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการผลิตขั้นสุดท้ายและออกมาเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่เตรียมจำหน่าย เมื่อจะมีการผลิตสินค้าใดสินค้าหนึ่ง ผู้ผลิตก็จะนำองค์ประกอบของระบบการผลิตมาเข้าสู่ระบบการผลิต ซึ่งระบบการผลิตมีด้วยกัน 2 ระบบ คือ

           1. ระบบการผลิตแบบช่วงตอน (intermittent production system) เป็นการผลิตที่ไม่เป็นไปตามสายการผลิตเมื่อมีการดำเนินการผลิตชิ้นส่วนครบทุกชิ้นส่วน  ก็จะนำมาประกอบกันเป็นสินค้า
           2. ระบบการผลิตแบบต่อเนื่อง (continuous production system) เป็นระบบที่มีการจัดระบบการผลิตไว้อย่างเป็นระบบการผลิตไว้อย่างเป็นระบบมีการผลิตตามขั้นตอนการผลิต และจัดแผนการผลิตไว้เป็นลำดับ ตั้งแต่เริ่มต้น จนสิ้นสุดสำเร็จออกมาเป็นสินค้าสำเร็จรูป (products) ในการที่ดำเนินกิจกรรมการผลิต ตั้งแต่เริ่มจนสำเร็จออกมาเป็นสินค้าสำเร็จรูปนั้น ถือว่าเป็นระบบการแปรสภาพวัตถุดิบในกระบวนการผลิตให้ออกมาเป็นสินค้าและบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการมนุษย์ ซึ่งมีด้วยกัน 3 ลักษณะ คือ
                        2.1 การแปรสภาพการผลิตแบบต่อเนื่อง
                        2.2 การแปรสภาพการผลิตแบบขนาน
                        2.3 การแปรสภาพการผลิตแบบผสม

           การแปรสภาพการผลิตแบบต่อเนื่อง เป็นการผลิตที่มีสายการผลิตสายเดียว จากวัตถุดิบผ่านเข้าสู่กระบวนการผลิตขั้นที่ 1 ขั้นที่ 2 ขั้นที่ 3 ไปจนสิ้นสุดกระบวนการผลิตขั้นสุดท้าย ก็จะสำเร็จออกมาเป็นสินค้าสำเร็จรูปการแปรสภาพการผลิตแบบขนาน เป็นการแปรสภาพการผลิตแบบต่อเนื่องอย่างหนึ่ง แต่มีสายการผลิตมากกว่าหนึ่งสาย และก่อนที่จะสำเร็จออกมาเป็นสินค้าสำเร็จรูปนั้น ก็จะนำวัตถุดิบของแต่ละสายการผลิตมาประกอบกันเป็นสินค้าสำเร็จรูปการแปรสภาพแบบผสม เป็นการผลิตที่ใช้ทั้งระบบการผลิตแบบอนุกรม และแบบขนานในการผลิตสินค้า โดยในบางช่วงของการผลิตจะใช้การผลิตแบบต่อเนื่องกันไป และในบางช่วงของการผลิตก็อาจจะผลิตแบบขนาน หรือสายการผลิตหลากหลายผลิต แล้วนำมาประกอบกันทีหลังก่อนสำเร็จเป็นสินค้าสำเร็จรูป
           3. การจัดทำสายการผลิตให้สมดุลย์ (assembly line balancing) จุดมุ่งหมายของการทำสายการผลิตให้สมดุลย์เพื่อจับกลุ่มงานเข้าด้วยกัน และคำนึงถึงเวลาที่ต้องใช้ ณ จุดนั้น ๆ จะเป็นการลดเวลาที่สูญเปล่า (idle time) ในสายการผลิตลงได้ และจะเป็นการใช้ประโยชน์จากแรงงาน และเครื่องมือให้เกิดประโยชน์สูงสุด การทำสายการผลิตให้สมดุลย์นี้จะมีอุปสรรคในกรณีที่เราไม่สามารถจะรวมกิจกรรมการผลิตในขั้นตอนต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน เพราะว่าในการผลิตแต่ละขั้นตอนจะใช้เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ที่แตกต่างกัน และระยะเวลาการผลิตในแต่ละขั้นตอนก็ใช้เวลาต่างกัน อีกทั้งเทคโนโลยีที่ใช้ก็ต่างกันด้วย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง