การติดเครื่องหมายชุดปกติขาว

     ข่าวประชาสัมพันธ์ 

    การประดับเข็มที่ระลึกตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

    สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ประชาสัมพันธ์การประดับเข็มที่ระลึกตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

    - เครื่องแบบข้าราชการ ปกติขาว/เต็มยศ 

    บุุรุษ ให้ประดับที่อกเสื้อเบื้องขวา เหนือปากกระเป๋าเสื้อ 

    สตรี ให้ประดับที่อกเสื้อเบื้องขวา

    - เครื่องแบบข้าราชการ สีกากี

    ให้ประดับที่อกเสื้อด้านขวา เหนือป้ายชื่อ ทั้งบุรุษ และสตรี

    - ชุดสุภาพ ชุดผ้าไทย ชุดสากลนิยม 

    ให้ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย ทั้งบุรุษ และสตรี

    - ชุดสูทสากล 

    ให้ประดับที่รังดุมคอพับ ของเสื้อชั้นนอกเบื้องซ้าย ทั้งบุรุษ และสตรี

    ที่มาข้อมูล 

    : กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กองกลาง สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

    จำนวนการเข้าชม 253,616 ครั้ง  

    ความรู้เกี่ยวกับเครื่องแบบพิธีการ (ชุดขาวข้าราชการ)

    1. ชุดปกติขาว (กางเกงขาว+เสื้อขาว)
         ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อเหนือกระเป๋าบนซ้าย 
         ชาย ให้ใช้เสื้อแบบราชการสีขาว ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้าง ติดเครื่องหมายแสดงประเภทที่อกเสื้อด้านขวา ใช้ดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดใหญ่ 5 ดุม ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อเหนือกระเป๋าบนซ้าย 
         หญิง ให้ใช้เสื้อนอกคอแบะสีขาวแบบคอแหลมหรือคอป้าน แขนยาวถึงข้อมือ มีตะเข็บหลัง 4 ตะเข็บ ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้าง ติดเครื่องหมายแสดงประเภทที่อกเสื้อด้านขวา ที่แนวสาบอกมีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 เซนติเมตร 3 ดุม สำหรับแบบเสื้อคอแหลม และดุม 5 ดุม สำหรับแบบเสื้อคอป้าน มีกระเป๋าล่างข้างละ 1 กระเป๋า เป็นกระเป๋าเจาะเฉียงเล็กน้อยไม่มีใบปกกระเป๋า และให้ใช้เสื้อคอพับแขนยาวสีขาวผูกผ้าผูกคอสีดำเงื่อนกะลาสี ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้ประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อด้านซ้าย 

    2. ปกติขาวครึ่งยศ (กางเกงดำ-เสื้อขาว) + เครื่องราชฯ 
    ลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบปกติขาว เว้นแต่กางเกงหรือกระโปรง ให้ใช้ผ้าสักหลาดหรือเสิร์จสีดำ ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ 

    3. ปกติขาวเต็มยศ (กางเกงดำ-เสื้อขาว) + เครื่องราชฯ สายสะพาย (ถ้ามี) นิยมแต่งในวัน 5 ธันวามหาราช
    ลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบครึ่งยศสวมสายสะพาย

    ความรู้เกี่ยวกับเครื่องแบบปฏิบัติราชการ (ชุดสีกากี)

                    เครื่องแบบเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นซึ่งกฎกระทรวงฉบับที่  11  (พ.ศ. 2542)  ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น  พ.ศ. 2509  ได้ระบุไว้ดังนี้

                    เครื่องแบบปฏิบัติราชการ  (ชุดสีกากี)  มี  2  ประเภท

                                    1. เครื่องแบบสีกากีคอพับ (แขนยาว / แขนสั้น)                 

                                    2. เครื่องแบบสีกากีคอแบะ

    ภาพที่ 1 : ตัวอย่างเครื่องแบบกากีคอพับ  (แขนยาว / แขนสั้น)

    ภาพที่ 2 : ตัวอย่างเครื่องแบบกากีคอแบะ

     ความรู้เกี่ยวกับเครื่องแบบพิธีการ  (ชุดขาวข้าราชการ)

                    เครื่องแบบพิธีการมี  5  ประเภท

    1.       เครื่องแบบปกติขาว

    2.       เครื่องแบบปกติกากีคอตั้ง

    3.       เครื่องแบบครึ่งยศ

    4.       เครื่องแบบเต็มยศ

    5.       เครื่องแบบสโมสร

                    ในที่นี้พูดถึงเฉพาะเครื่องแบบที่พบเห็นกันบ่อยๆ  มีดังนี้

    1. เครื่องแบบปกติขาว  (กางเกงขาว + เสื้อขาว)  ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อเหนือกระเป๋าบนซ้าย

    ชาย  ให้ใช้เสื้อแบบราชการสีขาว  ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้าง  ติดเครื่องหมายแสดงประเภทที่อกเสื้อด้านขวา  ให้ดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดใหญ่  5  ดุม  ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ประดับแพรแถบเครื่องราชฯที่อกเสื้อเหนือกระเป๋าบนซ้าย

    หญิง  ให้ใช้เสื้อนอกคอแบะสีขาวแบบคอแหลมหรือคอป้าน  แขนยาวถึงข้อมือ  มีตะเข็บหลัง  4  ตะเข็บ  ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้าง  ติดเครื่องหมายแสดงประเภทที่อกเสื้อด้านขวา  ที่แนวสาบอกมีกระดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์  ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง  1.5  เซนติเมตร  3  ดุมสำหรับแบบเสื้อคอแหลม  และดุม  5   ดุมสำหรับแบบเสื้อคอป้าน  มีกระเป่าล่างข้างละ  1  กระเป๋า  เป็นกระเป๋าเจาะเฉียงเล็กน้อยไม่มีใบกระเป๋า  และให้ใช้เสื้อคอพับแขนยาวผูกผ้าผูกคอสีดำเงื่อกะลาสี  ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ประดับแพรแถบ  เครื่องราชฯที่อกเสื้อด้านซ้าย

    ภาพที่ 3 : ตัวอย่างเครื่องแบบปกติขาว

    2.     เครื่องแบบเครื่องยศ  หรือปกติขาวครึ่งยศ  (กางเกงดำ + เสื้อขาว)  เครื่องราชฯลักษณะ  และส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบปกติขาว  เว้นแต่กางเกงหรือกระโปรง  ให้ใช้ผ้าสักหลาดหรือเสิร์จสีดำประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์

    ภาพที่ 4 : ตัวอย่างเครื่องแบบครึ่งยศ

    3.     เครื่องแบบเต็มยศ  (กางเกงดำ + เสื้อขาว)  เครื่องราชอิสริยาภรณ์  สายสะพาย  (ถ้ามี)

    นิยมแต่งในวันที่  5  ธันวามหาราช  ลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบครึ่งยศ  สวมสายสะพาย

    ภาพที่ 5 : ตัวอย่างเครื่องแบบเต็มยศ

    การประดับเครื่องหมายข้าราชการส่วนท้องถิ่น

    ภาพที่ 6 : ภาพรวมการแต่งกายข้าราชการส่วนท้องถิ่น

    จากภาพตามโมเดลข้างบนนี้  เป็นภาพรวมการแต่งกายข้าราชการส่วนท้องถิ่น  หรือการประดับเครื่องหมายข้าราชการ  สำหรับข้าราชการใหม่ทุกท่านอาจจะได้มองเห็นการแต่งกายที่ถูกต้องตามกฎกระทรวงฉบับที่  11 (พ.ศ. 2542)  ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบเจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น  พ.ศ. 2509  ซึ่งโมเดลเป็นตัวอย่างเครื่องแบบข้าราชการกระทรวงมหาดไทย  ซึ่งในแต่ละกระทรวงจะมีวามแตกต่างกันในส่วนของเครื่องหมายแสดงสังกัดนั่นเอง  สามารถอธิบายตามโมเดลได้ดังนี้

    1.             เสื้อ (ชาย-หญิง)  เสื้อสีกากีคอพับแขนยาวมีกระเป๋าหน้าอกข้างละ  1  กระเป๋ามีแถบอยู่ตรงกลางตามแนวดิ่งใบปกกระเป๋ารูปมน  ชายกลางแหลมตัวเสื้อผ่าอกตลอด  ติดกระดุมตามแนวอกเสื้อ  6  เม็ด  (รวมกระดุมคอเม็ดบนสุด)  ไม่มีจีบด้านหลัง

    2.             กางเกง  และกระโปรง

    2.1      กางเกงสีกากี  ขายาว  ขาตรง  ไม่มีลวดลาย  ไม่พับปลายขา  กระเป๋าข้างตรง  มีซิปด้านหน้าหรือด้านข้าง  มีจีบหน้า  หรือไม่มีก็ได้

    2.2      กระโปรงสีกากี  ยาวปิดเข่า  ปลายบานเล็กน้อยห้ามปลายบานเป็นสุ่ม  หรือตัดปลายยาวครึ่งน่อง  มีตะเข็บหน้า  2  ตะเข็บ  ตะเข็บหลัง  2  ตะเข็บ  หรือไม่มีก็ได้  แต่ห้ามจีบรอบ

                                    หมายเหตุ : การแต่งกายชุดสีกากี  เป็นการแต่งกายของข้าราชการตามระเบียบสำนักนายก  รัฐมนตรีเป็นระเบียบคนละฉบับ  ชุดปกติขาวไม่ใช่ข้าราชการก็แต่งได้

    3 .     ป้ายชื่อ

    ภาพที่ 7 : ป้ายชื่อสีดำ

    ป้ายชื่อพื้นที่ดำ  แสดงชื่อตัวเอง  ไม่มีคำนำหน้า  ชื่อสกุล  และชื่อตำแหน่ง  ไม่มีสัญลักษณ์และขอบขาว  ติดที่หน้าอกเสื้อเหนือกระเป๋าด้านขวาประมาณ  0.5  เซนติเมตร

    4.      เข็มขัด  ทำด้วยโลหะสีทอง  เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าทางนอนกว้าง  3.5  เซนติเมตร  ยาว  5  เซนติเมตร  มีครุฑอยู่ตรงกลางหัวเข็มขัด  ขณะคาดเข็มขัดห้ามคาดเข็มขัดปล่อยชายยาว  ปลายเข็มขัดควรโผล่เฉพาะที่หุ้มด้วยโลหะเท่านั้น  หรือไม่ก็สอดซ่อนปลายไว้

    ภาพที่ 8 : เข็มขัด

    5.      เครื่องหมายแสดงสังกัด  จะมีความแตกต่างกันในแต่ละกระทรวงในส่วนของกระทรวงมหาดไทย  จะมีลักษณะทำด้วยโลหะโปร่งสีทอง  เป็นรูปตราราชสีห์  (ห้ามเคลือบพลาสติก)  ติดบริเวณคอเสื้อทั้งสองข้างหันเข้าหากันติดกลางปกเสื้อ

    ภาพที่ 9 : เครื่องหมายแสดงสังกัด

    6.      รองเท้า 

    ชาย : เป็นรองเท้าหุ้มส้น  หรือหุ้มข้อ  ทำด้วยหนังหรือวัสดุเทียมหนังสีดำ  หรือสีน้ำตาล  ไม่มีลวดลาย  ถุงเท้าสีเดียวกับรองเท้า

    หญิง : เป็นรองเท้าหุ้มส้นปิดปลายเท้า  หรือรัดส้นปิดปลายเท้า  ทำด้วยหนังหรือวัสดุเทียมหนังสีดำ  หรือสีน้ำตาล  ไม่มีลวดลาย  ส้นสูงไม่เกิน  10  เซนติเมตร  ถุงเท้ายาวสีเนื้อ

    ความรู้เกี่ยวกับแพรแถบเหรียญที่ระลึก  (แพรแถบสี)

                    หลายคนคงเคยสงสัยเวลาที่เห็นเครื่องแบบราชการพลเรือน  หรือข้าราชการส่วนท้องถิ่นบริเวณอกด้านซ้ายจะมีแถบสีลักษณะต่างกันออกไป  แถบสีนั้นเรียกว่า  แพรแถบย่อ”  ซึ่งจะกี่ชั้น  ชั้นละกี่เหรียญก็ตามแต่  ซึ่งโดยทั่วไปจะมีชั้นละ  3  เหรียญ  แพรแถบทำด้วยผ้าแพรแถบ  ไม่มีพลาสติกหุ้มติดที่หน้าอกเหนือกระเป๋าด้านซ้ายประมาณ  0.5  เซนติเมตร  ในตอนต้นนี้จะกล่าวถึงแพนแถบย่อเหรียญที่ระลึกก่อนเพราะถือเป็นแพรแถบขั้นต้นที่สามารถปรับระดับได้  เหรียญที่ระลึกเนื่องในวโรกาสต่างๆ  จะใช้ประดับชุดปกติขาวในงานพิธีการหรือชุดปฏิบัติงาน  (ชุดกากี)

    ภาพที่ 10 : แพรแถบสี

    อินทรธนูเครื่องแบบปฏิบัติราชการ  (สีกากี)  ของข้าราชการส่วนท้องถิ่น

    ภาพที่ 11 : อินทรธนูเครื่องแบบปฏิบัติราชการ  (สีกากี)  ระดับซี 1

    ระดับซี  1  เครื่องแบบปฏิบัติราชการ  (ชุดกากี)  2  แถบเล็ก  อย่างบาง  แถบบนขมวด

    ภาพที่ 12 : อินทรธนูเครื่องแบบปฏิบัติราชการ  (สีกากี)  ระดับซี 2

    ระดับซี  2  เครื่องแบบปฏิบัติราชการ  (ชุดกากี)  1  แถบเล็ก  แถบบนขมวด

    ภาพที่ 13 : อินทรธนูเครื่องแบบปฏิบัติราชการ  (สีกากี)  ระดับซี 3-4

    ระดับซี  3-4  เครื่องแบบปฏิบัติราชการ  (ชุดกากี) 2  แถบเล็ก  แถบบนขมวด

    ภาพที่ 14 : อินทรธนูเครื่องแบบปฏิบัติราชการ  (สีกากี)  ระดับซี 5-6

    ระดับซี  5-6  เครื่องแบบปฏิบัติราชการ  (ชุดกากี)  3  แถบเล็ก  แถบบนขมวด

    ภาพที่ 15 : อินทรธนูเครื่องแบบปฏิบัติราชการ  (สีกากี)  ระดับซี 7-8

    ระดับซี  7  -8  เครื่องแบบปฏิบัติราชการ  (ชุดกากี)  1  แถบใหญ่  แถบบนขมวด

    ภาพที่ 16 : อินทรธนูเครื่องแบบปฏิบัติราชการ  (สีกากี)  ระดับซี 9ขึ้นไป

    ระดับซี  9ขึ้นไป  เครื่องแบบปฏิบัติราชการ  (ชุดกากี)  1  แถบใหญ่  แถบบนขมวด  เพิ่มครุฑพ่าห์

    อินทรธนูเครื่องแบบปฏิบัติราชการ  (สีกากี)  ของลูกจ้างประจำ

                                    ลูกจ้างประจำผู้ที่มีอัตราค่าจ้างเท่ากับเงินเดือนขั้นต่ำของข้าราชการ  ระดับ  1  :  เครื่องแบบปฏิบัติการ  (ชุดกากี)  2  แถบเล็กอย่างบาง  กว้าง  5  มิลลิเมตร  แถบบนขมวดกลมไม่ตวัดปลาย


    ภาพที่ 17 : อินทรธนูเครื่องแบบปฏิบัติราชการ  (สีกากี)  ของลูกจ้างประจำ ระดับซี 1-2

                                    ลูกจ้างประจำที่มีอัตราค่าจ้างเท่ากับเงินเดือนขั้นต่ำของข้าราชการระดับ  2  เครื่องแบบปฏิบัติการราชการ  (ชุดกากี)  1  แถบ  กว้าง 1  เซนติเมตรอย่างอ่อน  แถบบนขมวดไม่ตวัดปลาย

    ภาพที่ 18 : อินทรธนูเครื่องแบบปฏิบัติราชการ  (สีกากี)  ของลูกจ้างประจำ ระดับซี 3-4

                                    ลูกจ้างประจำที่มีอัตราค่าจ้างเท่ากับเงินเดือนขั้นต่ำของข้าราชการ  ระดับ  3 และ  4 เครื่องแบบปฏิบัติการ (ชุดกากี)  2แถบเล็กอย่างอ่อน  แถบบนขมวดกลมไม่ตวัดปลาย

    ภาพที่ 19 : อินทรธนูเครื่องแบบปฏิบัติราชการ  (สีกากี)  ของลูกจ้างประจำ ระดับซี 5-6

                                    ลูกจ้างประจำผู้ที่มีอัตราค่าจ้างเท่ากับเงินเดือนขั้นต่ำของข้าราชการ  ระดับ  5 และ 6 เครื่องแบบปฏิบัติราชการ  (ชุดกากี)  3แถบเล็กอย่างอ่อน  แถบบนขมวดกลมไม่ตวัดปลาย

    อินทรธนูของเครื่องแบบพิธีการ  (ชุดปกติขาว)

                                    เครื่องแบบพิธีการของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอินทรธนูแข็งกว้าง  4  เซนติเมตร  ตามความยาวของบ่า  พื้นสักหลาดสีดำ  ติดทับเสื้อเหนือบ่าทั้งสองข้างจากไหล่ไปคอด้านคอปลายมนติดกระดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนดเล็ก  อินทรธนูมีลายดังนี้

    ภาพที่ 20 : อินทรธนูของเครื่องแบบพิธีการ (ชุดปกติขาว) ตำแหน่งระดับ 1

    พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ตำแหน่งระดับ  1  มีแถบสีทองกว้าง  5  มิลลิเมตร  เป็นขอบพื้นสำดำล้วนไม่มีช่อชัยพฤกษ์

    ภาพที่ 21 : อินทรธนูของเครื่องแบบพิธีการ (ชุดปกติขาว) ตำแหน่งระดับ 2

                                    พนักงานองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น  ตำแหน่งระดับ  2  มีแถบสีทองกว้าง  1  เซนติเมตร  เป็นขอบและปักดิ้นสีทองลายช่อชัยพฤกษ์มีดอก  1  ดอกไม่เกิน  1  ใน  4  ส่วนของอินทรธนู

    ภาพที่ 22 : อินทรธนูของเครื่องแบบพิธีการ (ชุดปกติขาว) ตำแหน่งระดับ 3-4

                                    พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ตำแหน่งระดับ  3  และระดับ  4  มีแถบสีทองกว้าง  1  เซนติเมตร  เป็นขอบและปักดิ้นสีทองลายช่อชัยพฤกษ์มีดอก 2 ดอก  เรียงตามส่วนยาวของอินทรธนูไม่เกินครึ่งหนึ่งของอินทรธนู

                    ภาพที่ 23 : อินทรธนูของเครื่องแบบพิธีการ (ชุดปกติขาว) ตำแหน่งระดับ 5-6

                                    พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตำแหน่งระดับ  5  และระดับ  6  มีแถบสีทองกว้าง  1  เซนติเมตร  เป็นขอบและปักดิ้นสีทองลายช่อชัยพฤกษ์มีดอก  3  ดอก เรียงตามส่วนยาวของอินทรธนูไม่เกิน  3 ใน 4 ส่วนของอินทรธนู

    ภาพที่ 24 : อินทรธนูของเครื่องแบบพิธีการ (ชุดปกติขาว) ตำแหน่งระดับ 7-8

                                    พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ตำแหน่งระดับ  7  และระดับ  8  มีแถบสีทองกว้าง  5  เซนติเมตรเป็นขอบและปักดิ้นสีทองลายช่อชัยพฤกษ์ยาวตลอดส่วนกลางของอินทรธนู

    ภาพที่ 25 : อินทรธนูของเครื่องแบบพิธีการ (ชุดปกติขาว) ตำแหน่งระดับ 9ขึ้นไป

                                    พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ตำแหน่งระดับ  9  ขึ้นไป  มีลักษณะเหมือนช่อชัยพฤกษ์  ระดับ  7-8  แต่เพิ่มเส้นฐานขึ้นมา  1  เส้น

    ท่านสามารถเลือกซื้อสินค้าคุณภาพดี ราคาถูก ได้ที่ร้านน้ำใจไทยเครื่องหมาย

    //www.namjaithaikuangmai.com/

    ติดต่อสอบถาม 086-0536039

    line: @namjaithai (มี@ด้วยนะครับ)

    ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก www.google.co.th

    Toplist

    โพสต์ล่าสุด

    แท็ก

    แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง