การวางตำแหน่งทางการตลาด positioning เกี่ยวข้องกับ

การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ เป็นแนวทางที่ผลิตภัณฑ์นั้นถูกกำหนดขึ้นมาโดยผู้บริโภคเองตามคุณสมบัติที่เด่นๆ ของตัวผลิตภัณฑ์นั้น เป็นการจัดวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ในใจผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในตัวผลิตภัณฑ์นั้น ในการวางตำแหน่งจะเกี่ยวข้องกับการปลูกฝังจิตใจผู้บริโภคในประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับทั้งยังทำให้เห็นถึงความแตกต่างจากตราผลิตภัณฑ์นั้นจากคู่แข่งขัน เช่น

     

ตลาดรถยนต์โตโยต้า (Toyota) ถูกวางตำแหน่งไว้ที่ความประหยัด

     

รถยนต์เมอร์ซิเดส (Mercedes) และ คาดิลแล็ก (Cadillac) ถูกวางตำแหน่งไว้ที่ความหรูหรา

     

รถยนต์วอลโว่ (Volvo) ถูกวางตำแหน่งไว้ที่ความแข็งแกร่งและความปลอดภัย

     

รถยนต์บีเอ็มดับเบิ้ลยู (BMW) และรถยนต์พอร์ชหรือพอเช่ร์ (Porche) ถูกวางตำแหน่งไว้ที่สมรรถนะ      

การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ (Product Positioning) 

ตำแหน่งผลิตภัณฑ์ (Product Position) หมายถึง การรับรู้ของผู้บริโภคในเชิงความรู้สึกนักคิดหรือทัศนคติต่อสินค้าหรือบริการขององค์กรเมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าหรือบริการของคู่แข่งขัน

การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ (Product Positioning)

เป็นกระบวนการทางการตลาดเพื่อสร้างและรักษาแนวความคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของธุรกิจให้เกิดขึ้นในจิตใจของลูกค้าเมื่อเทียบกับตราสินค้าของคู่แข่งขันซึ่งต้องอาศัยกระบวนการสื่อสารทางการตลาดโดยการดึงจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ (Unique Selling Proposition: USP) มาใช้ในการสื่อสารตอกย้ำให้เกิดเป็นภาพลักษณ์ที่เป็นที่จดจำและโดดเด่นเมื่อผู้บริโภคนึกถึงผลิตัณฑ์ของบริษัทในเชิงเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ของคู่แข่ง โดยการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์นั้นอาจสามารถทำได้โดย

  • การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ตามคุณลักษณะภายนอกที่สังเกตเห็นได้ของผลิตภัณฑ์ เช่น ขนาด ความเก่าแก่ของตรายี่ห้อ
  • การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ตามผลประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ
  • การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ตามคุณลักษณะของลูกค้า
  • การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ตามความเหนือกว่าในเชิงเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน
  • การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ตามประเภทของผลิตภัณฑ์
  • การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ตามคุณสมบัติ คุณภาพ และราคา ของผลิตภัณฑ์

    เป็นการจัดผลิตภัณฑ์ให้มีความแตกต่าง ชัดเจน และตรงความต้องการ โดยเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ของบริษัทกับผลิตภัณฑ์คู่แข่งขัน ให้อยู่ในจิตใจของผู้บริโภค โดยจะต้องระบุความได้เปรียบ หรือความแตกต่างทางการแข่งขัน (เป็นการพิจารณาคุณลักษณะเด่นของตัวผลิตภัณฑ์ที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน) ซึ่งพิจารณาได้จากคุณลักษณะต่างๆ ดังนี้

    1.ความแตกต่างด้านผลิตภัณฑ์(Product Differentiation) เป็นการพิจารณาคุณลักษณะเด่นของตัวผลิตภัณฑ์ที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากคุณลักษณะต่างๆ ดังนี้

            -รูปแบบ                            -ราคา

            -คุณสมบัติ                         -ความน่าเชื่อถือ

            -ความคงทน                       -คุณภาพ

    2.ความแตกต่างด้านบริการ (Service Differentiation) เป็นการกำหนดตำแหน่งทางการตลาดให้แก่ผลิตภัณฑ์ โดยเน้นที่การให้บริการเหนือกว่าคู่แข่งขัน ซึ่งพิจารณาดังนี้

            -ความรวดเร็ว                        -การบริการจัดส่งสินค้า

            -การรับประกัน                       -การฝึกอบรมหรือให้คำปรึกษาแก่ลูกค้า

            -การบริการติดตั้ง                   -การบริการบำรุงรักษาและซ่อมแซม

    3.ความแตกต่างด้านบุคคล(Personnel Differentiation) เป็นการกำหนดตำแหน่งทางการตลาดโดยพิจารณาจากความสามารถของบุคลากรในองค์กร โดยทั่วไปนิยมใช้กับผลิตภัณฑ์ประเภทบริการ ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากคุณลักษณะต่างๆ ดังนี้

            -ความรู้ความสามารถของบุคลากร        -ความซื่อสัตย์สามารถไว้วางใจได้

            -ประสบการณ์และความชำนาญ            -การดูแลเอาใจใส่ลูกค้า

            -ความน่าเชื่อถือ                               -การติดต่อสื่อสารกับลูกค้า

    4.ความแตกต่างด้านภาพลักษณ์ (Image Differentiation) เป็นการกำหนดตำแหน่งทางการตลาดโดยนำเอาภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์หรือองค์กรมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความแตกต่างทางการแข่งขัน ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากคุณลักษณะต่างๆ ดังนี้

            -สัญลักษณ์                    -การจัดเหตุการพิเศษ

            -สื่อ                              -ที่มาของผลิตภัณฑ์

            -บรรยากาศ

    สรุปได้ว่า STP Marketing หมายถึง การจัดผลิตภัณฑ์และส่วนประสมทางการตลาดที่แตกต่างกันเพื่อสนองความต้องการของตลาดที่มีลักษณะและความต้องการที่แตกต่างกัน แบ่งออก 3 ส่วน คือ

    1.การแบ่งส่วนตลาด (Market Segmentation)

    2.การเลือกตามเป้าหมาย (Market Targeting)

    3.การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ (Market Positioning)

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง